วัดกันไปเลย! ความแตกต่างของ CU-TEP vs KEPT

cutep vs kept-01

วัดกันไปเลย! ความแตกต่างของ CU-TEP vs KEPT

         สวัสดีครับน้องๆ กลับมาเจอกับพี่กั๊กและพี่แพททริค แบบนี้ แน่นอนว่าต้องมีข้อมูลดีๆ มาแชร์ให้น้องๆ ทุกคนครับ สำหรับใครที่กำลังสนใจสอบเข้าศึกษาต่อในคณะแพทยศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ และ เภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น คงเคยได้ยินเรื่องการใช้คะแนน KEPT ในการยื่นสมัครเรียนคณะดังกล่าวใน TCAS รอบที่ 1 แต่หลายๆ คนก็คงสงสัยว่า ข้อสอบ KEPT คืออะไร มีลักษณะอย่างไร และนำคะแนนไปใช้ยื่นที่ไหนได้บ้าง และยิ่งไปกว่านั้น น้องๆ รู้หรือไม่ว่าจริงๆ แล้ว ข้อสอบ KEPT มักถูกนำมาเปรียบเทียบกับ ข้อสอบ CU-TEP ซึ่งก็สามารถใช้คะแนนยื่นในหลายคณะของหลายมหาวิทยาลัย วันนี้ พี่กั๊กและพี่แพททริคจึงอยากมาแชร์ความเหมือนและควาแตกต่างระหว่าง ข้อสอบ CU-TEP และ ข้อสอบ KEPT ให้น้องๆ ดูกันแบบเจาะลึกรายละเอียด และจะรู้เลยครับว่าแค่เตรียมตัว CU-TEP เพียงตัวเดียว น้องๆ ก็สามารถสอบทั้ง CU-TEP และ KEPT ได้แล้ว

cutep vs kept-02

มาทำความรู้จักข้อสอบ CU-TEP และข้อสอบ KEPT

เริ่มต้นด้วยการมารู้จักข้อสอบกันก่อนเลยครับ ว่าแต่ละข้อสอบมีที่มาอย่างไรบ้าง

          CU-TEP ย่อมาจาก Chulalonkorgn University Test of English Proficiency เป็นข้อสอบวัดระดับภาษาอังกฤษที่ออกโดย สถาบันภาษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อวัดความรู้ความสามารถทั่วไปด้านภาษาอังกฤษ ผลคะแนน CU-TEP จะมีอายุ 2 ปี ซึ่งส่วนใหญ่คะแนนของ CU-TEP มักจะใช้ยื่นเพื่อเข้าศึกษาในภาคอินเตอร์ระดับปริญญาตรีและเพื่อเข้าศึกษาในระดับปริญญาโทของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทั้งนี้อาจมีบางมหาวิทยาลัยที่รับพิจารณาคะแนน CU-TEP ในการเข้าศึกษาต่อภาคอินเตอร์ เช่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เป็นต้น  สำหรับเกณฑ์การยื่นคะแนนของแต่ละคณะก็จะแตกต่างกันไปตามประกาศของคณะนั้นๆ

          ส่วน KEPT ย่อมาจาก KhonKaen University English Proficiency Test เป็นข้อสอบวัดความสามารถภาษาอังกฤษที่ออกสอบโดย สถาบันภาษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่วัดทักษะด้านการฟัง คำศัพท์ ไวยากรณ์ การสนทนา และการอ่าน เหมาะสำหรับวัดระดับความรู้ความสามารถทางภาษาอังกฤษของบุคคลทั่วไป และสามารถใช้ผลคะแนนสอบเพื่อการศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น หรือเพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆตามที่หน่วยงานรับรองได้ ผลคะแนนสอบของ KEPT มีอายุ 2 ปีเช่นเดียวกันกับ CU-TEP เลยครับ

cutep vs kept-03

การยื่นคะแนนสอบ CU-TEP และ KEPT

ผลคะแนนของ CU-TEP และ KEPT จะสามารถใช้ยื่นศึกษาต่อในคณะและในมหาวิทยาลัยที่แตกต่างกัน กล่าวคือ

         ผลคะแนนของ CU-TEP โดยส่วนใหญ่จะใช้ยื่นศึกษาต่อในแทบทุกคณะอินเตอร์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทั้ง แพทยศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ สัตวแพทยศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ พาณิชยศาสตร์และการบัญชี อักษรศาตร์ และจิตวิทยา เป็นต้น

         นอกจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยังมีมหาวิทยาลัยอื่นๆ ที่รับรองผลคะแนนสอบ CU-TEP ในการยื่นสมัครศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี เช่น แพทยศาสตร์ และทันตแพทยศาสตร์ ม.ขอนแก่น แพทยศาสตร์ ม.เชียงใหม่ รวมไปถึงคณะวิศวกรรมศาสตร์อินเตอร์ของ ม.ธรรมศาสตร์ และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ซึ่งแต่ละคณะเหล่านี้ ก็จะใช้ระดับคะแนนที่แตกต่างกัน รวมถึงคะแนน CU-TEP ยังสามารถนำไปใช้ยื่นเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาโทและเอกของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้อีกด้วย ยิ่งไปกว่านั้น CU-TEP ยังเป็นแบบทดสอบวัดระดับภาษาอังกฤษ ที่ได้รับความนิยมจากบุคคลทั่วไปเพื่อพัฒนา หรือศึกษาต่อ และเตรียมตัวทำงาน ทั้งในหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และเอกชน

สำหรับคะแนน KEPT เป็นคะแนนที่สามารถใช้ยื่นศึกษาต่อได้เฉพาะในมหาวิทยาลัยขอนแก่นบางคณะ ได้แก่

  • คณะแพทยศาสตร์ โครงการ MDX และ MD02 มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • คณะเภสัชศาสตร์ โครงการพิเศษ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • คณะทันตแพทยศาสตร์ โครงการ DTX มหาวิทยาลัยขอนแก่น


นอกจากนี้ ข้อสอบ KEPT ยังแบ่งออกเป็น KEPT EXIT ซึ่งถูกนำมาใช้เป็นข้อสอบวัดระดับภาษาอังกฤษ สำหรับนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อใช้ในการยื่นจบการศึกษาอีกด้วย

cutep vs kept-04

วันและสถานที่สอบ CU-TEP แล KEPT

         มาเริ่มกันที่การสอบ CU-TEP กันก่อนเลยนะครับผม การสอบ CU-TEP จะถูกจัดสอบทุกเดือน โดยจะจัดสอบเดือนละ 1 – 2 ครั้ง และจะเปิดรอบสอบ CU-TEP Speaking เดือนละ 1 ครั้งเท่านั้น ทั้งนี้การสอบ CU-TEP ถูกปรับให้สะดวกแก่ผู้เข้าสอบมากขึ้น กล่าวคือ สามารถเลือกสอบได้ทั้งแบบกระดาษคำตอบ และแบบระบบคอมพิวเตอร์ สำหรับสถานที่สอบของ CU-TEP ผู้สมัครสอบสามารถตรวจสอบสถานที่ วัน และเวลาการสอบได้จากเว็บไซต์ทางการ โดยสถานที่สอบของ CU-TEP จะมีความหลากหลายกว่าสนามสอบของ KEPT เพื่อความสะดวกของผู้สมัครสอบในแต่ละภูมิภาค ทั้งนี้ สนามสอบที่ได้รับความนิยมมากที่สุดของ CU-TEP คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นั่นเอง ส่วนผลสอบ CU-TEP ผู้สอบจะรู้ผลสอบประมาณ 2 สัปดาห์หลังจากการสอบผ่านเว็บไซต์ออนไลน์

         ถัดมาที่การสอบ KEPT จะมีรอบสอบที่ค่อนข้างจำกัดเมื่อเทียบกับการสอบ CU-TEP กล่าวคือ การสอบ KEPT จะจัดสอบปีละ 8 ครั้ง โดยในปัจจุบัน สถานที่สอบจะค่อนข้างจำกัด คือ สถาบันภาษา อาคารพจน์ สารสิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น เท่านั้น สำหรับผลสอบของ KEPT ผู้เข้าสอบสามารถตรวจสอบผลการสอบได้ทางออนไลน์เช่นกัน ทั้งนี้ หากผู้เข้าสอบต้องการใบแจ้งผลคะแนนจะมีค่าธรรมเนียมในการขอเอกสารดังกล่าวเพิ่มเติม

         ทั้งนี้ ผู้สอบสามารถเช็คปฏิทินการจัดสอบของ CU-TEP และ KEPT ได้ในลิงค์ด้านล่างนี้เลย

ปฏิทินสอบ CU-TEP (ปรากฏในแถบด้านซ้ายมือของเว็บไซต์)

http://www.atc.chula.ac.th/index2.html 

ปฏิทินสอบ KEPT

https://li.kku.ac.th/?p=7769

cutep vs kept-05

ค่าสอบและการสมัครสอบ CU-TEP และ KEPT

         สำหรับการค่าใช้จ่ายในการสมัครสอบ CU-TEP ที่ครอบคลุมทักษะ Listening, Reading, และ Writing  มีราคาทั้งสิ้น 900 บาท แต่หากผู้สมัครสอบจำเป็นต้องใช้คะแนน CU-TEP Speaking เพื่อนำไปยื่นเข้าบางคณะของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเช่น BBA, EBA, JIPP, แพทยศาสตร์ และทันตแพทยศาสตร์ ค่าสมัครสอบจะอยู่ที่ราคา 2,900 บาท การสมัครสอบของ CU-TEP ผู้สมัครสอบ สามารถสมัครออนไลน์ได้ผ่านเว็บไซต์ข้างต้น ในหัวข้อ “ระบบลงทะเบียนออนไลน์” เมื่อข้อมูลที่กรอกได้รับการยืนยันแล้ว ผู้สมัครสอบสามารถชำระเงินการสอบ โดยมีวิธีดังนี้

  1. ชำระเงินผ่านทางเคาน์เตอร์ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกรุงไทย หรือธนาคารทหารไทย โดยพิมพ์ใบชำระเงินจากระบบการสมัคร และนำใบชำระเงินไปยื่นกับทางเคาน์เตอร์ธนาคาร เพื่อทำการชำระเงิน (สามารถชำระเงินได้ภายในเวลาทำการ ของธนาคารภายในวันสุดท้ายของการสมัครสอบ) หรือ ชำระผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิส
  2. ชำระเงินผ่าน ATM โดยชำระผ่านตู้ ATM โดยเลือกเมนูชำระสินค้าและบริการ ทำการใส่ Ref 1 และ Ref 2 ตามที่ระบุไว้ในใบชำระเงินที่พิมพ์ออกมาจากระบบ (สามารถชำระเงินภายในเวลาเทื่องคืน ของวันสุดท้ายของการสมัครสอบ ถ้าหากชำระเงินเกินตามเวลาที่กำหนด ทางระบบจะปรับยอดเป็นวันถัดไป ซึ่งถือว่าเกินตามระยะเวลาการชำระเงิน จะถือว่าผู้สมัครได้ชำระเงิน เกินกำหนดระยะเวลาการสมัครสอบ) สามารถพิมพ์ใบชำระเงินได้ภายในเวลา 17.00 น.ของวันสุดท้ายของการสมัคร

 

* ผู้สมัครสามารถตรวจสอบสถานะการชำระเงินของตนเองได้ ภายใน 3 วันทำการ หลังจากทำการชำระเงิน

** หากผู้สมัครไม่ได้ชำระเงินภายในเวลาที่กำหนด จะไม่สามารถชำระเงินย้อนหลังได้ และต้องรอสมัครใหม่ในรอบต่อไป

          ส่วนการสอบ KEPT มีค่าธรรมเนียบการสอบ 500 บาท และหากต้องการใบแจ้งผลคะแนน จะมีค่าธรรมเนียมเพิ่มเติม 100 บาท วิธีการสมัครสอบ KEPT สามารถทำได้ทางออนไลน์เช่นกัน คือ ผู้สมัครสอบสามารถพิมพ์แบบฟอร์มชำระค่าธรรมเนียมการสอบ ได้หลังจากกรอกใบสมัครผ่านระบบออนไลน์เรียบร้อยแล้ว หลังจากนั้นผู้สมัครสอบต้องชำระค่าธรรมเนียมการสอบภายใน 24 ชั่วโมงหลังยืนยันการสมัคร และต้องชำระค่าธรรมเนียมการสอบผ่านเคาน์เตอร์ธนาคารไทยพาณิชย์เท่านั้น ไม่รับการชำระผ่าน ATM หรือออนไลน์ และเพื่อให้น้องๆ สะดวกในการสมัครสอบมากขึ้น พี่กั๊กและพี่แพททริคจึงขอนำลิงค์การสมัครสอบมาแชร์ให้น้องๆ ตามลิงค์ด้านล่างนี้เลยครับ

         1. ลิงค์การสมัครสอบ CU-TEP

http://register.atc.chula.ac.th/ChulaATC/index.php?mod=welcome&op=&lang=th

         2. ลิงค์การสมัครสอบ KEPT ทั้ง KEPT สำหรับบุคคลทั่วไป และ KEPT EXIT สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี

https://li.kku.ac.th/?page_id=5017

เจาะลึกข้อสอบและระยะเวลาในการทำข้อสอบ CU-TEP และ KEPT

เรามาลองเจาะลึกที่รายละเอียดข้อสอบแต่ละตัวกันบ้างครับผม

ข้อสอบ CU-TEP ที่ผู้สมัครทั่วไปสอบมีคำถามทั้งหมดรวม 120 ข้อ เป็นข้อสอบปรนัยทั้งหมด โดยที่ข้อสอบ CU-TEP ประกอบด้วย 3 ทักษะ ได้แก่ Listening, Reading, และ Writing โดยในแต่ละพาร์ทจะมีรายละเอียดการสอบ ดังนี้

  1. ข้อสอบ LISTENING มีจำนวน 30 ข้อ ระยะเวลาการทำ 30 นาที แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่

     – บทสนทนาสั้นระหว่างผู้พูด 2 คน จำนวน 15 ข้อ
     – บทสนทนาที่ผู้พูดโต้ตอบกันความยาวประมาณ 10-20 exchanges จำนวน 3 บท บทละ 3 ข้อ รวมเป็นทั้งหมด 9 ข้อ   
    – บทพูดคนเดียว (Monologue) ที่มีความยาวประมาณ 200-250 คำ จำนวน 2 บท บทละ 3 ข้อ รวมเป็น 6 ข้อ

    สำหรับการสอบ Listening ผู้สอบจะได้ยินบทสนทนาแต่ละบทเพียงครั้งเดียว และหลังบทสนทนาผู้สอบจะได้ยินคำถามเพียงครั้งเดียวเช่นกัน เมื่อคำถามแต่ละข้อจบลง ผู้สอบต้องตอบคำถามโดยการเลือกจากตัวเลือก 1, 2, 3, หรือ 4

  2. ข้อสอบ READING มีจำนวน 60 ข้อ ระยะเวลาการทำ 70 นาที แบ่งข้อสอบออกเป็น 3 ลักษณะ ได้แก่

    Cloze reading เป็นบทความภาษาอังกฤษ ที่มีการเว้นช่องว่าง 15 ช่อง 15 ข้อ 15 คะแนนผู้สอบต้องเลือกคำตอบจากตัวเลือก 1, 2, 3, หรือ 4 ให้บทความสมบูรณ์ถูกต้องทั้งด้านเนื้อหาและไวยากรณ์

    – บทความสั้น เป็นบทความสั้นประมาณ 1 ย่อหน้าหรือประมาณครึ่งหน้า A4 มักเป็นรูปแบบจดหมาย และมีคำถามแบบปรนัยจำนวน 5 ข้อ
    – บทความยาว เป็นบทความที่มีความยาวประมาณ 1 หน้า A4 จำนวน 4บทความ โดยมีคำถามจาก 4บทความรวมทั้งสิ้น 40 ข้อ

    *ด้วยจำนวนข้อถึง 60 ข้อ ภายใน 70 นาที ทำให้ผู้สอบมีเวลาเฉลี่ยต่อข้ออยู่เพียงข้อละ 1 นาทีเศษ ผู้สอบจึงควรบริหารเวลาในการทำข้อสอบให้มีประสิทธิภาพที่สุด
  3. ข้อสอบ WRITING มีจำนวน 30 ข้อ ระยะเวลาในการทำข้อสอบ 30 นาที เฉลี่ยข้อละ 1 นาทีเท่านั้น
    ข้อสอบส่วนนี้จะออกมาในรูปแบบของ Error Identification เพื่อวัดความรู้ทางไวยากรณ์ภาษาอังกฤษของผู้เข้าสอบโดยเฉพาะ เป็นข้อสอบปรนัยแบบเลือกจากตัวเลือก 1, 2, 3, หรือ 4 เช่นกัน

*ทั้งนี้ ดร.พี่กั๊กและพี่แพททริค ได้รวบรวมเทคนิคการทำข้อสอบ CU-TEP รวมถึง CU-TEP Speaking ไว้ให้แล้ว น้องสามารถคลิกเข้าไปอ่านได้ที่ >> เผยเทคนิคพิชิต CU-TEP + CU-TEP SPEAKING พร้อมแนวข้อสอบทั้ง 4 ทักษะ

          สำหรับข้อสอบ KEPT เป็นข้อสอบที่วัดระดับภาษาอังกฤษของผู้สอบเพิ่มขึ้นจาก CU-TEP 2 ทักษะ กล่าวคือ นอกจากจะมีการสอบ Listening, Reading, และ Structure ที่คล้ายกับ Writing ของ CU-TEP ก็ยังมีพาร์ทของ Vocabulary และ Conversation ที่วัดเรื่อง Speaking เพิ่มเข้ามาอีกด้วย ต่อไปเราลองมาลงลึก เรื่องจำนวนข้อและระยะเวลาในการทำข้อสอบกันครับ

          ข้อสอบ KEPT มีคำถามทั้งหมดรวม 100 ข้อ คิดเป็น 100 คะแนนเต็ม เป็นข้อสอบแบบปรนัยหรือตัวเลือก ระยะเวลาในการสอบทั้งหมดรวม 3 ชั่วโมงเต็ม โดยแบ่งเป็น Listening 30 ข้อ 30 นาที และทักษะที่เหลือจะแจกข้อสอบพร้อมกันที่เหลือ 70 ข้อ และมีระยะเวลาในการทำข้อสอบ 2 ชั่วโมง 30 นาที ซึ่ง 70 ข้อดังกล่าวประกอบด้วย

  • Vocabulary 10 ข้อ
  • Structure 20 ข้อ
  • Conversation 15 ข้อ
  • Reading 25 ข้อ

     

             ในส่วนของเนื้อหาและระดับความยากของ ข้อสอบ KEPT ต้องขอบอกเลยว่าน้องสามารถอ้างอิงจาก ข้อสอบของ CU-TEP ได้ในระดับหนึ่งเลยทีเดียว เพราะข้อสอบทั้ง 2 สถาบันนี้มีหลากทักษะที่คล้ายกัน และหากน้องเตรียมตัวสอบ CU-TEP อยู่แล้ว เพียงแค่น้องลองหาแบบฝึกหัดที่ทดสอบด้านคำศัพท์ หรือ Vocabulary มาทำเพิ่ม เมื่อพร้อม น้องๆ ก็สามารถลองสอบได้ทั้ง 2 ข้อสอบเลยครับผม ถือว่าคุ้มมากๆ ตามสำนวนที่เขาว่า ยิงปืนนัดเดียว ได้นกถึงสองตัวเลยครับผม แค่เปลี่ยนมาเป็นเตรียมสอบวิชาเดียว แต่สามารถไปสอบได้ถึงสองตัวเลยครับ

cutep vs kept-07

Courses CU-TEP เรียน Online ที่ไหน เมื่อไหร่ ก็เรียนได้

         จบกันไปแล้วนะครับ สำหรับข้อมูลเปรียบเทียบระหว่างการสอบและข้อมูลการสอบของ CU-TEP และ KEPT น้องจะเห็นได้เลยว่า มีความคล้ายคลึงกันหลายอย่างมากๆระหว่าง 2 ข้อสอบนี้ โดยเฉพาะจำนวนข้อ รูปแบบคำถาม และทักษะการสอบในแต่ละส่วน ดังนั้น น้องสามารถเตรียมตัวสอบ CU-TEP เพียงตัวเดียว เพื่อสอบทั้ง CU-TEP และ KEPT ไปพร้อมๆ กันได้ ถือว่าคุ้มมากๆ เลยนะครับ เพราะเตรียมตัวเพียงวิชาเดียว สอบได้ถึง 2 ตัว ดังนั้น พี่กั๊กและพี่แพททริคจึงขอแนะนำคอร์สเรียน CU-TEP ที่เก็บครบทุกทักษะที่ใช้สอบใน CU-TEP และ KEPT และเพื่อความสะดวกสบายของน้องๆ ทาง ignite by OnDemand จึงมีคอร์ส SELF เพื่อให้น้องทุกคน จากทุกๆ จังหวัดสามารถเรียนได้ที่สาขาของ OnDemand ทั่วประเทศเลยครับ

         ใหม่ล่าสุด! กับคอร์ส CU-TEP ในระบบ Learn Anywhere ที่พร้อมเสิร์ฟให้น้องๆ ทุกคนเข้าถึงบทเรียนได้ เพียงมี Mobile, iPad, iMac, Notebook หรือ PC ก็สามารถเข้าถึงบทเรียนได้ถ้ามี Internet เพื่อให้น้องๆ สามารถเรียน Online ที่ไหน เมื่อไหร่ก็เรียนได้ กับพี่กั๊กและพี่แพททริค พร้อมทุกคอร์ส Versions ล่าสุด!

สามารถดูรายละเอียดคอร์สเรียน CU-TEP ได้ที่ >> https://www.ignitebyondemand.com/our-courses/cu-tep/

ดูรายละเอียดคอร์สเรียนในระบบ Learn Anywhere ทั้งหมดได้ที่ >> https://www.ignitebyondemand.com/anywhere/

Shop online

Related Blog & News

ข่าวสารและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง

Comments

Comment Write a comment...