เจาะลึก 5 ภาคของ ISE คณะวิศวะอินเตอร์ จุฬาฯ กับน้องโพนี่ รุ่นพี่ ignite

สำหรับว่าที่ วิศวะอินเตอร์หลายๆคน ที่อยากเรียน ISE (INTERNATIONAL SCHOOL OF ENGINEERING) หรือ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลักสูตรนานาชาติ เคยรู้มาก่อนมั้ยว่า 5 ภาค ในคณะที่เราสนใจ ต้องเรียนอะไรบ้าง แล้วแต่ละภาคมีความน่าสนใจยังไง!? วันนี้พี่แอดมินมีรุ่นพี่ ignite ที่ตอนนี้เป็นนิสิตปีหนึ่ง จากคณะ ISE จะมาเล่า Insight ภายในคณะให้น้องฟังกันครับ ถ้าพร้อมแล้ว เราไปดูกันเลย
สวัสดีน้องๆ และทุกคนที่กดเข้ามาอ่านนะคะ ก่อนอื่นเลยพี่ขอแนะนำตัวก่อน พี่ชื่อ โพนี่ จบจากโรงเรียนนานาชาติเอกมัย (EIS) ตอนนี้เรียนอยู่ ISE ปีหนึ่ง ภาค ICE ค่ะ บทความนี้พี่ตั้งใจมาแชร์ Insight ของแต่ละ Major ใน ISE ที่หลายๆ คนอาจยังไม่รู้ หรือใครที่กำลังลังเลไม่แน่ใจว่าอยากเรียนสาขาวิชาไหนกันแน่ พี่อยากให้ลองอ่านดูเผื่อว่าจะช่วยตอบคำถามในใจของเราได้นะคะ อย่างที่เรารู้กันว่า ISE มีการให้เลือกภาคตั้งแต่ตอนเข้าปีหนึ่งแล้ว ซึ่งวิธีที่เค้าใช้ในการเลือกภาคก็จะเอาคะแนนสอบของเรามาจัดอันดับเป็น ranking โดยคนที่อันดับสูงกว่าก็จะมีสิทธิ์ในการเลือกภาคก่อน แล้วคนที่อยู่อันดับต่ำกว่าก็จะต้องมาลุ้นกันว่าภาคที่ตัวเองอยากจะเข้านั้น จำนวนที่ๆ รับจะเต็มก่อนถึงอันดับของเรารึเปล่า ใน ISE ก็จะมีด้วยกันทั้งหมด 5 ภาค เรามาดูกันว่ามีอะไรบ้าง
5 Major ของ ISE คณะวิศวะอินเตอร์ จุฬาฯ
1. Automotive Design and Manufacturing Engineering - วิศวกรรมการออกแบบและการผลิตยานยนต์
ADME ภาคแอดมี่ นี้ก็ตรงตามชื่อเลยจะเป็นการเรียนเกี่ยวข้องกับเครื่องกลและยานยนต์ค่ะ ตอนอยู่ปีหนึ่งภาคนี้ รวมถึงภาค ICE ด้วยเช่นกัน จะเรียนวิชาปูพื้นฐานสำหรับวิศวกรรมที่คล้ายกันเป็นส่วนใหญ่ แต่จะมีบางวิชาที่ปูพื้นฐานเพิ่มเติมเฉพาะสำหรับแต่ละสาขาที่อาจจะแตกต่างจากสาขาอื่นๆ ไปบ้าง พอปีสองขึ้นไปภาคนี้จะมีวิชาเกี่ยวกับเครื่องยนต์ให้เลือกเรียนและได้ลงมือทำ อย่างปีก่อนๆ ก็จะมีรุ่นพี่ประกอบรถเล็กๆ มาขับแสดงให้ดูในงาน open house
2. Aerospace Engineering - วิศวกรรมอากาศยาน
AERO ภาคแอโร่ เป็นภาคที่เรียนเรื่องเกี่ยวกับเครื่องบินและยานยนต์ อย่างเพื่อนๆ ของพี่ที่ตอนนี้อยู่ปีหนึ่ง ก็จะมีโปรเจคสร้างเครื่องบินกระดาษด้วยความรู้วิชาภาคเกี่ยวกับเครื่องบินของจริงที่เรียนกันมา หลายคนที่ตั้งใจเข้าภาคนี้ก็จะชอบเครื่องบินกันมาก ภาคนี้จึงเป็นภาคที่น่าแนะนำมากหากน้องสนใจมาด้านนี้อยู่แล้ว
3. Nano Engineering - วิศวกรรมนาโน
NANO ภาคนาโน ถึงแม้ว่าตอนนี้จะยังไม่ได้ฮิตเท่าภาคอื่นแต่ก็เป็นภาคที่น่าสนใจไม่แพ้กันเลย เพราะเป็นการผสมผสานของภาคไฟฟ้า เคมี ชีวะ และวิชา Material นิสิตภาคนี้สามารถเลือกสาขาเฉพาะทางได้ระหว่าง Bio engineering กับ Advanced material engineering และ จริงๆ แล้วภาคนาโนอาจจะถูกใจน้องๆ ที่อยากเรียนวิศวะแต่ยังลังเล เพราะชอบเคมีกับชีวะด้วย รุ่นพี่ที่จบไปบางคนก็ได้ทำงานให้ห้องแลปงานวิจัยหรือตามบริษัทต่างๆ
4. Information & Communication Engineering - วิศวกรรมสารสนเทศและการสื่อสาร
ICE ภาคไอซ์ ซึ่งเป็นภาคที่พี่เลือก จะเรียนเกี่ยวกับคอมและไฟฟ้า เป็นภาคที่ผสมผสานระหว่างคอม ไฟฟ้า และ อุตสาหการ ส่วนวิชาที่เรียนก็อย่างที่ทุกคนเข้าใจ ภาคเราจะเรียนเกี่ยวกับโปรแกรมมิ่ง software, networking บางปีก็จะมีเรียนวิชาเกี่ยวกับบริหารด้วย แต่อย่างที่พี่บอกว่าตอนปีหนึ่งเราจะยังไม่ได้เรียนวิชาภาคเลย น้องจะได้เริ่มเข้าเรียนวิชาภาคตอนปีสองนะคะ
5. Robotic and AI - วิศวกรรมหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์

หลังจากแนะนำแต่ละภาควิชาของ ISE ไปคร่าวๆ แล้วพี่ก็อยากพูดถึงอีกประเด็นที่หลายคนอาจจะอยากรู้และสงสัยอย่างเรื่องวิชาเรียนที่เข้าวิศวะฯ มาแล้วจะเจอ
ตอนปีหนึ่ง ที่จริงแล้วจะเป็นการเรียนในวิชาพื้นฐาน อย่าง ฟิสิกส์ เคมี แคลคูลัส แลปเคมี แลปฟิสิกส์ แล้วปีต่อไปถึงจะเรียนวิชาเฉพาะของแต่ละภาค ซึ่งประเด็นที่น่าสนใจคือ เราจะมีเรียนวิชาอย่างอื่นที่เราไม่เคยเรียนกันมาก่อนด้วยนะ เช่น วิชาดรอวอิ้ง (Drawing) และ โปรแกรมมิ่ง (Programing) โดยที่สองวิชานี้เรียกได้ว่าเป็นวิชาที่ท้าทายมากๆ โดยเฉพาะวิชา Drawing จะเป็นวิชาที่ไม่ว่าใครก็ไม่น่าเคยเรียนกันมาก่อนที่โรงเรียน อย่างเช่นการวาดรูปแบบมุมมองต่างๆ ของวัตถุหรือว่าการวาดโดยใช้เครื่องมืออย่างวงเวียนหรือสามเหลี่ยม แล้วก็จะมีใช้เทคนิคการวาดหลายๆ อย่างอีกด้วย เพราะฉะนั้นน้องๆ คนไหนที่ตกใจเพราะว่าคิดว่าวิชานี้คือการวาดรูปแล้วตัวเองวาดรูปไม่สวยก็ไม่ต้องกังวลไปนะคะ เพราะว่าวิชานี้ใช้ความละเอียดและความแม่นยำล้วนๆ เลย โดยที่แทบไม่ได้มีการใช้ศิลปะมาเกี่ยวข้อง
ตอนปีสอง นั้นแต่ละภาคก็จะเริ่มแบ่งไปเรียนวิชาภาคของใครของมัน แต่ก็จะมีบางวิชาที่อาจจะเรียนร่วมกับเพื่อนๆ ภาคอื่นด้วย อย่างเช่นวิชา Statistics เลขบางตัวหรือฟิสิกส์ที่จะมีโอกาสได้เรียนกับเพื่อนๆ ภาคอื่นด้วย ดังนั้น เราไม่ต้องกลัวจะเหงาเลย เพราะจะมีโอกาสได้รู้จักกับเพื่อนๆ ภาคอื่นแน่นอนจ้า
สำหรับน้องๆ ที่ยังไม่มั่นใจเรื่องภาคที่ตัวเองจะเลือกแล้วถามมาว่าหากเข้าไปแล้วสามารถย้ายภาคได้ไหม พี่ขอตอบเลยว่า เราสามารถย้ายภาคตอบจบปีหนึ่งแล้วขึ้นปีสองได้ค่ะ ซึ่งเกณฑ์การคัดเลือกอาจจะไม่เหมือนกันทุกปี แต่ปีที่ผ่านมานั้น การขอย้ายภาคเราต้องทำเกรดเฉลี่ยให้ดี โดยได้เกรดเฉลี่ยมากกว่าเกรดเฉลี่ยของคนที่ต่ำสุดในภาคนั้น แต่ทั้งนี้การย้ายภาคก็ต้องมีที่สำหรับให้เราย้ายเข้าได้ด้วย ซึ่งโดยปกติจำนวนที่สามารถย้ายเข้าได้จะเท่ากับจำนวนคนที่ย้ายออกจากภาคค่ะ แล้วพอย้ายภาคสำเร็จก็ต้องกลับไปเก็บวิชาภาคที่บางภาคเค้าเรียนกันไปแล้ว เช่น AERO ADME AI NANO อาจจะเรียนไปแล้วตอนปีหนึ่ง ซึ่งถ้าน้องอยากทราบรายละเอียดที่ลึกกว่านี้ สามารถเข้าไปพูดคุยปรึกษากับพี่ๆ ใน ISE Office ได้ค่ะ แต่เท่าที่พี่เห็นส่วนใหญ่คนที่เรียนจนจบปีหนึ่งแล้วก็มีเปลี่ยนใจที่จะไม่ย้ายภาคเหมือนกันนะ เพราะเค้ารู้สึกสนิทและคุ้นชินกับเพื่อนๆ ในภาคตัวเองมากกว่าไปแล้ว
พูดถึงเรื่องวิชาการเครียดๆ กันไปแล้วเรามา ถาม-ตอบ เรื่องที่น่าสนใจ อื่นๆ เกี่ยวกับคณะที่น้องๆ มักถามเข้ามากันดีกว่า
Q: มีกิจกรรมรับน้องไหม? จะได้เจอเพื่อนต่างภาคหรือภาคไทยไหม? หรือว่าสังคมการใช้ชีวิตที่มหาลัยเป็นยังไง? เพื่อนๆที่คณะเป็นแบบไหนบ้าง?
อยากจะบอกน้องๆ เลยนะคะว่ามีแน่นอนค่ะ เรื่องกิจกรรมนี่ถ้าเราสนใจตอนปีหนึ่งมีกิจกรรมเยอะมากมายให้เราได้เข้าร่วม อย่างเช่น เราสามารถเลือกเข้าร่วมชมรมที่สนใจ หรือเป็นพี่ช่วยจัดทำค่ายลานเกียร์ในน้องๆ มัธยมก็ได้นะ พอเราร่วมทำกิจกรรมเราก็จะได้เพื่อนใหม่ๆมากมายทั้งเพื่อนต่างภาคและเพื่อนๆภาคไทย อย่างน้องผู้หญิงที่กลัวว่าจะไม่มีเพื่อนเพราะว่าเพื่อนที่โรงเรียนไม่ได้เข้าวิศวะฯ บอกได้เลยว่าไม่ต้องกังวลเลยเพราะว่ามาเรียนที่นี่จะได้เจอเพื่อนใหม่ๆ อย่างแน่นอน นอกจากนี้ก็ยังได้เจอเพื่อนที่เคยเรียน Ignite ด้วยกันหลายคน ส่วนสังคมและชีวิตประจำวันที่มาเรียนที่มหาลัยนับว่าดีและสะดวกสบายมาก เพราะว่ารุ่นพี่และเพื่อนๆ ทุกคนที่รู้จักก็น่ารักและเฟรนด์ลี่มาก

อ่านกันมาถึงตรงนี้พี่ก็อยากจะให้กำลังใจน้องๆ ทุกคนที่กำลังเตรียมตัวสอบอยู่หรือยังลังเลเกี่ยวกับคณะที่อยากเข้า และพี่ก็หวังว่าบทความนี้จะช่วยน้องๆ ได้ไม่มากก็น้อย และพี่ก็อยากฝากน้องๆ ว่านอกจากเตรียมสอบ SAT แล้วก็อยากให้น้องๆ ฝึกพื้นฐานของแต่ละวิชาให้ดีด้วย เพราะว่าพื้นฐานเหล่านี้สำคัญต่อการเรียนในมหาลัยมากจริงๆ ส่วนน้องคนไหนที่รู้สึกเหนื่อย เครียด หรือท้อแท้ในการสอบ พี่ขอเป็นกำลังใจให้ เราอาจจะเหนื่อยหน่อยในวันนี้ แต่สุดท้ายพอเราสอบติด ความดีใจตรงนั้นจะทำให้น้องได้รู้ว่าสิ่งที่ผ่านมาที่เราได้ทำนั้นมันคุ้มค่าแค่ไหน ถือว่าเราเหนื่อยกว่าตอนนี้ แต่เราติดก่อน แล้วเราสบายก่อนนะ
สุดท้ายก็สู้ๆ นะจ๊ะ ขอให้น้องทุกคนได้เข้าคณะตามที่ใฝ่ฝันนะ ไม่มีอะไรยากเกินความสามารถของเราอย่างแน่นอน
เป็นอย่างไรบ้างครับกับ การแชร์ Insight 5 ภาคของคณะ ISE จุฬาฯ โดยพี่โพนี่ พี่แอดมินเชื่อว่าน้องๆ หลายคนที่ได้อ่านบทความนี้จะได้ประโยชน์และความรู้ดีๆ ที่ช่วยในการตัดสินใจเลือกเรียนที่ ISE จุฬาฯ นะครับ
น้องๆ คนไหนที่สนใจอยากเตรียมตัวเพื่อสอบติดคณะวิศวะอินเตอร์ เหมือนพี่โพนี่…สามารถเข้ามาขอรับคำปรึกษาและวางแผนการเรียนได้ที่ ignite by OnDemand ไม่ว่าน้องๆ จะเป็นคนชอบเรียนในรูปแบบใด คอร์สสด, Mini Class, One on One หรือ คอร์สเรียนออนไลน์ในระบบ Learn Anywhere พี่ๆ พร้อมช่วยเหลือทุกคน ให้ทุกคนมั่นใจได้เลยว่าจะสอบติดคณะในฝันกันชัวร์ๆ
สามารถสมัครคอร์สเรียนออนไลน์ ด้วยตัวเองได้ง่ายๆ ผ่าน ShopOnline ของ ignite …พร้อมแล้วลุยเลย >> https://shop.ignitebyondemand.com/
ดูรายละเอียดคอร์สเรียน SAT, SAT Subject Tests, IELTS ทั้งหมดได้ทาง >> https://www.ignitebyondemand.com/our-courses/
ปรึกษาสอบถามรายละเอียดการเรียนต่อในคณะวิศวะอินเตอร์ หรือ คณะอินเตอร์ยอดฮิตอื่นๆ ได้ทาง Line : @ignitebyondemand หรือโทร 02-6580023 , 091-5761475
Related Blog & News
ข่าวสารและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง
-
Blog, SAT
รีวิวเตรียมตัวสอบและสัมภาษณ์จนติด BBA TU โดยน้องภูมิ – ก๊อต คู่หู คู่ฮาจากรั้ว BBA TU ปีล่าสุด!
สวัสดีครับน้องๆ สำหรับหลายคนที่อยากเข้าเรียน BBA หรือหลักสูตรบริหารอินเตอร์นั้น อาจจะคิดว่าการสอบเข้า BBA เป็นเรื่องง่ายๆ ชิวๆ แต่เดี๋ยวก่อน!! วันนี้รุ่นพี่ ignite 2 คน ซึ่งตอนนี้เพิ่งเป็นนักศึกษา BBA TU (หลักสูตรการบริหารธุรกิจ ภาคอินเตอร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) ไปหมาดๆ จะมาเล่าให้น้องฟังว่า การสอบเข้า BBA ไม่ได้ง่ายอย่างที่น้องคิด!! ถ้าพร้อมแล้ว เราไปดูกันดีกว่าครับว่าพี่ๆ เค้าพยายามกันมากแค่ไหน และมีวิธีเตรียมตัวสอบเข้ากันยังไงให้ติดคณะในฝัน? Q : แนะนำตัวให้น้องๆ ignite รู้จักกันหน่อยครับ ก๊อต : สวัสดีน้องๆ ครับ พี่ชื่อ ก๊อต-พจนารท จบจากโรงเรียนสารสาสน์วิเทศรังสิตครับ ตอนนี้สอบติด BBA (หลักสูตรการบริหารธุรกิจ) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ครับ ภูมิ : พี่ชื่อ ภูมิ-จารุภูมิ จบจากโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยมครับ ตอนนี้สอบติด BBA ธรรมศาสตร์ คณะเดียวกันกับก๊อตเลยครับ Q […]
Comments (0)
-
Blog, Medical TCAS 1 (Portfolio)
รีวิวการเตรียมตัวสอบเข้า แพทย์จุฬาฯ รอบ Portfolio แบบฉบับเด็กโรงเรียนไทย จากน้องกู๊ด สวนกุหลาบวิทยาลัย
สวัสดีน้องๆ ว่าที่หมอทุกคนครับ วันนี้พี่แอดมินพาพี่กู๊ด รุ่นพี่ ignite จากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ที่ตอนนี้เป็นรุ่นพี่คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย …มาแนะนำ การเตรียมตัวสอบเข้าคณะแพทย์ รอบ Portfolio แบบฉบับนักเรียนไทย ให้น้องๆ มั่นใจว่าจะสอบติดชัวร์ๆ นะครับ พร้อมแล้วไปอ่านกันได้เลย !! เรียนโรงเรียนไทย…ทำไมเลือกสอบเข้าคณะแพทย์ ด้วยข้อสอบอินเตอร์ใน TCAS รอบ 1 ? น้องๆ หลายคนคงสงสัยว่า พี่เป็นเด็กโรงเรียนไทย แต่ทำไมเลือกสอบเข้าคณะแพทย์ ด้วยข้อสอบอินเตอร์ เดี๋ยววันนี้พี่จะแนะนำข้อดีของการเตรียมตัวสอบเข้าหมอรอบ Portfolio ให้ฟังนะครับ TCAS รอบ 1 ช่วยเพิ่มโอกาสที่เราจะสอบติดหมอได้มากขึ้น เพราะถ้าเรามุ่งเน้นที่ รอบ กสพท. แต่เพียงอย่างเดียวก็เหมือนเป็นการตัดโอกาสของตัวเองทิ้งไปดื้อๆ พี่เลยเลือกเตรียมตัวรอบ 1 ให้เรามีเส้นทางสู่การเป็นหมอเพิ่มขึ้นครับ ซึ่งสำหรับพี่คิดว่า เราสามารถเตรียมสอบแพทย์ […]
Comments (0)
-
Blog, SAT
รีวิวสอบเข้า INDA CU อย่างละเอียด โดยน้องมิ้นท์ สตรีวิทยา
สวัสดีน้องๆ ที่อยากเข้า INDA (International Program in Design and Architecture) หรือ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาวิชาการออกแบบสถาปัตยกรรม (หลักสูตรนานาชาติ) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทุกคนนะครับ วันนี้แอดมินพาพี่มิ้นท์ รุ่นพี่ ignite ที่สอบติด INDA รอบ Early ปีล่าสุดมารีวิวการเตรียมตัวสอบ และการสอบ ตั้งแต่การเก็บคะแนนเพื่อยื่น การสอบรอบข้อเขียน และการสอบสัมภาษณ์ เพื่อช่วยให้คำแนะนำน้องๆ ใช้เป็นแนวทางในการเตรียมตัวกัน จะมีอะไรน่าสนใจบ้าง ไปฟังกันเลย Q: ช่วยแนะนำตัวให้น้องๆ ignite รู้จักกันหน่อยครับ A: ชื่อมิ้นท์ค่ะ จบจากโรงเรียนสตรีวิทยาค่ะ สอบติด INDA จุฬาฯ ค่ะ Q: เล่าให้ฟังหน่อยได้ไหมครับว่าทำไมถึงอยากเรียน INDA A: หนูชอบวาดรูปมาตั้งแต่เด็กๆ พอมีพื้นฐานศิลปะบ้าง มีคนมาพูดกับหนูตลอดว่าทำไมไม่ทำสิ่งที่ตัวเองวาดให้เป็นจริง หรือ เอาความสามารถไปช่วยคนอื่น เลยลองมาศึกษาด้านนี้ก็รู้สึกว่าเจ๋งดี […]
Comments (0)
-
Blog, CU-ATS/CU-AAT
5 เทคนิคพิชิต CU-ATS Physics 800 เต็ม By P’Ink
สวัสดีครับน้องๆ ทุกคน เปิดต้นปี 2022 มาได้ไม่นาน เชื่อว่าน้องหลายๆ คน กำลังวางแผนการเตรียมตัวสอบกัน วันนี้พี่อิ๊งค์อยากจะมาแชร์ประสบการณ์และ เทคนิคเก็บ CU-ATS Physics 800 เต็ม ถึงแม้ฟังดูแล้วเหมือนจะยาก ด้วยเวลาที่จำกัดและข้อสอบที่ไม่ได้ง่ายซะทีเดียว แต่พี่เชื่อว่าถ้าน้องลองนำเทคนิคที่พี่แชร์เหล่านี้ไปปรับใช้ คว้าเต็มไม่ยากอย่างที่คิดแน่นอน ทำความรู้จักข้อสอบ CU-ATS Physics ข้อสอบ CU-ATS (Chulalongkorn University Aptitude Test for Science) คือ ข้อสอบที่ใช้วัดความถนัดทางวิทยาศาสตร์เพื่อใช้ในการพิจารณาผู้ยื่นเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรี ของหลักสูตรนานาชาติ จุฬาฯ โดยลักษณะข้อสอบคล้ายกับข้อสอบ SAT Subject Tests แต่ความยากของเนื้อหาจะแตกต่างกันออกไป เมื่อน้องๆ สมัครสอบ CU-ATS ไปแล้วจะต้องสอบ 2 วิชานั่นคือ CU-ATS Physics CU-ATS Chemistry […]
Comments (0)
Comments