ส่องหลักสูตรวิศวะชีวการแพทย์อินเตอร์ มหิดล VS KMITL

ใกล้ถึงเวลาที่ต้องเลือก แต่ไม่รู้จะเลือกอะไร คณะแพทย์ก็อยากได้ วิศวะก็อยากเป็น น้องๆ คนไหนที่ยังสับสน มึนงงในหัวใจ พี่แอดมินขอชวนมาลองทำความรู้จัก คณะวิศวะชีวการแพทย์อินเตอร์ คณะที่รวมเอา 2 สายอาชีพสุดเทพ มารวมไว้ในคณะเดียว วิศวะชีวการแพทย์อินเตอร์ (Biomedical – Engineering) ออกแบบมาเพื่อวิศวกรหัวใจแพทย์โดยเฉพาะ มาพร้อมโอกาสในการต่อยอดสู่การเป็นแพทย์ เรียนครั้งเดียวได้ 2 ปริญญาในสายอาชีพที่เป็นที่ต้องการระดับท็อปฟอร์มของประเทศ
วิศวะชีวการแพทย์อินเตอร์ คืออะไร?

วิศวกรรมชีวการแพทย์ หรือ Biomedical-Engineering (BME) คือ หลักสูตรหนึ่งของคณะวิศวกรรมที่เป็นการผสมผสานความรู้ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และการแพทย์ไว้ในที่เดียว โดยมุ่งเน้นที่จะผลิตบัณฑิตทางด้านวิศวะ หรือ วิศวกรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านนวัตกรรมทางการแพทย์ เพื่อคิดค้นและพัฒนาเทคโนโลยีด้านสาธารณสุขโดยเฉพาะ
เทียบหลักสูตรวิศวะชีวการแพทย์อินเตอร์ มหิดล VS KMITL

สำหรับวิศวะชีวการแพทย์หลักสูตรนานาชาติ ปัจจุบันมีเปิดสอนใน 2 มหาวิทยาลัย คือ มหาวิทยาลัยมหิดล และ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (KMITL) ซึ่งหลักสูตรของแต่ละมหาวิทยาลัยจะแตกต่างกันอย่างไร ไปดูรายละเอียดกัน
- วิศวะชีวการแพทย์อินเตอร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
คณะวิศวะชีวการแพทย์หลักสูตรนานาชาติแห่งแรกในประเทศไทย เป็นหลักสูตร Dual-Degree ร่วมระหว่าง 2 สถาบัน ระหว่างคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และคณะวิศวกรรมศาสตร์ University of Strathclyde แห่งสหราชอาณาจักร เรียนที่มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา 2 ปี และเรียนที่มหาวิทยาลัยสแตรธไคลด์ 2 ปี โดยจะเน้นศึกษาบนการทำโครงการและงานวิจัยด้านการพัฒนาเครื่องมือแพทย์และเทคโนโลยีร่วมกันระหว่าง 2 สถาบัน เมื่อเรียนจบจะได้รับปริญญาตรี 2 ใบจากทั้ง 2 สถาบัน
โดยมีทั้งหมด 6 สาขาการวิจัยให้เลือก ได้แก่
- วิศวกรรมระบบประสาทและการสร้างภาพทางการแพทย์
- วิศวกรรมเนื้อเยื่อและระบบนำส่งยา
- การประมวลผลขั้นสูงในการแพทย์
- วิศวกรรมฟื้นฟูและอวัยวะประดิษฐ์
- หุ่นยนต์ทางการแพทย์และศัลยกรรมบูรณาการคอมพิวเตอร์
- ไบโอเซนเซอร์และอุปกรณ์การแพทย์
- วิศวะชีวการแพทย์อินเตอร์ KMITL
เป็นสาขาวิชาที่เอาองค์ความรู้ด้านต่างๆ ทั้งด้านการแพทย์ สาธารณสุขศาสตร์ เภสัชศาสตร์ รังสีวิทยา เทคนิคการแพทย์ วิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ วัสดุศาสตร์ โทรคมนาคม และคอมพิวเตอร์ ฯลฯ มาประยุกต์ใช้ร่วมกัน เพื่อผลิตวิศวกรที่สามารถออกแบบ สร้าง หรือพัฒนาซอฟต์แวร์ อุปกรณ์ หรือเครื่องมือทางการแพทย์ที่มีมาตรฐาน รวมถึงสามารถศึกษาค้นคว้าเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่มีความซับซ้อนให้สามารถนำมาใช้ได้จริง
โดยมีทั้งหมด 6 Tracks การศึกษา ซึ่งแบ่งออกเป็น
# One Degree หลักสูตร 4 ปี มีทั้งหมด 3 Tracks
- เครื่องมือวัดทางชีวการแพทย์ หรือ Biomedical Instrumentation (BMI)
- เทคโนโลยีสารสนเทศด้านการดูแลสุขภาพ หรือ Healthcare Information Technology (HIT)
- วิศวกรรมชีวเภสัชกรรม หรือ Biopharmaceutical Engineering (BPHARM)
# Double Degree
4. Pre-Medicine (PMED) หลักสูตร 8 ปี 2 ดีกรี เรียนวิศวะชีวการแพทย์อินเตอร์ 3 ปี และเรียนแพทย์อินเตอร์ต่ออีก 5 ปี
5. Pre-dentistry (PDENT) หลักสูตร 8 ปี 2 ดีกรี เรียนวิศวะชีวการแพทย์อินเตอร์ 3 ปี และเรียนทันตแพทย์อินเตอร์ต่ออีก 5 ปี
6. BME-GG หลักสูตร 4 ปี เรียนที่ลาดกระบัง 2 ปี และเรียนที่มหาวิทยาลัยกลาสโกว์ ประเทศอังกฤษ 2 ปี ได้ปริญญาตรีจากทั้ง 2 สถาบัน
ค่าเทอมวิศวะชีวการแพทย์อินเตอร์

ค่าเทอมวิศวะชีวการแพทย์อินเตอร์ มหิดล
ค่าเทอมการศึกษาที่ไทย คือเทอมละ 75,000 บาท ค่าเทอมตลอดหลักสูตร 4 ปีประมาณ 500,000 บาท
ค่าเทอมวิศวะชีวการแพทย์อินเตอร์ KMITL
ค่าเทอมการศึกษาคณะวิศวะชีวการแพทย์อินเตอร์ คือเทอมละ 90,000 บาท
- Track Pre-Medicine ปีที่ 4-8 ปีละ 990,000 บาท
- Track Pre-Dentistry ปีที่ 4-8 ปีละ 1,200,000 บาท
- Track BME-Glasgow ปีที่ 3-4 ปีละ GBP 19,160
จบวิศวะชีวการแพทย์อินเตอร์ ทำงานอะไรดี

ตัวอย่าง คะแนนที่ใช้ยื่นวิศวะชีวการแพทย์อินเตอร์

น้องๆ ที่อยากเข้าคณะวิศวะชีวการแพทย์ มหิดล จะต้องใช้คะแนนอะไรยื่นบ้าง?
- GPAX ≥ 3.25
- Portfolio
- English Proficiency Test (เลือกสอบอย่างใดอย่างหนึ่ง)
- IELTS ≥ 5.5 or
- TOEFL IBT ≥ 64 or
- TOEFL ITP ≥ 500 or
- MU Grad Test ≥ 70 or
- MU-ELT ≥ 91 or
- Digital SAT Overall ≥ 1,000
- Recommendation 3 letters.
- Statement of purpose
ส่วนน้องๆ ที่อยากคณะวิศวะชีวการแพทย์ KMITL จะต้องมีคะแนน
- GPAX ไม่กำหนดคะแนนขั้นต่ำ
- Standradized Test (เลือกสอบอย่างใดอย่างหนึ่ง)
- Digitak SAT Overall ≥ 1020
- ACT Overall ≥ 19
- IB Diploma ≥ 29 (at least 4 in Math and Physics)
- English Proficiency Test (เลือกสอบอย่างใดอย่างหนึ่ง)
- TOEFL – paper-based ≥ 550
- TOEFL – CBT ≥ 213
- TOEFL – IBT ≥ 79
- IELTS ≥ 6
- Cambridge English Exams FCE or CAE or CPE ≥ 170
- IB – English A1 or A2 ≥ 4
- IB – English B (HL) ≥ 5
- KMITL-TEP ≥ B2
- Recommendation 2 letters.
- Statement of purpose (650 words or fewer)
น้องๆ คนไหนที่ยังไม่จุใจอยากทำความรู้จักกับคณะวิศวะอินเตอร์ของ KMITL อย่าง คณะวิศวะการบินอินเตอร์ IAAI หรือ คณะวิศวะอินเตอร์ที่มีสาขาวิชาให้เลือกเรียนมากที่สุดในประเทศไทย อย่าง SIIE KMITL พี่ก็เตรียมข้อมูลไว้ให้ครบ

วิศวกรหัวใจแพทย์คนไหน ที่เริ่มสนใจคณะวิศวะชีวการแพทย์ มาเตรียมตัวให้พร้อมกันได้แล้ววันนี้ กับ Engineering Buffet Pack คอร์สเรียนที่ออกแบบมาเพื่อน้องวิศวะอินเตอร์โดยเฉพาะ เรียนได้แบบเหมาๆ จัดแพ็คเรียนเองได้ตาม Requirement ของคณะในฝัน พร้อมยืดอายุคอร์สได้นานสูงสุดถึง 18 เดือน
วางแผน จัดสรรตารางเรียนได้ตามความต้องการ กับพี่ๆ Education Consult แบบส่วนตัวโดยไม่มีค่าใช้จ่าย ทักเข้ามาคุยกันได้ตลอดที่ Line: @ignitebyondemand หรือคลิก https://bit.ly/38wNuQ9 และ โทร 091-5761475
หากต้องการเลือก Shop คอร์สเรียน Online สามารถเลือกช้อป!คอร์สเรียนด้วยตัวเองได้ที่
Related Blog & News
ข่าวสารและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง
-
Blog, SAT Subject Tests
รีวิวสอบเข้า ISE จุฬาฯ ด้วย SAT Subject Tests จากน้องโน้ต กรุงเทพคริสเตียน
สวัสดีน้องๆ ที่อยากสอบเข้า ISE หรือ คณะวิศวะอินเตอร์ จุฬาฯ ทุกคนนะครับ!! วันนี้พี่แอดมินพาพี่โน้ต รุ่นพี่ ignite ที่สอบติด ISE จุฬาฯ ปีล่าสุด มารีวิวการสอบเข้าวิศวะอินเตอร์ ด้วยคะแนน SAT Subject Tests เพื่อให้น้องๆ ได้ทราบว่าข้อสอบแต่ละวิชามีความยากง่ายอย่างไร ควรเตรียมตัววิชาไหนก่อนและเคล็ดลับการสอบติดจากพี่โน้ต เพื่อให้น้องๆ ทุกคนใช้เป็นแนวทางการเตรียมตัวได้อย่างถูกต้องนะครับ เคล็ดลับเตรียมตัวให้สอบติด ISE จุฬาฯ สำหรับพี่คิดว่าการเริ่มเตรียมตัวสอบเข้า ISE ตอน ม.5 เทอม 1 เป็นการเริ่มต้นที่ดีนะครับ ไม่ช้าเกินไป ยังพอมีเวลาเหลือให้เราสามารถไปทำกิจกรรมอย่างอื่นได้อีกด้วย ถ้าเริ่มต้นเตรียมตัวตอน ม.6 อาจจะทำให้เราเหนื่อยจนไม่ค่อยมีเวลาไปทำอย่างอื่นและถ้ายังไม่ได้คะแนนที่ต้องการในรอบแรก ก็จะมีเวลาแก้ตัวน้อยลงอีกด้วยนะครับ ยิ่งถ้าน้องๆ รู้ตัวและตั้งป้าหมายว่าจะเข้า ISE ตั้งแต่ ม.4 ยิ่งจะทำให้เราเตรียมตัวได้ไว เผลอๆ […]
Comments (0)
-
Blog, SAT Subject Tests
สรุปทางเลือกเมื่อ SAT Subject Tests ยกเลิก วิชาไหนบ้างที่ยื่นแทนได้?
เป็นข่าวใหญ่ระดับประเทศเลยทีเดียวสำหรับน้องๆ มัธยมที่อยากเข้าคณะอินเตอร์ เมื่อ College board ประกาศว่าต่อไปจะไม่มี Sat Subject test อีกแล้ว น้องๆ หลายคนที่วางแผนไว้ว่าจะสอบในอนาคตตอนนี้คงมีคำถามในใจกันเต็มไปหมด ว่า อ้าว แล้วคณะที่เราอยากเข้าจะทำยังไงละ มันจะส่งผลอะไรยังไงกับเราแค่ไหน ignite ก็เลยเขียนบทความนี้ขึ้นมาเพื่อที่จะเสนอแนวทางในการหาวิชาสอบทดแทนสำหรับน้องๆ ที่ยังมุ่งมั่นว่าจะเข้าคณะอินเตอร์ หรือ หมอในไทย โดยต้องบอกว่าสถานการณ์ตอนนี้ น้องๆ อินเตอร์อาจจะได้เปรียบกว่านิดหน่อย เพราะหลายคณะยังคงรับการยื่นคะแนน IB, A-Level ที่น้องๆ โรงเรียนนานาชาติต้องสอบกันในโรงเรียนอยู่แล้ว แต่น้องๆ ภาคไทยอย่าเพิ่งน้อยใจกันไป เพราะบางคณะยังคงเปิดให้ยื่นวิชาอื่นแทนด้วย จะเป็นอะไรนั้นตามดูกันได้เลยครับ เมื่อ SAT Subject test ยกเลิก เราจะใช้วิชาไหนสอบแทนได้บ้าง มาดูกันเลย ! #ทีมเด็กไทย เริ่มกันก่อนกับคณะยอดฮิต […]
Comments (0)
-
Blog, Medical TCAS 1 (Portfolio)
ถอดรหัสข้อสอบ BMAT ตาม Specification 2021
สวัสดีครับว่าที่น้องหมอทุกๆ คน สำหรับปีนี้ทาง Cambridge Assessment ได้ประกาศอัพเดท BMAT Specification ปี 2021 มาแล้ว ทางทีมครู ignite ไม่รอช้า ขอมาเล่าสรุปให้น้องๆ ฟังกันครับว่าเป็นอย่างไรบ้าง อย่างไรก็ตาม แอบบอกข่าวดีกับน้องๆ ก่อนครับว่าปีนี้โครงสร้างและหัวข้อที่ออกสอบใน BMAT โดยส่วนใหญ่จะคล้ายคลึงกับ BMAT Specification ปีที่แล้วเลยครับผม และไม่ต้องกังวลไปเลยครับ สำหรับในส่วนที่ต่าง ทางคุณครู ignite ก็จะอัพเดทในคอร์สเรียนของปีนี้ด้วยครับ ทำความรู้จักโครงสร้างข้อสอบ BMAT ก่อนอื่น เรามาทบทวนโครงสร้างข้อสอบ BMAT กันอีกครั้งครับ ข้อสอบ BMAT ยังคงมีทั้งหมด 3 ส่วนใหญ่ๆ ได้แก่ 1. Thinking Skills, 2. Scientific Knowledge and Applications, และ 3. Writing Task โดยแต่ละส่วนจะประเมินผู้เข้าสอบดังนี้ Thinking […]
Comments (0)
-
Blog, EP ม.ต้น
คุณพ่อคุณแม่ห้ามพลาด! พี่โน้ตชวนดูเปิดหลักสูตร Math EP ม.ต้น เรียนเนื้อหาอะไรบ้าง?
สวัสดีคุณพ่อคุณแม่และน้องๆ ทุกคนนะครับ พี่โน๊ต จาก ignite เองนะครับ ในปัจจุบันยุคนี้ พี่เชื่อว่ามีผู้ปกครองหลายๆท่าน ได้เริ่มวางแผนการเรียนของลูกตั้งแต่ระดับประถม มัธยม เพื่อให้ลูกได้รับสิ่งที่ดีที่สุดและวางเส้นทางให้น้องๆ ไปถึงฝั่งฝัน และเชื่อว่า โครงการ EP หรือหลักสูตร English Program เป็นอีก 1 หลักสูตรที่ผู้ปกครองหลายท่านให้ความสนใจ แต่หลายๆ ท่านคงยังมีข้อสงสัยไม่น้อยว่าจริงๆ แล้ว หลักสูตรนี้มันคืออะไร? และในแต่ละวิชาต้องเรียนเนื้อหาอะไรบ้าง? วันนี้พี่โน๊ตจะมากาง syllabus วิชาคณิตศาสตร์ Math หลักสูตร EP ว่าในแต่ละระดับชั้น ม.1-ม.3 ต้องเรียนอะไรบ้าง? เพื่อช่วยตอบทุกข้อสงสัยก่อนที่ผู้ปกครองจะวางแผนการเรียนให้กับลูกๆ นะครับ ทำความรู้จักกับหลักสูตร English Program (EP) หลักสูตร EP หรือ English Program คือ หลักสูตรที่มุ่งเน้นที่จะเสริมสร้างทักษะด้านภาษาอังกฤษให้แก่นักเรียน โดยใช้หลักสูตรการเรียนการสอนและสาระการเรียนรู้ต่างๆ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานของกระทรวงศึกษาธิการ โดยนักเรียนในหลักสูตรนี้จะเรียนภาษาอังกฤษที่เข้มข้นกว่าภาคปกติ สำหรับหลักสูตร EP นอกจากจะเรียนวิชาภาษาอังกฤษมากกว่าหลักสูตรไทยปกติแล้ว ยังเรียนบางวิชาเป็นภาษาอังกฤษด้วย เช่น […]
Comments (0)
Comments