SOP คือ? │ เขียน SOP อย่างไรให้ได้เป็นตัวจริงรอบพอร์ต

เวลาที่เดินเข้าร้านหนังสือ แล้วเจอหนังสือเล่มหนึ่งที่น่าสนใจ สิ่งแรกที่คนส่วนใหญ่มักทำก็คือ พลิกไปอ่านไฮท์ไลท์สำคัญที่ปกหลังก่อน ซึ่งจะตัดสินใจซื้อหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับข้อความเพียงไม่กี่บรรทัดบนปกหลังนั่นเอง
การเขียน SOP หรือคือ Statement of purpose ก็เช่นกัน ไม่สำคัญว่าเรามีเรื่องราวที่อยากบอกเล่ามากน้อยแค่ไหน สำคัญที่เราจะเล่ามันออกมาอย่างไรให้ให้ผู้อ่านสนใจและอยากติดตามอ่านเรื่องราวไปจนจบมากกว่า วันนี้พี่เลยนำเทคนิคดีๆ ในการเขียน SOP ให้โดนใจคณะกรรมการมาฝาก ไปดูกันฮะ
การเขียน SOP คืออะไร?

ถ้าเอาแบบเข้าใจง่ายๆ Statement of purpose หรือ SOP คือ จดหมายแนะนำตัวเองนั่นแหล่ะ จดหมายที่บอกว่าเราเป็นใคร มีจุดเด่นอะไรที่ทำให้คณะกรรมการต้องตัดสินใจเลือกเรา หรืออาจบอกเล่าถึงแรงบันดาลใจที่ทำให้เราตัดสินใจเขียน SOP ไปยังคณะ หรือมหาวิทยาลัยนั้นๆ ซึ่งสำคัญมากกกกก โดยเฉพาะกับน้องๆ ที่อยากเข้าเป็นตัวจริงรอบพอร์ต
NOTE !! วิธีเขียน SOP ที่ดีควรมีความยาวไม่เกิน 2 หน้ากระดาษ หรือไม่เกิน 1,000 คำ และควรบอกเล่าประเด็นสำคัญ 4 ประเด็นดังต่อไปนี้
4 Topics สำคัญในการเขียน SOP

#1 Who am I?
ย่อหน้าแรกของการเขียน statement of purpose นี้ก็เหมือนกับปกหลังหนังสือ ที่มีส่วนสำคัญต่อการตัดสินใจ “ซื้อ” หรือ “ไม่ซื้อ” ได้มากเลยทีเดียว ฉะนั้นจงบอกเล่าความเป็นเราออกมาให้โดดเด่นมากที่สุด แต่ขอให้เป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับคณะ สายอาชีพ ที่เราเลือกสมัครไป เพื่อความประชับ ตรงประเด็น

#2 What am I interested in?
ใส่ผลงานที่มีมาให้ครบใน SOP แต่ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงว่าต้องเป็นงานวิจัยสุดแสนภาคภูมิใจเท่านั้น แต่กิจกรรมต่างๆ อย่างกีฬาสี ชมรมในโรงเรียน กิจกรรมจิตอาสา ก็สามารถนำมาบอกเล่าเป็นความภาคภูมิใจได้ แต่อยากให้เพิ่มเติมการ พูดถึงปัญหาที่เจอ แล้วเราถึงแนวทางการแก้ปัญหากับสิ่งที่เกิดขึ้น เพิ่มเติมเข้าไปด้วย เพื่อให้คณะกรรมการเห็นถึงแนวทางการแก้ปัญหา ที่อาจนำไปต่อยอดกับการเรียนหรือใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยได้

#3 Why did I Choose this Faculty / University?
บอกเลยว่าไปทำการบ้านมาให้เยอะๆ ก่อนที่จะมาเขียนในส่วนนี้ เพื่อแสดงถึงความสนใจ ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้คณะกรรมการเห็นว่าเรามีความตั้งใจก่อนที่จะตัดสินใจเขียน SOP มายื่นเพื่อพิจารณา วิชาไหน หรือจุดเด่นอะไรที่ให้เราอยากเป็นตัวจริงของที่นี่ จัดมาให้เต็มเหนี่ยว

#4 What is my goal?
ปิดท้ายด้วยเป้าหมายในชีวิตในแบบที่สมเหตุสมผลและจับต้องได้จริง ทั้งในระยะสั้น คือหลังจบการศึกษา และในระยะยาวคือ 10-15 ปีหลังจบการศึกษา และการได้เรียนที่นี่จะช่วยต่อยอด หรือเติมเต็มเป้าหมายในชีวิตอย่างไร พื้นที่ปิดท้ายนี้คือสิ่งที่บ่งบอกถึงวิสัยทัศน์ของเรานั่นเอง
3 สิ่งที่ต้องจำก่อนทำ SOP!

จำเอาไว้เสมอว่า SOP รวมไปถึงพอร์ตที่ดี คือการบอกเล่าความเป็นเรา ดูตัวอย่างของคนอื่นเพื่อเป็นแนวทางได้ แต่ไม่ใช่ลอกจนกลบความเป็นตัวเองไปซะหมด เพราะสุดท้ายแม้จะเขียน SOP ออกมาได้อย่าง Perfect แต่ถ้าผลงานที่อยู่ในนั้น ไม่ใช่ผลงานของเรา และไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเราจริงๆ คณะกรรมการก็จะสามารถรู้จากการตอบคำถามตอนสัมภาษณ์ได้อยู่ดี
ควรเขียน SOP ด้วยภาษาที่มีความแอคทีฟและเขียนด้วยมุมมองเชิงบวก ที่สำคัญ! อย่านอกเรื่องเพราะคณะกรรมการจะเน้นการพิจารณาเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเรียนเท่านั้น
พี่ขอเป็นกำลังใจให้น้องๆ ทุกคนที่ตั้งใจคว้าตำแหน่งตัวจริงรอบพอร์ตกับคณะในฝัน ได้มีโอกาสเป็นตัวจริงสมความตั้งใจ และฝ่าฝันทุกอุปสรรคไปได้อย่างราบรื่นนะครับ สู้ๆ ครับน้องๆ ทุกคน
สำหรับน้องๆ คนไหนที่อยากสอบเข้ามหาวิทยาลัย TCAS รอบ 1 ( Portfolio ) ทาง ignite by OnDemand ก็มี คอร์สเรียนสด คอร์สออนไลน์ Anywhere ให้น้องๆ เรียนที่ไหนเมื่อไหร่ ก็ได้ตามต้องการ โดยอาจารย์ผู้สอนที่มีโปรไฟล์ระดับเทพ รวมถึงกิจกรรม Pathway to Success แบบจัดเต็มที่พร้อมจะพาน้องๆ ไปสู่คณะในฝัน
สนใจสอบถามวางแผนในการเตรียมตัวสอบเข้าสอบเข้ามหาวิทยาลัย รอบ Portfolio สามารถติดต่อได้ที่ ignite by Ondemand ชั้น 15 อาคาร MBK Tower หรือทาง Line @ignitebyondemand ด้านล่างได้เลยครับผม
สามารถดูคอร์สเรียนสอบเข้าคณะอินเตอณ์ของ ignite ทั้งหมดได้ทาง https://www.ignitebyondemand.com/our-courses/
Related Blog & News
ข่าวสารและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง
-
Medical TCAS 1 (Portfolio), GED
เคล็ดลับทำข้อสอบ GED วิชาปราบเซียนให้ได้ Perfect Score จากน้องคลิ๊ก Harrow
สวัสดีค่ะน้องๆ วันนี้พี่หมิงพา น้องคลิ๊ก นักเรียนคนเก่งของพี่มาแชร์ เคล็ดลับทำคะแนนข้อสอบ GED Social Studies และ RLA ให้ได้คะแนนสูงกว่า 165 คะแนน รวมทั้งวิธีเตรียมตัวด้วย น้องคลิ๊กเป็นนักกีฬาที่มีเวลาเตรียมตัวน้อยมากแต่ก็ยังสามารถบริหารเวลาจนคว้า Perfect Score มาได้ พี่เชื่อว่าเรื่องราวของน้องคลิ๊กจะเป็นประโยชน์และแรงบันดาลใจให้กับน้องๆ ที่เตรียมสอบ GED กันอยู่ ไปทำความรู้จักกับเขากันเลยค่ะ Q: แนะนำตัวให้น้องๆ ignite รู้จักกันหน่อยค่ะ น้องคลิ๊ก: สวัสดีครับ ชื่อคลิ๊กครับ ชนม์เสถียร พุลวงลักษณ์ ตอนนี้เรียนอยู่ Harrow International School Bangkok Year 13 ครับ กำลังเตรียมตัวเข้าคณะ Com Arts จุฬาฯ โดยใช้ GED ยื่นเข้าครับ ล่าสุดสอบ GED RLA ได้ 177 และ […]
Comments (0)
-
Blog, Medical TCAS 1 (Portfolio)
เปิดเทคนิคการทำพอร์ตแพทย์ SWU-NOTT สไตล์พี่ปัณญ์ RIS
วันนี้พี่แอดมินขอชวนน้องๆ มาทำความรู้จักกับพี่ปัณญ์ คนเก่งจาก Ruamrudee International School (RIS) ที่สอบติดคว้าตำแหน่งตัวจริงแพทย์รอบพอร์ต MED SWU-NOTT TCAS67 ซึ่งบอกเลยว่าเทคนิคการทำพอร์ตของพี่ปัณญ์ว๊าววววมากกกก จนพี่อดไม่ไหวต้องขอให้พี่ปัณญ์มาร่วมแชร์เทคนิคส่งต่อให้กับน้องๆ ที่อยากเข้าคณะแพทย์รอบพอร์ต ใครกำลังทำพอร์ตอยู่มาศึกษาเทคนิคดีๆ กัน พี่ปัณญ์เริ่มเตรียมตัวเข้าคณะแพทย์ช่วงไหน? ปัณญ์ : Grade 9 “ตอนนั้นปัณญ์มีโอกาสได้ไป Internship เพื่อค้นหาว่าเราชอบในอาชีพหมอจริงๆ ไหม เพราะบางทีสิ่งที่เราวาดภาพเอาไว้ กับชีวิตจริงอาจจะแตกต่างกัน โดยปัญณ์ได้ไปที่โรงพยาบาลกำแพงเพชร ซึ่งเป็นอีกมุมที่เราไม่เคยเห็นมาก่อน คุณหมอแต่ละคนทำงานหนักและต้องทุ่มเทในการรักษาคนไข้ ซึ่งปัญณ์ก็รู้สึกว่า มันใช่สำหรับเรา ไม่ว่าจะหนักแค่ไหนเราก็พร้อมที่จะเดินไปในเส้นทางนี้ ก็เริ่มเตรียมความพร้อมเข้าคณะแพทย์ตั้งแต่ช่วงเวลานั้นเป็นต้นมา” ทำไมพี่ปัณญ์ถึงเลือกเตรียมเข้าแพทย์รอบพอร์ต ปัณญ์ : เป็นโอกาสที่ดีสำหรับคนเรียนอินเตอร์ “จริงๆ แล้วแพทย์รอบพอร์ตเป็นโอกาสที่ดีมากๆ สำหรับคนที่เรียนหลักสูตรอินเตอร์และทุกๆ คน เป็นรอบเดียวที่เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงตัวตนของตัวเองให้คณะกรรมการเห็น ผ่าน SOP หรือ Essay และพอร์ตที่เราส่งไป และปัณญ์รู้สึกว่าการเข้าแพทย์รอบพอร์ต เป็น Journey การเข้ามหาวิทยาลัยที่ไม่ได้ต้องการเพียงแค่คะแนนสอบ ทำให้เราไม่ต้องเครียดกับการเตรียมคะแนนสอบมากจนเกินไป” […]
Comments (0)
-
Blog, EP ม.ต้น
เรียน EP อยู่แล้วต้องเรียนภาษาอังกฤษเสริมอีกมั้ย ?
สวัสดีค่ะ พี่แนนจาก ignite นะคะ มีคำถามนึงที่ช่วงนี้พี่แนนได้ยินบ่อยมากๆ จากทั้งคุณพ่อคุณแม่และน้องๆ ม.ต้นที่เรียน EP มาว่า “เรียน EP อยู่แล้ว ยังต้องเรียนภาษาอังกฤษเสริมอยู่มั้ย” เพราะตามที่คุณพ่อคุณแม่เข้าใจคือหลักสูตรนี้เน้นภาษาอังกฤษอยู่แล้วน่าจะไม่ต้องทำอะไรมากมาย ก่อนที่เราจะไปหาคำตอบกัน พี่แนนมีเรื่องมาเล่าให้ฟังค่ะ เป็นเรื่องของนักเรียนคนนึงที่พี่เคยสอน น้องเรียน English Program มาตั้งแต่ ม.1 และตอนที่มาเจอกับพี่ครั้งแรก น้องอยู่ ม.3 แล้วและสนใจเตรียมตัวสอบเข้า Grade 10 ที่ MUIDS (โรงเรียนสาธิตนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล) ในวันที่เจอกับคุณแม่ของน้องครั้งแรกเพื่อวางแผนการเรียนกัน คุณแม่มองว่าน้องน่าจะไม่ต้องติวภาษาอังกฤษเยอะเพราะเรียน EP มา แต่เพื่อให้สามารถวางแผนการเรียนและสอนได้อย่างตรงจุด พี่จึงให้น้องลองทำโจทย์สอบเข้ารวมถึง พาร์ทการเขียนเรียงความภาษาอังกฤษ (Essay) สิ่งที่เกิดขึ้นคือน้องบอกกับพี่แนนว่าน้องเขียนไม่ได้ นึกคำศัพท์ไม่ออก เรียบเรียงไม่ถูก ในเวลาหนึ่งชั่วโมงนั้นน้องจึงเขียนได้เพียง Paragraph สั้นๆ เท่านั้น Academic English ปัญหาสำคัญของน้อง EP EP หรือ English Program เป็นทางเลือกที่กำลังได้รับความนิยมขึ้นเรื่อยๆ ในหมู่นักเรียนทั้ง ม.ต้น และ […]
Comments (0)
-
Blog, SAT
เจาะลึกเส้นทางการสอบติด BALAC CU รอบข้อเขียน โดยน้องพิมพ์ สวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต
สวัสดีครับ น้องๆ ที่มีความฝันอยากสอบเข้าคณะ BALAC CU ทุกๆ คน วันนี้พี่พาพี่พิมพ์ ignite idol คนเก่งของเรามาถามตอบ พร้อมแนะแนวทางเส้นทางในการเตรียมตัวสอบคณะ BALAC จุฬา รอบข้อเขียน ถ้าอยากรู้แล้วว่ามีเทคนิคทำข้อสอบและเตรียมตัวสัมภาษณ์ อย่างไรก็ไปเริ่มกันเลย.. Q: แนะนำตัวให้น้องๆ ignite รู้จักกันหน่อยครับ พิมพ์: สวัสดีค่ะ พี่ชื่อพิมพ์ กาชัย จบจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต สอบติด BALAC จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Q: เล่าให้ฟังหน่อยได้ไหมครับว่า ทำไมถึงอยากเข้าคณะอักษรศาสตร์ หลักสูตรนานาชาติ พิมพ์: หนูรู้ตัวมาตั้งแต่เด็กๆ แล้วว่าเราชอบภาษา ก็เลยมาทางนี้ และอยากเรียนภาษาที่ 3 เพิ่มด้วยค่ะ Timeline การเตรียมตัวสอบ BALAC CU รอบข้อเขียน – น้องพิมพ์ Q: พอน้องรู้ตัวแล้วว่าอยากเข้าคณะนี้ […]
Comments (0)
Comments