รีวิวสัมภาษณ์คณะอินเตอร์สายศิลป์ยอดฮิต BALAC,COMMARTS,JIPP กับพี่ปีเตอร์ รุ่นพี่ ignite การันตีสอบติดทุกคณะ!

สวัสดีน้องๆ ทีมสายศิลป์ทุกคนครับ วันนี้พี่แอดมินพาพี่ปีเตอร์ TCAS63 รุ่นพี่ ignite ที่ได้มีโอกาสไปสัมภาษณ์และมีรายชื่อสอบติดจริงของคณะอินเตอร์สายศิลป์ยอดฮิตอย่าง BALAC CU (คณะอักษรศาสตร์ ภาคอินเตอร์ จุฬาฯ) และ COMMARTS CU (คณะนิเทศศาสตร์ ภาคอินเตอร์ จุฬาฯ) รวมทั้ง JIPP CU (คณะจิตวิทยา ภาคอินเตอร์ จุฬาฯ) มารีวิวบรรยากาศ แนวคำถามและสิ่งที่น้องควรต้องเตรียมตัวไปสัมภาษณ์…ถ้าพร้อมแล้วไปกันเลย !!
รีวิวสัมภาษณ์ COMMARTS จุฬาฯ (คณะนิเทศศาสตร์ ภาคอินเตอร์)

สำหรับ COMMARTS (คณะนิเทศศาสตร์ ภาคอินเตอร์ จุฬาฯ) จะเริ่มจากการแนะนำตัวครับ อาจารย์จะถามถึงอาชีพในอนาคตที่เราอยากทำด้วยแล้วจะให้อธิบายว่ามันเกี่ยวอย่างไรกับคณะนี้ และพี่อยากให้น้องๆ ให้ความสำคัญกับข่าวในปัจจุบันที่กำลังเป็นกระแสครับ เพราะอาจารย์จะถามถึงประเด็นเหล่านี้แบบลึกซึ้ง ทั้งนี้การสัมภาษณ์ของ COMMARTS จุฬาฯ จะใช้เวลาประมาณ 10-15 นาทีครับผม พูดคุยและโต้ตอบเป็นภาษาอังกฤษล้วนๆ กับอาจารย์ 2 คน…บางห้องอาจจะเจออาจารย์ต่างชาติทั้งคู่ หรือบางห้องก็มีอาจารย์ไทยคู่กับต่างชาติครับ แต่ขอบอกว่าไม่มีห้องที่เป็นอาจารย์คนไทยทั้งคู่นะครับ โดยรวมแล้วบรรยากาศการสัมภาษณ์จะเป็นทางการเลยครับ ถึงแม้ว่าคำถามและท่าทีของอาจารย์จะไม่กดดันมากเท่าไหร่ แต่ก็ไม่ได้คุยเล่น ถามอะไรเรื่อยเปื่อยนะครับ
อย่างที่บอกไปในตอนต้น พี่อยากให้น้อง เตรียมข่าวประจำตัวสัก 1 เรื่องก่อนไปสัมภาษณ์ น้องต้องอ่านข่าวนั้นให้ลึกซึ้งอย่างถ่องแท้ไปเลยว่าข่าวนั้นมีที่มาที่ไปอย่างไร รายละเอียดข่าวเป็นอย่างไรและประเด็นนั้นได้ส่งผลกระทบอย่างไรต่อสังคมบ้าง และเราต้องตอบทุกคำถามที่อาจารย์ถามกลับได้อย่างคล่องแคล่วด้วยนะ โดยในตอนนั้นพี่เตรียมข่าวไฟไหม้ป่าที่ประเทศออสเตรเลียไว้ครับ อีกคำถามที่น้องๆ ต้องระวังให้มากๆ ก็คือ คำถามที่ว่าน้องอยากเรียนวิชาอะไรใน COMMARTS จุฬาฯ ประเด็นนี้น้องๆ ต้องไปอ่านหลักสูตรของคณะมาว่ามีวิชาอะไรบ้างนะครับ และก็ต้องตอบให้ได้ด้วยว่าวิชานั้นเรียนเกี่ยวกับอะไร ทำไมอยากเรียนวิชานั้น? ซึ่งพี่บอกเลยว่ามีเพื่อนพี่หลายคน เผลอไปตอบวิชาเรียนของคณะนิเทศฯ ภาคไทย ซึ่งความจริงแล้ว COMMARTS จุฬาฯ ไม่ได้เรียนเหมือนนิเทศ ภาคไทย จุฬาฯ หลายวิชาเลยนะครับ
เทคนิคอีกอย่างที่พี่อยากฝากไว้คือการนำ Portfolio ติดเข้าไปในห้องสอบสัมภาษณ์ด้วย…ถึงแม้ว่าทาง COMMARTS จุฬาฯ จะไม่มีการพิจารณา Portfolio เพื่อให้คะแนน แต่ถ้าน้องนำพอร์ตเข้าห้องสัมภาษณ์ ในช่วงที่อาจารย์ให้เราแนะนำตัว เขาจะถามว่าน้องมีดีอะไร? ซึ่งตอนนี้เราสามารถโชว์ Portfolio ประกอบกับการบรรยายถึงกิจกรรม ผลงานต่างๆ ที่น้องเคยทำมา ขอบอกเลยว่าเป็นทริคที่ช่วยเพิ่มความน่าสนใจในการนำเสนอตัวเองของน้องๆ ได้เลยนะครับ
รีวิวสัมภาษณ์ JIPP จุฬาฯ (คณะจิตวิทยา ภาคอินเตอร์)

การสัมภาษณ์ JIPP (คณะจิตวิทยา ภาคอินเตอร์ จุฬาฯ) เป็นบรรยากาศที่เป็นกันเองที่สุดแล้วครับ เหมือนได้เข้าไปคุยแนวทางชีวิตกับนักจิตวิทยาเลย รู้สึกชิลมาก ไม่มีความกดดันเลย โดยจะใช้เวลาสัมภาษณ์ประมาณ 8 นาทีและถามตอบเป็นภาษาอังกฤษกับอาจารย์ 2 คนเป็นต่างชาติ 1 คนและคนไทย 1 คน…พอเดินเข้าไปในห้อง อาจารย์ก็จะให้เราแนะนำตัวและพูดถึงสิ่งที่เราอยากทำในอนาคตครับ ถ้าสิ่งที่ตอบไม่เกี่ยวกับคณะ เขาก็จะถามว่าแล้วทำไมถึงเลือกเรียนที่นี่? หรือถ้าน้องตอบว่าอยากเป็นนักจิตวิทยา เขาก็จะถามว่าอยากเป็นนักจิตวิทยาประเภทไหน ซึ่งน้องๆ ก็ควรเตรียมคำตอบให้รอบคอบด้วยนะครับ สำหรับตัวพี่ได้ตอบไปว่า อยากเรียน JIPP จุฬาฯ เพราะอยากเข้าใจจิตใจของมนุษย์อย่างลึกซึ้ง เข้าใจกระบวนการคิด ต้นเหตุของการกระทำต่างๆ ของมนุษย์แต่ละคน…ถ้าเราจะมีธุรกิจเป็นของตัวเอง การเข้าใจความคิดของลูกค้าอย่างแท้จริง จะทำให้เราดำเนินธุรกิจได้ง่ายขึ้นครับผม และก็จะมีถามเกี่ยวกับข่าวสารบ้านเมืองในช่วงนั้น เพื่อเช็คว่าเราติดตามสถานการณ์รอบตัวบ้างหรือเปล่า แต่อาจารย์ก็ไม่ได้เจาะลึกมากเท่าไหร่ครับ
การสัมภาษณ์ที่ JIPP จุฬาฯ มีการเขียน Essay ด้วยนะครับ โดยทางคณะจะให้น้องๆ เขียนก่อนเข้าไปในห้องสัมภาษณ์… Essay มี 1 หน้าให้เขียนจุดแข็ง-จุดอ่อนของเราและอีกหน้ามีบทความเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ให้เราอ่านและสรุปบทความนั้นๆ ออกมาครับซึ่งบทความจะเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์เน้นๆ เลยนะ อย่างพี่ได้บทความเกี่ยวกับการใช้สารเคมีเพื่อรักษาเด็กออทิสติก โดยจะใช้เวลารวมกัน 2 ข้อทั้งสิ้น 15 นาทีเลยครับ ขอบอกก่อนว่าสิ่งที่เขียนไปใน Essay จะไม่มีการให้คะแนนนะครับแต่อาจารย์จะใช้สิ่งที่เราเขียนไปถามให้ละเอียดมากขึ้นในห้องสัมภาษณ์ ซึ่งตรงนี้แหละที่เขาจะพิจารณาคำตอบของเราและให้คะแนนครับ พี่แนะนำว่าให้น้องจำ Keyword ในบทความวิทยาศาสตร์ที่น้องได้รับมาไปหาข้อมูลเพิ่มเติม เพราะเวลา 15 นาทีนั้นอาจไม่พอให้น้อง ทำความเข้าใจมากนัก ถ้าถามว่าแล้วเอาเวลาไหนไปหาข้อมูลเพิ่ม? พี่ขอแอบบอกว่าตอนระหว่างรอคิวเข้าไปห้องสัมภาษณ์ จะมีเวลาว่างพอสมควร เราสามารถนำมือถือมาค้นหา Keyword ในบทความของน้องๆ ได้เลยครับ
รีวิวสัมภาษณ์ BALAC จุฬาฯ (คณะอักษรศาสตร์ ภาคอินเตอร์)

มาถึง BALAC (คณะอักษรศาสตร์ ภาคอินเตอร์ จุฬาฯ) คณะที่ขึ้นชื่อเรื่องความโหดของการสอบสัมภาษณ์มากที่สุด !! ถามว่าโหดยังไง? แค่เวลาที่ใช้ก็มากกว่าคณะอื่นๆ แล้ว ที่นี่จะสัมภาษณ์ประมาณ 45 นาทีเลยครับ ซึ่งเราจะได้พูดคุยเป็นภาษาอังกฤษกับอาจารย์ถึง 3 คนเลยครับ ขอบอกเลยว่าสัมภาษณ์มีความกดดันสูงมาก อาจารย์ถามละเอียดทุกประเด็นและสิ่งสำคัญคือมีการคัดคนออกในรอบสัมภาษณ์เยอะมาก ฉะนั้นทุกคำตอบที่น้องตอบไปสามารถชี้ชะตาชีวิตน้องได้เลยนะครับ และ สัมภาษาณ์ BALAC จุฬาฯ ต้องเขียน SOP ด้วยนะครับ คณะกำหนดให้เขียน 1,000 คำ พยายามเขียนสิ่งที่ตัวเองถนัดเพราะอาจารย์จะถามถึงสิ่งที่เราเขียนแบบเจาะลึกมากๆ เลย
Climax ของการสัมภาษณ์ที่ BALAC จุฬาฯ คืออาจารย์จะให้เราจับฉลากในกล่องที่รวม Keyword ไว้หลายๆ คำ…จับ 3 ครั้ง ได้ 3 คำและต้องเลือก 2 ใน 3 คำที่เราจับได้มาสร้างประเด็นร่วมกัน โดยเขาจะให้เวลาเตรียมตัวแค่ 2 นาทีและใช้เวลาพูดจริง 3 นาทีครับผม ซึ่ง Keyword ที่พี่จับได้ 3 คำคือ Communications, Social Media และ Food ครับผม…โดยพี่เลือก Social Media กับ Food ขึ้นมาพูดในครั้งนั้นครับ ตอนแรกก็ว่าจะเลือก Communications กับ Social Media เพราะดูเป็น Keyword ที่ไปด้วยกันได้ แต่พี่รู้สึกว่ามันเป็นหัวข้อที่ค่อนข้าง Play safe ไปหน่อย เลยอยากสร้างความน่าสนใจด้วยการพูดถึงอาหารกับสื่อโซเชียลครับ โดยคำตอบคร่าวๆ ของพี่ที่พูดไปตอนนั้นนะครับจะตอบประมาณว่า ยุคก่อนการโฆษณาอาหารการกินต้องอยู่บนสื่อเดิมๆ ทีวีหรือหนังสือพิมพ์แต่ตอนนี้เปลี่ยนไปเป็นอยู่เป็นโซเชียลต่างๆ และพูดถึงเทรนด์ที่คนในยุคนี้ชอบแชร์อาหารมื้อต่างๆ ลงบน Social Media อีกด้วย จากนั้นเขาก็ไล่ถามเจาะทีละอย่าง ถามทุกประโยคที่เราตอบไปเลยครับ เช่น ถามว่าที่คุณพูดมาว่าเดี๋ยวนี้คนชอบถ่ายรูปอาหารลงโซเชียลเป็นเพราะอะไร? หรือคิดว่าผู้คนที่ชอบโพสต์สิ่งต่างๆ ลงบนโซเชียล…นั้นใช่ตัวตนที่แท้จริงของเขาหรือเปล่าและ Social Media จะส่งผลดีหรือผลร้ายมากกว่ากัน ซึ่งโดยรวมแล้วพี่ว่าความรู้สึกเหมือนตอนสอบ IELTS เลยครับ
อีกประเด็นคือ อาจารย์จะถามถึงอาชีพที่อยากทำในอนาคตด้วย….พี่ตอบว่าอยากมีธุรกิจเป็นของตัวเอง เขาก็ถามว่าแล้วทำไมมาเรียน BALAC ? เราก็ตอบไปประมาณว่าการเรียน BALAC ได้เรียนมากกว่าฟัง พูด อ่านเขียน เราจะได้เรียนรู้สังคม วัฒนธรรมต่างๆ รวมทั้งความแตกต่างของมนุษย์ เช่น ถ้าอยู่อเมริกาแล้วเราเดินผ่านผู้ใหญ่แต่ไปก้มหัวให้ เขาอาจจะงงว่าเราทำไปทำไม…ซึ่งการเข้าใจความแตกต่างเช่นนี้จะทำให้เราเข้าใจลูกค้าได้อย่างดีและสามารถนำไปต่อยอดธุรกิจได้อย่างถูกจุด และที่ BALAC จุฬาฯ ยังได้เรียนภาษาที่ 3 อีกด้วย เรื่องนี้ยิ่งเป็นผลดีกับธุรกิจของเรา พี่บอกไปว่าถ้าเราเรียนภาษาอังกฤษเราจะคุยกับคนได้ครึ่งโลก แต่ถ้าเราเรียนภาษาจีนเพิ่มเราจะคุยกับคนเพิ่มได้อีกครึ่งโลกเลยครับ
เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับข้อมูลการเตรียมตัวสอบสัมภาษณ์คณะสายศิลป์อินเตอร์ยอดฮิต อย่าง BALAC CU (คณะอักษรศาสตร์ ภาคอินเตอร์ จุฬาฯ) และ COMMARTS CU (คณะนิเทศศาสตร์ ภาคอินเตอร์ จุฬาฯ) รวมทั้ง JIPP CU (คณะจิตวิทยา ภาคอินเตอร์ จุฬาฯ) ต้องขอขอบคุณพี่ปีเตอร์ รุ่นพี่สุดหล่อแถมใจดีของ ignite ที่มาแบ่งปันความรู้ดีๆ ให้กับรุ่นน้องด้วยนะครับ และถ้าน้องๆ คนไหนยังไม่จุใจ มาดูคลิปแนะแนวการเตรียมตัวสอบเข้า CommArts ที่พี่ปีเตอร์ มาเปิด Portfolio ของตัวเองให้ดูกันเลยครับ
สำหรับน้องๆ ที่อยากสอบติดคณะสายศิลป์อินเตอร์ยอดฮิต สามารถปรึกษาสอบถามรายละเอียดการเรียนทุกคณะอินเตอร์ยอดฮิต ได้ทาง Line : @ignitebyondemand หรือโทร 02-6580023 , 091-5761475
ดูรายละเอียดคอร์สเรียน SAT Math, SAT Reading & Writing และ IELTS ทั้งหมดได้ทาง >> https://www.ignitebyondemand.com/our-courses/
น้องๆ สามารถสมัครคอร์สเรียนออนไลน์ ด้วยตัวเองได้ง่ายๆ ผ่าน ShopOnline ของ ignite …พร้อมแล้วลุยเลย >> https://shop.ignitebyondemand.com/
Related Blog & News
ข่าวสารและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง
-
Blog, BMAT
รวมข้อสอบ BMAT Past papers , IMAT และ TSA ย้อนหลัง 10 ปี พร้อมเฉลย
สวัสดีครับน้องๆ ว่าที่คุณหมอที่กำลังเตรียมตัวเพื่อสอบเข้าคณะแพทย์ รอบ Portfolio กันทุกๆ คน วันนี้พี่ๆ ignite ได้รวบรวม ข้อสอบ BMAT Past papers , practice papers พร้อมพิเศษข้อสอบ IMAT และข้อสอบ TSA ย้อนหลังให้ถึง 10 ปี พร้อมเฉลย ให้น้องๆ ฝึกทำโจทย์ให้มั่นใจกันอย่างจุใจ เตรียมพร้อมก่อนไปสอบกันนะครับ ก่อนจะเริ่มฝึกทำโจทย์ เรามาดูแผนเตรียมตัวสอบ BMAT ปี 2020 กันก่อนดีกว่า เพราะสถานการณ์ COVID-19 ส่งผลให้การสอบปีนี้มีการเปลี่ยนแปลงจากทุกครั้งที่ผ่านมา โดยทาง Cambridge ได้ยกเลิกการสอบ BMAT ในรอบ SEP ทำให้ปีนี้ๆ น้องเหลือรอบสอบแค่รอบ NOV ! เท่านั้น […]
Comments (0)
-
Blog, EP ม.ต้น
เรียน EP อยู่แล้วต้องเรียนภาษาอังกฤษเสริมอีกมั้ย ?
สวัสดีค่ะ พี่แนนจาก ignite นะคะ มีคำถามนึงที่ช่วงนี้พี่แนนได้ยินบ่อยมากๆ จากทั้งคุณพ่อคุณแม่และน้องๆ ม.ต้นที่เรียน EP มาว่า “เรียน EP อยู่แล้ว ยังต้องเรียนภาษาอังกฤษเสริมอยู่มั้ย” เพราะตามที่คุณพ่อคุณแม่เข้าใจคือหลักสูตรนี้เน้นภาษาอังกฤษอยู่แล้วน่าจะไม่ต้องทำอะไรมากมาย ก่อนที่เราจะไปหาคำตอบกัน พี่แนนมีเรื่องมาเล่าให้ฟังค่ะ เป็นเรื่องของนักเรียนคนนึงที่พี่เคยสอน น้องเรียน English Program มาตั้งแต่ ม.1 และตอนที่มาเจอกับพี่ครั้งแรก น้องอยู่ ม.3 แล้วและสนใจเตรียมตัวสอบเข้า Grade 10 ที่ MUIDS (โรงเรียนสาธิตนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล) ในวันที่เจอกับคุณแม่ของน้องครั้งแรกเพื่อวางแผนการเรียนกัน คุณแม่มองว่าน้องน่าจะไม่ต้องติวภาษาอังกฤษเยอะเพราะเรียน EP มา แต่เพื่อให้สามารถวางแผนการเรียนและสอนได้อย่างตรงจุด พี่จึงให้น้องลองทำโจทย์สอบเข้ารวมถึง พาร์ทการเขียนเรียงความภาษาอังกฤษ (Essay) สิ่งที่เกิดขึ้นคือน้องบอกกับพี่แนนว่าน้องเขียนไม่ได้ นึกคำศัพท์ไม่ออก เรียบเรียงไม่ถูก ในเวลาหนึ่งชั่วโมงนั้นน้องจึงเขียนได้เพียง Paragraph สั้นๆ เท่านั้น Academic English ปัญหาสำคัญของน้อง EP EP หรือ English Program เป็นทางเลือกที่กำลังได้รับความนิยมขึ้นเรื่อยๆ ในหมู่นักเรียนทั้ง ม.ต้น และ […]
Comments (0)
-
Blog, GED
เผยวิธีเตรียมสอบ GED ยังไง ให้ได้ 660+ จากครูหมิง GED Guru
สวัสดีค่ะ พี่หมิง GED Guru จาก ignite นะคะ ช่วงนี้มีน้องๆ ถามกันมาเยอะมากว่า ทำยังไงให้ได้คะแนน GED สูงกว่า 660 คะแนน เพื่อให้มีสิทธิ์ยื่นเรียนต่อมหาวิทยาลัยชื่อดัง ไม่ว่าจะเป็นจุฬาฯ, มธ., MUIC และอีกหลายๆ ที่ เดี๋ยววันนี้พี่หมิงจะมาแชร์วิธีการที่พี่ใช้โค้ชน้องๆ คลาส GED ให้พวกเขาได้คะแนนตามเป้าหมาย ก่อนอื่นพี่ขอแบ่งทักษะออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ Skillset และ Mindset Skillset – ทักษะที่ใช้ในการเตรียมตัวสอบ GED 1. รู้กติกาการสอบ GED อย่างละเอียด ข้อนี้สำคัญมากนะคะ พี่หมิงเจอน้องๆ หลายคนมากที่ไม่รู้ว่ากติกาของ GED (บางคนไม่รู้ว่า GED สอบได้ครั้งเดียว!) ไปสอบจริงแล้วคะแนนไม่ตามเป้า กว่าจะ rescore […]
Comments (0)
-
Blog, GED
อยากจบม.6 ตั้งแต่อายุ 16 ต้องรู้ คู่มือเขียน GED Parental Consent Form ฉบับจับมือทำ!
สวัสดีค่ะ ครูหมิง GED Guru จาก ignite นะคะ ช่วงนี้ก็เป็นช่วงที่น้องๆ หลายคนเริ่มไปสอบ GED เตรียมใช้ยื่นเข้ามหาวิทยาลัยกันแล้วและมีน้องอายุ 16-17 หลายคนเลยค่ะที่ทักเข้ามาถามวิธีเขียนไปจนถึงวิธีส่ง GED Parental Consent Form ดังนั้น วันนี้ครูหมิงเลยอยากมาเคลียร์ข้อสงสัย พร้อมสอนน้องๆ ทุกขั้นตอนในการกรอกเสมือนจับมือทำเลยค่ะ! GED Parental Consent Form คืออะไร GED Parental Consent Form คือ หนังสือแสดงความยินยอมของผู้ปกครองที่อนุญาตให้นักเรียนที่อายุยังไม่ถึง 18 ปีบริบูรณ์สามารถสอบและเทียบวุฒิ GED ได้ โดยต้องมีการยินยอมจากผู้ปกครองเป็นลายลักษณ์อักษร (Signature) และส่งเมล์ไปแจ้งทาง GED Official ให้ทำการปลดล็อคสิทธิ์เข้าสอบ GED ให้แก่น้องๆ ค่ะ […]
Comments (0)
Comments