เปิด Timeline เตรียมตัวสอบ ISE CU ด้วยคะแนน Physics 800 Chemistry 800 Math Level II 780 โดยน้องแผน

เปิด Timeline เตรียมตัวสอบ ISE CU ด้วยคะแนน Physic 800 Chemistry 800 Math Level II 780
โดยน้องแผน โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย
กลับมาอีกครั้งกับโปรเจค ignite Idol ซึ่งคราวนี้รุ่นพี่ที่จะมาแชร์ประสบการณ์การเตรียมตัวสอบนั้น พึ่งสอบติดสดๆร้อนๆ จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ (หลักสูตรนานาชาติ) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือที่น้องๆชอบเรียกกันว่า “คณะ ISE” นั่นเอง สำหรับน้องโรงเรียนไทยที่มีความกังวลว่าเรียนแบบระบบโรงเรียนไทยมาแล้ว จะสามารถสอบเข้าคณะอินเตอร์ได้ไหม วันนี้น้องแผนจากคณะ ISE มาให้คำตอบน้องแล้วครับ ถ้าพร้อมแล้วเราไปดูแนวทางการเตรียมตัวของน้องแผนกันเลย
สวัสดีครับ ขอแนะนำตัวก่อน ผมชื่อ แผน พสธร ช. เจริญยิ่ง จากโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน สอบติด ISE ภาควิชา ADME ครับ บทความนี้ผมตั้งใจจะมาแชร์แนวทางการเตรียมตัวสอบของผม หวังว่าจะมีประโยชน์ เป็นข้อคิดหรือกำลังใจเล็กๆ น้อยๆ ให้กับคนที่กำลังจะสอบได้บ้างนะครับ
เริ่มแรกเราต้องศึกษาข้อมูลของคณะที่เราอยากเข้าก่อนว่าต้องใช้คะแนนอะไรบ้าง โดยส่วนตัวผมเองตั้งเป้าหมายไว้แค่ ISE CU ที่เดียวเลย ขนาดที่ว่าไม่ได้มองที่อื่นเผื่อไว้ เพราะ ISE CU มีเมเจอร์ที่ผมสนใจอยู่พอดี ทีนี้ก็เริ่มหาข้อมูลจากเว็บไซต์ของทางคณะ http://www.ise.eng.chula.ac.th/ และเข้าไปรับคำปรึกษากับพี่ที่ ignite ซึ่งพี่เค้ามีข้อมูลแน่นมาก ช่วยให้คำปรึกษาเรื่องวางแผนการสอบได้ดีมากเลยครับ หรือถ้าใครสงสัยเกณฑ์คะแนนการสอบเข้าคณะ ISE แนะนำให้อ่านบทความนี้เพิ่มเติมได้เลยครับ >> คะแนน ISE รอบ 1 (2019) สูงขึ้นมาก แล้วมันสูงขนาดไหน? คิดคะแนนรวมยังไง? ถ้าจะยื่นรอบ 2 ควรได้คะแนนเท่าไหร่? และพอผมทราบ Requirement เบื้องต้นของคณะ ISE ดังภาพด้านล่างแล้ว

ลำดับต่อมาก็คือ การเลือกสนามสอบ ซึ่งคะแนนที่ผมเลือกและจำเป็นต้องใช้ ได้แก่ SAT MATH , SAT Subject test Physics , Chemistry , Math level II และ IELTS ทีนี้ก็เริ่มเตรียมตัวอ่านหนังสือ ผมเริ่มเตรียมตัวจากวิชา SAT Subject tests ก่อน เนื่องจากรอบสอบต่อปีน้อยกว่า IELTS และใช้เวลาเตรียมตัวหลายวิชา ผมเลือกเรียนคอร์ส Engineering Pack กับ Advanced Engineering Pack ของที่ ignite และพยายามรีบเรียนให้จบทั้งคอร์ส โดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ ซึ่งผมเรียนจบคอร์สในช่วงระหว่าง ม.5 เพื่อที่จะได้เหลือเวลาไว้ทบทวนเองด้วยครับ พอลองมานับดูแล้วผมใช้เวลา ในการเตรียมตัวเพื่อสอบแบบจริงจังเพียง 1 ปีเท่านั้น
ถ้าจะให้แนะนำรุ่นน้อง สามารถลองคำนวณง่ายๆ โดยนับย้อนกลับมาตั้งแต่ช่วงเวลาที่ต้องยื่นคะแนน แล้วต้องสอบอะไรช่วงไหนบ้าง เผื่อเวลาที่คะแนนออกด้วยว่าทันยื่นมั้ย ต้องอ่านอะไรบ้าง ใช้เวลาทั้งหมดเท่าไหร่แล้วควรจะเรียนจบตั้งแต่ช่วงไหน จะได้ไม่ต้องรีบเร่งเหมือนผมนะครับ เพราะการเริ่มเตรียมตัวเร็ว นอกจากช่วยเพิ่มรอบสอบในการ Re-score คะแนนที่ยังไม่พอใจ แล้วยังช่วยเพิ่มโอกาสให้เราสอบติดมากขึ้นด้วย เพราะคะแนนสอบมีอายุ 2 ปี และเราสามารถยื่นคะแนนที่ดีที่สุดได้ครับ
เมื่อเรียนจบคอร์ส ผมก็เริ่มทยอยอ่าน SAT Subject tests เองไปเรื่อยๆครับ เทคนิคของผม คือ เน้นอ่านให้ครบ และบริหารเวลาให้ดีที่สุด โดยเริ่มจากวิชาที่เราถนัดเป็นอันดับ 2 ก่อนเพื่อให้กำลังใจตัวเอง จากนั้นค่อยเตรียมวิชาที่ไม่ถนัด เพราะจะได้มีเวลาเตรียมตัวกับมันมากที่สุด ปิดท้ายด้วยวิชาที่เราถนัด เพราะอ่านทบทวนไม่นานก็ไปสอบได้เลย ที่สำคัญคือในสัปดาห์สุดท้ายก่อนสอบ ผมจะเน้นการทำโจทย์เยอะๆ และทบทวนในจุดที่สำคัญอีกครั้งครับ

เทคนิคการเตรียมตัวสอบ SAT SUBJECT TESTS ทั้ง 3 วิชา
ตั้งแต่ช่วงต้นเดือน มกราคม-กุมภาพันธ์ ผมเริ่มอ่านจากวิชา Physics ก่อน ค่อยๆ ทยอยอ่านไปเรื่อยๆ เน้นอ่านให้ครบ เมื่ออ่านจบก็ต่อด้วยวิชา Chemistry และ Math Level II ตามลำดับ ทำให้ผมไม่ได้เตรียมตัว SAT ธรรมดาเลย จนเดือนมีนาคม ผมก็ไปลองสอบ SAT MATH ธรรมดา ด้วยความที่เรียนภาคไทยมา ก็ค่อนข้างมั่นใจพอสมควร เลยไม่ค่อยเตรียมตัวไปเพราะคิดว่าทำได้อยู่แล้ว ปรากฏว่าคะแนนแย่กว่าที่คิดไว้มาก ตอนนั้นผมเครียดเลยครับ เพราะไปพลาดตอนเจอโจทย์ปัญหายาวๆ ที่ไม่คุ้นอย่าง Word problem เลยต้องปรับแผนใหม่ โดยกลับมาอ่าน SAT อย่างจริงจังควบคู่กับ SAT Subject Tests ทีละวิชา โดยที่ต้องพยายามอ่านให้ได้มากที่สุดครับ เพื่อไปสอบ SAT อีกครั้งในเดือนพฤษภาคม ในช่วงกลางเดือนเมษายน โค้งสุดท้ายก่อนสอบ ผมก็ไปเข้าร่วม MOCK EXAM และกิจกรรม Boost up ติวเข้มก่อนสอบกับทาง ignite ซึ่งพอได้เตรียมตัวก็ทำให้คะแนนออกมาโอเคมากครับ SAT MATH 800 คะแนน !!
แนะนำให้เข้าไปอ่านบทความรีวิวหนังสือ SAT Math จากพี่ภัทร์ ที่ช่วยในการเตรียมตัวสอบได้ดีเลยครับ >> REVIEW 5 หนังสือ SAT MATH อ่านเล่มไหน ได้เต็มชัวร์ BY P’PAT
หลังจากสอบเดือนพฤษภาคม เวลาที่เหลือผมก็ทุ่มไปกับการอ่าน Subject tests 3 วิชาเลยครับ โดยให้เวลาวิชาละ 1 สัปดาห์เต็มๆ ผมทำแบบนี้ตลอด 3 สัปดาห์ของเดือนพฤษภาคม และเหลือสัปดาห์สุดท้าย ไว้ฝึกทำโจทย์และแบบฝึกหัดทั้งหมด เน้นรีวิวทุกวิชาตรงจุดที่สำคัญๆ ให้ผ่านตาอีกรอบ ส่วนตัวผมเชื่อว่ายิ่งเราเจอโจทย์เยอะๆ หลากหลายมากเท่าไหร่มันยิ่งดีครับ ผมก็เลยพยายามดูโจทย์ให้หลากหลายที่สุดที่ทำได้ ซึ่งในหนังสือเรียนของพี่ภัทร์ ก็มีโจทย์หลากหลายแนวมาให้ฝึกทำเยอะมากๆ ช่วยให้มั่นใจที่จะทำโจทย์ตอนสอบจริงได้มากเลยครับ

ตาราง Timeline การเตรียมตัว SAT , SAT SUBJECT TESTS และ IELTS ภายใน 1 ปี
สุดท้ายคะแนนออกมาก็พอใจนะครับ SAT Subject test Physics 800 ,Chemistry 740, Math level II 780 โดยส่วนตัวผมคิดว่าข้อสอบ SAT Subject tests ไม่ได้ออกลึกเท่าของภาคไทย แต่ก็จะมีบางบทที่ไม่ได้มีสอนในหลักสูตรไทย จึงต้องมั่นทบทวนและฝึกทำโจทย์บ่อยๆ เพื่อให้คุ้นชินกับแนวข้อสอบ ที่เป็น Speed test เพราะถ้าเราไม่แม่นเนื้อหา แล้วตอบผิดไปคะแนนจะติดลบนะครับ โดยเฉพาะพาร์ทที่เป็นคำถามแบบ True or False ( Relationship Analysis Question ) เป็นจุดที่ควรระวังมากที่สุด เนื่องจากคนส่วนใหญ่มักพลาดตรงบทนี้ และด้วยความไม่ประมาทเพราะกลัวว่าคะแนนปีนี้จะเฟ้อ(ซึ่งมันเฟ้อมากจริงๆ) บวกกับความโชคดีที่กำหนดการยื่นรอบแรกของ ISE ปีนี้ประกาศรับสมัครเป็นช่วงธันวาคม ทำให้เดือนตุลาคม และพฤศจิกายน ผมยังมีโอกาสสอบได้อีก ก็ได้ไปสอบเคมีใหม่อีกรอบ ทำให้คะแนนดีขึ้น SAT Subject test Chemistry 800 แล้วเวลาที่เหลือก็ไป เตรียมตัว+สอบอังกฤษเลยครับ พร้อมเมื่อไหร่ก็ไปสอบได้เลย
อย่างนึงที่ผมทำพลาดไป และอยากมาแชร์ คือ ผมคิดว่าคะแนน SAT ของผมอยู่ในเกณฑ์ที่ดีทุกตัวแล้ว ทำให้ผมคิดว่า IELTS ขอแค่ผ่านๆก็พอ เลยไม่ค่อยเตรียมตัวหนักเท่าเดิม จนพลาดตอนทำข้อสอบ Listening ทำให้ Overall ได้ 6.5 ซึ่งมันมีผลกับการ Ranking ตอนจัดอันดับมากเลยครับ และส่งผลต่ออันดับในการเลือกเมเจอร์ ตลอดจนทุนของคณะด้วยนะ ทั้งที่มันต่างกับคนอันดับต้นๆแค่นิดเดียวเอง ผมเลยอยากแชร์และบอกให้น้องๆรุ่นต่อไปรู้ว่า ควรทำให้เต็มที่ทุกตัวทุกวิชานะครับ อย่าเอาแค่ผ่านๆ มันดีแล้วก็ให้มันดีให้หมด เราจะได้ไม่รู้สึกเสียดายทีหลังแบบผมนะ
สุดท้ายนี้ ผมขอบคุณทุกคนจริงๆที่อ่านมาจนถึงตรงนี้ และขอบคุณทาง ignite ด้วยนะครับที่ให้โอกาสผมได้มาแชร์ประสบการณ์กับน้องๆ ผมก็อยากฝากน้องรุ่นต่อไปว่า แพลนของแต่ละคนมันคงไม่เหมือนกัน แพลนของผมเป็นแบบนี้ส่วนนึง ก็มาจากนิสัยส่วนตัวและการแบ่งเวลาในแต่ละวัน ซึ่งผมรู้ตัวดีว่าตัวเองจะทำได้มากน้อยแค่ไหน รวมไปถึงระยะเวลา ที่มันจะเพียงพอกับการเตรียมตัวทั้งเรียน และอ่านเองด้วยครับ สำหรับคนที่คิดว่ามันไม่ทันหรือทำไม่ได้ ผมอยากบอกว่าถ้าเราตั้งใจจริงๆแล้ว ยังไงเราก็ทำได้แน่นอนครับ บางทีความหวังเล็กๆน้อยๆ ก็เป็นเพียงแค่สิ่งเดียวที่เราต้องมี แต่แค่นั้นมันก็เพียงพอสำหรับทุกอย่างแล้วนะ จะถึงเส้นชัยตอนไหนก็ไม่สำคัญหรอกครับ ตราบใดที่มันถึงเหมือนกัน สู้ๆ ครับ เต็มที่เลย ลุยอย่างเดียวครับ
เป็นยังไงกันบ้างครับน้องๆ กับคำแนะนำในการเตรียมตัวสอบเข้า คณะวิศวะอินเตอร์จุฬาฯ ของน้องแผน ซึ่งเขียนออกมาได้ดีมากทีเดียว ทั้งเทคนิคในการเตรียมตัว ทั้งข้อควรระวัง และกำลังใจทีน้องแผน ส่งต่อให้กับน้องๆ ที่กำลังเตรียมตัวสอบ หรือน้องๆ ที่อยากเข้าคณะ ISE น่าจะช่วยให้น้องเห็นภาพในการเตรียมตัวสอบและมีกำลังใจในการเตรียมตัวอ่านหนังสือกันไม่มากก็น้อยนะครับ

ตารางคอร์สสด SAT Subject tests เพื่อการสอบ รอบ OCT และ DEC
สำหรับน้องที่สนใจเรียนคอร์สสดและต้องการเตรียมตัวเพื่อสอบ SAT Subject test รอบ OCT และ DEC พี่ภัทร์ และพี่เกรท ก็ได้เตรียมเทคนิคในการทำโจทย์และโจทย์ใหม่ๆ มาให้น้องทุกๆคนในคอร์ส ได้ตะลุยโจทย์ไปพร้อมๆกัน พร้อมดูแลติดตามน้องๆ จนกว่าจะสอบติดกันเลยที่เดียว พร้อมสิทธิพิเศษเข้าร่วมกิจกรรม Boost up น้องๆ สามารถเข้าไปดูหน้า Courses ได้ที่ link นี้เลยครับผม >> https://www.ignitebyondemand.com/our-courses/sat-subject-test/
Related Blog & News
ข่าวสารและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง
-
Blog, SAT Subject Tests
คู่มือสำหรับพ่อแม่ที่อยากให้ลูกสอบติดคณะวิศวะอินเตอร์
สวัสดีคุณพ่อคุณแม่ที่อยากให้ลูกเรียนวิศวะทุกท่านนะครับ…วันนี้ ignite จะขอมาแนะนำการ สอบเข้าคณะวิศวะอินเตอร์ ไม่ว่าจะ วิศวะอินเตอร์ จุฬาฯ , วิศวะอินเตอร์ ลาดกระบังฯ หรือ วิศวะอินเตอร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดย ignite จะมาแนะนำว่าน้องๆ ต้องใช้คะแนนอะไร เพื่อยื่นเข้าวิศวะใน TCAS รอบ 1…รู้ก่อน สอบติดก่อน มาวางแผนการเรียนให้ลูกสอบติดก่อนใครกับ ignite ได้เลยครับ คะแนนที่ต้องใช้ เพื่อยื่นเข้า วิศวะอินเตอร์ TCAS รอบ 1 1. Math หรือผลสอบความสามารถทางคณิตศาสตร์ ผลสอบวิชาคณิตศาสตร์ คือ คะแนนที่มหาวิทยาลัยที่เปิดรับคณะวิศวะอินเตอร์ ส่วนใหญ่กำหนดให้น้องๆ ใช้เป็นคะแนนในการยื่นเพื่อพิจารณานะครับ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วน้องๆ มักจะเลือกสอบอยู่ 2 ตัวด้วยกันคือ SAT Math และ CU-AAT Math ถ้าคุณพ่อคุณแม่ยังไม่แน่ใจว่าข้อสอบทั้ง 2 อย่างแตกต่างกันอย่างไร…ignite จะขอแนะนำให้ ณ ที่นี่เลยครับ […]
Comments (0)
-
Blog
เทคนิคการเลือกวิชา IGCSE, A-Level ให้ได้คณะในฝัน
การเลือกวิชาใน IGCSE และ A-Level นั้นถือว่าสำคัญมากๆ เพราะเป็นการกำหนดอนาคตที่ใช้ยื่นคะแนนเข้าคณะในฝันของนักเรียนทุกคนที่เรียนหลักสูตรอังกฤษ เพราะหลักสูตรนี้ถือว่าได้รับการยอมรับในสากลจากมหาวิทยาลัยทั่วโลก นักเรียนหลายคนมักจะสับสนว่าควรเลือกวิชาที่ชอบ หรือวิชาที่จำเป็นดีกว่า ดังนั้นวันนี้พี่ๆ ignite จะมาแนะนำเทคนิคการเลือกแบบเข้าใจง่ายๆ ให้น้องๆ กันครับ ถ้าพร้อมแล้วก็มาเริ่มกันเลย !! ทำความรู้จักหลักสูตร IGCSE vs A-Level จากภาพด้านบน กล่าวได้ว่า IGCSE นั้นคือหลักสูตร 2 ปีสำหรับน้องๆ Year 10-11 ที่เป็นการเตรียมปูพื้นฐานวิชาให้มีองค์ความรู้รอบด้านและแน่นพอที่จะเลือกเรียนวิชาในขั้นสูงกว่า หรือการทำ A-Level อีกสองปี เพื่อยื่นคะแนนทั้ง 3 วิชานี้เข้ามหาวิทยาลัยที่น้องๆ ต้องการ ต่อมาเรามาดูกันว่าเราควรเลือกเรียนวิชาอะไรให้ตรงกับคณะที่เราต้องการเข้าศึกษาต่อ มาเริ่มกันที่หลักสูตรแรกนั้นก็คือ IGCSE เทคนิคการเลือกวิชา IGCSE โดยวิชาที่น้องๆ สามารถสอบได้ใน IGCSE นั้นแบ่งออกเป็น […]
Comments (0)
-
Blog, CU-ATS/CU-AAT
ข้อสอบ ACT คืออะไร? มารู้จักอีกหนึ่งโอกาส สอบติดคณะอินเตอร์
ข้อสอบ ACT คืออะไร? คงเป็นคำถามที่น้องๆ ทีมอินเตอร์สงสัยกันมากที่สุดตอนนี้ !!! หลังจากที่ข้อสอบ SAT Subject tests ถูกยกเลิกอย่างเป็นทางการ ทำให้มหาวิทยาลัยในไทยที่เปิดสอนหลักสูตรอินเตอร์ต่างพากันเบนเข็มมาเปิดรับคะแนน ACT กันมากขึ้น ไม่ว่าจะคณะวิศวะหรือวิทยาศาสตร์ ดังนั้นใครที่อยากสอบติด TCAS รอบ1 ต้องมารู้จักกับข้อสอบ ACT ที่เป็นอีกหนึ่งโอกาสทำให้น้องๆสอบติดคณะอินเตอร์ยอดฮิตนะครับ ถ้าพร้อมแล้วไปอ่านพร้อมกันได้เลย…ignite เตรียมข้อมูลพร้อมเสิร์ฟให้น้องๆ แล้วครับผม ข้อสอบ ACT คือ ACT หรือ American College Testing Assessment คือ ข้อสอบมาตรฐานจากประเทศสหรัฐอเมริกาและแคนาดาใช้วัดระดับทักษะด้านการใช้เหตุผล การคิดวิเคราะห์ การแก้ไขปัญหา และการสื่อสารที่จำเป็นในการเรียนต่อมหาวิทยาลัย โดยมหาวิทยาลัยหลักสูตรอินเตอร์ที่เปิดรับนักศึกษาจากระบบ TCAS รอบ1 มักจัดหมวดหมู่คะแนน ACT ให้อยู่ประเภทเดียวกับคะแนน SAT หรือ SAT […]
Comments (0)
-
Blog, GED
เรียน Homeschool คืออะไร? เรียนยังไงให้ได้วุฒิ ด้วย GED
สวัสดีน้องๆและผู้ปกครองทุกคนนะคะ พี่เชื่อว่าหลายๆ คน คงจะรู้จัก GED หรือการสอบเทียบวุฒิมาบ้าง ไม่มากก็น้อย และก็คงจะเคยได้ยินคำว่า การเรียนแบบ Home School กันมาบ้าง วันนี้พี่จะมาคลายทุกข้อสงสัย ว่าการเรียนแบบ Homeschool คืออะไร? มีความแตกต่างกับการเรียนในโรงเรียนอย่างไร มีข้อดี-ข้อเสียอย่างไรบ้าง และการเรียนแบบ Homeschool จะยื่นเข้ามหาวิทยาลัยในฝันได้อย่างไร ก่อนอื่นอยากจะมากระซิบก่อนเลยว่า การสอบ GED เป็นการเพิ่มโอกาสในการสอบเข้ามหาวิทยาลัยสำหรับน้องๆ ที่เรียนแบบ Homeschool มากๆ น่าสนใจขนาดนี้แล้ว งั้นไปดูกันทีละหัวข้อเลยค่า การเรียนแบบ Homeschool คืออะไร ? Home School นั้นถูกจัดว่าเป็นประเภทหนึ่งของการจัดการศึกษาให้เด็กในวัยเรียน โดยอิงตามมาตรา 12 ของ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ซึ่งครอบครัว พ่อแม่ สามารถจัดการการศึกษาพื้นฐานให้แก่เด็กเอง โดยที่ไม่ต้องเข้าเรียนในโรงเรียนของรัฐ หรือเอกชน หรือถ้าพูดให้เข้าใจง่ายๆ คือ […]
Comments (0)
Comments