เผยวิธีเตรียมสอบ GED ยังไง ให้ได้ 660+ จากครูหมิง GED Guru

สวัสดีค่ะ พี่หมิง GED Guru จาก ignite นะคะ ช่วงนี้มีน้องๆ ถามกันมาเยอะมากว่า ทำยังไงให้ได้คะแนน GED สูงกว่า 660 คะแนน เพื่อให้มีสิทธิ์ยื่นเรียนต่อมหาวิทยาลัยชื่อดัง ไม่ว่าจะเป็นจุฬาฯ, มธ., MUIC และอีกหลายๆ ที่ เดี๋ยววันนี้พี่หมิงจะมาแชร์วิธีการที่พี่ใช้โค้ชน้องๆ คลาส GED ให้พวกเขาได้คะแนนตามเป้าหมาย
ก่อนอื่นพี่ขอแบ่งทักษะออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ Skillset และ Mindset
Skillset - ทักษะที่ใช้ในการเตรียมตัวสอบ GED

1. รู้กติกาการสอบ GED อย่างละเอียด
ข้อนี้สำคัญมากนะคะ พี่หมิงเจอน้องๆ หลายคนมากที่ไม่รู้ว่ากติกาของ GED (บางคนไม่รู้ว่า GED สอบได้ครั้งเดียว!) ไปสอบจริงแล้วคะแนนไม่ตามเป้า กว่าจะ rescore ได้ก็เสียเวลาไปหลายเดือนเลยค่ะ ดังนั้น น้องๆ ต้องศึกษากติกาให้ดี เบื้องต้นพี่ขอย้ำจุดสำคัญ ดังนี้
- GED เป็นข้อสอบที่สอบได้ครั้งเดียวต่อวิชา (ถ้าคะแนนออกมาแล้วไม่พอใจ จะสามารถ rescore ได้ 1 ครั้งต่อวิชาเท่านั้น และการได้รับสิทธิในการ rescore หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของ GED)
- น้อง ๆ ที่อายุมากกว่า 16 ปี แต่น้อยกว่า 18 ปี ต้องส่ง GED parental consent form
- ก่อนจองสอบ GED ต้องปลดล็อคโดยทำ GED Ready ทั้ง 4 วิชา ให้ได้คะแนนวิชาละ 155 คะแนน (ถ้าน้องๆ เพิ่งมาอ่านแล้วยังสงสัยว่า GED Ready คืออะไร สามารถอ่าน blog เก่าของพี่ได้ที่ >> https://www.ignitebyondemand.com/ged-ready/)
ignite ทำ GED Insights คู่มือการเตรียมตัวสอบ GED แจกฟรี ทำมาเพื่อช่วยน้องๆ ในการเตรียมตัวจริงๆ ถ้าใครอยากทราบข้อมูลเตรียมตัว GED ละเอียดๆ เข้าไปลงทะเบียนรับได้ที่นี่เลยค่ะ >> ลงทะเบียนรับ GED Insights
2. ทักษะภาษาอังกฤษต้องดี
ดีในที่นี้คืออ่านออก เขียนได้และมีความเข้าใจ Grammar และ Vocab ในระดับหนึ่ง เพราะ GED เป็นข้อสอบที่ใช้กันทั่วโลก (รวมทั้ง USA) ดังนั้น โจทย์ข้อสอบจะไม่มาวัดระดับภาษาของน้องๆ แล้ว แต่จะเน้นวัดผลในระดับการคิดวิเคราะห์เชื่อมโยง บอกเลยว่าน้องบางคนที่มีภาษาดีเป็นทุนเดิมก็ยังไม่สามารถยืนยันได้ว่าจะได้เกิน 660+
ดังนั้น ประเมินตัวเองให้ดีค่ะ ถ้ามั่นใจว่าจะใช้ GED จริงๆ และยังไม่มั่นใจในภาษาอังกฤษมาก พี่แนะนำว่าควรเผื่อเวลาสำหรับเรียนภาษาอังกฤษเพิ่มเติมเข้าไปด้วย ที่ ignite เองก็มีคอร์สเรียนปูพื้นฐานภาษาอังกฤษด้วยเช่นกันในชื่อว่า English Level Up ค่ะ ลองดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่ https://www.ignitebyondemand.com/our-courses/middle-schools-ม-ต้น-ep/
3. ทำ GED READY เพื่อวางแผนจัดลำดับวิชาที่จะสอบก่อน-หลัง
GED สามารถเลือกสอบได้ทีละวิชา ดังนั้น น้องๆ จัดลำดับการสอบได้ตามถนัดเลยค่ะ แต่ก่อนวางแผน พี่ขอแนะนำให้สมัคร GED account และทำ GED Ready ทั้ง 4 วิชาก่อนเลยแล้วค่อยมาวางแผนกัน
ประโยชน์ที่น้องจะได้แน่ๆ จากการทำ GED READY มาก่อน คือ
- น้องจะรู้ความพร้อมของตัวเอง
- น้องจะรู้แนวโจทย์ GED
- พี่หมิงและพี่ๆ ทีม Consultant ที่ Ignite จะช่วยวางแผนให้น้องได้ดีขึ้นค่ะ
4. คุ้นชินกับสไตล์โจทย์ GED
อย่างที่บอกไปว่า โจทย์ GED เป็นโจทย์ที่เน้นการคิดวิเคราะห์เชื่อมโยง ซึ่งน้องจะไม่มีทางเชื่อมโยงได้ ถ้าน้องยังไม่ได้เข้าใจมันก่อน เวลาพี่สอนก็จะเน้นสร้างจุดตั้งต้นให้น้องเกิดความเข้าใจ เพื่อนำไปต่อยอดในการทำโจทย์ต่อไปค่ะ ก่อนจะวิเคราะห์ (Analyze) ได้ น้องๆ ต้อง รู้ (Know) และ เข้าใจ (Understand) ค่ะ
ถ้าใครอยากศึกษาเองดูก่อน พี่ขอแนะนำหนังสือของ Kaplan และ Mc Grawhil นะคะ ถ้าเป้าคือ 165 ขึ้นไป ทุกแบบฝึกหัดที่ทำควรทำถูก 80% ขึ้นไปจากจำนวนข้อทั้งหมด ถึงจะเป็นตัวชี้วัดได้เบื้องต้นว่าน้อง “พร้อมสอบ” ค่ะ
GED READY ก็เป็นอีกทางเลือกให้น้องคุ้นชิน ใครมีเวลาก็แนะนำให้ทำ 3-4 รอบ ทำหลายชุดเพื่อประเมิน Reliability (ความน่าเชื่อถือของคะแนนที่ได้) บางทีทำครั้งแรกได้คะแนนเยอะก็เป็นไปได้ว่าโชคดีเจอโจทย์ที่เคยทำและรู้คำตอบอยู่แล้ว ดังนั้น ยิ่งทำมากชุด ยิ่งเห็นหลายแนว ยิ่งมั่นใจค่ะ
ทักษะที่ใช้ส่วนถัดมาเป็นเรื่องของ Mindset

พี่ไม่รู้ว่าน้องๆ มีทัศนคติกับข้อสอบ GED แบบไหนมาก่อนนะคะ แต่วันนี้อยากให้ลองปรับ และมองมันด้วยวิธีคิด 2 ข้อนี้
1. 660 อย่าคิดว่าง่าย ห้ามประมาท
จริงๆ แล้ว GED ในส่วนของเนื้อหาในข้อสอบไม่ได้ยากขนาดนั้นค่ะ แต่ที่ยากเพราะน้องมีโอกาสให้ พลาดได้แค่ครั้งเดียว และคะแนนจะอยู่กับน้องไปตลอดชีวิตเลย ทางออกสำหรับคนที่มีเป้าสูงแต่สุดท้ายทำได้ไม่ถึง 660 ก็มีสองทาง คือ
- ลดเป้าไปเข้ามหาวิทยาลัยอื่นที่รับเกณฑ์คะแนนที่ต่ำกว่า
- ตั้งใจเรียนในระบบโรงเรียนเพื่อเอาวุฒิ ม.ปลายตามระบบการศึกษาปกติ
แต่ขอย้ำเหมือนเดิมค่ะ พี่ว่า ข้อสอบ GED ไม่ได้ยากขนาดนั้น ถ้าพื้นภาษาอังกฤษดี ตั้งใจเรียน ทำความเข้าใจเนื้อหาที่ออกสอบและฝึกทำโจทย์ให้มาก จะไปสู่เป้า 660 ได้ไม่ยากเลย เชื่อพี่นะ ขอให้ตั้งใจกับมัน โฟกัสกับมัน วางแผนดีๆ และอย่าประมาท
2. อย่าพึ่งทางลัด! คะแนน 165+ คือ ความสามารถ ไม่มีทางลัด
เดี๋ยวนี้มักจะมีการส่งต่อคำตอบ GED กัน น้องบางคนก็อาจจะได้มาจากเพื่อน บอกเลยค่ะว่าทางลัดแนวโจทย์พวกนี้ไม่มีประโยชน์กับการทำคะแนนมากหรอกค่ะ อย่างน้อยมันช่วยให้รู้แนว แต่นั่งท่องแต่คำตอบแล้วไปสอบ พี่รับประกันว่าไม่มีทางได้ 165+ การที่มหาวิทยาลัยปรับเกณฑ์คะแนนเป็น 165+ หรือ รวม 660 เพราะคะแนนเท่านี้เป็นคะแนนความสามารถและมหาวิทยาลัยก็อยากคัดเด็กสอบเทียบที่มีคุณภาพไปเป็นนิสิตนักศึกษาของสถาบันเขา
หลักสำคัญ คือ องค์ความรู้และความคุ้นชินกับโจทย์ ที่ฝึกฝนจนเก่งและชำนาญค่ะ
“ความสามารถต่างหากที่จะทำให้น้องได้ 165 ไม่ใช่ทางลัด”
ปล. GED READY 155 คะแนนก็ควรปลดล็อคด้วยตัวเองนะคะ เรื่องนี้ก็ไม่ควรมีทางลัด ให้ติวเตอร์ หรือใครมาปลดล็อคให้
ทั้งหมด คือ skillset และ mindset ที่พี่โฟกัสในการโค้ชน้องๆ GED ของพี่ หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับน้องๆ นะคะ สำหรับน้องที่สนใจอยาก เตรียมตัว GED กับพี่หมิงและทีมครู GED พบกันกับ คอร์ส GED Miniclass ของ Ignite by Ondemand หรือจะเป็น คอร์สออนไลน์ ในระบบ Anywhere หลักสูตร 25 ชั่วโมงต่อวิชา เนื้อหาครบถ้วนตรงตามประเด็นที่ออกสอบใน GED
เมื่อเรียนจบ น้องๆ จะมีกรอบความเข้าใจและองค์ความรู้เพื่อไปเชื่อมโยงกับการสอบจริง พร้อม แชร์ Tactic วิธีการทำคะแนนให้ถึง 660+ เล่าแบบหมดเปลือกในห้องเรียนค่ะ
รู้อย่างนี้แล้ว อย่าลืมลองทำ GED Ready แล้วเข้ามาวางแผนกันกับพี่ ๆ ignite กันนะคะ ^^

สามารถทักเข้ามาทำ แบบทดสอบวัดความรู้ (Placement Test) และหากน้องๆ สนใจคอร์สเรียน GED สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม วางแผนการเตรียมตัวและสมัครเรียนได้ทาง Line @ignitebyondemand
ดูรายละเอียดคอร์สเรียน GED ทั้งหมดได้ทาง >> https://www.ignitebyondemand.com/our-courses/ged/
ช้อป! คอร์สเรียน GED ออนไลน์ ผ่าน ShopOnline ignite ด้วยตัวเองได้แล้ววันนี้! >> https://shop.ignitebyondemand.com/catalog/category/view/s/ged/id/629/
Related Blog & News
ข่าวสารและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง
-
Blog, SAT
รีวิวเตรียมตัวสอบและสัมภาษณ์จนติด BBA TU โดยน้องภูมิ – ก๊อต คู่หู คู่ฮาจากรั้ว BBA TU ปีล่าสุด!
สวัสดีครับน้องๆ สำหรับหลายคนที่อยากเข้าเรียน BBA หรือหลักสูตรบริหารอินเตอร์นั้น อาจจะคิดว่าการสอบเข้า BBA เป็นเรื่องง่ายๆ ชิวๆ แต่เดี๋ยวก่อน!! วันนี้รุ่นพี่ ignite 2 คน ซึ่งตอนนี้เพิ่งเป็นนักศึกษา BBA TU (หลักสูตรการบริหารธุรกิจ ภาคอินเตอร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) ไปหมาดๆ จะมาเล่าให้น้องฟังว่า การสอบเข้า BBA ไม่ได้ง่ายอย่างที่น้องคิด!! ถ้าพร้อมแล้ว เราไปดูกันดีกว่าครับว่าพี่ๆ เค้าพยายามกันมากแค่ไหน และมีวิธีเตรียมตัวสอบเข้ากันยังไงให้ติดคณะในฝัน? Q : แนะนำตัวให้น้องๆ ignite รู้จักกันหน่อยครับ ก๊อต : สวัสดีน้องๆ ครับ พี่ชื่อ ก๊อต-พจนารท จบจากโรงเรียนสารสาสน์วิเทศรังสิตครับ ตอนนี้สอบติด BBA (หลักสูตรการบริหารธุรกิจ) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ครับ ภูมิ : พี่ชื่อ ภูมิ-จารุภูมิ จบจากโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยมครับ ตอนนี้สอบติด BBA ธรรมศาสตร์ คณะเดียวกันกับก๊อตเลยครับ Q […]
Comments (0)
-
Blog, CU-ATS/CU-AAT
CU-ATS คืออะไร? รู้จัก CU-ATS โอกาสสำคัญในการสอบติดคณะอินเตอร์ยอดฮิต
สวัสดีทุกคนนะครับ วันนี้พี่แอดมินนำข้อมูลดีๆ เกี่ยวกับข้อสอบ CU-ATS ซึ่งเป็นข้อสอบที่ช่วงนี้กำลังเป็นกระแสและน้องๆ กำลังค้นหาข้อมูลว่ามันคืออะไรกันแน่ พี่แอดมินเลยขอพาทุกคนไปทำความรู้จักว่าข้อสอบ “CU-ATS คืออะไร” พร้อมตอบทุกข้อสงสัยตั้งแต่เนื้อหาข้อสอบเป็นอย่างไร ใช้ยื่นคณะไหนได้บ้าง ค่าสมัครสอบและตารางสอบ อย่ารอช้า…พร้อมแล้วไปอ่านกันเลย !! ข้อสอบ CU-ATS คือ ข้อสอบ CU-ATS (Chulalongkorn University Aptitude Test for Science) คือ ข้อสอบที่ใช้วัดความถนัดทางวิทยาศาสตร์เพื่อใช้ในการพิจารณาผู้ยื่นเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรี ของหลักสูตรนานาชาติ จุฬาฯ โดยลักษณะข้อสอบคล้ายกับข้อสอบ SAT Subject Tests แต่ความยากของเนื้อหาจะแตกต่างกันออกไป คณะที่สามารถใช้คะแนน CU-ATS เพื่อยื่นพิจารณาศึกษาต่อ คือ ISE คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (อินเตอร์) BSAC คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาเคมีประยุกต์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (อินเตอร์) ข้อควรรู้เกี่ยวกับการสอบ CU-ATS ข้อสอบ CU-ATS คะแนนรวม 1,600 คะแนน ประกอบด้วย 2 วิชา […]
Comments (0)
-
Blog, SAT
รีวิวสอบเข้า INDA CU อย่างละเอียด โดยน้องมิ้นท์ สตรีวิทยา
สวัสดีน้องๆ ที่อยากเข้า INDA (International Program in Design and Architecture) หรือ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาวิชาการออกแบบสถาปัตยกรรม (หลักสูตรนานาชาติ) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทุกคนนะครับ วันนี้แอดมินพาพี่มิ้นท์ รุ่นพี่ ignite ที่สอบติด INDA รอบ Early ปีล่าสุดมารีวิวการเตรียมตัวสอบ และการสอบ ตั้งแต่การเก็บคะแนนเพื่อยื่น การสอบรอบข้อเขียน และการสอบสัมภาษณ์ เพื่อช่วยให้คำแนะนำน้องๆ ใช้เป็นแนวทางในการเตรียมตัวกัน จะมีอะไรน่าสนใจบ้าง ไปฟังกันเลย Q: ช่วยแนะนำตัวให้น้องๆ ignite รู้จักกันหน่อยครับ A: ชื่อมิ้นท์ค่ะ จบจากโรงเรียนสตรีวิทยาค่ะ สอบติด INDA จุฬาฯ ค่ะ Q: เล่าให้ฟังหน่อยได้ไหมครับว่าทำไมถึงอยากเรียน INDA A: หนูชอบวาดรูปมาตั้งแต่เด็กๆ พอมีพื้นฐานศิลปะบ้าง มีคนมาพูดกับหนูตลอดว่าทำไมไม่ทำสิ่งที่ตัวเองวาดให้เป็นจริง หรือ เอาความสามารถไปช่วยคนอื่น เลยลองมาศึกษาด้านนี้ก็รู้สึกว่าเจ๋งดี […]
Comments (0)
-
Blog, CU-ATS/CU-AAT
5 เทคนิคพิชิต CU-ATS Physics 800 เต็ม By P’Ink
สวัสดีครับน้องๆ ทุกคน เปิดต้นปี 2022 มาได้ไม่นาน เชื่อว่าน้องหลายๆ คน กำลังวางแผนการเตรียมตัวสอบกัน วันนี้พี่อิ๊งค์อยากจะมาแชร์ประสบการณ์และ เทคนิคเก็บ CU-ATS Physics 800 เต็ม ถึงแม้ฟังดูแล้วเหมือนจะยาก ด้วยเวลาที่จำกัดและข้อสอบที่ไม่ได้ง่ายซะทีเดียว แต่พี่เชื่อว่าถ้าน้องลองนำเทคนิคที่พี่แชร์เหล่านี้ไปปรับใช้ คว้าเต็มไม่ยากอย่างที่คิดแน่นอน ทำความรู้จักข้อสอบ CU-ATS Physics ข้อสอบ CU-ATS (Chulalongkorn University Aptitude Test for Science) คือ ข้อสอบที่ใช้วัดความถนัดทางวิทยาศาสตร์เพื่อใช้ในการพิจารณาผู้ยื่นเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรี ของหลักสูตรนานาชาติ จุฬาฯ โดยลักษณะข้อสอบคล้ายกับข้อสอบ SAT Subject Tests แต่ความยากของเนื้อหาจะแตกต่างกันออกไป เมื่อน้องๆ สมัครสอบ CU-ATS ไปแล้วจะต้องสอบ 2 วิชานั่นคือ CU-ATS Physics CU-ATS Chemistry […]
Comments (0)
Comments