เทคนิคการเตรียมตัวสอบ GED สำหรับ TCAS รอบ 1

สวัสดีค่ะ น้องๆ และผู้ปกครองทุกท่าน วันนี้มีเรื่องอยากมาแชร์ เนื่องจากมีคำถามที่ถามเข้ามาผ่าน กลุ่ม openchat GED ค่อนข้างมาก เกี่ยวกับการ เตรียมตัวสอบ GED แล้วอยากเริ่มเตรียมสอบ GED เพื่อเทียบวุฒิเข้ามหาวิทยาลัย TCAS รอบ 1 Portfolio แต่ไม่แน่ใจว่าจะเริ่มด้วยอะไรก่อน วันนี้พี่หมิงเลยจะมาแชร์เทคนิคการเตรียมตัว GED ให้เข้าใจกันแบบละเอียดยิบทุกขั้นตอน ไปดูกันเลย..
อยากสอบ GED เตรียมตัวง่ายๆ ใน 5 ขั้นตอน
1. ประเมินความพร้อมก่อนสอบ GED ด้วย GED Ready
สำหรับน้องๆ ที่อายุครบ 16 ปีบริบูรณ์ แล้วอยาก สอบ GED พี่หมิงแนะนำให้น้องๆ สมัครสอบ GED account เพื่อเข้าไปซื้อข้อสอบ GED ready มาทำก่อนเป็นอันดับแรก เพื่อประเมินความพร้อมว่าเราควรจะเลือกเก็บวิชาใดก่อนหลังค่ะ โดยพี่แนะนำให้น้องๆ เก็บวิชาที่ตนเองถนัดที่สุดก่อน และให้เวลาตนเองเตรียมตัวฝึกฝนแนวโจทย์วิชานั้นๆ สักระยะนึงค่ะ
NOTE! การสมัคร GED account ให้สมัครครั้งเดียว ระบุชื่อตรงตาม passport ห้ามสมัครซ้ำซ้อน เพราะจะจองสอบไม่ได้นะคะ

จากตัวอย่างคะแนนสอบ GED Ready นี้ พี่แนะนำเป็นให้น้องเก็บกลุ่มวิชา Math และ Science ก่อน เพราะคะแนนสอบ GED ก่อนเรียน ค่อนข้างสูง หมายความว่าน้องมีพื้นฐานความเข้าใจ 2 วิชานี้ที่ดีอยู่แล้ว เพิ่มแค่การฝึกฝน การทำโจทย์เพื่อให้น้องคุ้นชินกับแนวโจทย์ข้อสอบ GED ค่ะ
ซึ่งหากช่วงคะแนนสอบ GED Ready สูงกว่า 170 คะแนน น้องๆ ก็สามารถเตรียมความพร้อมด้วยตนเอง ผ่านการซื้อตำรามาฝึก หรือ ใช้ GED flash ก็ได้ค่ะ (ซื้อได้จากใน GED account) หรืออีกทางเลือก จะเตรียมด้วยการเรียนพิเศษเพื่อให้ครูที่เชี่ยวชาญข้อสอบ GED ช่วยไกด์แนวทางเพื่อการคว้า perfect score ได้เช่นกัน
NOTE! ถ้าน้องๆ มีเป้าหมายอยากเข้าคณะที่ require คะแนนสูงๆ พี่หมิงแนะนำว่าให้ครูติวให้จะช่วยประหยัดเวลากว่าการเตรียมเอง และเก็งข้อสอบตรงแนวดีค่ะ

คำถามต่อมา น้องๆ มักจะถามมาว่า หนังสือเตรียมสอบ GED ที่วางขายตามท้องตลาดควรเลือกซื้อเล่มไหนดี ??
พี่หมิงขอแนะนำเป็น หนังสือเตรียมสอบ GED ของสำนัก Kaplan และ McGraw-Hill นะคะ เพราะโจทย์ตรงแนว และเนื้อหาตรงประเด็นตามหัวข้อสอบ GED เลยค่ะ
2. ลุยเก็บ 4 วิชาของการสอบ GED
สำหรับรูปแบบการ เตรียมตัวสอบ GED พี่หมิงขอแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มนะคะ
- กลุ่มน้องที่มีเวลาเตรียมตัวสอบ GED มากกว่า 1 ปี >> น้องสามารถแบ่งเก็บเดือนละ 1 วิชา สบายๆ ได้เลยค่ะ ก็จะใช้เวลาประมาณ 4 เดือนในการเก็บ GED ครบทุกวิชา และยังมีเวลาอีก 6 เดือนเพื่อเตรียมสอบ IELTS และ Digital SAT ด้วยค่ะ
- กลุ่มน้องที่มีเวลาเตรียมตัวสอบ GED ประมาณ 6 เดือน >> น้องๆ ควรใช้เวลาในการเตรียมตัว 1 เดือน เก็บ GED 2 วิชา เพื่อให้เก็บ GED ครบทั้งหมดภายใน 2 เดือน และยังมีเวลาอีก 4 เดือนเพื่อเตรียมเก็บสอบ IELTS และ SAT ค่ะ
3. ประเมินคะแนนสอบ GED ที่ได้ กับคณะที่อยากเข้า
หากแปลงคะแนนสอบ GED สำหรับเทียบวุฒิ เป็นเกรด GPAX แล้ว ยังไม่ถึงเป้าหมาย ต้องวางแผน Rescore GED

แต่ละคณะจะมีการกำหนดเกณฑ์การรับ คะแนนสอบ GED เบื้องต้นไว้นะคะ โดยส่วนใหญ่จะเป็นไปตามรายละเอียดในภาพด้านบนนี้ แต่ทั้งนี้จะมีบางคณะที่มีการกำหนดเกรดเฉลี่ยขั้นต่ำไว้ด้วย เช่น EBA CU ที่ระบุเกรดขั้นต่ำไว้ที่ 2.75 หมายความว่าน้องๆ จะต้องทำคะแนนสอบ GED เฉลี่ยต่อวิชาให้ได้สูงกว่า 155* จึงจะได้ GPAX สูงกว่าเกณฑ์ที่คณะกำหนดค่ะ
*คะแนนสอบ GED เฉลี่ย 155 ต่อวิชาจะสามารถแปลงออกมาได้ประมาณ GPAX 2.8 ค่ะ
พี่หมิงขอแนบสูตรการแปลงคะแนนสอบ GED เป็นเกรดเฉลี่ย GPAX ไว้ให้ในภาพถัดไปด้วยนะคะ เพื่อที่น้องๆ จะได้วางแผนว่าเราต้อง Rescore GED หรือไม่ค่ะ
NOTE! การ Rescore คะแนนสอบ GED จะสามารถทำได้แค่ 1 ครั้งต่อวิชาเท่านั้นนะคะ

4. เก็บคะแนนสอบ GED ครบ ก็เริ่มเก็บ Digital SAT กัน
สำหรับน้องๆ ที่มีแพลนอยากยื่นเข้า จุฬาอินเตอร์ และ ธรรมศาสตร์อินเตอร์ จะหนีไม่พ้นการสอบ Digital SAT แน่นอน โดยการสอบ Digital SAT จะมีทั้งหมด 5 รอบต่อปี ด้วยกัน (จะไม่เหมือนกับการสอบ GED หรือ IELTS ที่มีรอบสอบทุกสัปดาห์) ดังนั้น Digital SAT จึงเป็นอะไรที่ต้องเตรียมตัวให้ดี โดยเฉพาะน้องๆ ที่อยากเข้าคณะยอดฮิต อย่างเช่น BBA CU/TU, Commarts CU / JIPP CU เพราะการแข่งขันของคณะเหล่านี้จะดูที่คะแนน Digital SAT สูงๆ เป็นหลักเลย น้องบางคนจึงตั้งเป้า และมุ่งมั่นอยากทำคะแนน Digital SAT ให้ได้ 1400 จากคะแนนเต็ม 1600 กันเลยทีเดียว
สำหรับน้องๆ ที่มีเวลาน้อย บางคนก็เลือกที่จะเริ่มเตรียม Digital SAT หลังสอบ GED จบทันที เพื่อให้ทันกับรอบสอบที่เหลืออยู่ก่อนยื่น TCAS รอบ 1 ในปีนั้นๆ ค่ะ
น้อง ignite ที่สอบติดคณะยอดฮิตไปแล้ว หลายๆ คนก็จะบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า ลงสอบ Digital SAT แทบทุกรอบ แม้ว่าจะยังไม่ได้เตรียมตัวเลยก็ตาม เพื่อลองสนาม และดูบรรยากาศการสอบ จากนั้นก็จะมาเริ่มเรียนและฝึกทำข้อสอบย้อนหลังกันรัวๆ จนกว่าจะพิชิตคะแนน 1300-1400 เพื่อยื่นเข้าจุฬา หรือ ธรรมศาสตร์ค่า
NOTE! บางคณะของบางมหาวิทยาลัยไม่ได้ใช้ Digital SAT ยื่นนะคะ เช่น บางคณะของ เกษตรศาสตร์อินเตอร์ มศว อินเตอร์ และ ศิลปากรอินเตอร์ ซึ่งหากน้องๆ อยากเข้ามหาวิทยาลัยเหล่านี้ น้องสามารถนำเวลาที่เหลือไปเตรียม IELTS หรือ ข้อสอบภาษาอังกฤษอื่นได้เลยค่ะ

5. เตรียมเก็บ IELTS คว้า Band ที่ตั้งใจ
พี่หมิงแพลนให้เก็บคะแนน IELTS เป็นวิชาสุดท้าย เพราะว่ามีรอบสอบทุกสัปดาห์ โดยหลังจากที่น้องๆ เตรียม Digital SAT และได้คะแนนรอบที่พอใจในรอบตุลาคมมาแล้ว ช่วงกลางเดือนตุลาคมและพฤศจิกายน จะเป็นช่วงที่เด็กๆ จะมาโฟกัสเตรียม IELTS กัน โดยคะแนนเป้าหมายสำหรับจุฬาและธรรมศาสตร์อินเตอร์ จะอยู่ที่ Band 6.5-7.0
NOTE!! น้องๆ สามารถเลือกสอบข้อสอบวัดระดับภาษาอังกฤษตัวอื่นๆ ได้ตามความถนัดนะคะ เช่น Toefl IBT, CU-TEP, TU-GET, Duolingo โดยน้องสามารถดูเงื่อนไขการรับของคณะที่น้องอยากเข้าจากหน้าเว็บไซด์คณะได้เลยว่า ทางมหาวิทยาลัยรับข้อสอบภาษอังกฤษตัวใดบ้าง และใช้เกณฑ์คะแนนเท่าไหร่ค่ะ
การเตรียมความพร้อมสำหรับ TCAS รอบ 1 ควรมีคะแนนทุกอย่างเรียบร้อยภายในเดือนธันวาคม เนื่องจากการเปิดรับสมัคร TCAS รอบ 1 ของคณะและมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ จะเริ่มเดือนธันวาคม ถึง กลางมกราคมค่ะ
ในส่วนของน้องๆ ที่ยื่นเทียบวุฒิ GED ต้องเตรียมเอกสาร 2 ฉบับ คือ ใบเทียบวุฒิ และใบแปลงเกรด โดย พี่หมิงได้ทำ VDO สอนไว้เรียบร้อยแล้วนะคะ (ใช้เวลาในการรอเอกสารประมาณ 7 วันนะคะ)
How to ทำใบเทียบวุฒิ แปลงเกรด และการ register ใน mytcas หลังสอบ GED
หากน้องๆ อยากปรึกษาพี่หมิง หรือมีข้อสงสัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับการสอบ GED สามารถแอดเข้ากลุ่ม GED Openchat คลิกเข้าร่วมเลย >> https://bit.ly/3IEtr75 เพื่อพูดคุยกันต่อในกลุ่มซึ่งจะมีเพื่อนๆ ที่เตรียมสอบ GED และ พี่หมิง รวมถึงพี่ๆ ทีมงาน ignite ที่จะช่วยให้ข้อมูลน้องๆ เพิ่มเติมค่ะ

ทำความรู้ IELTS กับ Digital SAT กันให้มากขึ้น
สนใจสอบถามวางแผนในการเตรียมตัวสอบเข้าสอบ GED เข้ามหาวิทยาลัย TCAS รอบ 1 หรือรอบ Portfolio สามารถติดต่อได้ที่ ignite by Ondemand ชั้น 15 อาคาร MBK Tower หรือทาง Line @ignitebyondemand ด้านล่างได้เลยค่ะ
สามารถดูคอร์สเรียนเตรียมสอบเข้าคณะอินเตอร์ของ ignite ทั้งหมดได้ทาง https://www.ignitebyondemand.com/our-courses/
Related Blog & News
ข่าวสารและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง
-
Blog, SAT
รีวิวเตรียมตัวสอบและสัมภาษณ์จนติด BBA TU โดยน้องภูมิ – ก๊อต คู่หู คู่ฮาจากรั้ว BBA TU ปีล่าสุด!
สวัสดีครับน้องๆ สำหรับหลายคนที่อยากเข้าเรียน BBA หรือหลักสูตรบริหารอินเตอร์นั้น อาจจะคิดว่าการสอบเข้า BBA เป็นเรื่องง่ายๆ ชิวๆ แต่เดี๋ยวก่อน!! วันนี้รุ่นพี่ ignite 2 คน ซึ่งตอนนี้เพิ่งเป็นนักศึกษา BBA TU (หลักสูตรการบริหารธุรกิจ ภาคอินเตอร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) ไปหมาดๆ จะมาเล่าให้น้องฟังว่า การสอบเข้า BBA ไม่ได้ง่ายอย่างที่น้องคิด!! ถ้าพร้อมแล้ว เราไปดูกันดีกว่าครับว่าพี่ๆ เค้าพยายามกันมากแค่ไหน และมีวิธีเตรียมตัวสอบเข้ากันยังไงให้ติดคณะในฝัน? Q : แนะนำตัวให้น้องๆ ignite รู้จักกันหน่อยครับ ก๊อต : สวัสดีน้องๆ ครับ พี่ชื่อ ก๊อต-พจนารท จบจากโรงเรียนสารสาสน์วิเทศรังสิตครับ ตอนนี้สอบติด BBA (หลักสูตรการบริหารธุรกิจ) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ครับ ภูมิ : พี่ชื่อ ภูมิ-จารุภูมิ จบจากโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยมครับ ตอนนี้สอบติด BBA ธรรมศาสตร์ คณะเดียวกันกับก๊อตเลยครับ Q […]
Comments (0)
-
Blog, CU-ATS/CU-AAT
CU-ATS คืออะไร? รู้จัก CU-ATS โอกาสสำคัญในการสอบติดคณะอินเตอร์ยอดฮิต
สวัสดีทุกคนนะครับ วันนี้พี่แอดมินนำข้อมูลดีๆ เกี่ยวกับข้อสอบ CU-ATS ซึ่งเป็นข้อสอบที่ช่วงนี้กำลังเป็นกระแสและน้องๆ กำลังค้นหาข้อมูลว่ามันคืออะไรกันแน่ พี่แอดมินเลยขอพาทุกคนไปทำความรู้จักว่าข้อสอบ “CU-ATS คืออะไร” พร้อมตอบทุกข้อสงสัยตั้งแต่เนื้อหาข้อสอบเป็นอย่างไร ใช้ยื่นคณะไหนได้บ้าง ค่าสมัครสอบและตารางสอบ อย่ารอช้า…พร้อมแล้วไปอ่านกันเลย !! ข้อสอบ CU-ATS คือ ข้อสอบ CU-ATS (Chulalongkorn University Aptitude Test for Science) คือ ข้อสอบที่ใช้วัดความถนัดทางวิทยาศาสตร์เพื่อใช้ในการพิจารณาผู้ยื่นเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรี ของหลักสูตรนานาชาติ จุฬาฯ โดยลักษณะข้อสอบคล้ายกับข้อสอบ SAT Subject Tests แต่ความยากของเนื้อหาจะแตกต่างกันออกไป คณะที่สามารถใช้คะแนน CU-ATS เพื่อยื่นพิจารณาศึกษาต่อ คือ ISE คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (อินเตอร์) BSAC คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาเคมีประยุกต์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (อินเตอร์) ข้อควรรู้เกี่ยวกับการสอบ CU-ATS ข้อสอบ CU-ATS คะแนนรวม 1,600 คะแนน ประกอบด้วย 2 วิชา […]
Comments (0)
-
Blog, SAT
BBA คืออะไร? อยากสอบติดต้องทำอย่างไรบ้าง?
สวัสดีครับน้องๆ ทุกคน วันนี้พี่แอดมินกลับมาอีกแล้วกลับบทความดีๆ สำหรับชาวอินเตอร์โดยเฉพาะ…พี่เชื่อว่าเด็กสายศิลป์หลายๆ คนคงกำลังมองหาข้อมูล “คณะ BBA” อยู่แน่นอน !!! วันนี้ ignite ขอแชร์ข้อมูลดีๆ เกี่ยวกับคณะ BBA ในมหาวิทยาลัยไทยให้พวกเราทุกคนได้ศึกษารายละเอียดที่ถูกต้องกันนะครับ BBA คืออะไร? เรียนอะไร? BBA คือ หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (Bachelor of Business Administration) ซึ่งเป็นคณะยอดฮิตของเด็กมัธยมที่ต้องการสอบเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี โดยมีมหาวิทยาลัยชั้นนำของไทย เปิดสอนหลักสูตรนี้ เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยเน้นการเรียนการสอนเกี่ยวกับ การบริหาร การบัญชี การเงินและการตลาด โดยวิชาที่เปิดสอนจะขึ้นอยู่กับหลักสูตรของแต่ละมหาวิทยาลัยอีกที น้องๆ อย่าลืมเช็คเพิ่มเติมนะครับ มหาวิทยาลัยที่เปิดสอนหลักสูตร BBA ในประเทศไทย อย่างที่ทราบกันดีว่าคณะ BBA คือ […]
Comments (0)
-
Blog, CU-ATS/CU-AAT
เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างข้อสอบ CU-AAT Math VS ACT Math
สวัสดีครับว่าที่น้องๆ ทีมวิทยา วิศวะอินเตอร์ หรือน้องทีมคณะสายศิลป์ อินเตอร์ หลายๆ คน คงสงสัยว่า หน้าตาข้อสอบของ CU-AAT Math และ ACT Math เป็นอย่างไร เหมือนหรือแตกต่างกันตรงจุดไหนบ้าง และเราควรจะเลือกสอบตัวไหนดี วันนี้พี่ภัทร์มา เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างข้อสอบ CU-AAT MATH และ ACT Math จับทั้งสองข้อสอบมาเปรียบเทียบกันในทุกแง่มุม เพื่อเป็นอีกแนวทางในการช่วยน้องๆ ตัดสินใจครับ ทำความรู้จักข้อสอบ CU-AAT Math VS ACT Math เมื่อเรารู้จักข้อสอบ CU-AAT และ ข้อสอบ ACT TEST กันแล้ว.. ก็มาดูกันว่าเมื่อมีคะแนน CU-AAT Math และ ACT Math สามารถยื่นเข้าคณะไหน มหาลัยไหนได้บ้าง คะแนน […]
Comments (0)
Comments