การเขียน Reflection คือ?│ สำคัญอย่างไรกับแพทย์รอบพอร์ต

หากใครมีโอกาสได้อ่าน Blog เรื่องการเขียน SOP ที่พี่เคยบอกไว้ว่า “การเขียน SOP ก็เหมือนการเขียนไฮไลท์สำคัญที่ปกหลังของหนังสือ” ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อและไม่ซื้อหนังสือเล่มนั้นของใครหลายๆ คน แต่สำหรับ การเขียน Reflection นั้น พี่ขอนิยามว่าเป็นการปิดจบบทสรุปของเรื่องราวในหนังสือให้คนดูประทับใจก็แล้วกัน ในเมื่อเราตั้งใจทำทุกขั้นตอนมาเป็นอย่างดีแล้ว วันนี้เรามาเรียนรู้ การเขียน Reflection ให้ผู้อ่านประทับใจกัน
การเขียน Reflection คืออะไร?

ก่อนอื่นเราไปทำความรู้จักกันก่อนว่า การเขียน Reflection คือ อะไร? หากแปลตรงความหมาย Reflection คือ การสะท้อน หรือการครุ่นคิด ไตร่ตรอง ดังนั้นการเขียน Reflection จึงเป็นการเขียนเพื่อสะท้อนสิ่งที่เราได้เรียนรู้ สิ่งที่คิด สิ่งที่เกิดขึ้น รวมไปถึงผลลัพท์ของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เราได้ทำไป เป็นสิ่งที่จะช่วยให้ผู้อื่นเข้าใจว่าเรามีมุมมองหรือแนวคิดต่อสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างไร เป็นสิ่งที่ช่วยสะท้อนมุมมองและตัวตนของน้องๆ และที่สำคัญคือเป็นสิ่งที่คณะกรรมการอยากเห็นมากที่สุดจากน้องๆ ที่ยื่นสมัครเข้ารับการคัดเลือกรอบใน TCAS รอบ 1 หรือรอบ Portfolio
ควรเขียน Reflection เมื่อใด?

คำถามต่อมาที่น้องๆ มักถามต่อคือ แล้วเราควรเขียน Reflection ตอนไหน? ถ้าเอาตามหลักการเลย เราควรเขียน Reflection ทันทีหลังทำกิจกรรมนั้นๆ หรือหลังกิจกรรมนั้นเกิดขึ้นได้ไม่นาน เพราะจะเป็นช่วงเวลาที่เรายังสามารถจดจำความรู้สึกต่อเหตุการณ์นั้นได้ดีที่สุด พูดง่ายๆ ว่า “ยังอินอยู่” นั่นแหล่ะ
แต่ๆๆ พี่ก็เข้าใจว่า ในการทำพอร์ต มีพื้นที่ค่อนข้างจำกัดตามข้อกำหนดของแต่ละคณะ ดังนั้นเราจึงต้องเลือกเอากิจกรรมที่เราชื่นชอบมากที่สุด หรือภูมิใจมากที่สุดมาใส่ในพอร์ต ซึ่งนั่นแปลว่าอาจจะเป็นกิจกรรมที่เราทำมาแล้ว 2-3 ปี ทีนี้จะทำยังไงหล่ะพี่ เขียน Reflection ตอนนี้ยังทันไหม? “คำตอบคือ ทัน!! ก็ต้องทันแหล่ะ” แต่พี่อยากแนะนำให้น้องๆ ลองย้อนนึกถึงความรู้สึกในตอนนั้นขณะที่เราทำกิจกรรมนั้นสักนิด แล้วเอามาผสมรวมกับแพชชั่นที่เราอยากจะเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของคณะ สะท้อนเล่าสิ่งที่เราได้รับในมุมที่เกี่ยวข้อง หรือสามารถต่อยอดให้เกิดประโยชน์ในการศึกษาต่อ รวมไปถึงสายอาชีพของคณะที่เรายื่นพอร์ตได้เลย
ควรเขียน Reflection อย่างไร?

การเขียน Reflection ที่ดีพี่ว่าหลักๆ ควรอธิบายถึง 4 เรื่องนี้ให้ได้
- บริบทของผลงาน : กิจกรรมนั้นเกี่ยวข้องกับอะไร และมีวัตถุประสงค์อย่างไร?
- สิ่งที่คาดหวัง : ผลลัพท์ที่เราคาดการณ์ไว้ว่าจะเกิดขึ้นก่อนที่เราจะได้ลงมือทำสิ่งนั้น
- สิ่งที่ได้รับ : ได้เรียนรู้อะไรบ้างจากการลงมือทำ ได้รับผลลัพท์ตามที่คาดการณ์ไว้หรือไม่ อย่างไร?
- สิ่งนั้นช่วยพัฒนา หรือนำไปต่อยอดได้อย่างไร : อันนี้สำคัญมาก สะท้อนให้เห็นมุมมอง การคิดวิเคราะห์ของเรา แม้ว่าผลลัพท์จะเป็นไปตามคาด หรือไม่ก็ตาม ตรงนี้แหล่ะ ใส่ความเชื่อมโยงกับคณะที่เราจะยื่นพอร์ตเข้าไปให้เต็มที่! จัดเต็มได้ แต่ขอให้อยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริงนะจ๊ะ
** สำคัญมากๆ คือ เขียนให้กระชับ ตรงประเด็น สะท้อนตัวตน และความคิดของเราให้ชัดเจน **
สำหรับน้องๆ ที่วางแผนในการสมัคร TCAS รอบ 1 หรือรอบ Portfolio แล้วกำลังทำพอร์ตอยู่ พี่ก็ขอเป็นกำลังใจและหวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์กับน้องๆ ไม่มากก็น้อย 📍แต่สำหรับน้องๆ คนไหนที่อยากได้เทคนิคดีๆ ในการเล่าผลงานสุดภาคภูมิใจให้ปังที่สุดในพื้นที่เขียนที่มีจำกัด ❗️มาสร้างผลงานของตัวเองให้โดดเด่นและบอกเล่าเรื่องราวของเราให้ดีที่สุดได้กับคอร์ส Medical Portfolio
✒เจาะลึกการเขียน 𝐒𝐭𝐚𝐭𝐞𝐦𝐞𝐧𝐭 𝐨𝐟 𝐏𝐮𝐫𝐩𝐨𝐬𝐞
✒เทคนิค 𝐌𝐀𝐑 𝐌𝐨𝐝𝐞𝐥 ที่จะทำงานเขียนของน้อง 𝐈𝐦𝐩𝐚𝐜𝐭!
✒ลงมือเขียนจริงทั้ง 𝐒𝐎𝐏 และ 𝐑𝐞𝐟𝐥𝐞𝐜𝐭𝐢𝐨𝐧𝐬 ของตัวเอง
✒เขียนเสร็จแล้ว พี่ตรวจให้! รับการตรวจและให้คำแนะนำโดยผู้เชี่ยวชาญผ่านระบบ 𝐖𝐫𝐢𝐭𝐢𝐧𝐠 𝐜𝐞𝐧𝐭𝐫𝐞

คอร์สเรียนนี้บอกเลยว่าพี่ ignite by OnDemand ทุกคนตั้งใจออกแบบมาเพื่อน้องๆ โดยเฉพาะ มาพิชิตจุดตัดสำคัญของคณะแพทย์รอบพอร์ต ด้วยกันครับ สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Line : @ignitebyondemand หรือคลิก
ดูรายละเอียดคอร์สเรียนด้วยตัวเองเพิ่มเติมได้ที่
Related Blog & News
ข่าวสารและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง
-
Blog, Medical TCAS 1 (Portfolio)
เตรียมตัวอย่างไรให้พิชิต BMAT Biology โดย ครูเคนจิ
สวัสดีครับน้องๆ ว่าที่น้องหมอทุกๆ คน พี่เคนจิ สอนวิชา BMAT Biology ให้ครับ ignite by OnDemand อยากมาแชร์เทคนิคที่หลายๆคนสงสัยว่าจะ เตรียมตัวทำข้อสอบ BMAT Biology ยังไง? ให้ทำได้ครบ ทำได้ทัน และมั่นใจในทุกคำตอบ พี่เคนจิ ได้ไกด์แนวทางในการเตรียมตัวให้น้องๆ ไว้แล้วเริ่มอ่านกันได้เลย เทคนิคเตรียมตัวสอบ BMAT Biology โดยครูเคนจิ 1. ทำความเข้าใจ specification ทำความเข้าใจ specification ให้ดีว่าเราต้องรู้อะไรบ้าง เพราะสิ่งที่เราต้องรู้ในแต่ละปีอาจจะเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ ใช้ตัว specification เป็น checklist ดูว่าเรารู้ทุกอย่างครบถ้วนดีแล้วหรือยัง ข้อสอบจะชอบออกเนื้อหาใหม่ที่เพิ่งเพิ่มเข้าไป 2. ทำโจทย์ BMAT เยอะๆ ทำโจทย์เยอะ ๆ เพื่อให้คุ้นเคยกับแนวคำถาม เพราะโจทย์ทั้งยาวและชอบดักทางเรา โดยการใช้คำที่มักทำให้ความหมายของประโยคเปลี่ยนอย่างสิ้นเชิง อย่างเช่น only, could be กับ must […]
Comments (0)
-
Blog, IELTS
รีวิวการสอบ IELTS แบบ Computer-delivered โดยน้องนโม เจ้าของคะแนน IELTS 8.0
หนึ่งในคำถามยอดฮิตที่น้องๆ ถามกันเข้ามาเยอะที่สุดคือ การสอบ IELTS แบบคอมพิวเตอร์ เป็นอย่างไร และการสอบแบบคอมหรือแบบกระดาษดีกว่ากัน วันนี้พี่เลยขอพาหนุ่มหล่อคนเก่งที่เพิ่งคว้าคะแนน IELTS 8.0 จากการสอบ Computer-delivered IELTS อย่างน้องนโม ภาคภพ เลขวัต จากโรงเรียนสาธิตมศว. ปทุมวัน มารีวิวการสอบ IELTS แบบคอมพิวเตอร์กันว่าในห้องสอบ น้องๆ จะต้องเจอกับอะไรบ้าง ไปลุยกันเลย! วิธีสมัครสอบ IELTS ไม่ว่าจะเป็นการสอบ IELTS แบบคอมพิวเตอร์ หรือ แบบกระดาษ น้องๆ สามารถสมัครสอบออนไลน์ ได้ผ่านเว็บไซต์ทางการของศูนย์สอบ โดยกดเลือกรูปแบบการสอบและสถานที่สอบได้เอง จากนั้นก็ทำการชำระค่าธรรมเนียมการสอบที่ปัจจุบันก็มีหลากหลายช่องทั้งการชำระผ่านบัตรเครดิตหรือการโอนเงิน แต่สิ่งที่สำคัญมากๆ สำหรับน้องๆ ที่ต้องการสมัครสอบและยังอายุไม่ถึง 18 ปี จะต้องทำการปรินท์ใบ Consent form หรือเอกสารยินยอม ให้ผู้ปกครองเซ็นรับรอง และนำมายื่นในวันสอบจริงพร้อมกับหลักฐานการสอบอื่นๆ ที่จำเป็นอย่างบัตรประจำตัวประชาชน ทั้งนี้ ขอแนะนำว่าน้องๆ ควรไปถึงสถานที่สอบก่อนเวลาอย่างน้อย 30 นาทีเพื่อถ่ายรูป, ลงทะเบียน, สแกนนิ้ว […]
Comments (0)
-
Blog, SAT Subject Tests
สรุปทางเลือกเมื่อ SAT Subject Tests ยกเลิก วิชาไหนบ้างที่ยื่นแทนได้?
เป็นข่าวใหญ่ระดับประเทศเลยทีเดียวสำหรับน้องๆ มัธยมที่อยากเข้าคณะอินเตอร์ เมื่อ College board ประกาศว่าต่อไปจะไม่มี Sat Subject test อีกแล้ว น้องๆ หลายคนที่วางแผนไว้ว่าจะสอบในอนาคตตอนนี้คงมีคำถามในใจกันเต็มไปหมด ว่า อ้าว แล้วคณะที่เราอยากเข้าจะทำยังไงละ มันจะส่งผลอะไรยังไงกับเราแค่ไหน ignite ก็เลยเขียนบทความนี้ขึ้นมาเพื่อที่จะเสนอแนวทางในการหาวิชาสอบทดแทนสำหรับน้องๆ ที่ยังมุ่งมั่นว่าจะเข้าคณะอินเตอร์ หรือ หมอในไทย โดยต้องบอกว่าสถานการณ์ตอนนี้ น้องๆ อินเตอร์อาจจะได้เปรียบกว่านิดหน่อย เพราะหลายคณะยังคงรับการยื่นคะแนน IB, A-Level ที่น้องๆ โรงเรียนนานาชาติต้องสอบกันในโรงเรียนอยู่แล้ว แต่น้องๆ ภาคไทยอย่าเพิ่งน้อยใจกันไป เพราะบางคณะยังคงเปิดให้ยื่นวิชาอื่นแทนด้วย จะเป็นอะไรนั้นตามดูกันได้เลยครับ เมื่อ SAT Subject test ยกเลิก เราจะใช้วิชาไหนสอบแทนได้บ้าง มาดูกันเลย ! #ทีมเด็กไทย เริ่มกันก่อนกับคณะยอดฮิต […]
Comments (0)
-
Blog
BJM คืออะไร? เรียนอะไรบ้าง? อยากสอบติดต้องทำอย่างไร?
สวัสดีน้องๆ สายศิลป์ทุกคนนะครับ พี่แอดมินพาคณะอินเตอร์ปังๆ มาแนะนำให้พวกเราได้รู้จักกันอีกแล้ว…วันนี้มาพบกับ BJM คณะอินเตอร์ยอดฮิตที่รับรองว่าตรงใจชาวสายศิลป์หลายคนแน่นอน ไม่พูดพร่ำทำเพลง เราไปทำความรู้จักกันว่า คณะ BJM คืออะไร? ในหลักสูตรเรียนอะไรบ้างกันเลยดีกว่า BJM คืออะไร? เรียนอะไร? BJM หรือ Bachelor of Arts Program in Journalism (Mass Media Studies) คือ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน สาขาวิชาสื่อ หลักสูตรนานาชาติ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ น้องๆ นิยมเรียกกันสั้นๆ ว่า คณะวารสารอินเตอร์หรือ BJM นั้นเอง สำหรับหลักสูตรนี้จะมีความคล้ายคลึงกับคณะนิเทศศาสตร์ที่พวกเราคุ้นเคยกันอยู่พอสมควรครับ แต่ที่ BJM จะเน้นเรียนครอบคลุมมากกว่า ไม่มีการเลือกสาขา เฉพาะเจาะจงแต่น้องจะได้เรียนครบเกี่ยวกับสื่อในทุกด้าน ตั้งแต่การผลิต ออกแบบ สร้างสรรค์ ภาพยนตร์ โฆษณา ประชาสัมพันธ์หรือวิทยุและโทรทัศน์ ไปจนถึงเรียนการบริหารการสื่อสาร ซึ่งรุ่นพี่แอบกระซิบมาว่าที่นี่เน้นเรียนปฏิบัติ น้องจะได้ศึกษาทั้งการเป็นเบื้องหน้าและเบื้องหลัง รับรอบว่ามาเรียน […]
Comments (0)
Comments