เก็งข้อสอบ BMAT Chemistry Molecular Geometry

         สวัสดีครับน้องๆ ใกล้กันเข้ามาทุกทีกับการสอบ BMAT รอบ September และ October นี้ สำหรับน้องคนไหนที่กำลังเตรียมตัว Part 2 ในส่วนของวิชา Chemistry อยู่ วันนี้ครูธง one on one ได้เอาเทคนิคการทำข้อสอบและการจำโครงสร้างโมเลกุลมาฝากน้องๆกัน ครูธงรับรองว่าเทคนิคนี้จะช่วยน้องๆ ในการทำข้อสอบ BMAT ได้แน่นอน ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลยดีกว่าครับ

VSEPR (Valence-Shell Electron-Pair Repulsion Theory) หรือทฤษฎี VSEPR (เวสเปอร์) คือ ทฤษฎีแรงผลักระหว่างคู่อิเล็กตรอนในวงเวเลนซ์

ประโยชน์ของ VSEPR : ใช้ทำนายโครงสร้างของโมเลกุลแบบ Geometry จากโครงสร้างลิวอิส ซึ่งใช้ได้กับโมเลกุลทั้งที่อะตอม e– ครบ ไม่ครบ และเกินออกเตต

หลักการ : การจัดตัวของอะตอม (หรือกลุ่มอะตอม) รอบอะตอมกลาง จะขึ้นอยู่กับแรงผลักระหว่างคู่อิเล็กตรอนในวงเวเลนซ์ของอะตอมกลางเท่านั้น คู่อิเล็กตรอนเหล่านี้จะพยายามอยู่ห่างจากกันให้มากที่สุด เพื่อให้มีแรงผลักน้อยที่สุด การผลักกันของคู่อิเล็กตรอนเหล่านี้ จึงทำให้เกิดรูปร่างโมเลกุลที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับจำนวนอะตอมที่อยู่รอบๆ และ lone pair electron ของอะตอมกลาง

ก่อนที่น้องๆจะจำแต่ละรูปร่างโมเลกุลกัน เราต้องทำตามขั้นตอนนี้กันก่อนครับ

1. วาดโครงสร้างลิวอิสก่อน (ถ้าใครยังวาดโครงสร้างลิวอิสไม่เป็น น้องๆต้องกลับไปทบทวนเรื่องโครงสร้างลิวอิสมาก่อนนะครับ) แล้วจะทำให้เรารู้ว่าโมเลกุลนั้นๆมีจำนวน Surrounding Atom และ Lone pair electron ของอะตอมกลางเหลืออยู่กี่คู่ 2. ต่อมาเมื่อทราบจำนวน Surrounding Atom และ Lone pair electron แล้ว ก็จะทำให้เราเขียน General Formula ได้ โดย

General Formula คือ AXnEm

Xn คือ จำนวน Surrounding Atom

Em คือ จำนวน Lone pair electron

เมื่อน้องๆ ได้ AXnEm ออกมาแล้ว ก็ไปจำโครงสร้างตัวแม่กันได้เลยครับ

**สำหรับ AX1E3 , AX1E4 และ AX1E5  เป็นการเขียนรูปร่างโมเลกุลทางทฤษฏีเท่านั้น มักไม่พบในทางปฎิบัติ

3. ตารางนี้คือ ตารางโครงสร้างโมเลกุลทั้งหมดนะครับ น้องๆ หลายคนคงคิดว่าจะจำหมดนี่ไหวได้ยังไง พี่ขอบอกเลยครับว่า น้องไม่ต้องจำหมดทั้งตารางครับ พี่จะให้น้องจำเฉพาะคอลัมน์ที่ 1 ที่พี่ไฮไลท์ไว้ให้ ซึ่งพี่ขอเรียกว่าเป็นตัวแม่ของโครงสร้างโมเลกุลทุกรูปแบบ ถ้าน้องจำได้เฉพาะตัวแม่ น้องจะสามารถทำโจทย์เรื่องโครงสร้างโมเลกุลได้ทุกข้อและทำได้ถูกต้องแน่นอน โดยรูปร่างโมเลกุลแต่ละแบบ จะมีชื่อเรียกตามพี่ที่เขียนไว้ให้ในแต่ละช่องเลยครับ

4. ข้อสุดท้าย คือ การใช้กฎบน-ล่าง ซึ่งหลักการของกฎนี้คือ ให้น้องนำ General Formula ที่เราได้จากข้อ 2 มาเทียบกับโครงสร้างตัวแม่ ว่าตรงกับตัวแม่ตัวไหน โดยนำ n+m จาก General Formula มารวมกัน แล้วเทียบดูกับตัวแม่ที่มีเลข n เท่ากับ n+m ของ General Formula หลังจากนั้นให้น้องค่อยๆหักขาของโครงสร้างโมเลกุลออกทีละขา โดยใช้กฎบน-ล่าง คือ เริ่มหักขาแรกจากด้านบน ต่อมาหักขาล่าง และสลับบน-ล่างไปเรื่อยๆ โดยจำนวนครั้งที่หักก็คือจำนวน lone pair นั่นเองครับ คราวนี้น้องก็จะได้รูปร่างโมเลกุลที่น้องต้องการ และนำความรู้นี้ไปทำข้อสอบกันได้แล้วครับ

เรามาดูตัวอย่างกันดีกว่าครับ

Example 1 จากโจทย์ให้หา Molecular Geometry ของ NF3

  • Step 1 ให้น้องวาดโครงสร้างลิวอิสของ NF3 จะได้โครงสร้างตามภาพ
  • Step 2 เขียน General Formula โดยดูจากโครงสร้างลิวอิสที่เราวาดมา จะได้ n= 3 นั่นคือจำนวนอะตอมรอบๆอะตอมกลาง ซึ่งก็คือ F ทั้ง 3 ตัวนั่นเองครับ และ m=1 นั่นคือจำนวน lone pair electron 1 คู่ ที่เหลืออยู่ของอะตอมกลาง (N) ดังนั้นจะได้ General Formula คือ AX3E1
  • Step 3 เมื่อ AX3 E1 ให้เรากลับไปดูตัวแม่ที่ AX4 ซึ่งมีโครงสร้างเป็นรูป tetrahedral ตามภาพ
  • Step 4 ให้หักขาของโครงสร้าง tetrahedral ออก 1 ขา เนื่องจาก Em=1 ซึ่งต้องเริ่มหักจากขาบนก่อน ตามกฎบน-ล่าง แล้วเราจะได้ trigonal pyramidal ตามภาพเป็นคำตอบ

 

Example 2 จากโจทย์ให้หา Molecular Geometry ของ XeCl4

  • Step 1 ให้น้องวาดโครงสร้างลิวอิสของ XeCl4 จะได้โครงสร้างตามภาพ
  • Step 2 เขียน General Formula โดยดูจากโครงสร้างลิวอิสที่เราวาดมา จะได้ n= 4 นั่นคือจำนวนอะตอมรอบๆอะตอมกลาง ซึ่งก็คือ Cl ทั้ง 4 ตัวนั่นเองครับ และ m=2 นั่นคือจำนวน lone pair electron 2 คู่ ที่เหลืออยู่ของอะตอมกลาง (Xe)
  • ดังนั้นจะได้ General Formula คือAX4E2
  • Step 3 เมื่อ AX4E2 ให้เรากลับไปดูตัวแม่ที่ AX6 ซึ่งมีโครงสร้างเป็นรูป octahedral ตามภาพ
  • Step 4 ให้หักขาของโครงสร้าง octahedral ออก 2 ขา เนื่องจาก Em=2 ซึ่งต้องเริ่มหักจากขาบน 1 ขาก่อน แล้วตามด้วยขาล่าง 1 ขา ตามกฎบน-ล่าง แล้วเราจะได้ square planar ตามภาพเป็นคำตอบ

         คราวนี้ เรามาลองทำโจทย์กันดีกว่าครับ ซึ่งครูธงขอเก็งว่าข้อสอบเรื่อง Molecular Geometry แบบนี้น่าจะออกสอบ BMAT ในครั้งหน้า เนื่องจากข้อสอบแบบนี้ยังไม่เคยออกใน BMAT มาก่อน และ BMAT ไม่ค่อยออกข้อสอบซ้ำแนวเดิมครับ น้องๆค่อยๆอ่านโจทย์แล้วลองทำไปพร้อมๆกันครับ

มาดูเฉลยกันเลยครับ

CCl4

General Formula คือ AX4 เนื่องจาก CCl4 ไม่มี lone pair electron เหลืออยู่เลย ดังนั้นจึงไม่ต้องมีการหักขาออก ดังนั้นโครงสร้างของ CCl4 คือ tetrahedral ตามภาพเป็นคำตอบ

XeF4

General Formula คือ AX4E2 ต่อมาต้องกลับไปดูโครงสร้างตัวแม่ คือ AX6 ซึ่งมีโครงสร้างเป็น octahedral และให้หักขาของโครงสร้าง octahedral ออก 2 ขา เนื่องจาก Em=2 ซึ่งต้องเริ่มหักจากขาบนก่อน ตามกฎบน-ล่าง แล้วเราจะได้ square planar ตามภาพเป็นคำตอบ

BH3

General Formula คือ AX3เนื่องจาก BH3 ไม่มี lone pair electron เหลืออยู่เลย ดังนั้นจึงไม่ต้องมีการหักขาออก ดังนั้นโครงสร้างของ BH3 คือ trigonal planar ตามภาพเป็นคำตอบ

SF4

General Formula คือ AX4E1 ต่อมาต้องกลับไปดูโครงสร้างตัวแม่ คือ AX5 ซึ่งมีโครงสร้างเป็น trigonal bipyramidal และให้หักขาของโครงสร้าง trigonal bipyramidal ออก 1 ขา เนื่องจาก Em=1 ซึ่งต้องเริ่มหักจากขาบนก่อน ตามกฎบน-ล่าง แล้วเราจะได้ seesaw ตามภาพเป็นคำตอบ

CH2O

General Formula คือ AX3 เนื่องจาก CH2O ไม่มี lone pair electron เหลืออยู่เลย ดังนั้นจึงไม่ต้องมีการหักขาออก ดังนั้นโครงสร้างของ CH2O  คือ trigonal planar ตามภาพเป็นคำตอบ

CCl2O

General Formula คือ AX3 เนื่องจาก CCl2O ไม่มี lone pair electron เหลืออยู่เลย ดังนั้นจึงไม่ต้องมีการหักขาออก ดังนั้นโครงสร้างของ CCl2O  คือ trigonal planar ตามภาพเป็นคำตอบ

ดังนั้น สารประกอบที่มีรูปร่างโมเลกุลเป็น trigonal planar มีทั้งหมด 3 ตัว ได้แก่ BH3 , CH2O และ CCl2O ตอบข้อ D

          สุดท้ายนี้ ครูธงขอเป็นกำลังใจให้น้องๆทุกคนในการเตรียมตัวสอบ BMAT และทำตามฝันให้สำเร็จ ส่วนน้องๆคนไหนที่ยังมีข้อสงสัยในวิชา Chemistry อยู่ สามารถเข้ามาที่ Ignite by Ondemand เพื่อพูดคุยปรึกษากับครูธงได้ตลอดเลยนะครับ แล้วเจอกันครับ

Shop online

Related Blog & News

ข่าวสารและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง

Comments

Comment Write a comment...