รวมโจทย์เด็ด CU-ATS ที่ออกสอบบ่อย│Update รอบล่าสุด Jan 2023

พี่ก๊อฟและพี่อิ้งค์ กูรู CU-ATS จาก ignite พามาดูโจทย์เด็ดข้อสอบ CU-ATS ที่ออกสอบบ่อย Update รอบล่าสุด Jan 2023 ที่รวบรวมโจทย์เด็ดมาทั้ง Chemistry และ Physics บอกเลยน้อง ๆ คนไหนกำลังเตรียมตัวสอบ CU-ATS อยู่ไม่ควรพลาด.. สอบรอบหน้ามั่นใจขึ้นแน่นอน!
ข้อสอบ CU-ATS Chemistry บทเด็ดที่ออกสอบบ่อย

สำหรับตัวอย่างแรก จะเป็นบท Chemical bonding หรือ บทพันธะเคมี เดิมทีตัวบทนี้จะเป็นบทที่มี detail ค่อนข้างเยอะอยู่แล้ว แต่ความดีงามของบทนี้ก็คือว่ามันจะเป็นบทเป็นพื้นฐานไปต่อยอดในบทอื่น ๆ ได้ เช่น Solids, liquids and gases หรือ Organic chemistry ซึ่งในการสอบ 5 รอบติดกันที่ผ่านของสนาม CU-ATS ในวิชาเคมีนั้น หัวข้อนี้ออกแบบสนั่นหวั่นไหว ขนาดที่ว่า ถ้าคิดเป็นพื้นที่ในการออกข้อสอบ จะอยู่ที่ประมาณ 1 ใน 5 ของจำนวนข้อสอบทั้งหมด พูดเลยว่า ถ้าลืมอ่านบทนี้ หรือเท หรือข้ามบทนี้มี อาจจะเกิดการสั่นคลอนของคะแนนขึ้นมาทันที เราลองมาดูตัวอย่างโจทย์กันดีกว่า

พูดกันตามตรงว่าข้อนี้เหมือนเอาคะแนนมาเสิร์ฟถึงโต๊ะสอบ เพราะว่าโจทย์แนวแบบนี้จะเป็นแนวโจทย์ถามปุ๊บตอบปั๊บ ใช้คำว่าวิ่งใส่แทบไม่ทัน ถ้าเราเข้าใจทฤษฎีสมบัติของพันธะโลหะของโลหะทองแดงและพันธะไออนิกของสารประกอบแคลเซียมคลอไรด์ จะเข้าใจได้ว่าทั้งสองสารจะมีสิ่งที่ร่วมกันนั้นก็คือ มีจุดเดือดจุดหลอมเหลวที่ค่อนข้างสูงเกินกว่า 1,500 °C ทั้งคู่ โดยทองแดงจะอยู่ที่ 2,562 °C และ สารประกอบแคลเซียมคลอไรด์จะอยู่ที่ 1,935 °C เลยทำให้คำตอบข้อนี้ไปลงเอยอยู่ที่ Choice 1) นั้นเอง ส่วน Choice อื่น จะเป็นสมบัติของแค่สารใดสารหนึ่งแค่นั้นเอง

สำหรับตัวอย่างถัด จะเป็นบท Solids Liquids and Gases หรือ บทของแข็ง ของเหลว แก๊ส จะเป็นบทกึ่งคำนวณ กึ่งทฤษฎี โดยจะอาศัยพื้นฐานจากบท Stoichiometry กับ บท Chemical bonding มาผสม ๆ กัน เลยทำให้บทนี้แสดงตัวออกมาทุกรอบของการสอบ เราลองมาดูตัวอย่างโจทย์กันเลยดีกว่า

จากตัวคำถาม เราจะเห็นว่าจะเป็นหัวข้อ Gases เกี่ยวกับเรื่องของอัตราการแพร่ของแก๊ส ซึ่งตัวทฤษฎีตามหลักของ Graham จะกล่าวไว้ว่า แก๊สที่แพร่เร็วกว่าจะเป็นแก๊สที่มีน้ำหนักเบากว่า ทำให้เราสามารถตีความออกมาเป็นสูตรสำเร็จในการคำนวนได้แบบนี้

โดยที่ MW หมายถึง molecular weight (มวลโมเลกุล)เมื่อทำการแทนข้อมูลที่โจทย์ให้มาก็จะได้แบบนี้ครับ

ดังนั้น the unknown gas ที่โจทย์พูดถึง ก็จะตกไปอยู่ที่ แก๊สคลอรีน (Cl2) ที่มีมวลโมเลกุลเท่ากับ 71 นั้นเอง คำตอบข้อนี้จึงไปตกอยู่ที่ Choice 2) จะเห็นได้ว่าข้อนี้จะเป็นแนวคำนวณของหัวข้อแก๊สในบทนี้ที่ไม่ยากจนเกินไปจ้า ต้องรีบคว้าเอาไว้ให้ไวเลย
แต่ถ้าจะพูดถึงตำนานที่ยังมีลมหายใจ ที่สามารถทำให้คนสอบนั้นหยุดหายใจได้เลย อาจจะต้องตกมาอยู่ที่บทนี้เลย ก็คือ Acids and Bases ไม่พูดถึงไม่ได้จริง ๆ เพราะว่ายืนหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาก สำหรับบทนี้ เพราะเป็นบทที่มีทั้งทฤษฎีและคำนวนผสมกัน อีกทั้งยังจะต้องใช้ตัวบทหลาย ๆ บทมาประยุกต์รวมกันเป็น ข้อเดียวด้วย จะเป็นยังไง ไปดูตัวอย่างโจทย์กัน

มีคนเคนกล่าวว่าโจทย์ที่สั้นมักจะแสดงวิธีทำยาวเสมอ ซึ่งข้อนี้เกือบจะเข้าข่ายได้เลยนะ แต่ถ้าเรามีวิธีการที่รวบรัดตัดตอนเราจะรู้ว่า ข้อนี้จะเป็นพาร์ทคำนวณของบทนี้ โดยที่ข้อนี้จะประยุกต์ สองบทเข้าด้วยกันคือ Solution และ Acid and Bases เพื่อที่จะต้องให้ทำข้อสอบทันเวลา ข้อนี้เราจึงจะต้องพึ่งพาสูตรนี้ในการคำนวนน้า


เมื่อสูตรทั้งหมดเพียบพร้อม ก็แทนค่าทั้งหมดลงไปได้เลย ตามสมการด้านล่างจ้า

จะเห็นได้ว่ามีสองเรื่องที่ใช้ คือการหาความเข้มข้นในหน่วย molarity จากบท Solution และ จากตัวบทนี้เองที่คำนวนหา pH แม้ว่าจะมีความซับซ้อนของทฤษฎี แต่จะเห็นความใจของตัวเลขที่โจทย์ให้คำนวนอยู่ครับ เลยทำให้คำตอบข้อนี้ไปลงเอยอยู่ที่ Choice 3) ครับ
มาถึงอีกบทนึงที่ออกเยอะพอสำควร เห็นผ่านตากันบ่อย ๆ ก็คือ บท Electrochemistry ช็อตฟีลสมชื่อบทไฟฟ้า ชื่อบทที่มีความฟิสิกส์แต่ตามด้วยคำว่า chemistry เลยทำให้มีความแตกต่างกันอยู่ บทนี้จะคล้าย ๆ กรดเบส ตรงที่ว่ามีความลูกผสมของทฤษฎีและคำนวณไปพร้อม ๆ กัน ซึ่งต้องใช้ทฤษฎีครึ่งนึงของบทเข้าช่วยการคำนวณ ถึงจะสามารถทำบทนี้ได้ ลองดูมาตัวอย่างโจทย์กัน

ดุดัน ไม่เกรงใจใครของแท้ต้องให้ข้อนี้จริง ๆ เพราะว่าถ้าเข้าใจทฤษฎีจะลุยคำนวณต่อได้ ถ้าช็อตขึ้นมาตอนทำอาจจะทำให้พลาดเลยก็ได้ สำหรับข้อนี้นั้นจะต้อง เข้าใจสูตรการหา the cell potential at standard state conditions หรือ ของปฏิกิริยา redox ก่อน ดูจากด้านล่างได้เลย

จากนั้นเราจะต้องเข้าใจสถานการณ์ว่าโจทย์ต้องการจุ่มแท่งโครเมียมลงไปในสารละลาย cobalt(II) nitrate ที่มี Co2+ ดังนั้นรูปสถาการณ์จะเป็นแบบนี้

จะเห็นได้ว่าตัวปฏิกิริยานี้เกิดขึ้นเองได้แปลว่า แท่งโครเมียมยอมจ่ายอิเล็กตรอนให้กับ Co2+ เลยทำให้สรุปใจความได้ว่าแท่งโครเมียมเกิดปฏิกิริยา oxidation และ Co2+ ในสารละลาย cobalt(II) nitrate เกิดปฏิกิริยา reduction
Oxidation reaction: Cr3+(aq) + 3e– → Cr(s) Eo = -0.74 V
Reduction reaction: Co2+(aq) + 2e– → Co(s) Eo = -0.28 V
และเมื่อทำการแทน ค่า E0 ลงไปในสมการ the cell potential at standard state conditions ก็จะได้ค่าศักย์ไฟฟ้าตามนี้
E0cell = -0.74 – (-0.28)
E0cell = +0.46 V
มาถึงตัวอย่างสุดท้าย แม้ว่าเราเหนื่อยกับคำนวณอย่างบ้าคลั่งก็ตาม แต่สำหรับใครที่เป็นชาวคลั่งไคล้บทที่เป็นทฤษฎี ก็จะต้องประทับใจกับบทนี้แน่นอน นั้นก็คือ Organic chemistry พูดถึงชื่อบทแล้วจะต้องอุทานว่า “ตัวแม่จะแคร์เพื่อ” เพราะด้วยความทฤฎษีที่เยอะ ใคร ๆ ที่พูดถึงบทนี้ก็จะบอกว่าจำเยอะมากแม่บทนี้ ไม่ไหว อยากเท แต่ช้าก่อน เพราะว่าจริง ๆ แล้วตัวบทนี้ค่อนข้างออกง่ายพอสมควร และออกแนวเดิม ๆ ทำให้รู้สึกว่าไม่ควรเสียเวลาเท ถ้าตั้งใจจะสามารถ keep คะแนนไว้ได้แน่นอน ลองมาดูตัวอย่างโจทย์กัน


จะเห็นว่าไม่ยากอย่างที่คิด และที่เป็นยาว ๆ นั้น ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับคำถามเลย ซึ่ง pattern นี้สามารถออกกับทุก chapter ที่ทำให้ผู้สอบเสียเวลากับการอ่านไปโดยเปล่าประโยชน์ เป็นผลทำให้ข้อนี้ตอบ Choice 2)
จะเห็นว่า ตัวข้อสอบที่ออกมาใน 5 รอบติดนั้นจะมีระดับของข้อสอบอยู่ที่ประมาณ กลาง ๆ ไม่ง่ายหรือยากจนเกินไป แต่ตัวข้อสอบเองทั้งหมดก็จะมีข้อที่ง่ายและยากผสมปนเปกันไปมา ถึงแม้ว่าจะง่าย กลาง ๆ หรือยาก แต่ถ้าเราฝึกทำโจทย์ควบคู่กับเวลาก็จะสามารถช้อนเอาคะแนน 600+ มาครอบครองได้
ข้อสอบ CU-ATS Physics บทเด็ดที่ออกสอบบ่อย

5 Chapters เด็ดที่มีสถิติออกสอบสูงสุดใน CU-ATS Physics
- Newton’s laws of motion
- Mechanics: Work&Evergy
- EM fields/forces
- Basic of waves
- Energy levels










เป็นยังไงกันบ้างรวมโจทย์เด็ด CU-ATS มาใหักันอย่างจุใจ.. มั่นฝึกทำโจทย์ให้คุ้นชิน เดียวก็ได้คะแนนฟิน ๆ กลับไปกันอย่างแน่นอน พี่ ๆ ขอเป็นกำลังใจให้น้อง ๆ ทุกคนที่กำลังเตรียมตัวสอบ CU-ATS กันทุก ๆ คนนะครับผม
สำหรับน้องๆ ที่อยากเตรียมตัวสอบเข้าคณะวิศวะอินเตอร์ สามารถเข้ามาปรึกษาวางแผนการเตรียมตัวกับพี่ Education Cuonsultant ได้ที่ Line@ignitebyondemand หรือโทร 02-6580023 , 091-5761475 ได้เลยครับผม
สามารถซื้อคอร์สเรียนออนไลน์ ด้วยตัวเองได้ง่ายๆ ผ่าน Shop Online ของ ignite …พร้อมแล้วคลิกเลย http://bit.ly/3HNBFsa
ดูรายละเอียดคอร์สเรียนของ ignite ทั้งหมดได้ทาง >> http://bit.ly/3YoMhou
Related Blog & News
ข่าวสารและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง
-
Blog, SAT Reading and Writing, SAT
แชร์เทคนิคพิชิตข้อสอบ SAT Reading and Writing ประเภท Vocabulary in Context
สวัสดีครับน้องๆ ทุกคน เป็นอย่างไรกันบ้างเอ่ย เตรียมตัวในการสอบ SAT ไปถึงไหนกันแล้วบ้างครับ หลายๆ คนคงเริ่มเรียนและฝึกฝนทำโจทย์ SAT กันอยู่เพื่อพิชิตคณะในฝัน วันนี้พี่แพททริคจึงขอมาให้กำลังใจพร้อมทั้งแชร์เทคนิคพิชิต ข้อสอบ SAT Reading and Writing กันครับ น้องๆ รู้มั้ยเอ่ยว่าข้อสอบประเภท Vocabulary in Context เนี่ย ก็เป็นข้อสอบอีกประเภทหนึ่งที่มีความสำคัญมากๆ และสามารถช่วยเราเพิ่มคะแนนสอบได้ เพราะว่ามีข้อสอบประเภทนี้ถึง 8-9 ข้อต่อชุด (อ้างอิงจาก Official SAT Practice Tests ชุดที่ 8-9 โดย College Board) นับว่าเกือบจะเป็น 20 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนข้อสอบทั้งหมดเลยทีเดียว (ข้อสอบพาร์ท Reading มีทั้งหมด 52 ข้อ) ดังนั้น หากน้องๆ สามารถเก็บคะแนนในส่วนนี้ได้ทั้งหมด โอกาสในการพิชิต Perfect Score ก็จะเพิ่มขึ้นด้วยครับ หลังจากรู้ถึงความสำคัญที่จะต้องพิชิตข้อสอบ Vocabulary […]
Comments (0)
-
Blog, GED
รวมคำถามยอดฮิต GED อยากสอบติดม.ดังต้องได้คะแนนเท่าไหร่ถึง SAFE!
สวัสดีค่าน้องๆ ตั้งแต่ ignite เริ่มให้คำแนะนำเรื่องการวางแผน เตรียมตัวสอบ GED ก็มีน้องๆ มีข้อสงสัยเกี่ยวกับการเตรียมตัวสอบข้อสอบตัวนี้หลายอย่างเลย ไม่ว่าจะเป็น GED ยื่นเข้ามหาวิทยาลัยไหน คณะไหนได้บ้าง? แล้วต้องมีคะแนน GED เท่าไรถึงจะ SAFE? วันนี้พี่หมิงเลยรวบรวมคำถามที่โดนถามบ่อยๆ พร้อมมาให้คำแนะนำดีๆ อย่างตรงไปตรงมา เพื่อให้น้องๆ เตรียมตัวสำหรับการสอบ GED ได้อย่างไม่พลาดเป้า แถมยังได้ Perfect score ด้วยนะคะ ไปดูกันเลยค่า! 1. อยากเข้าอินเตอร์ ม.ดัง คะแนน GED เท่าไหร่ถึง SAFE! คณะส่วนใหญ่ของกลุ่ม มหาวิทยาลัย จุฬาฯ – ธรรมศาสตร์อินเตอร์ จะตั้งเกณฑ์รับนักเรียน GED ตามเกณฑ์ที่ ทปอ. กำหนด นั่นก็คือ คะแนนรวม […]
Comments (0)
-
Blog, CU-ATS/CU-AAT, SAT Subject Tests
บทสัมภาษณ์ “ISE อันดับ 1 ปี 64” น้องวิน กรุงเทพคริสเตียน
สวัสดีครับวันนี้พี่แอดมินพา ignite idol ดีกรี “อันดับ 1 ISE CU ปีล่าสุด” อย่างน้องวินจากโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน มาแนะนำเคล็ดลับการเตรียมตัวสอบเข้าคณะวิศวะอินเตอร์ยอดฮิต ให้น้องๆ ว่าที่วิศวะทุกคนได้มีแนวทางการเตรียมตัวในการสอบเข้านะครับ พี่วินพร้อมมาเจอน้องๆแล้ว…พร้อมแล้วไปกันเลย Timeline เตรียมตัวสอบเข้า ISE CU จากน้องวิน อันดับ 1 ปีล่าสุด พี่เริ่มเตรียมตัวสอบเข้า ISE CU ตอนม.5 ครับ ถือว่าเป็นการเตรียมตัวที่ไม่ช้าไป ไม่เร็วไป แต่ในกรณีของพี่จะต้องเจอกิจกรรมของโรงเรียนที่เราได้ไปมีบทบาทสำคัญอย่างตอนม.5 ที่เป็นฝ่ายเขียนโค้ด แปรอักษรงานจตุรมิตรสามัคคี และม.6 ที่จัดงานวันเกิดให้กับทางโรงเรียน…กิจกรรมเหล่านี้ค่อนข้างกินเวลาชีวิตเราพอสมควร ทำให้พี่ต้องวางแผนจัดการเวลาในการเตรียมตัวสอบเข้า ISE CU ให้รอบคลอบมากที่สุด เริ่มจากม.5 พี่ได้สมัครคอร์ส Engineer pack ของ ignite ครับ ซึ่งเป็นคอร์สแพ็คสำหรับคนที่อยากสอบเข้าคณะวิศวะโดยเฉพาะ ตอนนั้นพี่สมัครสอบครั้งแรกในรอบ Nov โดยได้คะแนนสอบ SAT Subject tests ดังนี้ครับ วิชา Chemistry […]
Comments (0)
-
Blog
BJM คืออะไร? เรียนอะไรบ้าง? อยากสอบติดต้องทำอย่างไร?
สวัสดีน้องๆ สายศิลป์ทุกคนนะครับ พี่แอดมินพาคณะอินเตอร์ปังๆ มาแนะนำให้พวกเราได้รู้จักกันอีกแล้ว…วันนี้มาพบกับ BJM คณะอินเตอร์ยอดฮิตที่รับรองว่าตรงใจชาวสายศิลป์หลายคนแน่นอน ไม่พูดพร่ำทำเพลง เราไปทำความรู้จักกันว่า คณะ BJM คืออะไร? ในหลักสูตรเรียนอะไรบ้างกันเลยดีกว่า BJM คืออะไร? เรียนอะไร? BJM หรือ Bachelor of Arts Program in Journalism (Mass Media Studies) คือ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน สาขาวิชาสื่อ หลักสูตรนานาชาติ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ น้องๆ นิยมเรียกกันสั้นๆ ว่า คณะวารสารอินเตอร์หรือ BJM นั้นเอง สำหรับหลักสูตรนี้จะมีความคล้ายคลึงกับคณะนิเทศศาสตร์ที่พวกเราคุ้นเคยกันอยู่พอสมควรครับ แต่ที่ BJM จะเน้นเรียนครอบคลุมมากกว่า ไม่มีการเลือกสาขา เฉพาะเจาะจงแต่น้องจะได้เรียนครบเกี่ยวกับสื่อในทุกด้าน ตั้งแต่การผลิต ออกแบบ สร้างสรรค์ ภาพยนตร์ โฆษณา ประชาสัมพันธ์หรือวิทยุและโทรทัศน์ ไปจนถึงเรียนการบริหารการสื่อสาร ซึ่งรุ่นพี่แอบกระซิบมาว่าที่นี่เน้นเรียนปฏิบัติ น้องจะได้ศึกษาทั้งการเป็นเบื้องหน้าและเบื้องหลัง รับรอบว่ามาเรียน […]
Comments (0)
Comments