แชร์เทคนิค พิชิต SAT Reading and Writing อย่าไปกลัว Literature ไม่ยากอย่างที่คิด BY ครูข้าว

เทคนิคพิชิต SAT READING and WRITING อย่าไปกลัว Literature ไม่ยากอย่างที่คิด

         สวัสดีค่ะ น้องๆทุกคน ใครกำลังเตรียมตัวสอบ SAT Reading and Writing กันอยู่บ้างเอ่ย พี่ข้าวคิดว่าน้องๆคงกังวลใจกันอยู่ไม่น้อยเลยนะคะ ถ้าใครได้เคยลองสอบมาแล้ว หรือเคยฝึกทำข้อสอบจริงกันมาแล้ว คงรู้ว่า SAT Reading and Writing ก็เป็นอีกหนึ่งข้อสอบที่ถือเป็น Speed test โดยเฉพาะพาร์ท Reading ที่น้องๆมักเจอปัญหาอ่านไม่ทัน ทำให้ต้องเสียคะแนนไป ยิ่งไปกว่านั้น น้องๆหลายคนยังเจอปัญหาที่น่าปวดหัวที่สุด อย่างพาร์ทการอ่าน Literature ที่อ่านยังไงก็ไม่เข้าใจสักที วันนี้พี่ข้าวจึงขออาสามาแชร์เทคนิคการพิชิตข้อสอบ SAT Reading and Writing ในพาร์ทของบทความที่เป็น Literature

         พี่ข้าวต้องขอบอกก่อนเลยว่า ธรรมชาติของงานเขียนประเภท fiction และ Literature นั้น ภาษาที่ใช้จะเป็นภาษาบรรยาย (narrative) ซึ่งเต็มไปด้วย adjectives หรือ คำคุณศัพท์ ที่ปกติเราไม่ได้ใช้ในชีวิตประจำวัน รวมไปถึงการบรรยายภาพ (imagery) การเลือกใช้ถ้อยคำ (diction) และวาทศิลป์ต่างๆ (literary devices) ของผู้เขียน ซึ่งแตกต่างจากงานเขียนในหัวข้ออื่นๆของ SAT ที่เป็น Science, History, Social studies ซึ่งเป็นงานเขียนประเภท informative และ argumentative ที่ใช้ภาษาตรงไปตรงมา และมี claim กับ evidence ที่ชัดเจนค่ะ และเมื่อน้องๆรู้จักภาพรวมของงานเขียนประเภทนี้แล้ว ก็ไปดูต่อกันว่า น้องๆเป็นนักอ่านลักษณะแบบไหนกัน ไปอ่านกันเลย…

SAT Reading and Writing Part Literature : ค้นหาลักษณะการอ่านของตัวเองว่าเป็นแบบไหน

         ก่อนอื่นเลยพี่อยากให้น้องๆลองถามตัวเองว่าเราเป็นนักอ่านแบบ เพราะลักษณะการอ่านแต่ละแบบของน้องๆ ก็จะส่งผลให้มีวิธีการเตรียมตัวที่แตกต่างกันบ้างค่ะ เราไปเริ่มสำรวจตัวเองกันเลยค่ะ

นักอ่านกลุ่มที่1: ไม่ชอบอ่านงานเขียนประเภทวรรณกรรม เรื่องแต่ง หรือนิยาย (fiction) ต่างๆ โดยเฉพาะน้องๆสายวิทย์ซึ่งอาจจะไม่ได้มีโอกาสอ่านหนังสือประเภทนี้ที่โรงเรียนสักเท่าไหร่ และอาจจะไม่ค่อยชอบทำข้อสอบ SAT Reading พาร์ท Literature

นักอ่านกลุ่มที่2: ชอบอ่านหนังสืออยู่แล้ว โดยเฉพาะหนังสือนิยาย เรื่องสั้น เรื่องแต่ง แต่ส่วนใหญ่ จะอ่านเพื่อความเพลิดเพลิน มากกว่าการอ่านเพื่อทำข้อสอบ ทำให้ยังเสียคะแนนพาร์ทนี้เยอะ และรู้สึกว่ามันยาก

นักอ่านกลุ่มที่3: มีโอกาสได้ฝึกอ่านคิดวิเคราะห์ และวิจารณ์งานเขียน (Literary reflections and analysis) ของนักเขียนท่านอื่นๆอยู่แล้วที่โรงเรียน บางคนอาจจะรู้สึกชอบทำข้อสอบพาร์ทนี้ เพราะอ่านเข้าใจ และพอจะตอบคำถามได้

         เป็นอย่างไรกันบ้างคะน้องๆ เราเป็นนักอ่านประเภทไหนกันบ้าง ไม่ว่าจะกลุ่มที่1 กลุ่มที่2 หรือกลุ่มที่3 เรามาดูกันว่านักอ่านแต่ละประเภท ต้องเตรียมตัวในการทำข้อสอบพาร์ท Literature แตกต่างกันอย่างไรกันบ้า

Technic-Sat-Reading-Writing-Literature-BigCover3-1024x536

ลักษณะการอ่านแบบที่ 1 : ไม่ชอบอ่านนิยาย/วรรณกรรม

         ถ้าน้องๆเป็นนักอ่านในกลุ่มแรก ที่ต้องการเก็บคะแนนจากพาร์ท Literature น้องสามารถเริ่มต้นได้ง่ายๆ จากการเพิ่มคลังคำศัพท์ของเราให้แน่นขึ้นก่อน เพราะการอ่านแล้วไม่เข้าใจ ส่วนใหญ่เกิดจากการที่น้องๆรู้ศัพท์ไม่เพียงพอ หากน้องมีเวลาไม่มาก ให้ใช้วิธีการท่องศัพท์เอาเลย โดยการฝึกทำข้อสอบ และท่องศัพท์ตัวใหม่ๆที่เราเพิ่งเคยเจอเพิ่มเข้าไปเรื่อยๆจนจำได้ พยายามใช้บริบทของคำศัพท์ เพื่อช่วยให้น้องจำความหมายได้ดีขึ้น แต่หากน้องๆมีเวลาเตรียมตัวค่อนข้างมาก พี่ข้าวขอแนะนำให้น้องๆ ลองอ่านหนังสือเล่มดังๆ ของนักเขียนที่มีชื่อเสียงก้องโลก รับรองว่านักเขียนที่ใช้ภาษาได้ดี จะช่วยให้น้องๆเก่งภาษาอังกฤษขึ้นอีกมากเลยค่ะ โดยเฉพาะนักเขียนที่ College Board ชอบดึงมาออกข้อสอบ เช่น Jane Austen, Charlotte Brontë, T.H. White, Edith Wharton และ Virginia Woolf เมื่อน้องเริ่มอ่านเนื้อเรื่องได้เข้าใจมากขึ้น และมีประสบการณ์การอ่านมากขึ้น ก็ขยับไปฝึกต่อกับน้องๆในกลุ่มที่ 2 ได้เลยค่ะ
Technic-Sat-Reading-Writing-Literature-BigCover4-1-1024x536

ลักษณะการอ่านแบบที่ 2 : ชอบอ่านนิยาย แต่ไม่ชอบอ่านหนังสือ

         สำหรับน้องๆนักอ่านในกลุ่มที่ 2 คือชอบอ่านหนังสืออยู่แล้ว หรือพอมีประสบการณ์ การอ่านวรรณกรรมอยู่บ้าง แต่ยังทำข้อสอบไม่ค่อยได้ น้องสามารถเริ่มต้นเตรียมตัวได้โดยการฝึกมอง Literary passages ให้เป็น Evidence-based มากขึ้น กล่าวคือ ฝึกอ่าน Literature แบบมีหลักฐานสนับสนุน เพื่อให้ตอบคำถามได้ถูกต้องอย่างมีเหตุผล เพราะก่อนหน้านี้ น้องๆอาจจะอ่านนิยายหรือวรรณกรรม ด้วยการใช้จินตภาพและความรู้สึก แต่สำหรับข้อสอบ SAT Verbal มีชื่อเรียกเต็มๆว่า Evidence-based Reading and Writing นั้น ทุกๆครั้งที่เราเลือกคำตอบให้กับคำถามใดคำถามหนึ่ง จะต้องมีหลักฐานสนับสนุนคำตอบของเราอยู่ใน passage จริงๆ ไม่ใช่เพราะเราคิดเอาเองว่ามันถูก ไม่ใช่เพราะคำตอบนั้น “ฟังดูดี” ไม่ใช่เพราะเราใช้ความรู้เก่านอกเหนือจากเรื่องอ่าน และไม่ใช่เพราะเรากำลังตีความ “เกิน” ไปจากที่เนื้อเรื่องให้มาค่ะ

         จริงอยู่ว่า Literature ไม่ได้มี claim กับ evidence เพื่อพิสูจน์ความจริงอะไรบางอย่างเหมือนกับ Science และ History แต่การที่น้องจะตอบคำถามต่างๆของ Literature ได้นั้น เช่น
         แสดงว่าต้องมีหลักฐานอยู่ใน passage เพื่อยืนยันคำตอบของเราจริงๆ น้องๆเพียงแต่ต้องหาบรรทัดเหล่านั้นให้เจอ ซึ่งถ้าเราอ่านเข้าใจทั้งเนื้อเรื่อง คำสั่ง และตัวเลือกทั้ง 4 ข้อ แน่นอนว่าเราจะสามารถเลือกคำตอบที่ถูกต้องได้ไม่ยากเลยค่ะ

         อย่างไรก็ตาม หลายครั้งน้องจะพบว่า นอกจาก College Board จะเลือกเรื่องอ่าน ที่บางครั้งนอกจากจะใช้คำศัพท์ มาให้เราอ่านแล้วยังใช้ academic words ที่ค่อนข้างยากอีกหลายคำมาอยู่ในตัวคำถามและตัวเลือก ทำให้เราสับสน ลังเล และตัดสินใจเลือกข้อที่ผิดไป ซึ่งพี่ข้าวขอบอกเลยว่า น้องอย่าได้ท้อ! เพราะคำศัพท์หลายตัวก็วนเวียนอยู่ในข้อสอบหลายครั้ง ถ้าน้องเจอคำยากซ้ำสัก 2-3 ครั้งจากคำถามหรือในตัวเลือกคำตอบ พยายามอย่าปล่อยผ่าน หยิบสมุดขึ้นมาจด หยิบ Dictionary ขึ้นมาเปิด อ่าน definitions ทั้งหมดของมันให้ละเอียด เพื่อเจอครั้งต่อไปน้องจะจัดการกับมันได้ค่ะ

         โดยสรุปก็คือ นอกจากน้องๆ จะอ่านหนังสือเพื่อความเพลิดเพลินแล้ว ช่วงเตรียมสอบน้องๆ ต้องพยายามทำความคุ้นเคยกับแนวข้อสอบ และแนวการตั้งคำถามแบบ SAT ด้วยเพื่อให้เราทั้งอ่านเข้าใจ และตอบคำถามได้ถูกต้องนะคะ 

ลักษณะการอ่านแบบที่ 3 : ชอบอ่านบทวิจารณ์เชิงคิดวิเคราะห์

         สำหรับน้องๆในกลุ่มที่ 3 ที่มีพื้นฐานการอ่านวรรณกรรมอยู่แล้ว และมีโอกาสได้อ่านเชิงคิดวิเคราะห์ กับหนังสือมาหลายเล่ม ข่าวดีก็คือ น้องมีแนวโน้มที่จะทำข้อสอบในส่วนนี้และส่วนอื่นๆได้ดีทีเดียวค่ะ ด้วยประสบการณ์การอ่านที่น้องได้สะสมมา พี่แนะนำว่าตอนที่น้องลองเริ่มต้นฝึกทำข้อสอบจริงพาร์ท Literature ในชุดแรกๆอาจจะยังไม่ต้องจับเวลา ลองทำดูให้คุ้นเคยก่อน และหลังจากตรวจเสร็จแล้ว ให้น้องอ่านคำอธิบายเฉลยละเอียด ของข้อที่เราทำผิดและข้อที่เราไม่มั่นใจ ว่าคำตอบที่ถูกต้องนั้น ได้มาจากหลักฐานในบรรทัดไหน เมื่อน้องทำได้คะแนนค่อนข้างดีแล้ว จึงค่อยลองจับเวลาตัวเอง ประมาณเรื่องละ 13 นาที เพื่อฝึกให้เราสามารถอ่านและหาคำตอบได้อย่างรวดเร็วขึ้นอีกค่ะ

เทคนิคพิชิต SAT Reading and Writing Part Literature

         สุดท้าย เพื่อให้น้องๆสามารถอัพคะแนน ได้ พี่ข้าวมี Tips and Tricks <ฃสำหรับการอ่าน Literature มาฝากน้องๆทุกคน นั่นก็คือ จุดที่น้องๆต้องโฟกัส และมองหาในการอ่านบทความ ของข้อสอบ SAT Reading and Writing เพื่อให้น้องๆพอมองเห็นภาพว่า เราน่าจะโฟกัสกับสิ่งใดบ้างขณะที่เรากำลังอ่านงานเขียนหัวข้อนี้ค่ะ และนี่คือสิ่งที่น้องๆต้องอ่าน หรือหาให้เจอในการอ่าน เพื่อให้น้องๆ เข้าใจเนื้อเรื่องได้ง่ายขึ้นค่ะ
Technic-Sat-Reading-Writing-Literature-BigCover6-1-1024x536

9 โฟกัส ที่ช่วยให้อ่าน Literature ได้ง่ายขึ้น

1.Blurb: ส่วนต้นของ passage ก่อนเข้าเนื้อเรื่อง จะทำให้น้องๆรู้ชื่อเรื่อง ชื่อผู้แต่ง และปีที่พิมพ์

2.Settings: ฉาก หมายถึง เหตุการณ์ในเรื่องเกิดขึ้นที่ไหน เมื่อไหร่ รวมถึงสภาพแวดล้อมของสถานที่ และช่วงเวลาเป็นอย่างไร ได้แก่

  • historical context -when
  • geographical context – where
  • physical context – weather, time of day, description of the place

3.Characters: ตัวละครมีใครบ้าง

4.Characterization: วิธีการบรรยายตัวละครเป็นรูปแบบใด เช่น

  • Direct (ผู้เขียนบอกตรงๆ)
  • Indirect (บอกอ้อมๆ ผ่านการกระทำ ความคิด หรือคำพูดของตัวละครเอง)


5.Point of View:
คนเล่าเรื่องเป็นใคร ได้แก่

  • first person – คนเล่าเรื่องเป็นหนึ่งในตัวละครเองด้วย (ใช้ “I” แทนตัวเองตลอดเรื่อง)
  • third person limited – คนเล่าเรื่องรู้ความคิดจิตใจของตัวละครแค่ตัวเดียว ไม่เข้าใจว่าคนอื่นคิดอย่างไร เหตุการณ์ที่อื่นเป็นอย่างไร
  • third person omniscient – คนเล่าเรื่องรู้ทุกสิ่งทุกอย่าง รู้จักตัวละครทุกตัว และเห็นทุกเหตุการณ์ในเรื่องพร้อมกัน (เหมือนเป็น God)

6.Shift: จุดเปลี่ยนของเรื่อง ซึ่งเป็นคำถามที่มีเกือบทุกครั้งใน Literature passage และจุดเปลี่ยนนี้มีได้หลายแบบ เช่น Shift in structure, point of view, focus, tone, mood, time

7.Tone and Mood: บรรยากาศ อารมณ์ และความรู้สึก เช่น playful, humorous, serious, satirical, bitter, ironic เพราะคำศัพท์ต่างๆที่นักเขียนเลือกใช้ ส่วนใหญ่จะมีความหมายแฝง (Connotation) ที่สื่อความรู้สึกต่างไม่ว่าจะเป็น positive, negative หรือ neutral มายังผู้อ่านได้

8.Writing Style: เทคนิคการเขียนที่นักเขียนใช้เป็นอย่างไร เช่น การเลือกใช้คำ (diction) การใช้คำซ้ำ การจัดวางและลำดับเนื้อหา รวมไปถึงวิธีการบรรยายภาพ เหตุการณ์ และอารมณ์ต่างๆ

9.Figurative language: หรือเครื่องมือทางการเขียนต่างๆ เช่น similes (อุปมา- ใช้คำว่า “like” หรือ “as”), metaphors (อุปลักษณ์-ไม่มี like / as), hyperbole (อติพจน์ – การกล่าวเกินจริง), paradox (ปฏิพากย์ – การใช้คำตรงข้าม), alliteration (การซ้ำเสียง), personification (บุคลาธิษฐาน – การอธิบายสิ่งที่ไม่มีชีวิตราวกับเป็นสิ่งมีชีวิต) เป็นต้น

          อ่านมาถึงตรงนี้ หวังว่าน้องๆจะพอเห็นภาพ Literature ชัดเจนมากขึ้นว่าข้อสอบนั้น ไม่ได้ยากเกินไป เพราะคำถามแบบ ต่างๆในข้อสอบนั้น มีหลักการถามให้เราอ่านอย่างมีโฟกัส และจับประเด็นมาตอบคำถามให้ได้อย่างมีเหตุมีผล ไม่ต้องตีความเกินไปจากเนื้อเรื่อง และไม่ต้องคาดเดาจิตใจของนักเขียนไปต่างๆนานา

          ที่สำคัญ น้องๆอย่าลืมทบทวนคำศัพท์ที่เจอบ่อยๆในคำถาม และในเรื่องอ่านประเภท Literature พี่เชื่อว่ายิ่งน้องๆจดจำ คำศัพท์ได้มากขึ้นเท่าไหร่ จะทำให้อ่านเรื่องต่างๆได้เข้าใจมากเท่านั้นค่ะ

Technic-Sat-Reading-Writing-Literature-BigCover7-1024x536

          สุดท้ายนี้ พี่ข้าวขอฝากไว้ว่า หัวใจสำคัญของการพิชิตข้อสอบ SAT Reading and Writing ก็คือ การฝึกฝนทำแบบฝึกหัดและข้อสอบจริง รวมถึงการท่องคำศัพท์ภาษาอังกฤษที่ออกบ่อยใน SAT Reading and Writing ค่ะ และอย่าลืมนะคะว่าสำหรับพาร์ท Literature ของข้อสอบ SAT Reading and Writing ก็คือ การอ่าน Literature ให้มีหลักฐานใน Passage มาสนับสนุนค่ะ พี่ข้าวขอเป็นกำลังใจให้น้องๆทุกคนสามารถพิชิตข้อสอบ SAT Reading and Writing ได้ และอย่าไปกลัวการอ่าน Literature ค่ะ เพราะถ้าน้องๆ ได้ลองนำวิธีที่พี่แชร์ในบทความนี้ไปลองใช้ รวมถึงโฟกัสในจุดต่างๆที่พี่ได้เขียนไปก่อนหน้านี้ น้องๆก็จะรู้ว่า ข้อสอบ SAT Reading and Writing พาร์ท Literature ไม่ยากอย่างที่คิดค่ะ!

และถ้าน้องๆคนไหนต้องการหาหนังสือมาอ่านเพิ่มเติม พี่ข้าวแนะนำบทความ รีวิว 5 หนังสือ SAT READING AND WRITING BY P’ PATRICK OXFORD ที่พี่แพททริค รวบรวมหนังสือที่น่าสนใจไว้ได้ครบเลย

            ส่วนน้องๆ คนไหนที่ต้องการตัวช่วยในการอัพคะแนน SAT Reading and Writing และพบกับเทคนิคมากมายในการทำข้อสอบนี้ ทาง ignite by OnDemand ขอแนะนำคอร์ส SAT Reading and Writing ที่สอนครบทั้งพาร์ท Reading และ Writing ตั้งแต่เก็บครบทุกไวยากรณ์ที่ออกสอบในพาร์ท Writing, การทำข้อสอบ Reading ผ่านทุกรูปแบบคำถามที่มีใน SAT พร้อมแทรกคลังคำศัพท์ที่ออกบ่อย ให้น้องๆมั่นใจว่าจะอัพคะแนนเพื่อคณะในฝันได้แน่นอนค่ะ ขอให้น้องๆทุกคนโชคดีนะคะ :)สามารถดูข้อมูลคอร์สสดและคอร์ส Self ของคอร์ส SAT Reading and Writing ได้ที่ >> https://www.ignitebyondemand.com/our-courses/cu-tep/

Shop online

Related Blog & News

ข่าวสารและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง

Comments

Comment Write a comment...