IAAI คณะวิศวะการบินอินเตอร์ ลาดกระบัง เรียนอะไรบ้าง?

คณะวิศวะที่มาแรงมากขณะนี้ พี่ขอยกให้ “วิศวะการบิน” เป็นอันดับ 1 ที่น้องๆ ถามกันเข้ามามากที่สุด วันนี้พี่เลยจะมาสรุปข้อมูลคณะวิศวะการบินอินเตอร์ IAAI ของ KMITL หรือ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มาให้รู้จักกันมากขึ้น ว่าจริงๆ แล้วคณะวิศวะการบิน IAAI คืออะไร? เรียนอะไร? จบแล้วสามารถทำอาชีพอะไรได้บ้าง…
วิศวะการบิน IAAI คือ?

IAAI หรือ International Academy of Aviation Industry คือ วิทยาลัยอุตสาหกรรมการบินนานาชาติ ของสถาบันเทคโนโลยีเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (KMITL)
ปัจจุบัน เปิดสอนทั้งหมด 3 หลักสูตร คือ
- วิศวกรรมการบินและอวกาศ
- วิศวกรรมการบินและนักบินพาณิชย์
- การจัดการโลจิสติกส์ (วท.บ.)
ส่อง 2 หลักสูตรวิศวะการบินอินเตอร์ IAAI

พี่ขออธิบายรายละเอียดเพิ่มเติมในส่วนของวิศวะการบินอินเตอร์ IAAI KMITL ทั้ง 2 หลักสูตร ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร?
- วิศวกรรมการบินและอวกาศ (Aerispace Engineering) เป็นหลักสูตรที่นำเอาความรู้ทางด้านวิศวกรรมมาผสมผสานกับความรู้ด้านอากาศยาน ตั้งแต่การซ่อมบำรุง วิทยาการข้อมูลการบินและอวกาศ รวมไปถึงอากาศยานไร้คนขับ หรือที่เรียกกันคุ้นปากว่า โดรน (Drone) นั่นเอง หลักสูตรนี้มุ่งเน้นการสร้างวิศวกรที่เป็นนวัตกร ที่จะสามารถสร้างนวัตกรรมที่นำไปสู่การพัฒนาประเทศได้
มี 3 สาขาย่อย คือ สาขาซ่อมบำรุงอากาศยาน / สาขาอากาศยานไร้คนขับ และสาขาเทคโนโลยีอวกาศ ซึ่งน้องๆ จะได้เรียนรู้ผ่านการสร้างดาวเทียมจริงและมีการนำไปทดสอบที่ความสูง 40 กิโลเมตรจากชั้นบรรยากาศโลก
- วิศวะกรรมการบินและนักบินพาณิชย์ (Aeronautical Engineering and Commercial Pilot) เรียกว่าเป็นหลักสูตรควบรวมเอาวิศวกรรมเครื่องกลและวิศวกรรมการบินมาไว้ในที่เดียว โดยหลักสูตรนี้มีความมุ่งหมายที่จะผลิตนักบินรุ่นใหม่ที่มีสายเลือดความเป็นวิศวกร เป็นหลักสูตรที่ IAAI มีการทำ MOU ร่วมกับ ENAC หรือ Ecole Nationale de l’Aviation Civil มหาวิทยาลัยด้านการบินอันดับ 1 ในทวีปยุโรป โดย
ปีที่ 1 น้องๆ จะได้เรียนเกี่ยวกับพื้นฐานวิศวกรรมเครื่องกล
ปีที่ 2 เรียนเจาะลึกเฉพาะทางด้านอากาศยาน
ปีที่ 3 เสริมทักษะวิศวกรรมออกแบบขั้นสูง
ปีที่ 4 ทำการฝึกบินจริงที่วิทยาเขตชุมพร โดยทางวิทยาลัยจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าที่พัก ค่าตั๋วเครื่องบิน ค่าอาหาร ค่าชุดบิน ตลอดการฝึก
เมื่อเรียนจบน้องๆ จะได้วุฒิวิศวกรรมศาสตร์บันฑิต พร้อมใบอนุญาตนักบินส่วนบุคคล นักบินพาณิชย์ตรี ซึ่งน้องๆ จะสามารถสอบความรู้ภาษาอังกฤษ ICAO Level 4 เมื่อสอบผ่านก็จะได้การรับรองจากสำนักงานการบินพลเรือนของไทยและอังกฤษ
ค่าเทอม 2 หลักสูตร IAAI KMITL

สำหรับวิศวะการบินอินเตอร์ KMITL ทั้ง 2 หลักสูตร จะเป็นหลักสูตร 4 ปี ค่าเทอม คือ
- วิศวกรรมการบินและอวกาศ (Aerispace Engineering) เทอมละ 90,000 บาท
- วิศวะกรรมการบินและนักบินพาณิชย์ (Aeronautical Engineering and Commercial Pilot) เทอมละ 440,000 บาท
ตัวอย่างคะแนนที่ใช้ยื่น วิศวะการบิน IAAI KMITL

ในส่วนของคะแนนที่ใช้ยื่นสมัครเข้าเรียนที่วิศวะการบินทั้ง 2 หลักสูตร ประกอบไปด้วย 3 วิชาหลักๆ นั่นก็คือ
1. Mathematics (ไม่กำหนดเกณฑ์คะแนนขั้นต่ำ)
- Digital SAT Math
- ACT Math
- A-Level Math
- IGCSE Math
- IB-Diploma Math
- CU-AAT Math
*เลือกสอบอย่างใดอย่างหนึ่ง
2. Physics (ไม่กำหนดเกณฑ์คะแนนขั้นต่ำ)
- A-Level Physics
- AS-Level Physics
- IGCSE Physics
- IB-Diploma Physics
- CU-ATS
*เลือกสอบอย่างใดอย่างหนึ่ง
3. English
- TOEFL paper-based ≥ 550
- TOEFL (CBT) ≥ 213
- TOEFL (IBT) ≥ 79
- IELTS ≥ 6.0
- Cambridge English Exams FCE or CAE or CPE ≥ 170
- IB – English A1 or A2 ≥ 4
- IB – English B (HL) ≥ 5
*เลือกสอบอย่างใดอย่างหนึ่ง
รายละเอียดเกณฑ์การรับสมัครเพิ่มเติม สามารถดูรายละเอียดได้ที่ >> https://iaai.kmitl.ac.th/
เรียนวิศวะการบิน IAAI ทำงานอะไรได้บ้าง?

พอได้ข้อมูลเกี่ยวกับหลักสูตรครบ คำถามปิดท้ายที่ขาดไม่ได้ก็คือ จบวิศวะการบินทำงานอะไรได้บ้าง? พี่ขอยกตัวอย่างอาชีพสุดปังของทั้ง 2 หลักสูตรมาให้ดูกันตามนี้เลย
วิศวกรรมการบินและอวกาศ
(Aerispace Engineering)
- Drone Pilot นักบินโดรน
- Aerospace Engineer วิศวกรการบินและอวกาศ
- Aircraft Data Analyst นักวิเคราะห์ข้อมูลอากาศยาน
- Aircraft Maintenance
- Engineer วิศวกรซ่อมบำรุงอากาศยาน
- Aircraft Mechanic ช่างอากาศยาน
- Space Satellite พัฒนาเทคโนโลยีอวกาศ
วิศวะกรรมการบินและนักบินพาณิชย์
(Aeronautical Engineering and Commercial Pilot)
- Airline Pilot นักบิน
- Engineer in Aviation Industry วิศวกรในอุตสาหกรรมการบิน
- Aircraft Maintenance Engineer วิศวกรซ่อมบำรุงอากาศยาน
- Aircraft Mechanic ช่างอากาศยาน
- Ground Equipment Services เจ้าหน้าที่บริการลานจอดและอุปกรณ์ภาคพื้น
- Air Traffic Controller ผู้ควบคุมจราจรทางอากาศ
ยืนหนึ่งเรื่องวิศะ แน่นอนว่า KMITL ไม่ได้มีวิศวะอินเตอร์แค่คณะเดียว ทำความรู้จักกับ คณะวิศวะอินเตอร์ยอดฮิต SIIE KMITL ให้มากขึ้นได้เลย
สำหรับน้องๆ ที่อยากเรียนคณะวิศวะอินเตอร์ แต่ยังไม่มั่นใจว่าเริ่มต้นอย่างไร พี่ขอแนะนำ Engineering Buffet Pack แพ็กคอร์สเรียนที่ออกแบบมาเพื่อน้องวิศวะอินเตอร์โดยเฉพาะ สามารถวางแผน จัดสรรตารางเรียนได้ตามความต้องการ กับพี่ๆ Education Consult แบบส่วนตัวโดยไม่มีค่าใช้จ่าย ทักเข้ามาคุยกันได้ตลอดที่ Line: @ignitebyondemand หรือคลิก https://bit.ly/38wNuQ9 และ โทร 091-5761475
หากต้องการเลือก Shop คอร์สเรียน Online สามารถเลือกช้อป!คอร์สเรียนด้วยตัวเองได้ที่
Related Blog & News
ข่าวสารและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง
-
Blog, Medical TCAS 1 (Portfolio)
รวมข้อสอบ BMAT Past papers , IMAT และ TSA ย้อนหลัง 10 ปี พร้อมเฉลย
สวัสดีครับน้องๆ ว่าที่คุณหมอที่กำลังเตรียมตัวเพื่อสอบเข้าคณะแพทย์ รอบ Portfolio กันทุกๆ คน วันนี้พี่ๆ ignite ได้รวบรวม ข้อสอบ BMAT Past papers , practice papers พร้อมพิเศษข้อสอบ IMAT และข้อสอบ TSA ย้อนหลังให้ถึง 10 ปี พร้อมเฉลย ให้น้องๆ ฝึกทำโจทย์ให้มั่นใจกันอย่างจุใจ เตรียมพร้อมก่อนไปสอบกันนะครับ ก่อนจะเริ่มฝึกทำโจทย์ เรามาดูแผนเตรียมตัวสอบ BMAT ปี 2020 กันก่อนดีกว่า เพราะสถานการณ์ COVID-19 ส่งผลให้การสอบปีนี้มีการเปลี่ยนแปลงจากทุกครั้งที่ผ่านมา โดยทาง Cambridge ได้ยกเลิกการสอบ BMAT ในรอบ SEP ทำให้ปีนี้ๆ น้องเหลือรอบสอบแค่รอบ NOV ! เท่านั้น […]
Comments (0)
-
Blog, EP ม.ต้น
เรียน EP อยู่แล้วต้องเรียนภาษาอังกฤษเสริมอีกมั้ย ?
สวัสดีค่ะ พี่แนนจาก ignite นะคะ มีคำถามนึงที่ช่วงนี้พี่แนนได้ยินบ่อยมากๆ จากทั้งคุณพ่อคุณแม่และน้องๆ ม.ต้นที่เรียน EP มาว่า “เรียน EP อยู่แล้ว ยังต้องเรียนภาษาอังกฤษเสริมอยู่มั้ย” เพราะตามที่คุณพ่อคุณแม่เข้าใจคือหลักสูตรนี้เน้นภาษาอังกฤษอยู่แล้วน่าจะไม่ต้องทำอะไรมากมาย ก่อนที่เราจะไปหาคำตอบกัน พี่แนนมีเรื่องมาเล่าให้ฟังค่ะ เป็นเรื่องของนักเรียนคนนึงที่พี่เคยสอน น้องเรียน English Program มาตั้งแต่ ม.1 และตอนที่มาเจอกับพี่ครั้งแรก น้องอยู่ ม.3 แล้วและสนใจเตรียมตัวสอบเข้า Grade 10 ที่ MUIDS (โรงเรียนสาธิตนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล) ในวันที่เจอกับคุณแม่ของน้องครั้งแรกเพื่อวางแผนการเรียนกัน คุณแม่มองว่าน้องน่าจะไม่ต้องติวภาษาอังกฤษเยอะเพราะเรียน EP มา แต่เพื่อให้สามารถวางแผนการเรียนและสอนได้อย่างตรงจุด พี่จึงให้น้องลองทำโจทย์สอบเข้ารวมถึง พาร์ทการเขียนเรียงความภาษาอังกฤษ (Essay) สิ่งที่เกิดขึ้นคือน้องบอกกับพี่แนนว่าน้องเขียนไม่ได้ นึกคำศัพท์ไม่ออก เรียบเรียงไม่ถูก ในเวลาหนึ่งชั่วโมงนั้นน้องจึงเขียนได้เพียง Paragraph สั้นๆ เท่านั้น Academic English ปัญหาสำคัญของน้อง EP EP หรือ English Program เป็นทางเลือกที่กำลังได้รับความนิยมขึ้นเรื่อยๆ ในหมู่นักเรียนทั้ง ม.ต้น และ […]
Comments (0)
-
Blog, SAT
รีวิวการเตรียมตัวสอบ รอบ Early น้องสตรีวิทย์ ติด BBA ยกแก๊ง!!
สวัสดีครับน้องๆ จากสถิติคะแนนยื่นสอบเข้าที่สูงขึ้นเรื่อยๆ ดันบาร์ความโหดเพิ่มขึ้นในทุกๆ ปี ทำให้การสอบเข้า BBA จุฬาฯ หรือ หลักสูตรบริหาร ภาคอินเตอร์ ที่เป็นคณะในฝันของใครหลายๆ คน ติดท๊อปลิสต์ คณะสอบเข้ายากในฝั่งอินเตอร์แทบทุกโพล แต่!!! วันนี้ แก๊งรุ่นพี่ ignite จากโรงเรียนสตรีวิทยา ซึ่งตอนนี้พึ่งเป็นนิสิต BBA CU หมาดๆ ทั้ง 3 คน จะมาเล่าให้ฟังว่าการสอบเข้า BBA CU อาจไม่ง่าย แต่ก็ไม่ได้ยากอย่างที่คิด ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลยดีกว่าว่าพี่ๆ เค้ามีวิธีเตรียมตัวสอบเข้ากันยังไงบ้างถึงได้สอบติดรอบ Early กันยกแก๊งแบบนี้ Q: แนะนำตัวให้น้องๆ ignite รู้จักกันหน่อยว่าแต่ละคนติดคณะอะไรและใช้คะแนนอะไรยื่นบ้างครับ แจน: สวัสดีค่ะน้องๆ พี่ชื่อแจนค่ะ สอบติด BBA จุฬาฯ ค่ะ ด้วยคะแนน SAT 1,450 และ IELTS 7.5 ค่ะ ครีม: สวัสดีค่ะ พี่ชื่อครีมค่ะ สอบติดทั้ง […]
Comments (0)
-
Blog, CU-ATS/CU-AAT
สรุปทุกข้อสงสัยเลือกสอบแบบไหนดี ระหว่าง CU TEST Paper – Based Test VS CU TEST E-Testing
สวัสดีครับว่าที่น้องๆ ISE วิศวะอินเตอร์ จุฬา ทุกคน พี่เชื่อว่าหลายคนใช้คะแนน CU-ATS & CU-AAT ในการยื่นเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย แต่คงมีข้อสงสัยว่า แล้วมันต่างกันอย่างไร จะเลือกสอบ CU TEST แบบไหนดี วันนี้ พี่อิ้งค์ เลยมารีวิวและสรุปความแตกต่างของการสอบทั้ง 2 แบบ ว่ามีความเหมือน หรือแตกต่างกันอย่างไร เพื่อเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยให้น้องๆ ตัดสินใจได้ง่ายขึ้นว่าจะ เลือกสอบ CU TEST แบบ Paper – Based Test หรือแบบ E-Testing แบบไหนที่เหมาะสมกับเราและตอบโจทย์มากที่สุดครับ สรุปสิ่งที่เหมือนกันของการสอบ CU-TEST ทั้งแบบ Paper – Based Test VS E-Testing อย่างแรก เรามาพิจารณากันที่ความเหมือนกันของการสอบทั้ง […]
Comments (0)
Comments