ปราบ BMAT Part 2 Chemistry ให้อยู่หมัด ด้วยเคล็ดลับจากพี่ก๊อฟ

ปราบ BMAT PART 2 CHEMISTRY ให้อยู่หมัด ด้วยเคล็ดลับจากพี่ก๊อฟ

         สวัสดีครับน้องๆ เข้าใกล้ช่วงสอบ BMAT แล้วน้องๆทุกคนมักจะกังวลกับการสอบ วันนี้พี่ก๊อฟก็เลยมาบอกเคล็ดลับในการทำ ข้อสอบ BMAT Part 2 Chemistry เพื่อให้น้องๆพร้อมและมั่นใจ ที่จะไปทำข้อสอบจริงในรอบที่จะถึงนี้ โดยพี่ก๊อฟได้สรุป Highlight มาให้ดังนี้

  • การเริ่มเตรียมตัว BMAT Part 2 Chemistry ให้วิเคราะห์ก่อนเสมอ ว่าข้อสอบมีทั้งหมดกี่ข้อ ใช้เวลาข้อละกี่นาที บทไหนที่ออกบ่อย เพื่อจะได้เตรียมตัวอ่านได้ตรงจุด จากนั้นลองทำข้อสอบจริง 5 ปีย้อนหลัง    ประเมินว่าทำได้มากน้อยแค่ไหน เมื่อรู้จุดอ่อน จึงค่อยใช้เวลาทุ่มเทกับบทที่ยังทำไม่ได้
  • ข้อสอบ BMAT Part 2 Chemistry ยากกว่าข้อสอบ SAT แต่ยังไม่ยากเท่าข้อสอบวิชาสามัญ และ PAT2
  • อย่าประมาทเด็ดขาด ข้อสอบ BMAT Part 2 Chemistry เป็นข้อสอบ speed test มีเวลาทำเฉลี่ย 1 นาทีต่อข้อ ดังนั้น ข้อที่ง่ายต้องทำให้เร็วที่สุด เพราะบางข้ออาจจะใช้เวลามากกว่า 1 นาที
  • บางหัวข้อแตกต่างจากข้อสอบไทย และออกข้อสอบบ่อย เช่น การเรียงลำดับความสามารถในการออกซิไดส์หรือ รีดิวซ์โดยไม่ให้ตารางค่า E0

STEP 1: เตรียมตัวก่อนสอบ BMAT

         เวลาเข้าใกล้ช่วงสอบทีไร น้องๆทุกคนมักมาถามพี่เสมอว่า “พี่ก๊อฟ ถ้าอยากเข้าที่นี่ ผมควรจะเริ่มยังไง?” วันนี้พี่เลยทำ Checklist ขั้นตอนการเตรียมตัวสอบอย่างละเอียด เพื่อให้น้องๆทุกคนเข้าใจตรงกันและสามารถนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง

เริ่มกันที่สเต็ปแรกการเตรียมตัวก่อนสอบ ส่วนวิธีการที่พี่ก๊อฟจะมาแนะนำให้น้องๆจะเป็นอย่างไร อ่านด้านล่างได้เลยครับ

  • สำรวจข้อสอบ 5 ปีย้อนหลัง วิเคราะห์ว่าบทไหนที่ออกเยอะ มีทั้งหมดกี่ข้อ และมีเวลาในการสอบเท่าไหร่

Why? : การจะเตรียมตัวที่ดี ต้องรู้ว่าจุดหมายปลายทางคืออะไร ข้อสอบวัดผลตรงไหน เหมือนนักกีฬาที่ต้องรู้ว่าเส้นชัยอยู่ตรงไหน จะได้วิ่งไปให้ถูกจุด

  • เน้นทบทวนเนื้อหาที่จุดสำคัญ เริ่มอ่านจากบทที่ออกเยอะ และตามด้วยบทที่ออกน้อย

Why? : บางครั้งในชีวิตเราไม่สามารถเก็บทุกสิ่งทุกอย่างได้หมด น้องจึงต้องรู้จักการจัดลำดับความสำคัญ

  • เริ่มทำโจทย์ทีละบทก่อน

Why? : ถ้ายังไม่เคยทำโจทย์เลย การเริ่มทำโจทย์แบบเรียงทีละบทก่อนจะช่วยให้เข้าใจ concept ของข้อสอบได้ดีขึ้น

  • ทำข้อสอบเสมือนสอบจริง และจดข้อที่ผิดเก็บแยกไว้

Why? : น้องๆต้องเรียนรู้จากข้อผิดพลาด เพื่อวัดระดับความสามารถของตัวเอง และเมื่อนำมาทบทวนในครั้งต่อไปจะช่วยให้น้องๆ ใช้เวลาในการทบทวนน้อยลง

  • จับเวลาข้อสอบแต่ละชุด และจดข้อที่ยังผิดแยกไว้

Why? : การทำข้อสอบไม่ทันคือกับดักที่ทำให้น้องๆหลายคนพลาด ดังนั้นน้องๆต้องจับเวลาทุกครั้งที่ฝึกทำข้อสอบ เพื่อให้เราสามารถบริหารเวลาได้อย่างดี เมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์ในห้องสอบจริงๆ

  • ช่วงใกล้สอบให้อ่านทบทวนข้อที่เคยทำผิด ยิ่งใกล้สอบจริง น้องๆต้องรู้ข้อผิดพลาดของตัวเอง และหมั่นทบทวนให้บ่อยแต่ไม่ต้องใช้เวลานาน เช่น ทำข้อสอบทุกวันแต่แค่วันละ 1 ชั่วโมง ดีกว่าการใช้เวลานานแต่ไม่สม่ำเสมอ

Why? : ความจำและความเข้าใจของมนุษย์ จะมีประสิทธิภาพดีเมื่อมีความถี่สูง ยิ่งฝึกฝนซ้ำๆเท่าไหร่ โอกาสที่จะจำและเข้าใจได้ดีก็จะมีมากขึ้น

STEP 2: ทำความรู้จักกับ BMAT PART 2 CHEMISTRY

         สำหรับน้องๆที่ยังไม่เข้าใจ BMAT Part 2 Chemistry วันนี้พี่ก๊อฟขออาสามาช่วยน้องๆวิเคราะห์ข้อสอบ เพื่อความสะดวกรวดเร็ว และน้องๆจะได้ไม่ต้องไปเสียเวลานั่งวิเคราะห์กันเองนะครับ

ข้อสอบมีทั้งหมด 7 ข้อ จากทั้งหมด 27 ข้อ คิดเป็น 9 คะแนน

         หลายคนบอกพี่ว่า “ โอ้โห…อย่างนี้ก็สบายเลย มีข้อสอบแค่ 7 ข้อเอง ” ใช่ครับ สบายแน่นอนเพราะมีจำนวนข้อสอบน้อย แต่น้องอย่าลืมนะครับว่ากว่าจะได้ 1 คะแนนมานั้น ไม่ง่ายเลย! เพราะถ้าเกิดน้องพลาดแบบที่ไม่ควรพลาดไป 2 – 3 ข้อ คะแนนน้องจะหายไป 1 คะแนนทันที ซึ่งคะแนนที่หายไปสามารถชี้เป็นชี้ตาย เรื่องการเข้าคณะของน้องได้เลยนะครับ

อย่าเสียเวลา! เรามาดูบทที่ออกสอบบ่อยๆในช่วง 5 ปีล่าสุดกันเลยดีกว่า (ข้อสอบ BMAT ตั้งแต่ปี 2013 ถึง 2017)

หัวข้อที่ออกทุกครั้งในข้อสอบ BMAT PART 2 CHEMISTRY คือ

  1. Nuclear symbol (สัญลักษณ์นิวเคลียร์ – หาโปรตรอน, อิเล็กตรอน, นิวตรอน) and Electron configuration (การจัดเรียงอิเล็กตรอน – หาหมู่หรือคาบของธาตุ)
  2. Stoichiometry (ปริมาณสารสัมพันธ์ – ให้สมการเคมี และสารตั้งต้น เพื่อหาสารผลิตภัณฑ์)
  3. Solution (สารละลาย – การคำนวณความเข้มข้นของสารละลาย)
  4. Electrochemistry (ไฟฟ้าเคมี – การทำอิเล็กโทรไลซิส และการทำนายว่าปฏิกิริยา redox เกิดขึ้นได้หรือไม่)

 

หัวข้อที่ออกข้อสอบในบางครั้ง ได้แก่

  1. Rate of reaction (อัตราการเกิดปฏิกิริยา – ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยา)
  2. Equilibrium (สมดุลเคมี – หลักของเลอชาเตรีเย)
  3. Gas (ก๊าซ – กฎของก๊าซ)
  4. Hydrocarbon (ไฮโดรคาร์บอน – คุณสมบัติโดยทั่วไปของไฮโดรคาร์บอน)

         โดยรวมแล้วจะพบว่าข้อสอบ BMAT Part 2 ออกจำนวนบทไม่เยอะ และระดับความยากนั้นอาจจะยากกว่าข้อสอบ SAT เล็กน้อย แต่ก็ยังถือว่าง่ายกว่าข้อสอบของภาคไทย เช่น ข้อสอบวิชาสามัญ และ PAT2

STEP 3: ลงสนาม พร้อมความ SPEED

เตือนแล้วนะ!! การฝึกบริหารเวลาคือสิ่งสำคัญในการทำข้อสอบ BMAT

“ ข้อสอบ BMAT Part 2 เป็นข้อสอบ speed test ” ฉะนั้นน้องๆต้องจำไว้เสมอว่า เรามีเวลาคิดหาคำตอบเพียงแค่ข้อละ 1 นาทีเท่านั้นนะครับ!! และในบางข้อ…น้องไม่มีทางที่จะทำเสร็จได้ภายใน 1 นาทีอย่างแน่นอน ดังนั้นถ้าเจอข้อที่ง่ายให้น้องๆ รีบจัดการข้อนั้นให้เสร็จด้วยความรวดเร็ว เพราะเราต้องนำเวลาที่เหลือมาทำโจทย์ที่ยากและยาวซึ่งมีโอกาสใช้เวลาต่อข้อเกิน 1 นาที ดังนั้นน้องๆต้องจำไว้เสมอนะครับ…การบริหารเวลาเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการทำข้อสอบ BMAT Part 2

บางหัวข้อในข้อสอบไม่ตรงกับหลักสูตรของไทยและ SAT

         น้องๆ หลายคนมักประมาทและเข้าใจผิดว่าข้อสอบ BMAT Part 2 Chemistry นั้นไม่ยากเพราะเคยเรียนของภาคไทยมาแล้ว ซึ่งตรงนี้ต้องระวังอย่างมาก เพราะว่าบางหัวข้อมีความซับซ้อนที่ไม่ตรงกับหลักสูตรของไทย อย่างเช่น ในปกติถ้าเป็นข้อสอบภาคไทย น้องๆมักจะได้รับตารางค่า E0 (ดังรูปด้านล่าง) แนบมากับข้อสอบเพื่อใช้เปรียบเทียบและหาคำตอบ แต่ในข้อสอบ BMAT Part 2 Chemistry จะไม่มีตารางค่า E0  ให้น้องๆดูนะครับ เพราะฉะนั้นน้องๆทุกคนจำเป็นต้องรู้แนวโน้มของค่า E0 เพื่อใช้ในการทำข้อสอบนะครับ

ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาเรื่องอิเล็กโทรไลซิส เป็นหัวข้อที่ออกสอบทุกครั้ง

         ถ้าดูผิวเผินก็อาจจะเหมือนข้อสอบทั่วไปของภาคไทยที่จะถามเราว่าที่ขั้วแคโทด หรือ ที่ชั้วแอโนดเกิดปฏิกิริยาอะไร และได้สารอะไรเกิดขึ้น แต่แน่นอนว่าข้อสอบ BMAT Part 2 Chemistry นั้นจะยากกว่าเพราะก็ยังไม่มีตารางค่า E0 ให้น้องๆดู เพราะฉะนั้นน้องๆ ต้องเข้าใจและทราบว่าสิ่งไหนที่ไม่มีทางเกิดขึ้นได้ เพื่อใช้ในการตัดสินใจสำหรับการตัด choice ให้เหลือคำตอบเพียงข้อเดียว

TRICK: ไม่ต้องอ่านทุกตัวอักษรก็หาคำตอบได้

         อย่างที่พี่ก๊อฟเคยบอกน้องๆไปแล้วว่าข้อสอบ BMAT Part 2 Chemistry เป็นข้อสอบ speed test ดังนั้นทุกวินาทีในการสอบมีค่าอย่างยิ่ง ถึงแม้โจทย์บางข้อจะมีความยาวพอสมควร แต่ในหลายๆครั้งเราก็สามารถหาคำตอบได้โดยไม่จำเป็นต้องอ่านทั้งหมด

         วันนี้พี่เลยมาแนะนำ Trick ในการอ่านโจทย์แบบที่น้องๆไม่ต้องอ่านทุกตัวอักษรก็หาคำตอบได้ ส่วนเคล็ดลับประหยัดเวลาที่น้องๆสามารถเอาไปใช้ มีดังนี้

  • อ่านคำถามก่อน ดูว่าโจทย์ถามอะไร หรือ ดู choice บางครั้งก็จะบอกได้ว่าเขาถามอะไร
  • Mark ว่าตรงไหนที่เกี่ยวกับคำถาม โดยดูจากสมการ,รูปที่เขาให้มา, หรือข้อมูลอื่นๆ
  • คิดหา Keyword ที่จะนำมาสู่คำตอบ
  • หา Keyword นั้นในโจทย์ เพื่อมาหาคำตอบ
 

         สุดท้ายนี้พี่ขออาราธนาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ให้น้องๆทุกคนโชคดีในการเตรียมตัวสอบ และพี่เชื่อมั่นอย่างยิ่งว่า ถ้าเราตั้งใจ ไม่มีอะไรที่ยากเกินกว่าที่เราจะทำได้ ขอให้ทุกคนพยายามให้เต็มที่ ขอให้ทุกคนโชคดีในการเตรียมตัวสอบนะครับ

พี่ก๊อฟ ignite by OnDemand

         สำหรับน้องๆคนไหนที่พลาดรีวิวและเทคนิคพิชิตข้อสอบ BMAT PART 1 จากพี่ภัทร์และพี่กั๊กของเรา ที่มาแนะนำเทคนิคการเตรียมตัวสอบ  BMAT เพื่อให้น้องๆมีโอกาสได้เข้าคณะและมหาวิทยาลัยที่น้องๆต้องการ คลิกบทความนี้ได้เลยครับ >> (รีวิวข้อสอบพร้อมเทคนิคพิชิต ข้อสอบ BMAT PART 1 BY พี่ภัทร์และพี่กั๊ก) และถ้าน้องๆ มองหาตัวช่วยติวก่อนสอบตอนนี้พี่ก๊อฟ มีคอร์ส Intensive course for BMAT Chemistry ที่น้องๆ จะได้เจาะลึกข้อสอบ BMAT Chemmistry พร้อมตะลุยโจทย์จับเวลาจริง อย่างเข้มข้นไปพร้อมๆกัน 

สามารถดูรายละเอียดคอร์สเรียน BMAT เพิ่มเติมได้ที่ >> https://www.ignitebyondemand.com/our-courses/bmat/

Shop online

Related Blog & News

ข่าวสารและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง

Comments

Comment Write a comment...