บทสัมภาษณ์ “เพิร์ต” BMAT ที่1 ของประเทศ

บทสัมภาษณ์ “เพิร์ต” BMAT ที่1 ของประเทศ

ธงทอง ธงทอง โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา

        สวัสดีครับน้องๆ เชื่อว่าน้องๆหลายคนโดยเฉพาะน้องๆที่เตรียมตัวสอบ BMAT ต้องอยากรู้ใช่ไหมครับว่าน้องๆที่ประสบความสำเร็จ สอบติดคณะแพทยศาสตร์อินเตอร์ เค้าเตรียมตัวการสอบกันอย่างไร? อ่านหนังสืออะไรบ้าง? เตรียม Portfolio กันแบบไหน? วันนี้พี่ๆ ignite เลยพาไปถาม-ตอบกับ น้องเพิร์ต ที่1 BMAT ของประเทศ ที่มาบอกประสบการณ์เตรียมตัวสอบ BMAT อย่างละเอียดไม่มีกั๊ก ถ้าพร้อมแล้วเราไปอ่านบทสัมภาษณ์เจาะลึกสุด Exclusive กับน้องเพิร์ตกันได้เลยครับ

 

Q: จุดเริ่มต้นของน้องเพิร์ต กับการสอบ BMAT

A: เดิมทีผมมีเป้าหมายคือการสอบเข้าแพทย์แบบ กสพท. ปกติ แต่บังเอิญในช่วงที่ผมอยู่ ม.5 ทาง ignite ได้แนะนำให้รู้จักกับการสอบเข้าคณะแพทย์โดยใช้ความถนัดทางภาษาอังกฤษ ทำให้สนใจและเริ่มทำความรู้จักกับ BMAT ครับ

 

Q: ต้องเตรียมตัวทั้งไทยและอินเตอร์ น้องเพิร์ตวางแผนการเตรียมตัวสอบยังไงบ้างครับ

A: จำได้ว่าช่วงที่รู้จัก BMAT ใหม่ๆ เป็นช่วงเดือนสิงหาคม 2560 ผมยังไม่ค่อยอยากจะสอบเท่าไหร่เพราะยังอยากเน้นไปในเรื่องเรียนภาคปกติที่โรงเรียน และช่วงนั้นเป็นช่วงที่ผมมีกิจกรรมอื่นๆ ชนกันมากมาย ทั้งการแข่งดนตรี เล่นคอนเสิร์ต มีโครงงานทั้งในและต่างประเทศ ฯลฯ ทำให้มีเวลาเตรียมตัวน้อยมาก แต่สมัครสอบไปแล้ว ยังไงก็คงต้องไป แต่โชคดีที่มีคอร์สของ ignite อยู่ ก็ช่วยผมได้มากทีเดียว ผมพยายามไปเรียนเท่าที่จะมีเวลาว่างได้ครับ ถึงจะยังไม่ได้ทุ่มเทกับมันมากเพราะตอนนั้นก็ยังไม่ค่อยแน่ใจว่าสอบไปแล้วจะมีโอกาสได้เอาคะแนนไปใช้ทำอะไรรึเปล่า

จนเมื่อถึงวันสอบจริงก็รู้สึกว่าข้อสอบค่อนข้างยากและเยอะมาก อาจจะเป็นเพราะเราเตรียมตัวมาไม่ดีพอด้วย (ดีที่ยังได้เรียนจาก ignite มาบ้าง) เมื่อผลสอบออก ผมได้ 15.3 ครับ ก็ได้แต่เก็บคะแนนเอาไว้เฉยๆ กะว่าปีหน้าค่อยว่ากันอีกที ปีนี้เป็นการลองสนามไปก่อน ยังไงก็ตาม การได้ไปลองสอบดูก่อน ถือเป็นโอกาสที่ดีมากๆ ที่ได้รู้แนวข้อสอบ มีประสบการณ์และความคุ้นชินกับบรรยากาศในการสอบจริง ทำให้การสอบในปีถัดมาของผมคล่องตัว และตื่นเต้นน้อยลงมากครับ

         หลังจากนั้น ผมก็เริ่มเข้าสู่โหมดการเรียนปกติ โดยทำกิจกรรมต่างๆ ควบคู่ไปด้วย และเมื่อขึ้นชั้น ม.6 ก็เริ่มวางแผนอ่านหนังสือจริงจังขึ้นโดยเน้นหนักไปที่ กสพท. และ 9 วิชาสามัญ ซึ่งเอาเข้าจริงๆ แล้วมีเนื้อหาและการฝึกตะลุยโจทย์เยอะมาก อ่านกันแทบไม่ทันเลยทีเดียว แต่โชคดีที่หลักสูตร Gifted Science ที่โรงเรียน ในรุ่นของผมเป็นรุ่นสุดท้ายที่ได้เรียนเนื้อหาวิชาฟิสิกส์ เคมี ชีวะแตกต่างจากห้องอื่นๆ โดยจะเรียนเข้มข้นและร่นระยะเวลาให้จบหลักสูตร ม.ปลายทั้งหมดภายใน ม.6 เทอม1 อยู่แล้ว ดังนั้นในช่วงใกล้สอบ ผมจึงได้เก็บเนื้อหาของ 3 วิชานี้จากในห้องเรียนจนเกือบจบไปพอสมควร

และเมื่อทราบว่าทางคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ประกาศกฏใหม่ว่าจะรับผลสอบ BMAT ในรอบ September 2018 เท่านั้น ทำให้ผมต้องเริ่มแบ่งเวลามาทบทวน BMAT ที่ ignite บ้างในช่วง 1-2 เดือนก่อนสอบ อย่างไรก็ตาม ด้วยความที่กิจกรรมที่โรงเรียนค่อนข้างเยอะมากๆ ผมได้มาเริ่มจริงจังจริงๆก็ประมาณ 2 สัปดาห์สุดท้าย โดยมีตัวช่วยคือการทำข้อสอบเก่า และทบทวนเนื้อหาในขอบเขตที่มีให้ผู้เข้าสอบเรียนรู้จากในเว็บไซต์ รวมถึงฝึกทำโจทย์จากหนังสือต่างๆ ซึ่งมีโจทย์รวมประมาณ 1,200 ข้อให้ลองฝึกทำดู แน่นอนครับว่าการจะทำให้ครบทั้งหมดจะต้องใช้เวลาและความตั้งใจอย่างมาก ผมต้องนั่งอ่านทบทวนและฝึกโจทย์จนดึกดื่น เป็นเวลา 2 สัปดาห์ติดต่อกัน ซึ่งเป็นอะไรที่เหนื่อยมากๆ

(สำหรับน้องๆ ขอเตือนว่าควรเผื่อเวลาไว้ให้มากกว่านี้หน่อยนะครับ 555) และในการสอบ ครั้งที่ 2 นี้ ผมได้คะแนน 5.9, 8.2, 4A (รวม 18.1A) เป็นคะแนนที่ผมใช้ยื่นเข้าคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ รอบ1 ปี 62 ครับ

Q: เทคนิคของน้องเพิร์ต ในการทำข้อสอบ BMAT แต่ละ SECTION

A: ในเรื่องเทคนิคการทำข้อสอบ BMAT ประกอบไปด้วย 3 ส่วนครับ คือ

SECTION 1: APTITUDE AND SKILLS

#Problem Solving

  • เปิดเรียงตามข้อเเล้ว ข้อไหนทำได้ทำ ไม่ได้ข้ามทำข้อถัดไป
  • คิดเลขรอบคอบ อ่านโจทย์รอบคอบ ถ้าไม่มีเวลา เจอตัวเลือกที่ถูกก็ตอบไปเลย มีเวลาค่อยมาดูว่าที่เหลือถูกผิดยังไง

#Critical Thinking

  • เก็บบทความสั้นๆให้ได้ทุกอันก่อน เเล้วบทความยาวๆ ซึ่งจะมีประมาณ 3 บทความ ค่อยมาทำทีหลังตอนที่มีเวลาเหลือ
  • พวกบทความยาวๆอย่าไปคิดว่ายาก มันจะมีคำถามประมาณบทความละ 4 คำถาม บางทีเราอ่านไม่ทันครบทั้งบทความก็จริง เเต่พวกข้อสองข้อเเรกอาจจะตอบได้โดยอ่านเเค่ไม่กี่บรรทัดเเรกของบทความ ก็จะได้คะเเนนเพิ่มมาอีก

#Data Analysis

  • ไม่ยากมาก ดูข้อมูลดีๆ ก็พอครับ
 
SECTION 2: SCIENTIFIC KNOWLEDGE & APPLICATIONS
  • ทำเรียงข้อไปเลยครับ ข้อไหนทำไม่ได้ก็เดาไว้เลย
  • เน้นเนื้อหาเเม่น ฝึกมาให้เเม่น เพราะตัวเนื้อหาง่ายกว่าเนื้อหาวิทยาศาสตร์ภาคไทย เเต่จะมีบางส่วนที่เน้นนอกเหนือจากภาคไทย ต้องดูดีๆ
  • เรื่องการฝนคำตอบ จริงๆแล้วแต่คนนะครับ แต่ส่วนตัวคิดว่า ด้วยเวลาที่มีจำกัด การฝนข้อต่อข้อจะช้ากว่าฝนทีเดียวรวดหลายๆข้อ เพราะเสียเวลาพลิกกระดาษไปมา แต่การรอทำเสร็จทั้งชุดแล้วค่อยระบายทีเดียว ก็อาจจะเสี่ยงว่ากะเวลาไว้ฝนคำตอบไม่พอ หรือฝนผิดข้อ ก็จะทำให้เสียคะแนนได้ครับ ผมเลยใช้การฝนทีละ 5-6 ข้อเป็นระยะๆ จะช่วยให้กินเวลาไม่มาก และสามารถเช็คความถูกต้องได้มากกว่าครับ
 
SECTION 3: WRITING TASK
  • ดูเเนวข้อสอบเก่าเยอะๆ เน้นฝึกคิดฝึกหา argument สองฝั่ง ฝึกเขียนเยอะๆ จะได้รู้สไตล์ของตัวเอง
  • พยายามฝึกคิด idea ให้ได้ในเวลาสั้นๆ จะได้เขียนกับบริหารเวลาได้ดีขึ้น
  • ดูตัวอย่าง essay กับ point ต่างๆจากหนังสือเพิ่มเติม จะได้มีตัวอย่างกับเเนวคิดตุนไว้ในหัวเยอะๆ
  • ฝึกทักษะการเขียน ทั้ง vocab ทั้ง grammar กับเรื่องอื่นๆในการเขียนให้มั่นใจก่อนไปสอบ

แนะนำให้เข้าไปลองทำ mini mock ที่เป็นส่วนหนึ่งใน (Part 2) เพื่อทดสอบความเข้าใจตัวเองดูก่อนได้นะครับ: MINI MOCK EXAM : BMAT MATH BY.P’PAT

Q: ความประทับใจที่มีกับ IGNITE BY ONDEMAND

A: ignite ช่วยผมหลายด้านเลยครับ ตั้งแต่ปูพื้นฐาน ให้รู้จักว่า BMAT คืออะไร จนกระทั่งเทคนิคต่างๆ ในการทำข้อสอบ มีการจัด Mock Exam ให้ได้ทดลองสอบเสมือนจริง มี Boost Up ที่ช่วยทบทวนก่อนสอบ ทำให้มีความมั่นใจมากขึ้น นอกจากนี้พี่ๆ ทุกคนก็คอยช่วยเหลือทุกๆเรื่อง และเป็นกันเองมากๆเลยครับ สามารถช่วยแก้ข้อสงสัยต่างๆ ให้ความรู้เพิ่มเติม รวมทั้งคอยให้กำลังใจเสมอๆ ในยามท้อ ซึ่งทั้งหมดนี้ไม่ใช่เพียงแค่การสอบ BMAT เท่านั้น แต่รวมไปถึงการช่วยให้คำแนะนำเกี่ยวกับ portfolio แถมช่วงก่อนสัมภาษณ์ พี่กั๊กยังอุตส่าห์ไปหาหนังสือมาให้อ่านอีก (เล่มหนามากก อ่านกันจนมึน 555) มีการซ้อมสัมภาษณ์ก่อนวันจริง ดูแลกันจนจบการคัดเลือกกันเลยทีเดียว ผมอยากขอขอบคุณพี่ๆ ทีมงานทุกคนด้วยที่คอยช่วยเหลือและให้กำลังใจ ทำให้ผมประสบความสำเร็จในวันนี้ครับ

 

Q: เรียนหนักขนาดนี้ น้องเพิร์ตมีแบ่งเวลาทำกิจกรรมอย่างอื่นเสริมมั้ยครับ

A: จริงๆ ตั้งแต่เด็ก ผมเป็นคนที่ชอบทำกิจกรรมต่างๆ อยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมเกี่ยวกับดนตรี วาดรูป งานจิตอาสาต่างๆ ตอนเรียนประถมที่โรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ผมจะสนุกกับการชวนเพื่อนๆ ร่วมกิจกรรมเดินคีบขยะใส่ถังในโรงเรียนทุกเย็น ตอน ม. ต้น ที่โรงเรียนสวนกุหลาบฯ ผมสมัครเป็นลูกเสือกองเกียรติยศและจราจรอาสา เคยประกวดออกแบบเสื้อรุ่น มีวาดภาพเพื่อทำเสื้อไปขายและนำเงินมาบริจาคต่างๆ รวมทั้งนำภาพวาดไปประมูลเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยโรคมะเร็ง เป็นต้น

ในช่วง ม.ปลาย ก็มีทำกิจกรรมเยอะเหมือนกันครับ เช่น เป็นรองเลขานุการและกรรมการตึกเรียน เป็นกรรมการสายการเรียน เดินขบวนพาเหรดแฟนซี ร่วมแข่งกีฬาลีลาศ ประกวดออกแบบแหวนรุ่นของโรงเรียน (ถึงจะไม่ชนะก็ตาม 555) มีงานอะไรเข้ามาผมทำได้ก็ทำหมด ถ้ามีโอกาสครับ

และบังเอิญที่ผมได้เป็นนักเรียนในโครงการ Gifted Science ของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ก็จะมีกิจกรรมต่างๆ ให้ผมได้ทำตลอด 3 ปี เช่น ทำโครงงานวิทยาศาสตร์และร่วมงานวิจัยต่างๆ ประกวดและแสดงโครงงานทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งได้มีโอกาสเป็นนักเรียนฝึกงานร่วมกับนักศึกษาปริญญาโทและเอก ในงานวิจัยของมหาวิทยาลัยอีกด้วยครับ บางครั้งก็ไปสอนวิทยาศาสตร์แก่น้องๆ ที่ด้อยโอกาสตามต่างจังหวัด มีกิจกรรมจัดสอบวัดระดับองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ (Tugsela) แก่น้องๆ ม.ต้น จัดโครงการเพื่อนช่วยเพื่อน-พี่ช่วยน้อง ในการติวสอบต่างๆ มีงานผลิตสื่อในโครงการศูนย์การเรียนรู้ ICT แบ่งปันความรู้สู่โรงเรียนห่างไกลในถิ่นทุรกันดาร รวมทั้งมีทริปไปปลูกป่าชายเลนกับเพื่อนๆ เป็นต้น

นอกจากนี้ผมยังเล่นดนตรีในชมรมดนตรีสากล และรวมกลุ่มกับเพื่อนๆในโรงเรียน เพื่อประกวดวงดนตรี แสดงคอนเสิร์ต แถมยังรับจ๊อบแสดงวงดนตรีตามงานต่างๆจนทุกวันนี้ด้วยนะครับ ตอนนี้แสดงมาเกือบๆ 30 งานแล้วครับ 555

         เอาจริงๆ ผมไม่เคยคิดเลยครับว่ากิจกรรมที่เคยทำสะสมมาเป็นตัวตนของเรามาตลอดตั้งแต่อดีต ในวันหนึ่งจะสามารถนำมาใช้ประโยชน์เอามาใส่ในแฟ้มสะสมผลงานได้ ผมโชคดีมากที่ได้ทำกิจกรรมค่อนข้างเยอะมาตั้งแต่เด็กๆ ทำให้มีอะไรใส่ใน Portfolio ตามหัวข้อต่างๆ ที่กำหนดได้พอสมควร ซึ่งแต่ละมหาวิทยาลัยก็จะมีรายละเอียดข้อกำหนดที่แตกต่างกันไป เช่นของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ระบุว่าจะต้องมีแฟ้มสะสมผลงานที่แสดงตัวตนในด้านจิตสาธารณะ การวิจัย กิจกรรมวิชาการต่างๆ ฯลฯในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ซึ่งถ้าเรามีพร้อม ก็จะทำให้ง่ายไปอีกขั้นตอนในการยื่นสมัครแบบ Portfolio และเราก็จะมีอะไรที่จะสามารถนำไปคุยกับกรรมการในตอนสัมภาษณ์ เพื่อแสดงให้เห็นถึงตัวตนของเราได้แบบสบายๆอีกด้วยครับ ดังนั้น สำหรับคนที่ไม่ค่อยทำกิจกรรมมากนัก ต้องให้ความสำคัญและเตรียมพร้อมแต่เนิ่นๆ ไว้ด้วยนะครับ

Q: แนะนำรุ่นน้องที่อยากเตรียมตัวสอบ BMAT ด้วยตัวเอง

A: การฝึกฝนด้วยตัวเองก็เป็นสิ่งสำคัญครับ ยกตัวอย่างเช่น การทำข้อสอบเก่า กับการหาหนังสือมาอ่านเพิ่มเติมตามก็เป็นสิ่งที่ควรทำครับ หนังสือที่ผมใช้ในการสอบ BMAT มีสองเล่ม คือ

  • How to Master the BMAT ปกสีฟ้า ของ Dr. Christopher See กับ Dr. Chris Tyreman มีโจทย์มากกว่า 350 ข้อ รวมกับสรุปเนื้อหาเเละเทคนิคการทำข้อสอบต่างๆ
  • The Ultimate BMAT Guide ปกสีเเดง ของ Rohan Agarwal มีโจทย์ประมาณ 800 ข้อ มีตัวอย่าง essay (BMAT part 3) กับข้อสอบเสมือนจริง 3 ชุด ให้ลองจับเวลาทำดู ทั้ง 2 เล่มนี้ ซื้อจาก Kinokuniya ครับ (เล่มอื่นที่วางขายก็ใช้ได้เหมือนกันครับ ไม่จำเป็นต้องเล่มใดเล่มหนึ่ง ขอเเค่ได้ฝึก ได้จับเวลาทำกับตัวเองจริงๆ น่าจะเป็นส่วนที่สำคัญมากกว่าครับ)

         ในรอบสัมภาษณ์ ผมอ่านหนังสือ Medical School Interviews ปกสีเขียว ของ Oliver Picard เเละ George Lee ครับ เล่มนี้ดีมากๆ ครับ มีเคสตัวอย่างเเละคำถามสัมภาษณ์ต่างๆให้ได้ลองคิดดู ซึ่งเล่มนี้ผมได้มาจากพี่กั๊ก (ขอบคุณพี่กั๊กมากๆครับ) แนะนำน้องๆ ให้เข้าไปอ่านบทความ: เก็งข้อสอบ BMAT CHEMISTRY MOLECULAR GEOMETRY ซึ่งบอกเทคนิคการทำข้อสอบและการจำโครงสร้างโมเลกุลได้ละเอียดดีครับ

 

Q: สุดท้ายนี้มีอะไรอยากฝากถึงน้องๆที่อยากเข้าแพทย์บ้างครับ

A: การยื่นคะเเนนในรอบ Portfolio เข้าคณะเเพทยศาสตร์ ทั้งในการสอบ BMAT การเตรียม Portfolio การ Interview ล้วนต้องใช้การฝึกฝน ทักษะ เเละประสบการณ์ที่เป็นตัวของตัวเรา คนที่รู้มากกว่า คนที่ขยันมากกว่า คนที่พร้อมมากกว่า ก็ย่อมเป็นคนที่จะมีสิทธิ์ในการได้รับเลือกมากกว่า การที่เราเลือกเข้ามาสู้ในรอบนี้ เเน่นอนว่าเราต้องเหนื่อยกว่าคนอื่นมากๆ เเต่ once เราตัดสินใจเเล้ว ก็อยากให้น้องๆ ทำให้เต็มที่ อย่าให้การตัดสินใจของน้องเองมันเสียเปล่านะครับ สู้ๆ ครับทุกคน

         เป็นอย่างไรกันบ้างครับน้องๆ คราวนี้เราก็พร้อมที่จะลุยเพื่อเตรียมตัวสอบ BMAT กันได้อย่างมีแบบแผน ขอเพียงแค่น้องๆมีความตั้งใจ หมั่นทบทวนและทำแบบฝึกหัดเพื่อให้เราคุ้นกับข้อสอบ ทำกิจกรรมเพื่อเตรียม Portfolio ให้มีประสิทธิภาพ ก็จะเป็นอีกหนทางหนึ่งที่ทำให้น้องๆไปถึงคณะแพทย์อินเตอร์ กับมหาวิทยาลัยในฝันได้อย่างแน่นอนครับ

         ส่วนน้องๆ คนไหนที่อยากได้ตัวช่วยและครูที่จะคอยชี้แนะ ดูแลเรื่องเตรียมตัวสอบ ทาง ignite by OnDemand ก็ขอแนะนำคอร์ส BMAT ที่ได้ทำการออกแบบ Course BMAT ทั้ง 3 Parts ที่ดีที่สุด! โดยเน้นการตะลุยโจทย์และจับเวลาจริง โดยมีการสอนเนื้อหาของข้อสอบเพิ่มเติมที่ไม่ได้มีในหลักสูตรไทย พร้อมทั้งฝึกทักษะวิเคราะห์เชิงวิทยาศาสตร์ ที่ต้องใช้ในการทำข้อสอบ Part 1 และ Part 3 

 

สามารถดูข้อมูลคอร์ส BMATเพิ่มเติมได้ที่ >> https://www.ignitebyondemand.com/our-courses/bmat/

Shop online

Related Blog & News

ข่าวสารและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง

Comments

Comment Write a comment...