8 อย่างที่ต้องรู้เกี่ยวกับการสอบ BMAT

BMAT คืออะไร? คำถามที่หลายๆคนสงสัย
BMAT (Biomedical Admission Test) คือ การสอบเฉพาะทาง สำหรับผู้ที่ต้องการเข้าศึกษาต่อ ในสาขาการแพทย์ สัตวแพทย์ ซึ่งจัดทำโดย Cambridge Assessment โดยเมื่อปีการศึกษา 2560 หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เปิดรับนักศึกษาแพทย์ โดยการยื่นคะแนน BMAT เป็นปีแรก และในปีต่อๆมาก็มีคณะแพทย์ชื่อดังของมหาวิทยาลัยต่างๆ เปิดรับนักศึกษาแพทย์โดยใช้คะแนน BMAT มากขึ้นครับ ซึ่งในปัจจุบันสามารถใช้คะแนน BMAT ยื่นตามคณะต่างๆได้ ดังนี้
- แพทย์จุฬาฯ จำนวน 18 คน
- แพทย์รามาฯ จำนวน 25 คน
- แพทย์ขอนแก่น จำนวน 98 คน
- แพทย์เชียงใหม่ จำนวน 5 คน
- แพทย์ลาดกระบัง จำนวน 45 คน
- แพทย์มศว. และ University of Nottingham (Joint Medical Programme) จำนวน 20 คน
- แพทย์ธรรมศาสตร์ (CICM) จำนวน 30 คน
- ทันตะธรรมศาสตร์ (CICM) จำนวน 18 คน
โหหหห!! เห็นกันได้ชัดเลยว่า จำนวนที่นั่งรวมของทุกคณะที่ใช้คะแนน BMAT ยื่นได้ รวมกว่าเกือบ 300 ที่นั่ง!!! (อ้างอิงจากประกาศปีการศึกษา 2561) แต่ขอเน้นเลยนะครับว่า การใช้คะแนน BMAT ยื่น เป็นการเข้าโครงการโดยใช้ ความสามารถพิเศษทางภาษาอังกฤษ แต่เข้าไปเรียนกับน้องๆที่สอบเข้า กสพท. โดยไม่มีการเรียนต่างกันเลยนะครับ
ข้อสอบ BMAT มีกี่ PART? ออกสอบอะไรบ้าง?
ข้อสอบ BMAT แบ่งออกเป็น 3 parts ด้วยกันครับ ได้แก่
PART 1: APTITUDE & CRITICAL ANALYSIS
- ทดสอบทักษะทั่วไป ในการแก้ปัญหา ความเข้าใจ การโต้แย้ง และการวิเคราะห์ข้อมูล และการอนุมาน
- จำนวนข้อ : 35 multiple-choice questions
- เวลา 60 นาที
PART 2 : SCIENTIFIC KNOWLEDGE
- เนื้อหาครอบคลุมวิชาคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี และชีววิทยา
- จำนวนข้อ : 27 multiple-choice questions
- เวลา 30 นาที
PART 3 : WRITING
- ความสามารถในการเลือกพัฒนา หรือจัดการความคิด และสื่อสารด้วยการเขียน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ
- เป็นการเขียนตอบคำถาม 1 ข้อ โดยเลือกจาก 3 ข้อที่ให้มา
- เวลา 30 นาที
ยื่นด้วยคะแนน BMAT ต้องเข้าไปเรียนแบบอินเตอร์และมีค่าใช้จ่ายแบบอินเตอร์ หรือไม่
คำตอบ คือ ไม่ใช่ครับ แพทย์ จุฬาฯ, แพทย์ รามาฯ, แพทย์ ขอนแก่น, แพทย์ เชียงใหม่ เข้าไปเรียนกับเพื่อนๆที่รับผ่านทาง กสพท จ่ายค่าเทอมเท่ากันหมด ไม่ได่จ่ายแพงเหมือนหลักสูตรอินเตอร์
แล้วการใช้คะแนน BMAT ยื่น ดีกว่าสอบเข้าแบบ กสพท. ยังไง?
- น้องๆจะสอบติด คณะแพทย์ได้ก่อนใคร เพราะคณะแพทย์หลายมหาวิทยาลัย เปิดรับด้วยการยื่นคะแนน BMAT ตั้งแต่ TCAS รอบที่ 1
- คณะแพทย์ที่รับโดยการยื่นคะแนน BMAT เปิดรับกว่า 300 ที่นั่ง
- คู่แข่งน้อยกว่า เมื่อเทียบกับการสอบ กสพท.
คำถามที่น้องๆถามมากันบ่อยเกี่ยวกับการสอบ BMAT
- Q: เนื้อหา BMAT เหมือน กสพท. ไหม?
- A: เนื้อหาเหมือนกันบางส่วน แต่ก็มีบางส่วนที่ไม่ซ้ำกัน
- Q: ถ้าไม่เก่งภาษาอังกฤษ สอบได้ไหม?
- A: น้องๆควรมีภาษาอังกฤษที่แข็งแรง เนื่องจากข้อสอบเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมดครับ
- Q:ควรเตรียมตัวตั้งแต่เมื่อไร
- A:พี่ว่าควรเริ่มให้เร็วที่สุด จะได้ไม่เครียดตอนช่วง ม. 6 คำว่าเร็วที่สุดพี่หมายถึง ม. 4 กำลังดีครับ ค่อยๆทะยอยเรียนและอ่านไป
รายละเอียดการสอบเป็นยังไง?
ปีนี้มีการจัดสอบ BMAT ดังนี้ครับน้องๆ
กำหนดการรอบเดือน สิงหาคม (AUGUST)
สมัครสอบ : 24 มิ.ย.-11 ส.ค. 62
วันสอบ : 31 ส.ค. 62
ประกาศผล : 20 ก.ย. 62
ค่าสมัครสอบ : รอบ ส.ค. £119 (ชำระผ่านบัตรเครดิตเท่านั้น) ประมาณ 4,700 บาท*
สถานที่สมัครสอบ :
1.สมัครที่ : https://www.metritests.com/metrica/productscatalog.aspx
กำหนดการรอบเดือน ตุลาคม (OCTOBER)
สมัครสอบ : 1 ก.ย.-1 ต.ค. 62
วันสอบ : 30 ต.ค. 62
ประกาศผล : 22 พ.ย. 62
ค่าสมัครสอบ : รอบ ต.ค. £81 (ชำระผ่านบัตรเครดิตเท่านั้น) ประมาณ 3,200 บาท
สถานที่สมัครสอบ :
สมัครที่ : https://www.metritests.com/metrica/productscatalog.aspx
ทั้งนี้ทั้งนั้น พี่ขอบอกไว้เลยนะครับว่า สนามสอบอาจมีการประกาศเพิ่มเติมได้เสมอ ถ้าพี่รู้ความเคลื่อนไหว แล้วจะมารายงานน้องๆทันทีเลยครับ อย่าลืมติดตามกันนะครับ
น้องๆหลายคนอยากรู้ว่าข้อสอบ BMAT ยากแค่ไหน รีบเข้าไปดูข้อสอบเก่ากันตั้งแต่ปี 2003-2016 ได้เลยครับที่ http://www.admissionstesting.org/for-test-takers/bmat/preparing-for-bmat/practice-papers/ พี่บอกไว้เลยว่าไม่ใช่ง่ายๆแน่นอน แต่ลองทำกันดูก่อนครับ หากน้องๆมีปัญหาอะไร มาปรึกษาพี่ๆได้ตลอดเลยครับ
ถ้าน้องๆลองทำข้อสอบแล้ว ยังติดปัญหาคาใจอยู่หลายเรื่อง พี่เตรียมคอร์สIntensive Course for BMAT New Version ไว้ให้น้องๆแล้วครับ รับรองช่วยน้องได้ชัวร์!! มาลองฝึกทำข้อสอบเก่าย้อนหลัง 10 ปี กับพี่!! แถมยังมีโจทย์เสริมกว่า 400 ข้อให้น้องๆทำเพิ่มด้วย ผ่านข้อสอบมาเยอะขนาดนี้แล้ว คะแนนอัพกันเยอะแน่นอนครับ!!
Related Blog & News
ข่าวสารและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง
-
Blog, Medical TCAS 1 (Portfolio)
5 เหตุผลสุดปัง! ทำไมสอบแพทย์รอบ 1 (Portfolio) ถึงได้เปรียบกว่า
วันนี้พี่แอดมินพาพี่ๆ ignite idol คนเก่งมาพูดถึง 5 เหตุผลสุดปัง! ในการเตรียมตัวสอบเข้าคณะแพทย์ รอบ 1 ว่าทำไมการเตรียมตัวใน รอบ Portfolio ถึงได้เปรียบกว่า พร้อมเทคนิคพิเศษกันแบบจัดเต็ม! ถ้าพูดถึงคณะแพทยศาสตร์ นั้นเป็นคณะที่ต้องใช้เวลาในการเตรียมค่อนข้างสูง ทั้งรูปแบบการทำข้อสอบและการทำพอร์ตฟอลิโอและเป็นไปได้ว่าหลายคนอาจจะเลือกการสอบรอบที่ตัวเองเตรียมตัวมาพร้อมมากที่สุดก่อน แต่รู้หรือไม่ว่า…ถ้าน้องๆ สามารถเตรียมตัวให้พร้อมทันสอบตั้งแต่ TCAS รอบ 1 (Portfolio) ได้นั้นจะเพิ่มโอกาสในการติดพิชิตคณะแพทยศาสตร์ในฝันนั้น..ไม่ไกลเกินเอื้อมของทุกคนแน่นอน พี่ๆ เลยมีตัวอย่างจากรุ่นพี่ ignite ที่ติดคณะแพทยศาสตร์ ด้วยการสอบใน TCAS รอบ 1 (Portfolio) มาดูกันว่า..ทำไมทุกคนถึงเลือกสอบเข้าคณะแพทย์ตั้งแต่ TCAS รอบที่ 1 หรือ แพทย์รอบพอร์ตฟอลิโอ ที่น้องๆ หลายคนเรียก และพี่ๆ มีเทคนิคอะไรในการเตรียมตัวให้ทันเพื่อสอบเข้าคณะสุดหินที่ไม่ธรรมดาแบบนี้ได้ตั้งแต่รอบพอร์ตฟอลิโอ […]
Comments (0)
-
Blog, IELTS
รีวิวการสอบ IELTS แบบ Computer-delivered โดยน้องนโม เจ้าของคะแนน IELTS 8.0
หนึ่งในคำถามยอดฮิตที่น้องๆ ถามกันเข้ามาเยอะที่สุดคือ การสอบ IELTS แบบคอมพิวเตอร์ เป็นอย่างไร และการสอบแบบคอมหรือแบบกระดาษดีกว่ากัน วันนี้พี่เลยขอพาหนุ่มหล่อคนเก่งที่เพิ่งคว้าคะแนน IELTS 8.0 จากการสอบ Computer-delivered IELTS อย่างน้องนโม ภาคภพ เลขวัต จากโรงเรียนสาธิตมศว. ปทุมวัน มารีวิวการสอบ IELTS แบบคอมพิวเตอร์กันว่าในห้องสอบ น้องๆ จะต้องเจอกับอะไรบ้าง ไปลุยกันเลย! วิธีสมัครสอบ IELTS ไม่ว่าจะเป็นการสอบ IELTS แบบคอมพิวเตอร์ หรือ แบบกระดาษ น้องๆ สามารถสมัครสอบออนไลน์ ได้ผ่านเว็บไซต์ทางการของศูนย์สอบ โดยกดเลือกรูปแบบการสอบและสถานที่สอบได้เอง จากนั้นก็ทำการชำระค่าธรรมเนียมการสอบที่ปัจจุบันก็มีหลากหลายช่องทั้งการชำระผ่านบัตรเครดิตหรือการโอนเงิน แต่สิ่งที่สำคัญมากๆ สำหรับน้องๆ ที่ต้องการสมัครสอบและยังอายุไม่ถึง 18 ปี จะต้องทำการปรินท์ใบ Consent form หรือเอกสารยินยอม ให้ผู้ปกครองเซ็นรับรอง และนำมายื่นในวันสอบจริงพร้อมกับหลักฐานการสอบอื่นๆ ที่จำเป็นอย่างบัตรประจำตัวประชาชน ทั้งนี้ ขอแนะนำว่าน้องๆ ควรไปถึงสถานที่สอบก่อนเวลาอย่างน้อย 30 นาทีเพื่อถ่ายรูป, ลงทะเบียน, สแกนนิ้ว […]
Comments (0)
-
Blog, SAT Subject Tests
สรุปทางเลือกเมื่อ SAT Subject Tests ยกเลิก วิชาไหนบ้างที่ยื่นแทนได้?
เป็นข่าวใหญ่ระดับประเทศเลยทีเดียวสำหรับน้องๆ มัธยมที่อยากเข้าคณะอินเตอร์ เมื่อ College board ประกาศว่าต่อไปจะไม่มี Sat Subject test อีกแล้ว น้องๆ หลายคนที่วางแผนไว้ว่าจะสอบในอนาคตตอนนี้คงมีคำถามในใจกันเต็มไปหมด ว่า อ้าว แล้วคณะที่เราอยากเข้าจะทำยังไงละ มันจะส่งผลอะไรยังไงกับเราแค่ไหน ignite ก็เลยเขียนบทความนี้ขึ้นมาเพื่อที่จะเสนอแนวทางในการหาวิชาสอบทดแทนสำหรับน้องๆ ที่ยังมุ่งมั่นว่าจะเข้าคณะอินเตอร์ หรือ หมอในไทย โดยต้องบอกว่าสถานการณ์ตอนนี้ น้องๆ อินเตอร์อาจจะได้เปรียบกว่านิดหน่อย เพราะหลายคณะยังคงรับการยื่นคะแนน IB, A-Level ที่น้องๆ โรงเรียนนานาชาติต้องสอบกันในโรงเรียนอยู่แล้ว แต่น้องๆ ภาคไทยอย่าเพิ่งน้อยใจกันไป เพราะบางคณะยังคงเปิดให้ยื่นวิชาอื่นแทนด้วย จะเป็นอะไรนั้นตามดูกันได้เลยครับ เมื่อ SAT Subject test ยกเลิก เราจะใช้วิชาไหนสอบแทนได้บ้าง มาดูกันเลย ! #ทีมเด็กไทย เริ่มกันก่อนกับคณะยอดฮิต […]
Comments (0)
-
Blog
BJM คืออะไร? เรียนอะไรบ้าง? อยากสอบติดต้องทำอย่างไร?
สวัสดีน้องๆ สายศิลป์ทุกคนนะครับ พี่แอดมินพาคณะอินเตอร์ปังๆ มาแนะนำให้พวกเราได้รู้จักกันอีกแล้ว…วันนี้มาพบกับ BJM คณะอินเตอร์ยอดฮิตที่รับรองว่าตรงใจชาวสายศิลป์หลายคนแน่นอน ไม่พูดพร่ำทำเพลง เราไปทำความรู้จักกันว่า คณะ BJM คืออะไร? ในหลักสูตรเรียนอะไรบ้างกันเลยดีกว่า BJM คืออะไร? เรียนอะไร? BJM หรือ Bachelor of Arts Program in Journalism (Mass Media Studies) คือ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน สาขาวิชาสื่อ หลักสูตรนานาชาติ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ น้องๆ นิยมเรียกกันสั้นๆ ว่า คณะวารสารอินเตอร์หรือ BJM นั้นเอง สำหรับหลักสูตรนี้จะมีความคล้ายคลึงกับคณะนิเทศศาสตร์ที่พวกเราคุ้นเคยกันอยู่พอสมควรครับ แต่ที่ BJM จะเน้นเรียนครอบคลุมมากกว่า ไม่มีการเลือกสาขา เฉพาะเจาะจงแต่น้องจะได้เรียนครบเกี่ยวกับสื่อในทุกด้าน ตั้งแต่การผลิต ออกแบบ สร้างสรรค์ ภาพยนตร์ โฆษณา ประชาสัมพันธ์หรือวิทยุและโทรทัศน์ ไปจนถึงเรียนการบริหารการสื่อสาร ซึ่งรุ่นพี่แอบกระซิบมาว่าที่นี่เน้นเรียนปฏิบัติ น้องจะได้ศึกษาทั้งการเป็นเบื้องหน้าและเบื้องหลัง รับรอบว่ามาเรียน […]
Comments (0)
Comments