5 โจทย์ที่ต้องเจอใน BMAT Critical Thinking พร้อมเทคนิค CAP รับมือทุกโจทย์ Part 1

สวัสดีครับน้องๆ กลับมาพบกับพี่กั๊กกันอีกครั้งนะครับ ใกล้จะถึงช่วงสอบ BMAT กันอีกแล้ว เชื่อว่าตอนนี้น้องๆ คงตั้งใจทบทวนโค้งสุดท้ายกันอยู่แน่นอน แต่เนื่องจากการสอบ BMAT นั่นมีหลายพาร์ทเหลือเกิน หากจะต้องโฟกัสทุกจุดคงจะใช้เวลาพอสมควรแน่ๆ
วันนี้พี่กั๊กเลยมาพร้อมกับเทคนิควิเคราะห์โจทย์ BMAT Critical Thinking เพื่อเพิ่มเลเวลในการอัพคะแนนของน้องๆ ใน BMAT Part 1 และช่วยลดการใช้เวลาในการนั่งทบทวนว่า เอ้…โจทย์ข้อนี้ต้องการอะไรนะ?
แต่ก่อนจะเริ่มเทคนิควิเคราะห์โจทย์จากพี่กั๊ก เรามาทบทวนกันอีกรอบดีกว่าว่า “BMAT Part 1 นั้น จริงๆ แล้วเป็นยังไง?”
BMAT Part 1 เป็นอย่างไร ต้องเจอกับข้อสอบแบบไหน?
แน่นอนว่าการที่น้องๆ จะสอบเข้าแพทย์และได้เป็นคุณหมอในอนาคต สิ่งๆ หนึ่งที่น้องจำเป็นจะต้องมีก็คือทักษะการคิดวิเคราะห์นั่นเอง ซึ่งหากน้องเป็นคนที่มีการคิดวิเคราะห์สูง ตรงนี้ก็อาจจะสื่อถึงความสามารถในการนำไปปรับใช้กับสถานการณ์เร่งด่วนต่างๆ ที่ต้องเจอในสายอาชีพนั่นเอง
ดังนั้นนี่ก็เป็นที่มาของเจ้าตัว BMAT Part 1 โดยในส่วนนี้จะถูกแบ่งย่อยออกเป็นอีก 2 พาร์ท คือ
- BMAT Problem Solving (16 ข้อ) : ใน section นี้น้องๆจะต้องโชว์สกิลการแก้ปัญหาต่างๆจากสถานการณ์และข้อมูลที่ได้รับ ซึ่งอาจจะมาในรูปแบบดาต้าตัวเลข กราฟ หรือ statistics ต่างๆ
- BMAT Critical Thinking (16 ข้อ) : ส่วนของพาร์ทนี้ น้องจะต้องตีความเหตุผลและข้อสรุปต่างๆจากข้อมูลที่โจทย์ให้มาว่า โลจิกเหล่านั้นเป็นเหตุเป็นผลหรือไม่
ซึ่งหากให้สรุปรวมแล้ว ใน BMAT Part 1 จะมีคำแนนเต็ม 9.0 และน้องๆ จะมีเวลาทั้งหมด 60 นาทีในการทำข้อสอบแบบปรนัยจำนวน 32 ข้อ
ถึงแม้ว่าฟังดูแล้วอาจจะไม่ยากนัก แต่ข้อสอบพาร์ทนี้ก็เรียกได้ว่ามีความ tricky เหมือนกัน เนื่องจากเป็นทักษะการคิดวิเคราะห์ซึ่งก็อาจจะไม่ตายตัวเท่าการหาคำตอบแบบพาร์ท Scientific Knowledge ดังนั้นการรู้และจับทริคของข้อสอบพาร์ทนี้จึงเป็นเรื่องสำคัญในการคว้าคะแนนเลยทีเดียว
5 รูปแบบโจทย์ที่ต้องเจอใน BMAT Critical Thinking!
ที่นี้พี่กั๊กขอพาน้องๆ มาเจาะลึกในส่วนที่ 2 ของ BMAT Part 1 ซึ่งก็คือ Critical Thinking นั่นเอง เนื่องจากน้องๆ จะต้องวิเคราะห์ Argument & Reasoning ของบทความที่โจทย์ให้มา การรับมือที่ดีที่สุดก็คือ “การเข้าใจโจทย์” นั่นเอง

รูปแบบโจทย์ที่พี่กั๊กจะขอเกริ่นคร่าวๆ ก่อนลงลึกแต่ละตัว จะเเบ่งออกเป็น 5 ประเภทดังนี้:
- Conclusion: โจทย์แบบข้อสรุป
- Assumption: สมมติฐานหรือสันนิษฐานที่เกี่ยวกับข้อสรุปนั้นๆ
- Flaw (Weakness): หาจุดบกพร่องในกระบวนใช้เหตุผล
- Strengthening: เหตุผลเพิ่มเติมที่ทำให้ข้อสรุปน่าเชื่อถือมากขึ้น
- Weakening: เหตุผลที่จะทำให้ข้อสรุปนั้นๆเกิดข้อผิดพลาด
พี่กั๊กจะขออธิบายว่าเจ้าตัวโจทย์เหล่านี้จะอิงจากข้อมูลในบทความและ Argument ที่เราได้รับนั่นเอง ซึ่งจะมีความยาวประมาณ 100-150 คำ ตรงนี้เราต้องรู้ก่อนว่า Argument นั้นประกอบไปด้วย 2 ส่วนหลักๆ คือ Premise(s) และ Conclusion เพื่อความเข้าใจที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

- Premise(s) จะทำหน้าที่เป็นเหตุผลที่คอยซัพพอร์ตข้อสรุปและกระบวนการวิเคราะห์ต่างๆที่เกิดขึ้นในบทความ โดยในแต่ละบทความอาจจะมีเพียง 1 premise หรือมีมากกว่านั้นก็ได้
- Conclusion คือเหตุผล ซึ่งก็มาจากการร้อยเรียง Premise(s) ที่ได้อธิบายไปก่อนหน้านี้นั่นเอง
เพื่อให้เห็นภาพมากขึ้น พี่กั๊กเลยนำตัวอย่างง่ายๆมาให้น้องๆ ดูกัน จากรูปด้านบนน้องจะเห็นการวิเคราะห์ว่าทำไมการสอบ BMAT พาร์ท 1 น้องๆ จึงควรหมั่นทบทวนข้อสอบเก่าๆ
จะเห็นได้ว่ากล่องทางซ้ายมือนั้นคือ Premise หรือเหตุผลที่ซัพพอร์ตข้อสรุป ซึ่งจะถูกแบ่งออกเป็น 2 เหตุผลย่อยก็คือ 1. The average score of BMAT section 1 is relatively lower compared to the others และ 2. Many students said that this section is really challenging. หรือเรียกง่ายๆ ก็คือคะแนนเฉลี่ยที่คนสอบได้ในพาร์ท 1 นั้นต่ำกว่าพาร์ทอื่นๆ นอกจากนี้นักเรียนที่เข้าสอบยังบอกอีกด้วยว่าพาร์ทนี้ค่อนข้างยาก
ซึ่งจากเหตุผล 2 ข้อนี้ เราก็จะได้ Conclusion มาว่า “It is therefore important to do a lot of practices using past papers”
เทคนิค CAP: จำลักษณะโจทย์ง่ายๆ ด้วยรูปภาพ
ถึงเวลาแล้วที่เราจะมาดูกันนะครับว่าโจทย์ที่เราเจอนั้นเป็นโจทย์ประเภทไหน พี่กั๊กเชื่อว่าการสอบ BMAT เนี่ยน้องๆ ต้องจำสูตรต่างๆ มากมาย ถ้าจะต้องมาจำข้อมูลใน Part 1 อีกคงจะเหนื่อยแน่ๆ
วันนี้พี่กั๊กเลยขอนำเสนอ เทคนิค CAP หรือ Critical Analysis Principle ซึ่งพี่กั๊กจะขอใช้ “รูปบ้าน” เป็นตัวเล่าเรื่อง

โดยเทคนิค CAP จะมีการเปรียบเทียบว่า Argument นั้นก็เหมือนบ้านหลังหนึ่ง โดยหลังคาของบ้านคือข้อสรุปหรือ Conclusion ซึ่งหากจะตั้งอยู่ได้โดยไม่สั่นคลอนก็ต้องประกอบไปด้วยฐานเสาที่ดีหรือ Premise(s) นั่นเอง
โจทย์แบบ Conclusion
เรียกได้ว่าเป็นโจทย์ที่ง่ายที่สุดแล้ว เพราะโจทย์เเบบ Conclusion นั้นจะให้น้องหา The Main Conclusion หรือ Logical Completion ซึ่งในที่นี้น้องๆ ต้องหาเหตุผลหรือเสาบ้านให้เจอ และนำมาวิเคราะห์ว่าข้อสรุปหรือหลังคานั้นคืออะไรกันแน่ ดังนั้นเวลาทำ passage พี่กั๊กขอเสริมให้น้องๆ แยกไฮไลท์เหตุผลและข้อสรุปด้วยสีที่ต่างกัน ถ้าน้องๆ แยกสองส่วนนี้เป็น การันตีเลยว่าตอบคำถามได้แน่นอน
โจทย์แบบ Assumption
ข้อนี้จะมีความคล้ายกับโจทย์รูปแบบ conclusion เลย คือเมื่อน้องๆได้รับบทความมา ให้แยกก่อนเลยว่า ประโยคไหนคือ Premise(s) และประโยคไหนคือ Conclusion แต่สิ่งที่แตกต่างก็คือ “บ้านหลังนี้จะมีเสาล่องหนอีกหนึ่งเสา” ซึ่งไม่ได้ปรากฎอยู่ในบทความ แต่จะไปปรากฎอยู่ในตัวเลือก multiple choice แทน หรือเรียกอีกอย่างว่าเป็น “Invisible Premise” ของบทความ เป็นเหตุผลที่ไม่ได้ถูกกล่าวถึง แต่ข้อสรุปของบทความนี้จะถูกต้องได้หากมีเหตุผลตัวนี้เติมเข้ามา
ในโจทย์แบบนี้พี่กั๊กขอให้น้องๆ จำประโยคนี้ไว้ครับ Assumption has to be true for the conclusion to be true. พูดง่ายๆ คือตอนนี้ในบทความยังมีช่องโหว่บางอย่างซึ่งจำเป็นต้องนำเหตุผล 1 ข้อจาก multiple choice มาเติมเต็มให้ข้อสรุปนั้นถูก 100%
โจทย์แบบ Flaw (Weakness)
ในโจทย์ Flaw น้องๆ ก็ต้องแยกตัว Premise(s) และ Conclusion เช่นกัน แต่โจทย์แนวนี้จะแปลกออกไปจากเดิมเล็กน้อย ตรงที่โจทย์เหล่านี้แกล้งเรา โดยการให้ Premise ที่ไม่ถูกต้องและไม่สามารถนำเราไปสู่ข้อสรุปที่แท้จริงได้ ดังนั้นคำถามที่โจทย์จะถามเราก็คือ อะไรคือคำอธิบายว่า Conclusion นั้นน่าจะผิด ดังนั้นน้องๆ ต้องเลือก multiple choice ที่อธิบายได้ดีที่สุดว่าทำไมข้อสรุปของบทความนี้ถึงบกพร่อง

โจทย์แบบ Strengthening
จากรูปด้านบนน้องอาจจะสงสัยว่า เอ้ะ..ทำไมบ้านหลังนี้ถึงมีเสาหลายอันจัง สำหรับเสาที่เพิ่มเติมเข้าไปนั้นก็เปรียบเสมือน Premise(s) ที่จะทำให้ข้อสรุปนั้นมีความน่าเชื่อถือและหนักเเน่นมากขึ้น หรือพูดอีกอย่างคือทำให้บ้านหลังนี้แข็งแรงขึ้น ดังนั้นเมื่อเจอโจทย์แบบนี้ น้องๆ ต้องหาว่าตัวเลือกไหนจะทำหน้าที่เป็น Additional Premise ที่ซัพพอร์ต Conclusion
โจทย์แบบ Weakening
ในทางตรงกันข้าม ถ้าน้องเจอโจทย์แบบ Weakening ในตัวโจทย์น้องก็จะเจอกับ Premise(s) & Conclusion เหมือนเดิม แต่ใต้หลังคาของบ้านหลังนี้ จะมีมีดถูกเติมเข้ามาแทนที่จะเป็นเสา ดังนั้นสิ่งที่จะได้รับอันตรายที่สุดก็คือหลังคาหรือ Conclusion นั่นเอง เพราะฉะนั้นในโจทย์แบบนี้น้องต้องหา Additional Premise ที่จะไป “Disprove” หรือหักล้างข้อสรุปที่ถูกต้อง
พี่กั๊กขอส่งท้ายฝากข้อความถึงน้องๆ ที่จะสอบ BMAT
นี่ก็คือ 5 รูปแบบโจทย์ที่น้องๆ จะต้องเจอใน BMAT Part 1 Critical Thinking นะครับ พี่ขอฝากไว้ให้น้องๆทำความเข้าใจว่า ในส่วนของพาร์ทเเรกนั้นจะคล้ายๆ กับเกมส์หนึ่งเกมส์ ที่น้องจะได้เข้าร่วมเล่นและต้องวิเคราะห์สิ่งที่จะเกิดขึ้น ดังนั้นการรู้แนวของเกมส์มาก่อนจะทำให้เราได้เปรียบคู่แข่งคนอื่นๆ และสามารถพิชิตคะแนนได้ตามเป้าแน่นอน
พี่กั๊กก็หวังว่าการสรุป เทคนิค CAP ในวันนี้จะเป็นประโยชน์กับน้องๆ หลายคนที่ตั้งใจจะเข้าสอบ BMAT เร็วๆ นี้ พาร์ทนี้บอกได้เลยว่าหากน้องฝึกทำเรื่อยๆ จะเริ่มรู้สนุกมากขึ้น นอกจากนี้ยังฝึกการคิดไตร่ตรอง สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการเรียนวิชาอื่นๆ ได้ด้วยนะครับ
สำหรับพาร์ท 3 Writing ที่ใครยังไม่มั่นใจ พี่กั๊กก็มีเทคนิคดีๆ มาฝากที่บทความ >> ไขความลับ BMAT Writing เขียนยังไงให้ปัง! ให้น้องๆ มั่นใจมากยิ่งขึ้นก่อนไปสอบด้วยครับ
และถ้าน้องๆ ต้องการฝึกโจทย์ย้อนหลังสามารถนำ BMAT past papers ที่พี่รวบรวมไว้จากบทความนี้ไปฝึกทำได้เลยครับ >> รวมข้อสอบ BMAT Past papers , IMAT และ TSA ย้อนหลัง 10 ปี พร้อมเฉลย
หากน้องๆ คนไหนมีข้อสงสัยหรือต้องการคำปรึกษาเกี่ยวกับการสอบ BMAT สามารถทักไลน์มาได้ที่ LINE: @ignitebyondemand พี่ๆ อิกไนท์พร้อมตอบทุกประเด็น พร้อมแนะแนววางแผนในการเตรียมตัวเข้าคณะแพทย์ รอบ 1 ให้น้องๆ ทุกคนครับผม
เรียน BMAT Part 1 กับอ ignite ตะลุยทุกเนื้อหา จัดเวลาเองได้!
ดูรายละเอียด คอร์ส BMAT เพิ่มเติมได้ทาง >> https://www.ignitebyondemand.com/our-courses/bmat/
ช้อป! คอร์สเรียนออนไลน์ด้วยตัวเองง่ายๆ ผ่านทาง ShopOnline >> https://shop.ignitebyondemand.com/catalog/category/view/s/i-bmat/id/202/
Related Blog & News
ข่าวสารและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง
-
BMAT Biology, Medical TCAS 1 (Portfolio)
20 Checklist หัวข้อที่สอบต้องรู้ให้ครบ ก่อนสอบ BMAT BIOLOGY
ในช่วงนี้คงเป็นเวลาที่น้องๆ หลายคนกำลังเริ่มเตรียมตัวสอบ BioMedical Admissions Test (BMAT) ซึ่งใน Part2 มีวิชา BMAT Biology ซึ่งจะมีขึ้นในเดือน November นี้นะครับ วันนี้พี่ก็อยากมาแชร์เนื้อหาวิชาชีววิทยาที่จะออกสอบในปี 2020 นี้ ซึ่งขอบอกไว้เลยว่า มีเนื้อหาใหม่เพิ่มเข้ามาเยอะพอสมควรครับ และแน่นอนว่าเนื้อหาที่เพิ่มขึ้นมาเป็นเรื่องพื้นฐานที่น้องควรรู้ก่อนการเข้าเรียนแพทย์ ในส่วนนี้พี่จะขอตั้งเป็น 20 คำถามเพื่อ challenge ให้น้องๆ ไปหาคำตอบนะครับ พร้อมแล้วเราไปลุยกันเลยครับ Topics สำคัญที่ออกสอบใน BMAT Biology Updated จากข้อสอบปีล่าสุด 2020 B1. Cells 1. ในเซลล์แบคทีเรียบางชนิดมี DNA อยู่ 2 กลุ่ม พี่อยากทราบว่า plasmid DNA ต่างกับ chromosomal DNA อย่างไร2. ให้น้องๆ ลองเรียงลำดับสิ่งเหล่านี้จากเล็กสุดไปหาใหญ่สุดครับ […]
Comments (0)
-
Blog, Medical TCAS 1 (Portfolio)
UCAT คืออะไร? ชวนรู้จักข้อสอบวัดความถนัด สู่คณะแพทย์-ทันตะใน UK
UCAT ข้อสอบวัดความถนัด คณะแพทย์-ทันตะใน UK วันนี้พี่แอดมินจะชวนน้องๆ มาทำความรู้จักกับอีกหนึ่งข้อสอบเฉพาะทางสัญชาติ UK ที่ปัจจุบันถูกใช้ในการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อคณะแพทย์และทันตแพทย์ในสหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ต้องบอกว่าข้อสอบ UCAT เป็น 1 ใน 2 การทดสอบหลักที่ได้รับการยอมรับจากสมาคมมหาวิทยาลัย UK แต่น่าเสียดายที่ BMAT กำลังจะถูกยกเลิกการสอบในช่วงปลายปี 2023 UCAT คืออะไร? UCAT ย่อมาจาก University Clinical Aptitude Test ซึ่งเป็นชื่อที่ถูกเปลี่ยนใหม่เมื่อปี 2019 จากเดิมนั้นใช้ชื่อว่า UKCAT หรือ UK Clinical Aptitude Test เป็นการทดสอบความถนัดทางคลินิก ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการศึกษาต่อในหลักสูตรที่เกี่ยวกับการแพทย์และทันตแพทย์ แม้จะมีการปรับชื่อการทดสอบใหม่ แต่เนื้อหาการสอบนั้นยังคงเดิม รูปแบบของข้อสอบ UCAT ข้อสอบ UCAT เป็นข้อสอบแบบปรนัยทั้งหมด แบ่งออกเป็น 4 parts (Update 2025) 1.Verbal Reasoning […]
Comments (0)
-
Blog, SAT Subject Tests
คู่มือสำหรับพ่อแม่ที่อยากให้ลูกสอบติดคณะวิศวะอินเตอร์
สวัสดีคุณพ่อคุณแม่ที่อยากให้ลูกเรียนวิศวะทุกท่านนะครับ…วันนี้ ignite จะขอมาแนะนำการ สอบเข้าคณะวิศวะอินเตอร์ ไม่ว่าจะ วิศวะอินเตอร์ จุฬาฯ , วิศวะอินเตอร์ ลาดกระบังฯ หรือ วิศวะอินเตอร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดย ignite จะมาแนะนำว่าน้องๆ ต้องใช้คะแนนอะไร เพื่อยื่นเข้าวิศวะใน TCAS รอบ 1…รู้ก่อน สอบติดก่อน มาวางแผนการเรียนให้ลูกสอบติดก่อนใครกับ ignite ได้เลยครับ คะแนนที่ต้องใช้ เพื่อยื่นเข้า วิศวะอินเตอร์ TCAS รอบ 1 1. Math หรือผลสอบความสามารถทางคณิตศาสตร์ ผลสอบวิชาคณิตศาสตร์ คือ คะแนนที่มหาวิทยาลัยที่เปิดรับคณะวิศวะอินเตอร์ ส่วนใหญ่กำหนดให้น้องๆ ใช้เป็นคะแนนในการยื่นเพื่อพิจารณานะครับ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วน้องๆ มักจะเลือกสอบอยู่ 2 ตัวด้วยกันคือ SAT Math และ CU-AAT Math ถ้าคุณพ่อคุณแม่ยังไม่แน่ใจว่าข้อสอบทั้ง 2 อย่างแตกต่างกันอย่างไร…ignite จะขอแนะนำให้ ณ ที่นี่เลยครับ […]
Comments (0)
-
Blog, CU-ATS/CU-AAT, SAT Subject Tests
บทสัมภาษณ์ “ISE อันดับ 1 ปี 64” น้องวิน กรุงเทพคริสเตียน
สวัสดีครับวันนี้พี่แอดมินพา ignite idol ดีกรี “อันดับ 1 ISE CU ปีล่าสุด” อย่างน้องวินจากโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน มาแนะนำเคล็ดลับการเตรียมตัวสอบเข้าคณะวิศวะอินเตอร์ยอดฮิต ให้น้องๆ ว่าที่วิศวะทุกคนได้มีแนวทางการเตรียมตัวในการสอบเข้านะครับ พี่วินพร้อมมาเจอน้องๆแล้ว…พร้อมแล้วไปกันเลย Timeline เตรียมตัวสอบเข้า ISE CU จากน้องวิน อันดับ 1 ปีล่าสุด พี่เริ่มเตรียมตัวสอบเข้า ISE CU ตอนม.5 ครับ ถือว่าเป็นการเตรียมตัวที่ไม่ช้าไป ไม่เร็วไป แต่ในกรณีของพี่จะต้องเจอกิจกรรมของโรงเรียนที่เราได้ไปมีบทบาทสำคัญอย่างตอนม.5 ที่เป็นฝ่ายเขียนโค้ด แปรอักษรงานจตุรมิตรสามัคคี และม.6 ที่จัดงานวันเกิดให้กับทางโรงเรียน…กิจกรรมเหล่านี้ค่อนข้างกินเวลาชีวิตเราพอสมควร ทำให้พี่ต้องวางแผนจัดการเวลาในการเตรียมตัวสอบเข้า ISE CU ให้รอบคลอบมากที่สุด เริ่มจากม.5 พี่ได้สมัครคอร์ส Engineer pack ของ ignite ครับ ซึ่งเป็นคอร์สแพ็คสำหรับคนที่อยากสอบเข้าคณะวิศวะโดยเฉพาะ ตอนนั้นพี่สมัครสอบครั้งแรกในรอบ Nov โดยได้คะแนนสอบ SAT Subject tests ดังนี้ครับ วิชา Chemistry […]
Comments (0)
Comments