Timeline สอบติด ทันตะ จุฬาฯ รอบ Portfolio ของนักยิงปืนทีมชาติ มุ้ย(พิมพ์ชนก เต็มมาศ)

วันนี้น้องมุ้ย (พิมพ์ชนก เต็มมาศ) นักยิงปืนทีมชาติไทย จะมาแบ่งปันประสบการณ์ สอบเข้าคณะ ทันตะ จุฬาฯ ในรอบ Portfolio ตั้งแต่ขั้นตอนการเตรียมตัว เพื่อสอบเข้าคณะ ทันตะ จุฬาฯ การแบ่งเวลาในการเรียน และการซ้อมยิงปืน ไปถึงเทคนิคในการอ่านหนังสือ การเตรียมตัว Portfolio และการสอบสัมภาษณ์ ถ้าพร้อมแล้วไปอ่านกันได้เลยครับ
มุ้ยเริ่มสนใจอาชีพด้านวงการแพทย์เมื่อประมาณเริ่มขึ้น ม.4 ค่ะ และยิ่งสนใจมากขึ้นเมื่อได้เรียนวิชา Biology ที่โรงเรียน หลังจากนั้นก็ตัดสินใจลงเรียน Elective วิชา Anatomy แล้วก็พบว่าเป็นวิชาที่น่าตื่นเต้น เหมือนเรียนเกี่ยวกับร่างกายมนุษย์เพื่อให้รู้จักตนเองมากขึ้น ประกอบกับว่าตอนเด็กๆ เคยทำฟันแล้วเจอหมอฟันใจดี ทำให้รู้สึกไม่กลัวและอยากที่จะส่งต่อความรู้สึกนี้ค่ะ
เริ่มเตรียมตัวตั้งแต่เมื่อไหร่ และเริ่มเตรียมยังไงบ้าง เริ่มอ่านวิชาไหนก่อน ในสอบเข้าคณะทันตแพทย์
เริ่มเตรียมตัวประมาณ ม.4 ก่อนอื่นเลยก็หาข้อมูลก่อนว่ามีที่ไหนเปิดรับทันตะบ้าง ตอนนั้นก็สนใจอยู่ 2 คณะ คือ ทันตะ มหิดลอินเตอร์ และ ทันตะ จุฬาฯ ซึ่งตอนนั้น ทันตะ จุฬาฯ เพิ่งเปิดรับปีแรก โดย Requirement เป็นดังนี้

การจัดการเรื่องเวลาสำหรับมุ้ยเป็นเรื่องที่สำคัญมาก
ด้วยความที่เป็นนักกีฬายิงปืนด้วยจึงต้องแบ่งเวลาซ้อมยิงปืนให้ดี โดย ถ้าเป็นช่วงปิดเทอมและเสาร์-อาทิตย์ น้องจะแบ่งเวลาในการซ้อมยิงปืนและเตรียมตัวสอบดังนี้ มุ้ยจะเริ่มเข้ามาเรียนพิเศษที่สยามตั้งแต่ 9:00-12:00 น. เรียนเสร็จเดินทางมาซ้อมยิงปืนที่สนามราชมังคลา ตั้งแต่เวลาประมาณ 13:00-15:00 หลังจากซ้อม ถ้าไม่เหนื่อยมากก็จะกลับเข้ามาเรียนที่สยามอีกครั้ง เวลาประมาณ 16:00-18:00 น. กลับถึงบ้านก็จะทวบทวนอีกครั้งประมาณ 1-2 ช.ม. แล้วเข้านอน

ส่วนช่วงที่เปิดเทอมมุ้ยจะแบ่งเวลาในการเรียนและการเตรียมตัวสอบโดยที่จะทำการบ้านทั้งหมดให้เสร็จตั้งแต่อยู่ที่โรงเรียน พอกลับมาบ้านก็จะเน้นทำโจทย์ SAT Subject Tests อย่างเดียวเลยค่ะ บางทีถ้าช่วงไหนที่โรงเรียนมีวิชาเรียนไม่เยอะมากก็จะเอา SAT Subject Tests ไปนั่งติวกับเพื่อนที่โรงเรียนค่ะ
วิชาแรกที่เริ่มเตรียมตัวเลยคือ IELTS เพราะเป็นสิ่งที่จำเป็นที่สุด เพราะว่าหากคะแนน SAT Subject Tests สูงแต่คะแนนภาษาอังกฤษไม่ผ่าน ก็ไม่สามารถสมัครสอบได้
มุ้ยใช้เวลา 3 เดือน ในการเตรียมตัว IELTS มีเรียนพิเศษและทำโจทย์ควบคู่กัน มุ้ยเรียนโรงเรียนอินเตอร์อยู่แล้วก็เลยรู้สึกไม่ยากมากนัก เพราะต้องเรียนที่โรงเรียนอยู่แล้ว เวลาพูดกับครูและเพื่อนก็ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลักทำให้ได้ฝึกไปในตัว ตอนนั้นหลังจากเตรียมตัวไปสอบก็ได้ IELTS 7 เลยค่ะ
(สำหรับน้องๆ คนไหนที่ต้องการ อัพคะแนน IELTS แนะนำให้อ่านบทความ ผ่าข้อสอบ IELTS ก่อนสอบ MOCK IELTS EXAM กับ IGNITE BY ONDEMAND เพื่อเตรียมพร้อมในการสอบ IELTS ในครั้งต่อไปได้เลยครับ)

หลังจากได้คะแนน IELTS แล้ว ต่อไปที่เริ่มเตรียมตัวแบบจริงจัง คือ SAT Subject Tests มุ้ยเริ่มอ่านตอนปลาย Grade 10 กำลังจะขึ้น Grade 11 โดยมุ้ยวางแผนที่จะสอบทุกรอบเพื่อให้ได้คะแนนที่ดีที่สุด วิชาที่เริ่มจากวิชาที่ตัวเองถนัดที่สุดก่อนค่ะ คือ วิชา Biology และ Chemistry ตอนนั้นการเตรียมตัวของมุ้ยคือ เริ่มอ่านเก็บเนื้อหาทั้งหมดบวกกับทำแบบฝึกหัดนิดหน่อยแล้วไปสอบเลย ตอนที่เข้าไปสอบ คือ เข้าไปตั้งใจสอบ 2 วิชา แต่สอบจริงไป 3 วิชา เพื่อที่จะดูว่าอีกวิชาหนึ่งแนวข้อสอบจะออกประมาณไหน เพื่อสอบรอบต่อไปจะได้เตรียมตัวสอบได้ตรงแนว จากการสอบครั้งแรกมุ้ยได้คะแนน 650 ซึ่งตอนนั้นรู้ตัวเลยว่าเตรียมตัวยังไม่ค่อยพร้อมเท่าไร
จากการไปลองสอบดูครั้งแรก ทำให้รู้ว่าการอ่านเนื้อหาเพื่อไปสอบอย่างเดียวไม่เพียงพอ เพราะว่าเนื้อหาที่ออกสอบนั้นค่อนข้างเยอะ ไม่สามารถดึงเนื้อหาทั้งหมดมาทำในข้อสอบได้ ไม่รู้เทคนิคในการทำข้อสอบ SAT Subject Tests จึงเปลี่ยนวิธีการเตรียมตัวจากการเริ่มอ่านเนื้อหาเองเป็นเลือกเรียนพิเศษ เพื่ออยากได้เทคนิคในการทำข้อสอบ SAT Subject Tests ด้วย มุ้ยเลือกเรียนพิเศษที่ Ignite by OnDemand เพราะมีรุ่นพี่แนะนำให้มาเรียน พอได้มาเริ่มเรียน SAT Subject Tests กับพี่ๆครู ignite มุ้ยก็ได้รับเทคนิคในการทำข้อสอบเพิ่มขึ้นจากเดิมเยอะมากค่ะ
KEY สำคัญในการเตรียมตัวของมุ้ย มีดังนี้ค่ะ
- ต้องเก็บคะแนน IELTS ให้ได้ก่อนเป็นอย่างแรก มุ้ยอยากให้เพื่อนตั้ง Goal เอาไว้เลยว่า ต้องได้คะแนนตามที่ตั้งใจไว้เดือนไหน
- ต้องสมัครสอบ SAT Subject Tests ทุกรอบ ตามที่ College Board ประกาศ ช่วงปลายปีต้องรีบสมัครเพราะสนามสอบจะเต็มเร็วมาก ถ้าเราสมัครสอบทุกรอบนั้นหมายความว่า เรามีโอกาสแก้ตัวได้หลายรอบ
- การทำข้อสอบ SAT Subject Tests ให้ได้ Perfect score จะต้องทำข้อสอบเก่าย้อนหลังเยอะมาก โดยเพื่อนๆจะ Download หรือซื้อหนังสือของ College Board มาทำก็ได้ แต่ย้ำว่า “ต้องทำซ้ำเยอะๆ ทำจนกว่าจะไม่มีข้อผิด”
- มา Mock Exam ทุกครั้ง มุ้ยไม่พลาดการมา Mock Exam ของที่ ignite เลยสักครั้ง เพราะเวลาที่มุ้ยมา Mock จะรู้ข้อผิดพลาดของตัวเองและนำไปแก้ไขได้ ลดอาการตื่นเต้นก่อนไปลงสนามสอบจริง ข้อดีของการมา Mock ที่ ignite เลย จะรู้เลยว่าค่อนข้างยากกว่าของจริงซึ่งมันทำให้เรารู้ว่าเรายังไม่แม่นเรื่องนั้นจริงๆ ก็จะกลับมาทบทวนใหม่อีกครั้ง
- การเตรียมตัว SAT Subject Test Biology มุ้ยเริ่มเตรียมตัวตั้งแต่ช่วงปลายเกรด 10 เน้นอ่านเนื้อหาที่จะออกสอบ ซึ่งเนื้อหาเยอะมากๆ ตอนนั้นยังไม่ได้เริ่มเรียนพิเศษที่ไหน แต่พอไปสอบจริงๆแล้วเนื้อหาไม่ตรงกับที่ออกสอบขนาดนั้น มุ้ยยังไม่รู้วิธีในการ Tackle ข้อสอบ “เรามีความรู้เยอะมาก แต่เรายังไม่รู้วิธีการจัดระเบียบความรู้ดีพอ ทำให้ไม่สามารถนำมาใช้ในห้องสอบได้อย่าง 100%” มุ้ยจึงเปลี่ยนการเตรียมตัวเป็นเริ่มเรียนพิเศษเพิ่มขึ้น และเน้นการทำข้อสอบเยอะๆ พอทำเยอะแล้วเราจะเห็นว่าข้อไหนผิดเยอะแล้วกลับไปไล่เนื้อหาข้อที่ผิดอีกรอบ ทบทวนจนกว่าจะไม่มีข้อผิดอีก ข้อสอบ SAT Subject Test Biology จะมีเนื้อหาที่ออกสอบเป็นเรื่องการทดลองเยอะ เราจะต้องเชื่อมโยงให้ได้ว่าการทดลองแบบนี้เชื่อมโยงกับเนื้อหาบทไหน หากโรงเรียนไหนตอนเรียนไม่ค่อยได้ทำการทดลองก็จะค่อนข้างยากอยู่เหมือนกันต้องอาศัยความชำนาญและตีโจทย์ให้แตก
- การเตรียมตัว SAT Subject Test Math LV II สำหรับมุ้ยคิดว่าวิชานี้ไม่ยากมาก ให้ใช้เครื่องคิดเลขได้ แต่ต้องฝึกคิดเลขให้ไว ทำข้อสอบเก่าเยอะๆ บางข้อสามารถแทน Choice ได้ แต่ต้องฝึกทำข้อสอบให้ไวเพื่อให้รอบคอบและไม่โดนโจทย์หลอก
- การเตรียมตัว SAT Subject Test Chemistry นอกจากรู้เนื้อหาให้ครบที่ออกสอบแล้วและฝึกทำข้อสอบเยอะๆแล้ว ต้องฝึกคิดเลขเร็วและคิดให้ถูก เพราะถ้าเราคิดเลขผิดโจทย์จะมี Choice ที่เป็นตัวเลขผิดหลอกเราอยู่ อีกเรื่องที่ยากสำหรับมุ้ย คือ ในข้อสอบจะมีเรื่องที่ต้องคำนวณมาเกี่ยวด้วย เช่น เรื่องปริมาณสารสัมพันธ์ ทำให้มุ้ยใช้เวลาเตรียมตัววิชานี้เยอะกว่าวิชาอื่นๆ ต้องทบทวนเนื้อหาควบคู่กับการทำโจทย์ จะเวลาในการทำต่อข้อและมีการจับเวลาทำทั้งชุดข้อสอบ (เหมือนทำ Mock Exam อยู่ที่บ้าน)
- การเตรียมตัว SAT Subject Test Physics เป็นวิชาที่ยากที่สุดสำหรับมุ้ย เพราะด้วยการที่ไม่ชอบวิชาฟิสิกส์เป็นทุนเดิมอยู่แล้วด้วย ปัญหาที่มุ้ยเจอเวลาทำข้อสอบคือมุ้ยจะไม่สามารถอ่านโจทย์แล้วจินนาการออกมาเป็นรูปภาพได้ แต่พอมาเรียน SAT Subject Test Physics กับพี่เกรท พี่เค้าจะบอกว่าถ้าคำนวนไม่ได้ให้อ่าน theoryไปเยอะๆ เพราะในข้อสอบ ออกสอบเยอะเหมือนกัน โชคดีที่รอบที่มุ้ยสอบ theory ออกสอบเยอะเลยทำให้ได้คะแนนดี แต่ถ้าเพื่อนๆอยากได้คะแนนที่ดีกว่ามุ้ยก็ต้องเตรียมทั้งเรื่องการคำนวณและเนื้อหาให้พร้อม พี่เกรทมีบทความ SAT SUBJECT TEST PHYSICS เต็ม 800 ด้วย 3 เทคนิคขั้นเทพ แม้ไม่เทพฟิสิกส์ ก็เต็มได้ ซึ่งมีเทคนิคที่ช่วยให้มั่นใจในการสอบมากขึ้นค่ะ
การเตรียมตัวเรื่อง PORTFOLIO
เริ่มเตรียมตัว Portfolio ตอนปลายเกรด 11 ที่โรงเรียนของมุ้ย (MUIDS) จะมีให้ทำ E-Port อยู่แล้ว โดยกิจกรรมที่เคยทำมาจะอยู่ในนั้นอยู่แล้ว เราแค่นำออกมาเรียบเรียงใหม่โดยให้เข้ากับ Theme ที่เราอยากนำเสนอและสอดคล้องกับสิ่งที่คณะต้องการเช่น กิจกรรมทางวิชาการ, การบำเพ็ญประโยชน์และความสามารถพิเศษ เป็นต้น สิ่งที่ยากในการทำ Portfolio สำหรับมุ้ยคือ
- การสร้าง Theme ของ Portfolio ให้โดดเด่น
- การโฆษณาตัวเองให้น่าสนใจ บิด Message ให้ตรงกับที่ต้องการ สำหรับมุ้ยเป็นนักกีฬายิงปืนทีมชาติมุ้ยจึงยกประเด็นนี้ขึ้นมา
- การเรียบเรียงข้อมูลและแบ่งประเภทของกิจกรรมนั้นๆ
การสอบสัมภาษณ์
ก่อนวันสอบสัมภาษณ์ มุ้ยก็มาร่วม Mock Interview กับที่ ignite ทำให้มุ้ยรู้วิธีการตอบคำถาม พี่ๆ ช่วยดึงจุดเด่นในตัวมุ้ยออกมาและลดความตื่นเต้น วันสอบสัมภาษณ์จำได้ว่าวันนั้นตื่นเต้นอยู่เหมือนกันค่ะ เพราะว่าคัดจำนวนนักเรียนออกจาก 9 คนเหลือ 4 คนซึ่งเกิน 50% แต่เพื่อนๆ ที่เข้าไปสอบสัมภาษณ์ด้วยกันน่ารักค่ะ มีให้กำลังใจกันด้วย ทำให้รู้สึกว่าเราไม่ได้มาแข่งกับใครแต่เรามาแข่งกับตัวเอง บรรยากาศในห้องสอบสัมภาษณ์ก็รู้สึกกดดันนิดนึงค่ะ เพราะว่า station แรกเป็น station ที่ต้องพูดไปเรื่อยๆ ประมาณ 8 นาทีโดยที่ครูที่สอบสัมภาษณ์จะไม่พูดอะไรทั้งสิ้น ให้เราตอบคำถามจากกระดาษที่เราได้อย่างเดียวทำให้เรา ต้องร่าง outline สิ่งที่จะพูดก่อนแล้วก็ต้องมีสติมากๆ ในช่วงนั้น แต่พอมา station หลังๆ เจออาจารย์สอบสัมภาษณ์ที่ค่อนข้างใจดี คอยยิ้มให้ ทำให้ไม่ค่อยรู้สึกกดดัน หรือเครียดมากเท่าไหร่ สิ่งที่สำคัญที่สุดในการสอบสัมภาษณ์คือเราต้องสามารถควบคุมสติ และความเครียดของเราให้ได้ แสดงให้อาจารย์เห็นว่าถึงแม้เราอยู่ภายใต้สภาวะที่กดดันแต่เราก็ยังสามารถบริหารจัดการความเครียดของเราได้
เป็นอย่างไรกันบ้างครับ Timeline ในการเตรียมตัวสอบเข้าคณะ ทันตะ จุฬาฯ ของน้องมุ้ย น่าจะทำให้น้องๆหลายๆคน มีความพร้อมที่จะเตรียมตัวอ่านหนังสือเพื่อสอบเข้าคณะทันตแพทย์ศาสตร์ ที่ๆน้องๆหลายๆใฝ่ฝัน ถ้าน้องๆไม่ถนัดในวิชาตัวไหนก็ต้องมั่นฝึกฝน อ่านหนังสือและลองทำข้อสอบให้เยอะๆนะครับ
ถ้าน้องๆ คนไหนต้องการปรึกษาหรือมองหาคอร์สช่วยเสริมทักษะ สามารถเข้าไปดูหน้า Courses ได้ที่ link นี้เลยครับผม https://www.ignitebyondemand.com/our-courses/
Related Blog & News
ข่าวสารและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง
-
Blog, Medical TCAS 1 (Portfolio)
คู่มือสำหรับพ่อแม่ อยากให้ลูกติดหมอ ตั้งแต่ TCAS รอบแรก ต้องใช้อะไรบ้าง
สวัสดีคุณพ่อคุณแม่ทุกที่อยากให้ลูกๆเป็นหมอทุกท่านนะครับ…วันนี้ ignite จะขอมาแนะนำการ สอบเข้าคณะแพทย์ TCAS รอบ 1 หรือที่ผู้ปกครองหลายๆ ท่านจะคุ้นหูกับคำว่า “แพทย์รอบ Portfolio” ซึ่งมีมหาวิทยาลัยที่เปิดรับ เช่น แพทย์จุฬาฯ แพทย์รามาฯ แพทย์ม.ขอนแก่น แพทย์ม.เชียงใหม่และอีกมากมายโดยวันนี้ ignite จะมาแนะนำข้อมูลสำคัญที่จะทำให้ลูกๆ ของคุณพ่อคุณแม่สอบติดหมอก่อนใครตั้งแต่ TCAS รอบแรก…ถ้าพร้อมแล้วเรามาดูกันเลย !! สอบเข้าแพทย์รอบ Portfolio ต้องใช้อะไรบ้าง GPAX หรือเกรดเฉลี่ยสะสม สิ่งที่จำเป็นต่อการ สอบเข้าแพทย์รอบ Portfolio อย่างแรกคือ GPAX หรือเกรดเฉลี่ยสะสม โดยส่วนใหญ่มหาวิทยาลัยจะกำหนดให้ใช้เกรดรวมทั้งหมด 4-5 เทอมด้วยกัน แต่จะมีเกณฑ์เกรดเฉลี่ยสะสมแตกต่างกันออกไปตามความต้องการของแต่ละคณะ แต่ต้องเรียนคุณพ่อคุณแม่ว่าหากลูกของท่านมี GPAX ตั้งแต่ 3.50 ขึ้นไป น้องๆ จะมีโอกาสในการยื่นเข้าคณะแพทย์รอบ 1 ได้ทุกมหาวิทยาลัย […]
Comments (0)
-
Blog, GED
GED Math & Science สองวิชาสำคัญ ช่วยอัพ Total Score
สวัสดีค่ะน้องๆ กลับมาพบกับพี่หมิง Ignite อีกครั้ง วันนี้พี่หมิงก็มีเรื่องสำคัญเกี่ยวกับ GED มาฝากอีกเช่นเคยค่ะ สำหรับน้องๆ ที่สนใจอยากใช้คะแนน GED เทียบวุฒิเพื่อเข้ามหาวิทยาลัยก็คงทราบกันดีอยู่แล้วว่าหลายๆ คณะมักจะกำหนดคะแนนรวม (Total Score) ขั้นต่ำที่น้องๆ ต้องทำได้ถึงจะมีสิทธิ์ยื่นสมัครเข้าคณะนั้นๆ เช่น CU-TU กำหนดคะแนน GED ขั้นต่ำที่ 660 คะแนน, MUIC กำหนดที่ 600 คะแนน เป็นต้น ดังนั้น นอกจากน้องๆ จะโฟกัสที่การสอบรายวิชาแล้ว อีกเรื่องที่ต้องคำนึงคือคะแนนรวม และสองวิชาที่ครูหมิงขอบอกเลยว่าเป็นตัวช่วยดึงคะแนนรวมที่ดีมากๆ ให้กับน้องๆ ก็คือ GED Mathematical Reasoning และ GED Science ค่ะ ก่อนอื่นเรามาเจาะลึกดูรายละเอียดของแต่ละวิชากันก่อนนะคะ GED Mathematical Reasoning ข้อมูลที่ต้องรู้ GED Mathematical Reasoning 1.ข้อสอบมี […]
Comments (0)
-
Blog
เจาะลึก 2 วิชายาก IGCSE Chemistry & Biology กับครูเกมและครูเวิลด์
นับถอยหลังอีกเพียง 4 เดือนสู่การสอบ IGCSE รอบตุลาคมสำหรับน้องๆ ระบบการศึกษานานาชาติ การสอบครั้งนี้ถือว่าเป็นจุดสำคัญเลยทีเดียว เพราะน้องๆ ต้องนำคะแนนเหล่านี้ไปใช้ศึกษาต่อวิชาที่ต้องการในระดับ A-Level และอาจต้องใช้ยื่นควบคู่กันในการสมัครเข้ามหาวิทยาลัยในอนาคตอีกด้วย วันนี้พี่ๆ Ignite เลยจะพาน้องๆ มาเจาะลึก 2 วิชายาก IGCSE Chemistry & Biology กับครูพี่เกมและครูพี่เวิลด์ ผู้ที่มีประสบการณ์แน่นในการสอนน้องๆ หลักสูตรอินเตอร์ เพื่อที่จะได้รีบเตรียมตัวคว้าคะแนน A* กันถ้วนหน้า เรามาเริ่มกันเลยดีกว่า! เจาะลึกข้อสอบ IGCSE Chemistry จุดไหนยากสุด? ครูพี่เกมต้องขออธิบายก่อนว่า ก่อนที่เราจะเจาะลึกถึงความยากของ IGCSE Chemistry นั้น น้องๆ อาจจะต้องดูก่อนว่าข้อสอบที่น้องๆ จะเจอนั้นมาจากบอร์ดไหน CIE (Cambridge) หรือ Pearson Edexcel ถึงเเม้ว่าทั้ง 2 […]
Comments (0)
-
Blog, CU-ATS/CU-AAT
เหมือนไม่เหมือน เอาปากกามาวง เทียบให้ชัด CU-ATS VS ACT SCIENCE
สวัสดีครับว่าที่น้องๆ ทีมวิทยา วิศวะอินเตอร์ทุกคน ตั้งแต่มีการยกเลิก SAT Subject Tests ไป พี่เชื่อว่าน้องๆ หลายคน ต้องวางแผนเส้นทางสู่คณะในฝันกันใหม่ ซึ่งแน่นอนว่า ทั้ง CU-ATS และ ACT Science เป็นหนทางใหม่ในการพาน้องไปสู่จุดมุ่งหมาย แต่พี่เชื่อว่าคงมีหลายคนสงสัยว่า แล้วหน้าตาข้อสอบของ CU-ATS และ ACT Science เป็นอย่างไร แตกต่างกันตรงจุดไหนบ้าง และเราจะเลือกสอบตัวไหนดี วันนี้ทั้งพี่อิ้งค์และพี่ก๊อฟ ขอมา เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างข้อสอบ CU-ATS และ ACT Science จับทั้งสองข้อสอบมาเปรียบเทียบกันในทุกแง่มุม เพื่อเป็นอีกแนวทางในการช่วยน้องๆ ตัดสินใจครับ ทำความรู้จักข้อสอบ CU-ATS VS ACT Science อย่างแรก เรามาทำความรู้จักข้อสอบทั้ง 2 แบบก่อนนะครับ […]
Comments (0)
Comments