อยากจบม.6 ตั้งแต่อายุ 16 ต้องรู้ คู่มือเขียน GED Parental Consent Form ฉบับจับมือทำ!

สวัสดีค่ะ ครูหมิง GED Guru จาก ignite นะคะ ช่วงนี้ก็เป็นช่วงที่น้องๆ หลายคนเริ่มไปสอบ GED เตรียมใช้ยื่นเข้ามหาวิทยาลัยกันแล้วและมีน้องอายุ 16-17 หลายคนเลยค่ะที่ทักเข้ามาถามวิธีเขียนไปจนถึงวิธีส่ง GED Parental Consent Form ดังนั้น วันนี้ครูหมิงเลยอยากมาเคลียร์ข้อสงสัย พร้อมสอนน้องๆ ทุกขั้นตอนในการกรอกเสมือนจับมือทำเลยค่ะ!
GED Parental Consent Form คืออะไร
GED Parental Consent Form คือ หนังสือแสดงความยินยอมของผู้ปกครองที่อนุญาตให้นักเรียนที่อายุยังไม่ถึง 18 ปีบริบูรณ์สามารถสอบและเทียบวุฒิ GED ได้ โดยต้องมีการยินยอมจากผู้ปกครองเป็นลายลักษณ์อักษร (Signature) และส่งเมล์ไปแจ้งทาง GED Official ให้ทำการปลดล็อคสิทธิ์เข้าสอบ GED ให้แก่น้องๆ ค่ะ
ดังนั้น หากน้องๆ อยู่ในช่วงอายุ 16-17 ปีและต้องการสอบ GED แล้วล่ะก็ อย่าลืมเผื่อเวลาทำ Consent Form และรอการอนุมัติจาก GED ด้วยนะคะ
วิธีเขียน Parental Consent Form
สำหรับคำถามนี้ ครูหมิงขอไล่ไปทีละ Step ให้น้องๆ เห็นภาพไปพร้อมกันนะคะ
1. เริ่มแรกเลยสำหรับน้องๆ ที่อายุไม่ถึง 18 ปี เมื่อน้องกด Schedule a test ในเว็บไซต์ GED จะขึ้น Alerts ดังรูปค่ะ โดยข้อความจะแจ้งให้น้องๆ ทำ Parental Consent Form ก่อน ในส่วนนี้ให้น้องกดไปที่ ‘Click here to print and download the Consent Form’

2. เมื่อน้องกดดาวน์โหลดแล้วจะได้เอกสารหน้าตาดังรูปค่ะ ให้น้อง ๆ ปรินท์ออกมาเพื่อกรอกข้อมูลตามที่เอกสารแจ้งค่ะ


- Candidate’s Name: กรอกชื่อ-นามสกุลภาษาอังกฤษของผู้เข้าสอบ
- Date of Birth: วัน/เดือน/ปีเกิดของผู้เข้าสอบ
- Print candidate’s name: ชื่อ-นามสกุลภาษาอังกฤษของผู้เข้าสอบ
- Print parent/legal guardian name: ชื่อ-นามสกุลภาษาอังกฤษของผู้ปกครอง

- Name: ชื่อ-นามสกุลภาษาอังกฤษของผู้เข้าสอบ/ผู้ปกครอง
- Signature: ลายเซ็นของผู้เข้าสอบ/ผู้ปกครอง
- Date: วันที่กรอกเอกสาร
- Test: GED 2014 (หมายถึง ข้อสอบ GED เวอร์ชั่นปี 2014)
ครูหมิงขอเน้นย้ำว่าให้น้องๆ เช็คข้อมูล วัน/เดือน/ปี ให้ดีนะคะ เพราะถ้ามีกรอกผิดจะต้องกรอกและส่งไปใหม่ อาจจะทำให้เสียเวลามากขึ้นได้ค่ะ
4. หลังจากกรอกเสร็จแล้วให้สแกนเอกสารและส่งเมล์ไปที่ help@ged.com แนะนำให้เขียนข้อความกำกับง่าย ๆ ตามภาพด้านล่างเลยค่ะ โดยก่อนที่จะส่งไป อย่าลืมแนบไฟล์และตรวจสอบความชัดเจนของรูปภาพและตัวอักษรด้วยนะคะ ถ้าอ่านออกชัดเจนก็ถือว่า OK พร้อมส่งแล้วค่ะ

ต้องรออนุมัตินานมั้ย?
เบื้องต้น GED จะส่งเมล์ตอบกลับ 2 ครั้งนะคะ
- ครั้งแรกจะตอบกลับมาภายใน 24 ชั่วโมงเพื่อบอกว่าได้รับเอกสารแล้วและจะนำเข้ากระบวนการอนุมัติต่อไป
- ครั้งถัดมาคือการแจ้งว่าเอกสารผ่านแล้ว โดยในส่วนนี้จะใช้เวลา 48-72 ชั่วโมง หลังจากการตอบกลับครั้งแรก (และในบางเคสอาจนานถึง 2 สัปดาห์)
ถ้าส่งไปแล้ว GED ไม่ตอบกลับต้องทำยังไง?
กรณีที่รอนานเกินสองสัปดาห์แล้วไม่ได้รับการอนุมัติ ขั้นแรกให้น้องๆ ย้อนกลับไปตรวจสอบเอกสารที่ส่งไปว่ามีส่วนใดผิดพลาดหรือไม่
ข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น
- ระบุวันเดือนปีเกิดผิด หรือ ชื่อนามสกุลผู้สอบ ไม่ตรงกับข้อมูลตอนสมัคร GED account
- เอกสารที่สแกนส่งไม่ชัดเจน ตัวอักษรจางจนมองไม่ชัด
- วันที่ส่งที่ระบุใน Consent form กับ วันที่นำส่งทางอีเมลไม่ตรงกัน เช่น ใน Consent form ระบุ 20th of August 2021 แต่ไปส่งเมลจริงในวันที่ 22nd of August 2021 เป็นต้น
หากตรวจสอบแล้วมีข้อผิดพลาดข้างต้น ให้ดำเนินการส่งเอกสารใหม่และเริ่มนับวันเพื่อรอใหม่อีกอย่างน้อยสองสัปดาห์ค่ะ
ดังนั้น น้องๆ อย่าลืมวางแผนและเผื่อเวลากันไว้ด้วยนะคะ หรือถ้าจะให้ดี ครูแนะนำว่าให้ทำ GED Parental Consent Form ตั้งแต่ช่วงเตรียมตัวสอบไปด้วยเลย พอเตรียมตัวเสร็จก็จะได้พร้อมสอบเลยค่ะ ไม่ต้องรอกันนาน
คอร์สเรียนเตรียมตัว GED จาก ignite

📣 ไม่ต้องรอจบม.6 ก็เข้ามหาวิทยาลัยก่อนใครได้ด้วย GED ‼️
🔻 คอร์สเตรียมตัวสอบ GED ออนไลน์ ในระบบ Anywhere
สมัครเรียนหรือสอบถามรายละเอียดการวางแผนเตรียมตัวสำหรับสอบ GED ได้ที่ Line id: @ignitebyondemand
เข้ากลุ่มพูดคุยเรื่องการเตรียมตัวข้อสอบ GED กับเพื่อนๆ และ ครูหมิง ที่จะคอยฟีดอัพเดตข่าวสารของข้อสอบ GED ที่กลุ่ม Line >> https://bit.ly/3oxfq15
ดูรายละเอียดคอร์สเรียน GED เพิ่มเติมได้ทาง >> https://www.ignitebyondemand.com/our-courses/ged/
ช้อป! คอร์สเรียน GED ออนไลน์ ด้วยตนเองได้ทาง Shop Online ignite คลิกเลย >> https://shop.ignitebyondemand.com/catalog/category/view/s/ged/id/629/
Related Blog & News
ข่าวสารและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง
-
ไม่มีหมวดหมู่, Blog, GED
GED Ready เครื่องมือ(ไม่)ลับ อัพคะแนนตามเป้า!
สวัสดีค่ะน้องๆ กลับมาพบกันอีกครั้งกับบทความ GED วันนี้พี่จะมาเล่าถึงเครื่องมือในการเตรียมสอบ GED ที่สำคัญมากๆ ที่เรียกว่า GED Ready โดยเฉพาะน้องๆ ที่วางแผนอยากจะไปสอบ GED และต้องการที่จะยื่นวุฒิตัวนี้เพื่อเข้าจุฬา หรือ ธรรมศาสตร์ ซึ่งตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นไป ทางที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ได้กำหนดเกณฑ์คะแนนขั้นต่ำของ GED จาก 145 คะแนน (High School Equivalency) เป็น 165 คะแนน (GED College Ready) บอกเลยว่ายากกว่าเดิมมาก และที่สำคัญนโยบายใหม่ของ GED ตั้งแต่ปี 2017 (แอบไปถามทาง GED มาแล้ว ข้อมูลนี้คอนเฟิร์ม!!) ระบุว่า หากสอบผ่าน GED High School Equivalency ไปแล้ว (145/200) การทำเรื่องขอสอบใหม่เพื่อต้องการปรับคะแนนขึ้นจะไม่สามารถทำได้ทุกคนแล้วนะคะ ส่วนใครแก้ได้ใครแก้ไม่ได้เดี๋ยวพี่จะให้ข้อมูลไว้ข้างล่างค่ะ แต่เอาเป็นว่าตอนนี้มีเงื่อนไขเกิดขึ้นใหม่มากมาย สำหรับใครที่ยังยืนยันจะสอบ […]
Comments (0)
-
Blog, SAT
How to เตรียมตัวสอบ SAT ให้ได้ 1530 ตั้งแต่ม.5 โดยน้องแนทเซนต์โย
สวัสดีครับน้องๆ วันนี้พี่ภัทร์ภูมิใจนำเสนอน้องสาวสุดน่ารักจาก ignite เจ้าของคะแนน SAT รวม 1530 ซึ่งถือว่าสูงมากๆ พี่ภัทร์เลยขอพาน้องสาวคนนี้ มาแชร์ไทม์ไลน์การ เตรียมตัวสอบ SAT พร้อมทั้งเทคนิคการพิชิตข้อสอบ SAT ให้ได้ Perfect score รับรองว่ายื่นที่ไหน ก็ติดแน่นอน เราไปทำความรู้จักน้องสาวคนนี้กันเลยครับผม Q: แนะนำตัวให้น้องๆ ignite รู้จักกันหน่อยครับ? น้องแนท: สวัสดีค่ะ แนท นะคะ ณัฐชา พิชิตธนารักษ์ ตอนนี้อยู่ ม.5 โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์ค่ะ แนทเพิ่งสอบ SAT รอบ September ของปีนี้เป็นครั้งแรกเลยค่ะ คะแนนที่ได้คือ 1530 โดยได้ SAT Math 780 และ SAT Reading and Writing 750 ค่ะ […]
Comments (0)
-
Blog, IELTS
คุยกับอดีต IELTS Examiner คนไทยในต่างแดน P’Patrick Oxford
น้องๆ หลายๆ คนอาจจะคุ้นหน้าหรือเคยเรียนกับพี่แพททริคกันมาบ้างแล้วไม่ว่าจะเป็นคอร์ส IELTS หรือ SAT Reading & Writing แต่ทราบหรือไม่ว่า จริงๆ แล้วพี่แพททริคเคยเป็นอดีต IELTS Examiner คนไทย ในต่างประเทศมาก่อน!!! ถ้าน้องๆ อยากรู้จักกับพี่แพททริคมากขึ้นไปอ่านกันต่อได้เลย Q: ช่วยแนะนำตัวหน่อยครับ A: สวัสดีครับ ชื่อพี่แพททริคครับ จบ Postgraduate Diploma ด้าน English for Academic Purposes จาก The University of Waikato ที่ New Zealand ปริญญาโทด้าน Digital Language and Literacies จาก Lancaster University แล้วก็ปริญญาโทอีกใบด้าน Teaching English Language […]
Comments (0)
-
Blog, CU-ATS/CU-AAT, SAT Subject Tests
คณะวิศวะ SIIT คืออะไร? เรียนอะไรบ้าง? อยากสอบติดต้องทำอย่างไร?
สวัสดีว่าที่น้องๆ วิศวะทุกคนนะครับ พี่แอดมินขอพามาทำความรู้จักกับคณะวิศวะอินเตอร์ “SIIT” หลักสูตรยอดฮิตที่เชื่อว่าน้องๆ ต้องเคยได้ยินชื่อมาแล้วแน่นอน เรียกว่าเป็นคณะที่เด็กมัธยมปลายหลายๆ คนใฝ่ฝันที่จะเข้าเรียนกันเลยทีเดียว แต่แค่เคยได้ยินชื่ออย่างเดียวคงไม่พอ วันนี้พี่แอดมินจะมาแนะนำข้อมูลเกี่ยวกับคณะวิศวะอินเตอร์ SIIT คืออะไร? เรียนอะไรบ้าง? อยากสอบติดต้องทำอย่างไร? ให้พวกเราไม่พลาดทุกประเด็นเกี่ยวกับคณะนี้เลยนะครับ ถ้าพร้อมแล้วไปทำความรู้จักวิศวะ SIIT พร้อมกันเลยจ้า วิศวะ SIIT คืออะไร? เรียนอะไร? SIIT (Sirindhorn International Institute of Technology) หรือ สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คือ คณะวิศวะอินเตอร์ที่เปิดสอนหลักสูตรนานาชาติ โดยมีทั้งหมด 9 สาขาวิชา ซึ่งเป็นหลักสูตรด้านวิศวกรรมศาสตร์ 7 สาขาและหลักสูตรการจัดการ 2 สาขา ทั้งนี้ SIIT จะเน้นการเรียนการสอนกับอาจารย์ที่มีคุณภาพ ด้วยความรู้ที่สามารถนำไปใช้ได้จริงในห้องแล็บที่ได้มาตรฐาน อุปกรณ์ครบครัน ซึ่งการเรียนการสอนของ SIIT จะเป็นภาษาอังกฤษทั้งเนื้อหาการเรียน แบบฝึกหัด การพรีเซนต์ต่างๆ และยังได้เรียนร่วมกับนักเรียนแลกเปลี่ยนหลากหลายเชื้อชาติอีกด้วย SIIT เป็นคณะที่มีทุนการศึกษาในแต่ละปีกว่า 200 […]
Comments (0)
Comments