อัปเดตล่าสุด! แพทย์รอบพอร์ต TCAS68 ต้องใช้คะแนนอะไรบ้าง?

สวัสดีครับน้องๆ และผู้ปกครองทุกท่าน หลังจากการประกาศยกเลิก BMAT ไปแล้ว ตอนนี้คณะแพทย์-ทันตะ หลายแห่งที่เคยใช้ BMAT เริ่มมีความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับแนวทางการเตรียมตัวสำหรับน้องๆ รุ่น TCAS68 แล้วว่า จะมีการนำคะแนนอะไรมาใช้พิจารณาการเข้าแพทย์รอบพอร์ตทดแทน BMAT กันบ้าง วันนี้ พี่ๆ ignite จะมาสรุปสถานการณ์ล่าสุดให้ฟัง พร้อมแนวทางการเตรียมตัวเข้าแพทย์รอบพอร์ต TCAS68 กับเวลาเตรียมตัวอีกไม่ถึง 5 เดือนเท่านั้น
ข้อสอบ TBAT สำหรับแพทย์จุฬา

ข้อสอบ TBAT คือ แบบทดสอบทางวิทยาศาสตร์ใน 3 วิชาหลัก ได้แก่ ฟิสิกส์ เคมี และชีววิทยา สำหรับผู้ที่เข้าศึกษาในคณะแพทย์ จุฬา และหลักสูตรนานาชาติอื่น ๆ ซึ่งข้อสอบนี้อาจมีแนวโน้มว่ามหาวิทยาลัยพันธมิตรอื่น ๆ อาจร่วมใช้ด้วย!
ขอแอบเล่าว่าเดิมจุฬาฯ เคยมีประสบการณ์จัดสอบเช่นนี้อยู่แล้ว ย้อนกลับไปในช่วงปี 2553 ทางศูนย์ทดสอบฯ เคยมีการจัดสอบ CU-ATS (Nano) เป็นข้อสอบวิชาฟิสิกส์ เคมี และชีววิทยาเพื่อใช้เข้าคณะวิศวะ นาโนในสมัยนั้น ต่อมาได้กลายเป็นข้อสอบ CU-ATS ที่มีเฉพาะวิชาฟิสิกส์และเคมีในปัจจุบันนั่นเอง (แน่นอนว่าเกินครึ่งคณะก็เป็นรุ่นพี่ ignite ของเรา)
ซึ่งการสอบ TBAT นั้นจะเป็นข้อสอบแบบกระดาษ มีการจัดสอบแบบ Onsite 2 รอบต่อปี และอายุของคะแนนยังสามารถเก็บไว้ได้ถึง 2 ปีอีกด้วย เป็นโอกาสที่ดีมาก ๆ สำหรับน้องที่เริ่มเตรียมตัวไวตั้งแต่ช่วง ม.5
ปัจจุบัน คณะแพทย์จุฬาฯ ได้ออกประกาศ แล้วว่าจะมีการใช้ข้อสอบ TBAT ร่วมกับ CU-AAT จากรอบสอบเดือนตุลาคมเท่านั้น (แม้ว่าตัวข้อสอบจะมีอายุคะแนน 2 ปี) แต่ก็เป็นแนวทางปกติของคณะฯ อยู่แล้ว เช่นเดียวกับสมัยการใช้ BMAT ที่เมื่อก่อนเคยจัดสอบ 2 ครั้งต่อปีเช่นกัน เพราะทางคณะฯ จะนำคะแนนมาใช้ในการจัดลำดับผู้มีสิทธิเข้าสัมภาษณ์ทั้ง 60 คน แต่สำหรับน้องที่สนใจยื่นคณะอื่น ๆ ด้วย รอติดตามประกาศเพิ่มเติมเรื่องการใช้คะแนนจากคณะนั้น ๆ อีกครั้งนึงนะครับ
ข้อสอบ CU-AAT สำหรับแพทย์จุฬา

เมื่อพูดถึง TBAT แล้ว ต้องไม่พลาดพูดถึงข้อสอบ CU-AAT ด้วย เพราะเป็นข้อสอบที่คณะแพทย์ จุฬาฯ ประกาศแล้วว่าจะใช้คะแนนพิจารณาร่วมกัน
ข้อสอบ CU-AAT คือ ข้อสอบที่เน้นวัดความสามารถด้านคณิตศาสตร์ (Maths) และการใช้ภาษา (Verbal) จึงเห็นได้ว่าการมี CU-AAT นั้น จะช่วยทำให้ภาพรวมการใช้คะแนนมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น คล้ายกับการสอบ BMAT หากมองผิวเผินจากชื่อวิชาตัวข้อสอบ CU-AAT อาจดูใกล้เคียงกับข้อสอบ SAT แต่เนื้อหาจริง ๆ ข้อสอบ CU-AAT มีความค่อนข้างยากมากกว่ามาก
แต่ต้องบอกว่าข้อสอบ CU-AAT นี้ ไม่ใช่ข้อสอบใหม่ที่เพิ่งเกิด (และ ignite ก็เปิดสอนมากนานมากกก) แต่คณะต่าง ๆ ในจุฬาฯ และมหาวิทยาลัยร่วมอื่น ๆ มีการใช้เป็นตัวเลือกยื่นคะแนนอยู่แล้ว
สำหรับข้อสอบ CU-AAT นั้นมีการสอบทั้งรูปแบบกระดาษและบนระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งหากน้องเลือกสอบแบบคอมพิวเตอร์จะทราบผลคะแนนทันทีหลังสอบเสร็จ และเช่นเดียวกับข้อสอบ TBAT หากน้องที่ต้องการยื่นเข้าคณะแพทย์ จุฬา จะต้องใช้คะแนนที่มาจากรอบสอบเดือนตุลาคมเท่านั้น (ช่วงเช้าสอบ CU-AAT จากนั้นสอบ TBAT ต่อในช่วงบ่าย) นี่จึงเป็นข้อสอบสำคัญอีก 1 อย่างที่ต้องเตรียม
ข้อสอบ UCAT สำหรับแพทย์ CICM

ทีมแพทย์อินเตอร์ สนใจคณะแพทย์ CICM และคณะแพทย์ในอังกฤษ ห้ามพลาดกับ ข้อสอบ UCAT
ข้อสอบ UCAT คือ ข้อสอบวัดความถนัดทางคลินิกที่มีการใช้ในสหราชอาณาจักร (UK) และมีการจัดสอบมาต่อเนื่องเช่นเดียวกับการสอบ BMAT อยู่แล้ว โดยใน UK มีการใช้คะแนน UCAT ในกลุ่มพันธมิตรคณะแพทย์ (คล้ายกับกสพท.ในประเทศไทย) ซึ่งภายหลังการประกาศยกเลิก BMAT คณะแพทย์ที่เคยใช้คะแนน BMAT ก็เปลี่ยนมาใช้คะแนน UCAT ทดแทน ทำให้ปัจจุบันมีคณะแพทย์ที่สามารถใช้ยื่นได้มากกว่า 40 แห่งใน UK และนานาชาติ
สำหรับในประเทศไทย ปัจจุบันคณะแพทย์ CICM ได้ประกาศเป็น Official Partner University กับทาง UCAT เรียบร้อยแล้ว และมีประกาศทางการจากคณะฯ ในการใช้คะแนน UCAT ทดแทน BMAT เพื่อให้น้อง ๆ TCAS68 นี้ได้เริ่มเตรียมตัว ใครที่สนใจอยากเข้าคณะแพทย์ CICM ทั้ง 3 โครงการ และแพทย์ UK ก็สามารถเริ่มเตรียมตัวกับพี่กั๊ก และพี่ภัทร์ได้เลย ครบ จบในคอร์สเดียว อย่าลืมรีบจองสนามสอบด้วยนะ!
ดูประกาศอย่างเป็นทางการได้ที่นี่ >> http://www.cicm.tu.ac.th/News/imagesBanner_files/7ToKOg95.pdf
ข้อสอบ MCAT สำหรับแพทย์ มข. (MDX)

อีกหนึ่งข้อสอบจากต่างประเทศที่ปัจจุบันคณะแพทย์ มข.ประกาศใช้คัดเลือกของโครงการผู้มีความรู้ความสามารถพิเศษทางวิชาการและภาษาอังกฤษจากทั่วประเทศ หรือ MED KKU MDX ซึ่งเปิดรับน้อง ๆ ที่อยู่นอกพื้นที่ภาคอีสานและสนใจอยากศึกษาต่อในคณะแพทย์ มข.
ขอเล่าก่อนว่า ข้อสอบ MCAT คือ ข้อสอบเพื่อวัดความรู้และทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนแพทย์ในสหรัฐอเมริกา (US) และแคนาดา ซึ่งโดยปกติแล้วการเข้าศึกษาต่อคณะแพทย์ใน US จะต้องเป็นผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีแล้ว (และต้องผ่านการเรียนวิชา Pre-Med Coursework เช่น เคมี ชีวะ ฟิสิกส์ มาก่อน) ดังนั้น ข้อสอบ MCAT จึงออกแบบมาวัดความรู้และทักษะที่อยู่ในระดับมหาวิทยาลัยและมีความยากกว่าเนื้อหาระดับม.ปลาย ซึ่งต้องใช้เวลาสอบกว่า 7 ชั่วโมงเลยทีเดียว
ปัจจุบันนอกจากคณะแพทย์ มข. (โครงการ MDX) ที่มีการใช้คะแนน MCAT แล้ว ยังมีหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) ของจุฬาฯ หรือ CU-MEDi ใช้คะแนน MCAT ในการพิจารณาอีกด้วย แต่ต้องบอกก่อนว่าโปรแกรม CU-MEDi เป็นหลักสูตรสำหรับผู้ที่จบป.ตรี และต้องการศึกษาต่อคณะแพทย์ เพิ่มเติมอีกใบเท่านั้น ไม่ใช่หลักสูตรสำหรับนักเรียนม.ปลาย
แต่น้อง IGNITER ที่เรียนคอร์ส TBAT, CU-AAT, UCAT อยู่แล้ว และสนใจอยากเตรียมตัวสอบ MCAT เพิ่มเติม พี่ๆ ครู ignite ขอจัดติวฟรี MCAT480 ช่วยน้องๆ รีวิวเนื้อหาและต่อยอดการเตรียมตัวก่อนสอบ MCAT และแนะนำแหล่งศึกษาเพิ่มเติม สามารถ สมัครได้ที่นี่ เลยครับ
แต่ในการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดทั้งมวลที่เกิดขึ้นนี้ ต้องบอกว่าใครที่สอบ BMAT ปี 2023 ไว้ ถือว่าเดินถูกทางมากๆ เพราะทางคณะแพทย์ มข. ยังเปิดให้ยื่นคะแนนได้ใน TCAS68 นี้อีกด้วย สามารถดูเกณฑ์คะแนนจากประกาศทางการได้เลยครับ
ข้อสอบ NETSAT สำหรับแพทย์ มข. (MD02)

ต้องบอกว่าเป็นโอกาสทองมาก ๆ ของน้องในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ภาคอีสาน) เพราะทางคณะแพทย์ มข. ได้มีการประกาศใช้คะแนน NETSAT สำหรับน้องโครงการผู้มีความรู้ความสามารถพิเศษทางวิชาการและภาษาอังกฤษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (MD02) ซึ่งมีจำนวนรับกว่า 92 ที่นั่ง และมีหลักสูตรแพทย์ 2 ปริญญาให้เลือกอีกด้วย
ข้อสอบ NETSAT คือ ข้อสอบคล้ายกับการสอบ SAT Subject Test ในสมัยก่อนที่ถูกได้ยกเลิกไป แต่เป็นข้อสอบที่ใช้ภาษาไทย! เพียงข้อสอบเดียว (จากที่พี่เล่าทั้งหมดในบทความนี้) ซึ่งน้อง ๆ ที่จะสมัครได้นั้นต้องเป็นนักเรียนชั้นม.5-6 ในโรงเรียนภูมิภาคอีสานเท่านั้น
ที่บอกว่าเป็นโอกาสทอง เพราะน้องสามารถเตรียมตัวพร้อมกับการยื่น TCAS รอบ 2 โควต้าได้เลย ทั้งโครงการ 001, โครงการ CPIRD-Inclusive และหากทางคณะไม่สามารถคัดเลือกน้องในรอบโควต้า (TCAS รอบ 2) ได้ครบตามจำนวน จะมีการเรียกตัวสำรองจากโครงการ MD02 จากใน TCAS รอบ 1 มาเพิ่มเติมอีกด้วย เรียกได้ว่า “แค่เตรียม IELTS เพิ่มตัวเดียว เพิ่มโอกาสเข้าคณะแพทย์ได้อีกกว่า 200 ที่นั่งเลยทีเดียว”
สำหรับใครที่อยากเตรียม IELTS กับทาง ignite พี่ ๆ ได้จัดทั้งคอร์สปูพื้นฐานไปจนถึงตะลุยโจทย์เข้มข้นเอาไว้ให้แล้ว บอกเลยว่าไม่ต้องกังวล เพราะขอแค่น้องได้ Band 6.0 ก็เท่ากับได้คะแนน 12% เต็มในพาร์ทภาษาอังกฤษแล้ว!
ข้อสอบ AKAT สำหรับแพทย์ SWU-NOTT


หรือหากอยากร่วมพูดคุยกับเพื่อนและรุ่นพี่ที่สนใจแพทย์รอบพอร์ต มากกว่า 5,000 คน
ก็มาจอยกันได้ที่ LINE Openchat: https://uqr.to/igniteopenchat
Related Blog & News
ข่าวสารและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง
-
Blog, Medical TCAS 1 (Portfolio)
คู่มือสำหรับพ่อแม่ อยากให้ลูกติดหมอ ตั้งแต่ TCAS รอบแรก ต้องใช้อะไรบ้าง
สวัสดีคุณพ่อคุณแม่ทุกที่อยากให้ลูกๆเป็นหมอทุกท่านนะครับ…วันนี้ ignite จะขอมาแนะนำการ สอบเข้าคณะแพทย์ TCAS รอบ 1 หรือที่ผู้ปกครองหลายๆ ท่านจะคุ้นหูกับคำว่า “แพทย์รอบ Portfolio” ซึ่งมีมหาวิทยาลัยที่เปิดรับ เช่น แพทย์จุฬาฯ แพทย์รามาฯ แพทย์ม.ขอนแก่น แพทย์ม.เชียงใหม่และอีกมากมายโดยวันนี้ ignite จะมาแนะนำข้อมูลสำคัญที่จะทำให้ลูกๆ ของคุณพ่อคุณแม่สอบติดหมอก่อนใครตั้งแต่ TCAS รอบแรก…ถ้าพร้อมแล้วเรามาดูกันเลย !! สอบเข้าแพทย์รอบ Portfolio ต้องใช้อะไรบ้าง GPAX หรือเกรดเฉลี่ยสะสม สิ่งที่จำเป็นต่อการ สอบเข้าแพทย์รอบ Portfolio อย่างแรกคือ GPAX หรือเกรดเฉลี่ยสะสม โดยส่วนใหญ่มหาวิทยาลัยจะกำหนดให้ใช้เกรดรวมทั้งหมด 4-5 เทอมด้วยกัน แต่จะมีเกณฑ์เกรดเฉลี่ยสะสมแตกต่างกันออกไปตามความต้องการของแต่ละคณะ แต่ต้องเรียนคุณพ่อคุณแม่ว่าหากลูกของท่านมี GPAX ตั้งแต่ 3.50 ขึ้นไป น้องๆ จะมีโอกาสในการยื่นเข้าคณะแพทย์รอบ 1 ได้ทุกมหาวิทยาลัย […]
Comments (0)
-
Blog, Medical TCAS 1 (Portfolio)
แพทย์ CICM หลักสูตร English Program VS International Program ต่างกันอย่างไร
หนึ่งในข่าวดีของน้องๆ ที่อยากศึกษาต่อในคณะแพทย์จะเป็นอะไรไปไม่ได้ นอกเหนือจากการที่วิทยาลัยแพทย์ศาสตร์นานาชาติจุฬาภรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หรือ CICM มีการเปิดหลักสูตรใหม่!! นั่นคือแพทยศาสตรบัณฑิต หลักสูตรนานาชาติ ซึ่งมีการเปิดรับปีการศึกษา 2567 เป็นรุ่นแรก นั่นทำให้ที่นั่งตัวจริงคณะแพทย์ CICM เพิ่มขึ้น 1 เท่าตัวเลยทีเดียว จากเดิมเปิดรับ 30 ที่นั่งในหลักสูตร English Program แต่ปัจจุบันก็มีการเปิดเพิ่มในหลักสูตร International Program อีก 31 ที่นั่ง เรื่องดีๆ แบบนี้พี่แอดมินจะไม่พูดถึงไม่ได้ วันนี้ก็เลยไปรวบรวมข้อมูลของหลักสูตรใหม่มาให้กันแบบครบ จบ ในที่เดียว ว่าหลักสูตรนี้คืออะไร และแตกต่างจากหลักสูตรเดิมอย่างไร ว่าแล้วก็ไปตะลุยคณะแพทย์ CICM กัน แพทย์ CICM คืออะไร? CICM หรือ Chulabhorn International College of Medicine คือ วิทยาลัยแพทยศาสตร์นานาชาติจุฬาภรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นสถาบันแพทยศาสตร์แห่งที่ […]
Comments (0)
-
Blog, SAT Subject Tests
เจาะลึก 5 ภาคของ ISE คณะวิศวะอินเตอร์ จุฬาฯ กับน้องโพนี่ รุ่นพี่ ignite
สำหรับว่าที่ วิศวะอินเตอร์หลายๆคน ที่อยากเรียน ISE (INTERNATIONAL SCHOOL OF ENGINEERING) หรือ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลักสูตรนานาชาติ เคยรู้มาก่อนมั้ยว่า 5 ภาค ในคณะที่เราสนใจ ต้องเรียนอะไรบ้าง แล้วแต่ละภาคมีความน่าสนใจยังไง!? วันนี้พี่แอดมินมีรุ่นพี่ ignite ที่ตอนนี้เป็นนิสิตปีหนึ่ง จากคณะ ISE จะมาเล่า Insight ภายในคณะให้น้องฟังกันครับ ถ้าพร้อมแล้ว เราไปดูกันเลย สวัสดีน้องๆ และทุกคนที่กดเข้ามาอ่านนะคะ ก่อนอื่นเลยพี่ขอแนะนำตัวก่อน พี่ชื่อ โพนี่ จบจากโรงเรียนนานาชาติเอกมัย (EIS) ตอนนี้เรียนอยู่ ISE ปีหนึ่ง ภาค ICE ค่ะ บทความนี้พี่ตั้งใจมาแชร์ Insight ของแต่ละ Major ใน ISE […]
Comments (0)
-
Blog, GED
เผยวิธีเตรียมสอบ GED ยังไง ให้ได้ 660+ จากครูหมิง GED Guru
สวัสดีค่ะ พี่หมิง GED Guru จาก ignite นะคะ ช่วงนี้มีน้องๆ ถามกันมาเยอะมากว่า ทำยังไงให้ได้คะแนน GED สูงกว่า 660 คะแนน เพื่อให้มีสิทธิ์ยื่นเรียนต่อมหาวิทยาลัยชื่อดัง ไม่ว่าจะเป็นจุฬาฯ, มธ., MUIC และอีกหลายๆ ที่ เดี๋ยววันนี้พี่หมิงจะมาแชร์วิธีการที่พี่ใช้โค้ชน้องๆ คลาส GED ให้พวกเขาได้คะแนนตามเป้าหมาย ก่อนอื่นพี่ขอแบ่งทักษะออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ Skillset และ Mindset Skillset – ทักษะที่ใช้ในการเตรียมตัวสอบ GED 1. รู้กติกาการสอบ GED อย่างละเอียด ข้อนี้สำคัญมากนะคะ พี่หมิงเจอน้องๆ หลายคนมากที่ไม่รู้ว่ากติกาของ GED (บางคนไม่รู้ว่า GED สอบได้ครั้งเดียว!) ไปสอบจริงแล้วคะแนนไม่ตามเป้า กว่าจะ rescore […]
Comments (0)
Comments