เจาะลึกเทคนิคพิชิต ACT Science ข้อสอบเป็นยังไง? ต่างจากข้อสอบอื่นยังไงบ้าง?

สวัสดีครับน้องๆ หลังจากที่หลายคณะเริ่มประกาศรับคะแนนการสอบ ACT เพื่อคัดเลือกนิสิต นักศึกษาใหม่เข้าคณะ เช่น ISE CU หรือ SIIT น้องๆ หลายคนก็เริ่มหันมาสนใจการสอบนี้กันมากขึ้น แถมยังมีบางคนรีวิวอีกว่าข้อสอบ ACT ง่ายกว่าการสอบแบบอื่นๆ วันนี้พี่อิ๊งค์จะมาช่วยไขข้อสงสัยถึงรูปแบบของ ข้อสอบ ACT Science ว่าเป็นยังไง แล้วจะง่ายกว่าข้อสอบอื่นจริงหรือไม่กันครับ
ลักษณะข้อสอบ ACT Sciencee
ข้อสอบ ACT Science มีคำถาม 40 ข้อ โดยให้เวลาในการทำอยู่ที่ 35 นาทีเท่านั้น ถือว่าเป็นข้อสอบ Speed Testมากๆ น้องจะต้องฝึกฝนในการทำให้มาก และฝึกจัดการเวลาในการทำข้อสอบให้เชี่ยวชาญก่อนไปสอบ
ซึ่งรูปแบบของคำถาม จะมีการให้ Passage มาประมาณ 6 เรื่อง ในแต่ละเรื่องจะมีคำถาม 4-7 ข้อ โดยใน 6 เรื่องนี้จะมีทั้งที่เกี่ยวกับ
- Physics
- Chemistry
- Biology
- Earth&Space Science
คละกันไปในการสอบแต่ละครั้ง โดยคำถามจะไม่เน้นความรู้ทางวิชาการเชิงลึก แต่จะเน้นความรู้เชิงวิทยาศาสตร์ General Science เน้นการการคิดวิเคราะห์แบบมีหลักการเชิงวิทยาศาสตร์
แต่สิ่งที่จะมีเหมือนกันในทุกการสอบคือรูปแบบของ Passage ที่จะมีเพียง 3 ลักษณะ เพื่อวัดความรู้ ความเข้าใจที่ต่างกัน
รูปแบบ Passage ในข้อสอบ
- Data Representation : 2-3 passages
โดยมักจะให้มาเป็นกราฟ หรือตาราง เพื่อวัดความสามารถในการอ่านกราฟ และตีความข้อมูล - Research Summary : 2-3 passages
จะให้คำบรรยายการทดลอง 1 อย่างหรืออาจมากกว่านั้น โดยคำถามจะเน้นที่วิธีการทดลอง หรือการตีความจากผลการทดลอง - Conflicting viewpoint : 1 passage
ให้ข้อมูลเกี่ยวกับมุมมอง แนวคิด หรือ hypotheses หลายๆอัน ที่มีการถกเถียงกัน หรืออาจมีความไม่สมบูรณ์ของข้อมูลอยู่ คำถามจะเน้นการวิเคราะห์ และเปรียบเทียบมุมมองที่แตกต่าง

ซึ่ง Passage ทั้ง 6 เรื่องนี้ จะยาวมาก มีการให้ข้อมูลที่เยอะและซับซ้อน ถึงแม้เนื้อหาอาจไม่ต้องการความรู้เชิงลึกมาก แต่จำเป็นจะต้องฝึกอ่านและตีความให้ไว้ เนื่องจากมีเวลาในการตอบคำถามแต่ละข้อไม่ถึง 1 นาที
วันนี้พี่อิ๊งค์ เลยจะมาแชร์เทคนิคในการทำข้อสอบตามรูปแบบ Passage ที่ต่างกัน น้องๆ จะได้รู้ว่าเมื่อเจอข้อสอบจริงจะต้องเริ่มจากตรงไหน เพื่อให้ทำข้อสอบได้ถูกต้องและทันเวลาครับ

เริ่มด้วย Passage แบบ Data Representation ทริกในการทำข้อสอบคือ
- ให้น้องๆ โฟกัสที่ intro, head of table, axes, legend and trend เท่านั้น และไปตอบคำถามเลย ค่อยกลับมาดูข้อมูลอื่นๆ ที่เหลือเมื่อจำเป็นต้องใช้ในการตอบ
- จากนั้นต้องระบุความเหมือนและแตกต่างของตัวเลขหรือตารางต่างๆให้ได้
- สุดท้ายคือให้อ่านคำถามอย่างระมัดระวัง ตีโจทย์ให้ได้ว่าเขาต้องการรู้อะไรบ้าง

ต่อกันด้วย Passage แบบ Research Summary
- ให้น้องๆ หาตัวแปรต่างๆ ของแต่ละการทดลองให้เจอ แล้วข้ามส่วนที่เหลือไปก่อน ค่อยกลับมาดูบางจุดเมื่อจำเป็นเท่านั้นเช่นกัน
- ต้องระบุความเหมือนและแตกต่างของแต่ละการทดลองให้ได้
- คอยถามตัวเองว่า “จุดประสงค์ของขั้นตอนนี้คืออะไร?” หรือ “ทำไมนักวิจัยถึงทำแบบนี้?”
- จากนั้นอ่านคำถามอย่างระมัดระวัง

สุดท้ายกับ Passage แบบ Conflicting viewpoint ที่เป็นการให้ข้อมูลมุมมอง หรือ hypotheses ที่แตกต่างกันมา
- น้องๆ ต้องจับ main concept หรือ Main idea ของแต่ละมุมมองให้ได้
- ระบุความเหมือนและแตกต่างของแต่ละมุมมองให้ได้
- ให้อ่านทั้ง Passage และลิสต์เหตุและผลที่มีให้ทั้งหมด
- และที่สำคัญเหมือนเดิม คือ อ่านคำถามอย่างระมัดระวัง
เป็นอย่างไรกันบ้างครับ หวังว่าเทคนิคเหล่านี้จะเป็นตัวช่วยในการฝึกทำข้อสอบ
ACT Science สำหรับน้องหลายๆ คนที่ไม่รู้ว่าควรเริ่มยังไง แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการหมั่นฝึกฝนทำข้อสอบให้ได้มากที่สุด และให้จับเวลาในการทำด้วย เพื่อความคุ้นเคยและฝึกทักษะการจัดการเวลาสำหรับทำข้อสอบด้วยครับ

น้องคนไหนที่สนใจและอยากเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ ข้อสอบ ACT Science หรือเรียนกับกูรูที่จะช่วยแนะนำเทคนิคการคิดวิเคราะห์ ตีความต่างๆ สามารถมาพบกับพี่อิ๊งค์ได้ใน ACT Science Ultimate Prep คอร์สที่จะช่วยให้น้องๆ เข้าใจลักษณะข้อสอบ ACT Science มากขึ้น ทำความเข้าใจลักษณะคำถาม ฝึกทำโจทย์ตามลักษณะข้อสอบจริง
หรือน้องๆ คนไหนที่พอเข้าใจลักษณะข้อสอบ ACT Science แล้ว และต้องการฝึกทำโจทย์ โดยมีครูคอยแนะนำจุดที่อาจผิดบ่อยๆ เพื่อลดข้อผิดพลาดเมื่อต้องไปสอบจริง เพื่อให้ได้ Full score 36 เต็ม ก็สามารถเจอกับพี่อิ๊งค์คนเดิม ใน ACT Science 7days – 11tests
สามารถเข้าดูรายละเอียดคอร์สเรียน ACT เพิ่มเติมได้ที่ >> https://www.ignitebyondemand.com/our-courses/cu-aat-cu-ats/
เลือกช้อปคอร์สเรียน ACT ออนไลน์ ด้วยตัวเองง่ายๆ ผ่านทาง >> SHOP ONLINE IGNITE
ผู้ปกครองและน้องๆ สามารถสอบถามรายละเอียด วางแผนการเรียน personal consult ในการเตรียมตัวสอบเข้าคณะวิศวะอินเตอร์ ได้ที่ Line@ : @Ignitebyondemand พี่ๆ ทุกคนพร้อมช่วยเหลือน้องๆ ทุกคน
Related Blog & News
ข่าวสารและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง
-
Blog, SAT
รีวิวเตรียมตัวสอบและสัมภาษณ์จนติด BBA TU โดยน้องภูมิ – ก๊อต คู่หู คู่ฮาจากรั้ว BBA TU ปีล่าสุด!
สวัสดีครับน้องๆ สำหรับหลายคนที่อยากเข้าเรียน BBA หรือหลักสูตรบริหารอินเตอร์นั้น อาจจะคิดว่าการสอบเข้า BBA เป็นเรื่องง่ายๆ ชิวๆ แต่เดี๋ยวก่อน!! วันนี้รุ่นพี่ ignite 2 คน ซึ่งตอนนี้เพิ่งเป็นนักศึกษา BBA TU (หลักสูตรการบริหารธุรกิจ ภาคอินเตอร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) ไปหมาดๆ จะมาเล่าให้น้องฟังว่า การสอบเข้า BBA ไม่ได้ง่ายอย่างที่น้องคิด!! ถ้าพร้อมแล้ว เราไปดูกันดีกว่าครับว่าพี่ๆ เค้าพยายามกันมากแค่ไหน และมีวิธีเตรียมตัวสอบเข้ากันยังไงให้ติดคณะในฝัน? Q : แนะนำตัวให้น้องๆ ignite รู้จักกันหน่อยครับ ก๊อต : สวัสดีน้องๆ ครับ พี่ชื่อ ก๊อต-พจนารท จบจากโรงเรียนสารสาสน์วิเทศรังสิตครับ ตอนนี้สอบติด BBA (หลักสูตรการบริหารธุรกิจ) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ครับ ภูมิ : พี่ชื่อ ภูมิ-จารุภูมิ จบจากโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยมครับ ตอนนี้สอบติด BBA ธรรมศาสตร์ คณะเดียวกันกับก๊อตเลยครับ Q […]
Comments (0)
-
Blog, CU-ATS/CU-AAT
CU-ATS คืออะไร? รู้จัก CU-ATS โอกาสสำคัญในการสอบติดคณะอินเตอร์ยอดฮิต
สวัสดีทุกคนนะครับ วันนี้พี่แอดมินนำข้อมูลดีๆ เกี่ยวกับข้อสอบ CU-ATS ซึ่งเป็นข้อสอบที่ช่วงนี้กำลังเป็นกระแสและน้องๆ กำลังค้นหาข้อมูลว่ามันคืออะไรกันแน่ พี่แอดมินเลยขอพาทุกคนไปทำความรู้จักว่าข้อสอบ “CU-ATS คืออะไร” พร้อมตอบทุกข้อสงสัยตั้งแต่เนื้อหาข้อสอบเป็นอย่างไร ใช้ยื่นคณะไหนได้บ้าง ค่าสมัครสอบและตารางสอบ อย่ารอช้า…พร้อมแล้วไปอ่านกันเลย !! ข้อสอบ CU-ATS คือ ข้อสอบ CU-ATS (Chulalongkorn University Aptitude Test for Science) คือ ข้อสอบที่ใช้วัดความถนัดทางวิทยาศาสตร์เพื่อใช้ในการพิจารณาผู้ยื่นเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรี ของหลักสูตรนานาชาติ จุฬาฯ โดยลักษณะข้อสอบคล้ายกับข้อสอบ SAT Subject Tests แต่ความยากของเนื้อหาจะแตกต่างกันออกไป คณะที่สามารถใช้คะแนน CU-ATS เพื่อยื่นพิจารณาศึกษาต่อ คือ ISE คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (อินเตอร์) BSAC คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาเคมีประยุกต์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (อินเตอร์) ข้อควรรู้เกี่ยวกับการสอบ CU-ATS ข้อสอบ CU-ATS คะแนนรวม 1,600 คะแนน ประกอบด้วย 2 วิชา […]
Comments (0)
-
Blog, SAT
BBA คืออะไร? อยากสอบติดต้องทำอย่างไรบ้าง?
สวัสดีครับน้องๆ ทุกคน วันนี้พี่แอดมินกลับมาอีกแล้วกลับบทความดีๆ สำหรับชาวอินเตอร์โดยเฉพาะ…พี่เชื่อว่าเด็กสายศิลป์หลายๆ คนคงกำลังมองหาข้อมูล “คณะ BBA” อยู่แน่นอน !!! วันนี้ ignite ขอแชร์ข้อมูลดีๆ เกี่ยวกับคณะ BBA ในมหาวิทยาลัยไทยให้พวกเราทุกคนได้ศึกษารายละเอียดที่ถูกต้องกันนะครับ BBA คืออะไร? เรียนอะไร? BBA คือ หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (Bachelor of Business Administration) ซึ่งเป็นคณะยอดฮิตของเด็กมัธยมที่ต้องการสอบเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี โดยมีมหาวิทยาลัยชั้นนำของไทย เปิดสอนหลักสูตรนี้ เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยเน้นการเรียนการสอนเกี่ยวกับ การบริหาร การบัญชี การเงินและการตลาด โดยวิชาที่เปิดสอนจะขึ้นอยู่กับหลักสูตรของแต่ละมหาวิทยาลัยอีกที น้องๆ อย่าลืมเช็คเพิ่มเติมนะครับ มหาวิทยาลัยที่เปิดสอนหลักสูตร BBA ในประเทศไทย อย่างที่ทราบกันดีว่าคณะ BBA คือ […]
Comments (0)
-
Blog, CU-ATS/CU-AAT
เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างข้อสอบ CU-AAT Math VS ACT Math
สวัสดีครับว่าที่น้องๆ ทีมวิทยา วิศวะอินเตอร์ หรือน้องทีมคณะสายศิลป์ อินเตอร์ หลายๆ คน คงสงสัยว่า หน้าตาข้อสอบของ CU-AAT Math และ ACT Math เป็นอย่างไร เหมือนหรือแตกต่างกันตรงจุดไหนบ้าง และเราควรจะเลือกสอบตัวไหนดี วันนี้พี่ภัทร์มา เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างข้อสอบ CU-AAT MATH และ ACT Math จับทั้งสองข้อสอบมาเปรียบเทียบกันในทุกแง่มุม เพื่อเป็นอีกแนวทางในการช่วยน้องๆ ตัดสินใจครับ ทำความรู้จักข้อสอบ CU-AAT Math VS ACT Math เมื่อเรารู้จักข้อสอบ CU-AAT และ ข้อสอบ ACT TEST กันแล้ว.. ก็มาดูกันว่าเมื่อมีคะแนน CU-AAT Math และ ACT Math สามารถยื่นเข้าคณะไหน มหาลัยไหนได้บ้าง คะแนน […]
Comments (0)
Comments