คุยกับอดีต IELTS Examiner คนไทยในต่างแดน P’Patrick Oxford

คุยกับอดีต IELTS Examiner คนไทยในต่างแดน - พี่ Patrick Oxford - Thumbnail

         น้องๆ หลายๆ คนอาจจะคุ้นหน้าหรือเคยเรียนกับพี่แพททริคกันมาบ้างแล้วไม่ว่าจะเป็นคอร์ส IELTS หรือ SAT Reading & Writing แต่ทราบหรือไม่ว่า จริงๆ แล้วพี่แพททริคเคยเป็นอดีต IELTS Examiner คนไทย ในต่างประเทศมาก่อน!!! ถ้าน้องๆ อยากรู้จักกับพี่แพททริคมากขึ้นไปอ่านกันต่อได้เลย

Q: ช่วยแนะนำตัวหน่อยครับ

A: สวัสดีครับ ชื่อพี่แพททริคครับ จบ Postgraduate Diploma ด้าน English for Academic Purposes จาก The University of Waikato ที่ New Zealand ปริญญาโทด้าน Digital Language and Literacies จาก Lancaster University แล้วก็ปริญญาโทอีกใบด้าน Teaching English Language in University Settings จาก Oxford University ครับ  

Q: ก่อนไปเป็น Examiner ทำอะไรมาก่อนครับ?

A: จริงๆ พี่ก็สอนภาษาอังกฤษมาตลอดนะครับ สอนมาตั้งแต่สมัยเรียนปริญญาตรีแล้วพอจบตรีแล้วพี่ก็ได้สอนที่มหาวิทยาลัยศิลปากรเลยครับ ก็อยู่ในวงการการศึกษามาตลอดเลย

Q: พี่แพททริคเข้าไปเป็น Examiner ได้ยังไงครับ?

A: ก็ตอนที่ไปเรียนที่ New Zealand ด้วยความที่ Course ที่เราไปเรียนมันเกี่ยวกับการสอนภาษาด้วย เค้าก็เลยให้เราไปสอนนักเรียนที่มาเรียนภาษาที่นั้น สอนพวก essay writing อะไรแบบนี้ครับ พอดีทางมหาวิทยาลัยเป็นศูนย์สอบด้วยก็เลยได้เข้าไปทำงานกับ IELTS แล้วพอดีเค้าเห็นว่าเรามีประสบการณ์การสอนมาแล้ว บวกกับคะแนน IELTS เราสมัครเป็น examiner ได้ เค้าก็เลยให้เราลองสัมภาษณ์แล้วก็เข้า training ดูครับ ก็เลยได้มีประสบการณ์เป็น examiner ติดตัวกลับมาด้วย แต่พอกลับมาในไทยก็ไม่ได้ examine ให้ IELTS แล้วนะครับ ย้ายมาเป็น examiner ให้ Cambridge English tests แทน พวก YLEs, KET, PET FCE ที่เด็กๆ ในโรงเรียนสอบ ตอนนี้ก็ยัง examine อยู่ครับ

Q: พี่แพททริคช่วยเล่าประสบการณ์การไปเป็น Examiner ให้ฟังหน่อยได้มั้ยครับ

A: จริงๆ หลายคนคิดว่าเราไป examine ฝรั่ง จริงๆ ไม่นะครับ เพราะฝรั่งเค้าก็ไม่สอบ IELTS หรอก 5555 ส่วนใหญ่ก็จะเป็นคนเอเชีย (ไทย, จีน, เกาหลี, ญีปุ่น, ตะวันออกกลาง หรือ คนอเมริกาใต้ที่จะมาเรียนต่อครับ ส่วนประสบการณ์ ก็สนุกดีครับได้เจอคนหลากหลาย แต่งานส่วน examiner ก็จะมี structure ที่แน่นอนว่าต้องถามกี่คำถาม ต้องพูดตาม scripts ต้องหาว่า candidates ทุกคนเท่าๆ กัน เพื่อ ensure ความแฟร์กับทุกๆ คนที่มาสอบครับ แล้วก็เราก็จะโดน Monitor จากหัวหน้าด้วยว่า การให้ band ของเรามัน valid แล้วก็ reliable ไหม

Q: สิ่งที่ประทับใจหรือสิ่งที่ได้รับจากการไปทำงานในครั้งนี้คืออะไรครับ?

A: ได้ความเป็น Professional ครับ ตัวการทำงานมันก็จะมีระบบที่ชัดเจน แล้วก็เราก็ต้อง make sure ว่าการให้คะแนนของเรามันทำตาม criteria ที่เค้าให้มา เพราะ IELTS มันเป็นข้อสอบที่ตัดสินชีวิตคนได้ เราเลยต้องพายามทำให้มันแฟร์ที่สุดครับ

Q: ปัจจุบันทำอะไรอยู่ สอนอะไรบ้างครับ?

A: ตอนนี้ก็เป็นอาจารย์ประจำที่มหาวิทยาลัยศิลปากร และอาจารย์พิเศษที่จุฬาฯ ธรรมศาสตร์ มหิดล สอนวิชาเกี่ยวกับ Educational Technology แล้วก็ภาษาอังกฤษ และก็รับผิดชอบดูแลการสอนวิชา IELTS part speaking กับ listening และ SAT part Reading กับ Writing ของที่ Ignite ครับผม

Q: สุดท้ายมีอะไรอยากฝากถึงน้องๆ ที่จะสอบ IELTS มั้ยครับ?

A: ก็จริงๆ สำหรับพี่ IELTS เป็นข้อสอบที่เราต้องเล่นเกมส์ให้เป็นว่าข้อสอบต้องการอะไร Examiner มองหาอะไรจากเรา มีเกณฑ์การให้คะแนนอะไรบ้าง เหมือนกับว่านอกจากทักษะทางภาษาแล้ว พวก test taking skills สำคัญมากเลยครับ พี่ชอบเปรียบเทียบว่าทักษะภาษาที่เรามีเหมือนอาวุธประเภทต่างๆ เราแค่ต้องเลือกเอาอาวุธที่มีอยู่มาใช้ให้ถูกกับข้อสอบแต่ละพาร์ทครับผม

         เป็นไงกันบ้างครับ ฟังอย่างนี้แล้วถ้าน้องๆ คนไหนกำลังฝึก IELTS อยู่แล้วอยากหาหนังสือมาอ่านเพิ่มเติม สามารถดูรีวิวหนังสือ IELTS จากพี่แพททริคต่อกันได้ที่ https://www.ignitebyondemand.com/รีวิวหนังสือ-ielts/

คอร์ส IELTS ออนไลน์ - Anywhere - ignite by ondemand

         ส่วนน้องๆ คนไหนที่รู้สึกว่าการทำโจทย์เอง ยังมีอีกหลายจุดที่เราไม่เข้าใจ รวมถึงต้องการผู้เชี่ยวชาญในการแนะนำและให้คะแนน IELTS ก็มาฝึกเพิ่มเติมกันได้เลยในคอร์ส IELTS ไม่ว่าจะเป็นคอร์สสด หรือ คอร์สออนไลน์ ในระบบ Anywhere รับรองว่าจะช่วยให้น้องๆ มั่นใจมากขึ้นและรู้ว่า IELTS 7.0 ไม่ยากอย่างที่คิดแน่นอน

สามารถเข้าดูรายละเอียดคอร์สเรียน IELTS เพิ่มเติมได้ที่ >> https://www.ignitebyondemand.com/our-courses/ielts/

สามารถปรึกษาวางแผนการเตรียมตัว รายละเอียดการเรียนต่อในคณะแพทย์ รอบ 1 (Portfolio) หรือทุกคณะอินเตอร์ยอดฮิต ได้ทาง Line : @ignitebyondemand หรือโทร 02-6580023 , 091-5761475

Shop online

Related Blog & News

ข่าวสารและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง

Comments

Comment Write a comment...