DD-CT KMUTT หลักสูตรเพื่อคนรักเกมและอนิเมชัน

คอเกมและคนรักแอนิเมชั่น ต้องห้ามพลาดที่จะทำความรู้จักกับหลักสูตร DDCT หลักสูตรล้ำๆ ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต 2 ปริญญา ที่ออกแบบมาเพื่อเกมเมอร์และแอนิเมเตอร์โดยเฉพาะ วันนี้พี่แอดมินขออาสาพาน้องๆ ไปทำความรู้จักกับหลักสูตรกันให้มากขึ้น พร้อมไหม… ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลยยยยย
หลักสูตร DD-CT คืออะไร?

DD-CT หรือ Digital Design & Creative Technology เป็นหนึ่งในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตของวิทยาลัยสหวิทยาการ ที่มีการพัฒนาหลักสูตรร่วมกันระหว่าง 3 สถาบัน คือ ศูนย์นวัตกรรมการออกแบบดิจิทัลและเทคโนโลยี ( DIDTC ), มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ( KMUTT ) และ DigiPen Institute of Technology, USA เป็นหลักสูตรที่มีการเรียนการสอนครอบคลุม ที่จะช่วยให้น้องๆ ที่สนใจสร้างเกมหรือแอนิเมชันของตัวเอง ได้เรียนรู้ขั้นตอนอย่างเจาะลึก และต่อยอดได้ไกลยิ่งขึ้น
ส่องหลักสูตร DD-CT

DDCT มีทั้งหมด 4 สาขาด้วยกัน ได้แก่ ประกอบด้วย หลักสูตร Digital Design 2 สาขาและ หลักสูตร Creative Technology 2 สาขา
1. Animation and VFX (DD-AV)
สาขานี้เหมาะกับน้องๆ ที่ชอบวาดภาพ เพราะน้องจะได้เรียนการสร้างตัวละครในแอนิเมชั่น ทั้งรูปแบบ 2D และ 3D รวมทั้งเรียนรู้การสร้างองค์ประกอบต่างๆ เช่น การวาดฉาก การจัดแสง รวมถึงการเลือกเสียงที่เหมาะสมในการบอกเล่าเรื่องราว ผ่านโปรแกรมต่างๆ อย่าง Photoshop, Maya, Houdini และในการทำโปรเจคจบการศึกษา น้องๆ ก็สามารถเลือกได้ว่าจะสร้างแอนิเมชันของตัวเอง หรือทำโปรเจคกับเพื่อนๆ สาขาอื่น
2. Game design and production (DD-GDP)
ชื่อระบุชัดขนาดนี้ สาขานี้ถูกใจคอเกมแน่นอน โดยน้องๆ ที่เรียนสาขานี้จะได้เรียนเกี่ยวกับการพัฒนาเกมละเอียดยิ๊บ ตั้งแต่กรรมวิธีการสร้างเกม รวมไปถึงแนวคิด และการวางแผนว่าควรสร้างเกมแบบไหนจึงจะถูกใจผู้เล่น น้องจะได้เรียนรู้การเขียน Coding เพื่อลองสร้างเกมเป็นของตัวเอง ร่วมกับเพื่อนๆ ในสาขาอื่น ไม่ว่าจะเป็น animation หรือ game engineering
3. Interactive Simulation (CT-IS)
อยากเรียนรู้การทำ CG หรือแบบจำลองต่างๆ สาขานี้ตอบโจทย์แน่นอน เพราะน้องๆ จะได้เรียนเจาะลึกทางด้านสื่อดิจิทัล การพัฒนา ทดสอบ ออกแบบ เสริมความเข้าใจในเชิงลึกของทฤษฎี วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ คณิตศาสตร์ และฟิสิกส์ เพื่อให้น้อง ๆ สามารถประยุกต์ความรู้ในการแก้ปัญหารวมถึงต่อยอดทำงานวิจัยในอนาคตได้
4. Game Engineering (CT-GE)
สาขานี้คือสาขาวิศวกรรมการสร้างเกม น้องๆ จะได้เรียนรู้การสร้างเกมผ่าน platform ต่างๆ ปูพื้นฐานการเขียนโปรแกรม และฝึกฝนการออกแบบเกมตลอดระยะเวลาการเรียน ร่วมกับเพื่อนๆ ในสาขาอื่นๆ
เรียน DD-CT ได้กี่ปริญญา

DDCT เป็นหลักสูตร 2 ปริญญา หรือ Double Degree
โดยจะจัดการเรียนที่ไทย 2 ปีและเรียนที่ต่างประเทศ 2 ปี เมื่อจบการศึกษาจะได้รับปริญญาตรี 2 ใบ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และ DigiPen Institute of Technology, USA ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่เป็นที่ยอมรับว่ามีความเชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์แอนิเมชั่น การพัฒนาวิดีโอเกม การออกแบบเกม การออกแบบเสียง และวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ เป็นระดับ Top 3 ของโลกเลยล่ะ
ค่าเทอมหลักสูตร DD-CT

สำหรับค่าเทอมของหลักสูตร DDCT
- ค่าเทอมการศึกษาที่ไทย จะอยู่ที่หน่วยกิตละ 5,500 บาท หรือโดยประมาณเทอมละ 150,000 บาท
- ค่าเทอมการศึกษาที่ USA จะมีค่าใช้จ่ายโดยประมาณที่เทอมละ 500,000 บาท หรือประมาณปีละ 1,000,000 บาทนั่นเอง
เรียน DD-CT ใช้คะแนนอะไรยื่นบ้าง?

ในส่วนของคะแนนที่ใช้ยื่น DDCT จะมีเกณฑ์คะแนนของวิชาภาษาอังกฤษเหมือนกันคือ
- IELTS ≥ 5.5
- TOEFL (Paper-Based) ≥ 500
- TOEFL (Computer-Based) ≥ 173
- TOEFL (Internet-Based) ≥ 63
- CU-TEP ≥ 61
โดยเลือกยื่นคะแนนภาษาอังกฤษเพียงคะแนนใดคะแนนหนึ่งเท่านั้น
แต่ความแตกต่างจะอยู่ตรงที่สายการเรียน กับ GPA
หลักสูตร DD : กำหนดให้มี GPA ≥ 2.50 โดยไม่จำกัดโปรแกรมการเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
หลักสูตร CT : กำหนดให้มี GPA ≥ 2.75 โดยต้องเป็นผู้ที่ศึกษาในสายวิทย์-คณิต หรือ คณิต-ภาษา และ คณิต-ศิลป์ ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเท่านั้น
จบ DD-CT ทำอาชีพอะไรได้บ้าง?

สายอาชีพของหลักสูตร DDCT เรียกได้ว่ามีความหลากหลาย แต่ทั้งหมดจะเกี่ยวข้องกับความชื่นชอบทางด้านเกมและแอนิเมชั่นอย่างแน่นอน เรียกได้ว่า ได้เรียนในสิ่งที่รัก และทำในสิ่งที่ชอบ แค่จินตนาการแบบนี้ พี่แอดมินก็มีความสุขแทนน้องๆ แล้ว สำหรับน้องๆ คนไหนที่อยากแชร์ประสบการณ์การเรียนคณะล้ำๆ ก็สามารถติดต่อพี่แอดมินมาได้ที่ Line : @ignitebyondemand แล้วมาแชร์ประสบการณ์สุด Cool กับเพื่อนๆ กันนะ
และสำหรับสายเกมเมอร์และแอนิเมเตอร์ที่อยากคว้าโอกาสเป็นตัวจริง DD-CT แต่ยังไม่แน่ใจว่าควรเลือกเก็บคะแนนวิชาภาษาอังกฤษตัวไหนดี ลองไปดู ความแตกต่างของ CU-TEP VS IELTS หรือ ทดลองทำข้อสอบ Placement เพื่อวัดว่าเราถนัดแบบไหนมากกว่ากัน และสามารถเอาผลคะแนนมาปรึกษากับพี่ๆ Education Consult ฟรี! แล้วมาจอยกันนะทุกคน
Related Blog & News
ข่าวสารและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง
-
Blog, IELTS
รีวิวการสอบ IELTS แบบ Computer-delivered โดยน้องนโม เจ้าของคะแนน IELTS 8.0
หนึ่งในคำถามยอดฮิตที่น้องๆ ถามกันเข้ามาเยอะที่สุดคือ การสอบ IELTS แบบคอมพิวเตอร์ เป็นอย่างไร และการสอบแบบคอมหรือแบบกระดาษดีกว่ากัน วันนี้พี่เลยขอพาหนุ่มหล่อคนเก่งที่เพิ่งคว้าคะแนน IELTS 8.0 จากการสอบ Computer-delivered IELTS อย่างน้องนโม ภาคภพ เลขวัต จากโรงเรียนสาธิตมศว. ปทุมวัน มารีวิวการสอบ IELTS แบบคอมพิวเตอร์กันว่าในห้องสอบ น้องๆ จะต้องเจอกับอะไรบ้าง ไปลุยกันเลย! วิธีสมัครสอบ IELTS ไม่ว่าจะเป็นการสอบ IELTS แบบคอมพิวเตอร์ หรือ แบบกระดาษ น้องๆ สามารถสมัครสอบออนไลน์ ได้ผ่านเว็บไซต์ทางการของศูนย์สอบ โดยกดเลือกรูปแบบการสอบและสถานที่สอบได้เอง จากนั้นก็ทำการชำระค่าธรรมเนียมการสอบที่ปัจจุบันก็มีหลากหลายช่องทั้งการชำระผ่านบัตรเครดิตหรือการโอนเงิน แต่สิ่งที่สำคัญมากๆ สำหรับน้องๆ ที่ต้องการสมัครสอบและยังอายุไม่ถึง 18 ปี จะต้องทำการปรินท์ใบ Consent form หรือเอกสารยินยอม ให้ผู้ปกครองเซ็นรับรอง และนำมายื่นในวันสอบจริงพร้อมกับหลักฐานการสอบอื่นๆ ที่จำเป็นอย่างบัตรประจำตัวประชาชน ทั้งนี้ ขอแนะนำว่าน้องๆ ควรไปถึงสถานที่สอบก่อนเวลาอย่างน้อย 30 นาทีเพื่อถ่ายรูป, ลงทะเบียน, สแกนนิ้ว […]
Comments (0)
-
Blog, Medical TCAS 1 (Portfolio)
รีวิวการเตรียมตัวสอบเข้า แพทย์จุฬาฯ รอบ Portfolio แบบฉบับเด็กโรงเรียนไทย จากน้องกู๊ด สวนกุหลาบวิทยาลัย
สวัสดีน้องๆ ว่าที่หมอทุกคนครับ วันนี้พี่แอดมินพาพี่กู๊ด รุ่นพี่ ignite จากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ที่ตอนนี้เป็นรุ่นพี่คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย …มาแนะนำ การเตรียมตัวสอบเข้าคณะแพทย์ รอบ Portfolio แบบฉบับนักเรียนไทย ให้น้องๆ มั่นใจว่าจะสอบติดชัวร์ๆ นะครับ พร้อมแล้วไปอ่านกันได้เลย !! เรียนโรงเรียนไทย…ทำไมเลือกสอบเข้าคณะแพทย์ ด้วยข้อสอบอินเตอร์ใน TCAS รอบ 1 ? น้องๆ หลายคนคงสงสัยว่า พี่เป็นเด็กโรงเรียนไทย แต่ทำไมเลือกสอบเข้าคณะแพทย์ ด้วยข้อสอบอินเตอร์ เดี๋ยววันนี้พี่จะแนะนำข้อดีของการเตรียมตัวสอบเข้าหมอรอบ Portfolio ให้ฟังนะครับ TCAS รอบ 1 ช่วยเพิ่มโอกาสที่เราจะสอบติดหมอได้มากขึ้น เพราะถ้าเรามุ่งเน้นที่ รอบ กสพท. แต่เพียงอย่างเดียวก็เหมือนเป็นการตัดโอกาสของตัวเองทิ้งไปดื้อๆ พี่เลยเลือกเตรียมตัวรอบ 1 ให้เรามีเส้นทางสู่การเป็นหมอเพิ่มขึ้นครับ ซึ่งสำหรับพี่คิดว่า เราสามารถเตรียมสอบแพทย์ […]
Comments (0)
-
Blog, SAT
รีวิวสอบเข้า INDA CU อย่างละเอียด โดยน้องมิ้นท์ สตรีวิทยา
สวัสดีน้องๆ ที่อยากเข้า INDA (International Program in Design and Architecture) หรือ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาวิชาการออกแบบสถาปัตยกรรม (หลักสูตรนานาชาติ) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทุกคนนะครับ วันนี้แอดมินพาพี่มิ้นท์ รุ่นพี่ ignite ที่สอบติด INDA รอบ Early ปีล่าสุดมารีวิวการเตรียมตัวสอบ และการสอบ ตั้งแต่การเก็บคะแนนเพื่อยื่น การสอบรอบข้อเขียน และการสอบสัมภาษณ์ เพื่อช่วยให้คำแนะนำน้องๆ ใช้เป็นแนวทางในการเตรียมตัวกัน จะมีอะไรน่าสนใจบ้าง ไปฟังกันเลย Q: ช่วยแนะนำตัวให้น้องๆ ignite รู้จักกันหน่อยครับ A: ชื่อมิ้นท์ค่ะ จบจากโรงเรียนสตรีวิทยาค่ะ สอบติด INDA จุฬาฯ ค่ะ Q: เล่าให้ฟังหน่อยได้ไหมครับว่าทำไมถึงอยากเรียน INDA A: หนูชอบวาดรูปมาตั้งแต่เด็กๆ พอมีพื้นฐานศิลปะบ้าง มีคนมาพูดกับหนูตลอดว่าทำไมไม่ทำสิ่งที่ตัวเองวาดให้เป็นจริง หรือ เอาความสามารถไปช่วยคนอื่น เลยลองมาศึกษาด้านนี้ก็รู้สึกว่าเจ๋งดี […]
Comments (0)
-
Blog, CU-ATS/CU-AAT
5 เทคนิคพิชิต CU-ATS Physics 800 เต็ม By P’Ink
สวัสดีครับน้องๆ ทุกคน เปิดต้นปี 2022 มาได้ไม่นาน เชื่อว่าน้องหลายๆ คน กำลังวางแผนการเตรียมตัวสอบกัน วันนี้พี่อิ๊งค์อยากจะมาแชร์ประสบการณ์และ เทคนิคเก็บ CU-ATS Physics 800 เต็ม ถึงแม้ฟังดูแล้วเหมือนจะยาก ด้วยเวลาที่จำกัดและข้อสอบที่ไม่ได้ง่ายซะทีเดียว แต่พี่เชื่อว่าถ้าน้องลองนำเทคนิคที่พี่แชร์เหล่านี้ไปปรับใช้ คว้าเต็มไม่ยากอย่างที่คิดแน่นอน ทำความรู้จักข้อสอบ CU-ATS Physics ข้อสอบ CU-ATS (Chulalongkorn University Aptitude Test for Science) คือ ข้อสอบที่ใช้วัดความถนัดทางวิทยาศาสตร์เพื่อใช้ในการพิจารณาผู้ยื่นเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรี ของหลักสูตรนานาชาติ จุฬาฯ โดยลักษณะข้อสอบคล้ายกับข้อสอบ SAT Subject Tests แต่ความยากของเนื้อหาจะแตกต่างกันออกไป เมื่อน้องๆ สมัครสอบ CU-ATS ไปแล้วจะต้องสอบ 2 วิชานั่นคือ CU-ATS Physics CU-ATS Chemistry […]
Comments (0)
Comments