แชร์เทคนิคพิชิตข้อสอบ SAT Reading and Writing ประเภท Vocabulary in Context

สวัสดีครับน้องๆ ทุกคน เป็นอย่างไรกันบ้างเอ่ย เตรียมตัวในการสอบ SAT ไปถึงไหนกันแล้วบ้างครับ หลายๆ คนคงเริ่มเรียนและฝึกฝนทำโจทย์ SAT กันอยู่เพื่อพิชิตคณะในฝัน วันนี้พี่แพททริคจึงขอมาให้กำลังใจพร้อมทั้งแชร์เทคนิคพิชิต ข้อสอบ SAT Reading and Writing กันครับ น้องๆ รู้มั้ยเอ่ยว่าข้อสอบประเภท Vocabulary in Context เนี่ย ก็เป็นข้อสอบอีกประเภทหนึ่งที่มีความสำคัญมากๆ และสามารถช่วยเราเพิ่มคะแนนสอบได้ เพราะว่ามีข้อสอบประเภทนี้ถึง 8-9 ข้อต่อชุด (อ้างอิงจาก Official SAT Practice Tests ชุดที่ 8-9 โดย College Board) นับว่าเกือบจะเป็น 20 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนข้อสอบทั้งหมดเลยทีเดียว (ข้อสอบพาร์ท Reading มีทั้งหมด 52 ข้อ) ดังนั้น หากน้องๆ สามารถเก็บคะแนนในส่วนนี้ได้ทั้งหมด โอกาสในการพิชิต Perfect Score ก็จะเพิ่มขึ้นด้วยครับ
หลังจากรู้ถึงความสำคัญที่จะต้องพิชิตข้อสอบ Vocabulary in Context แล้วนั้น เรามาดูหน้าตาข้อของสอบกันบ้างดีกว่า
ข้อสอบ SAT Reading and Writing - คำถามประเภท Vocabulary in Context คือ?

ทุกครั้งที่เราเจอคำถามประเภท Vocabulary in Context เราก็จะพบว่าคำถามจะเหมือนเดิมทุกครั้งเลย นั่นก็คือ มี Line Reference และมีคำที่ถูกถามพร้อมกับคำถามที่ว่า “ใช้คำไหนแทนความหมายได้” เรียกง่ายๆ ว่ามันคือคำถามที่วัดความรู้ด้านคำศัพท์และการใช้ให้ถูกบริบทนั่นเองครับ สิ่งที่สำคัญที่สุดในการทำ ข้อสอบ SAT Reading and Writing คือการตีความสิ่งที่โจทย์ต้องการถามให้แตกเพื่อที่เราจะได้เลือกคำตอบให้ถูกต้อง เมื่อเรามีวิธีทำที่ถูกแนวทางแล้ว คะแนนที่เพิ่มขึ้นก็ไม่ไกลเกินเอื้อมเลยหากน้องๆ ฝึกฝนเพิ่มเติม แล้วเจ้าคำถามประเภทนี้ มีเทคนิคอะไรในการหาคำตอบบ้าง ไปหาคำตอบพร้อมกับพี่แพททริคกันเลยครับ
4 Steps - พิชิตคำถามประเภท Vocabulary in Context

จากหน้าตาของโจทย์ก่อนหน้านี้ ต่อไปเรามาลงมือทำ Step by Step ไปด้วยกันได้เลยครับ และจะรู้ว่าคำถามประเภทนี้เพียงแค่น้องๆ มีเทคนิคที่ดีก็จะช่วยให้น้องหาคำตอบได้ถูกต้องครับ ซึ่งพี่แบ่งขั้นตอนในการหาคำตอบออกเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่
1. วิเคราะห์โจทย์
As used in line 73, “nuanced” most nearly means
โจทย์ให้ Line Reference มาพร้อมกับ Phrase ที่เป็นคำถาม และถามเราว่าคำนี้นั้นหมายความว่าอย่างไร เราก็จะวิเคราะห์โจทย์ออกมาได้เป็น “คำว่า ‘nuanced’ ในบริบทของ line ที่ 73 นั้น มีความหมายว่าอะไร
2. วิเคราห์ Context
หลังจากที่เราวิเคราะห์โจทย์แล้ว น้องๆ ก็ควรที่จะรู้ว่า Context (บริบท) ของคำว่า “nuanced” ใน line ที่ 73 นั้นคืออะไร ก็ถึงเวลาที่เราจะต้องอ่าน Context กันแล้วล่ะ ซึ่งส่วนใหญ่แล่วก็คือเอาบริบทมาจากประโยคเดียวกันกับคำที่โจทย์ให้มานั่นแหละครับ

ดังนั้น Context สำคัญ คือ “But the argument is more nuanced than simply needing more women in order to speak to other women.” หากน้องๆ ไม่รู้ว่า “nuanced” แปลว่าอะไร ไม่ต้องกังวลเลยครับ ให้นึกในใจเป็นแบบทับศัพท์ไปเลย แต่บริบทจะทำให้เรารู้ว่าเจ้า argument นี้มันต้องมีความอะไรสักอย่างมากกว่าความ simply แน่นอนครับ น้องๆ น่าจะพอเดาได้ว่า simply หมายความ อย่างง่ายๆ , อย่างตรงไปตรงมา เราก็จะตีความต่อไปได้ว่า nuanced จะมีความหมายที่ตรงข้ามกับ simply เพราะบริบทเป็นดารเปรียบเทียบ (more nuanced than…) เราจึงสามารถตีความได้ว่า “…the argument is” ซับซ้อนกว่าแค่ “simply…” นั่นเองครับ
3. วิเคราะห์ Choice
หลังจากที่เราได้วิเคราะห์ทั้งโจทย์และ Context กันไปแล้วก็ถึงเวลาที่เราจะมาวิเคราะห์
Choices ทั้ง 4 ข้อกันแล้วล่ะน้อง ๆ โดยเราจะต้องเลือกข้อที่มี ความหมายตรงกับคำว่า
“nuanced” ในบริบทของ line ที่ 73 นั่นเอง โดย Choices ทั้ง 4 ข้อนั้นมีความหมายดังนี้
- urgent = ที่เร่งด่วน
- different = ที่แตกต่าง
- important = ที่สำคัญ
- complicated = ที่ซับซ้อน
4. เลือกคำตอบ
ในที่สุดเราก็มาถึงขั้นตอนสุดท้ายกันแล้ว หลังจากที่เราได้วิเคราะห์ 3 อย่างสำคัญไปแล้ว ก็ถึงเวลาแล้วที่น้องๆ จะต้องเลือกคำตอบ โดยสิ่งที่สำคัญที่สุดที่ต้องคำนึงถึงก็คือเราจะเลือก Choice ที่มี ความหมายตรงกับคำว่า “nuanced” ในบริบทของ line ที่ 73 ซึ่งเราตีความกันไปว่าจะต้องเป็นคำที่มีความหมายตรงข้ามกับคำว่า simply (อย่างง่ายๆ) เพราะฉะนั้นคำตอบที่ถูกต้องสำหรับข้อนี้ก็คือ ข้อ 4) complicated หรือ ซับซ้อน นั่นเอง

สำหรับบทความนี้ พี่ก็ขอฝากเทคนิคการทำข้อสอบ SAT Reading ประเภท Vocabulary in Context ไปให้น้องๆประยุกต์ใช้ระหว่างเตรียมตัวสอบ SAT กันนะครับ แต่ใครยังไม่จุใจ อยากเรียนรู้เทคนิคในการทำ ข้อสอบ SAT Reading and Writing พร้อมทั้งมาตะลุยโจทย์ SAT Reading and Writing อีกหลายร้อยข้อเพื่อปิดจุดอ่อนและสร้างความมั่นใจก่อนสอบจริง ก็มาเจอกันในคอร์ส SAT Reading and Writing และ Advanced SAT Reading and Writing ซึ่งตอนนี้ทาง ignite มีรูปแบบการเรียนให้น้องเลือกมากมายทั้งคอร์สสด และ คอร์สเรียนออนไลน์ ในระบบ Anywhere ที่น้องจะเรียนที่ไหนก็ได้ทั้งสาขาและที่บ้าน เลือกเรียนได้ตามสะดวกเลยครับ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือสมัครเรียนได้ที่ Line @ignitebyondemand หรือ โทร 02-658-0023 , 091-5761475
ดูรายละเอียด คอร์ส SAT Reading and Writing เพิ่มเติมได้ทาง >> https://www.ignitebyondemand.com/our-courses/sat-reading-and-writing/
Related Blog & News
ข่าวสารและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง
-
Blog, GED
รวมคำถามยอดฮิต GED อยากสอบติดม.ดังต้องได้คะแนนเท่าไหร่ถึง SAFE!
สวัสดีค่าน้องๆ ตั้งแต่ ignite เริ่มให้คำแนะนำเรื่องการวางแผน เตรียมตัวสอบ GED ก็มีน้องๆ มีข้อสงสัยเกี่ยวกับการเตรียมตัวสอบข้อสอบตัวนี้หลายอย่างเลย ไม่ว่าจะเป็น GED ยื่นเข้ามหาวิทยาลัยไหน คณะไหนได้บ้าง? แล้วต้องมีคะแนน GED เท่าไรถึงจะ SAFE? วันนี้พี่หมิงเลยรวบรวมคำถามที่โดนถามบ่อยๆ พร้อมมาให้คำแนะนำดีๆ อย่างตรงไปตรงมา เพื่อให้น้องๆ เตรียมตัวสำหรับการสอบ GED ได้อย่างไม่พลาดเป้า แถมยังได้ Perfect score ด้วยนะคะ ไปดูกันเลยค่า! 1. อยากเข้าอินเตอร์ ม.ดัง คะแนน GED เท่าไหร่ถึง SAFE! คณะส่วนใหญ่ของกลุ่ม มหาวิทยาลัย จุฬาฯ – ธรรมศาสตร์อินเตอร์ จะตั้งเกณฑ์รับนักเรียน GED ตามเกณฑ์ที่ ทปอ. กำหนด นั่นก็คือ คะแนนรวม […]
Comments (0)
-
Blog, CU-ATS/CU-AAT, SAT Subject Tests
บทสัมภาษณ์ “ISE อันดับ 1 ปี 64” น้องวิน กรุงเทพคริสเตียน
สวัสดีครับวันนี้พี่แอดมินพา ignite idol ดีกรี “อันดับ 1 ISE CU ปีล่าสุด” อย่างน้องวินจากโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน มาแนะนำเคล็ดลับการเตรียมตัวสอบเข้าคณะวิศวะอินเตอร์ยอดฮิต ให้น้องๆ ว่าที่วิศวะทุกคนได้มีแนวทางการเตรียมตัวในการสอบเข้านะครับ พี่วินพร้อมมาเจอน้องๆแล้ว…พร้อมแล้วไปกันเลย Timeline เตรียมตัวสอบเข้า ISE CU จากน้องวิน อันดับ 1 ปีล่าสุด พี่เริ่มเตรียมตัวสอบเข้า ISE CU ตอนม.5 ครับ ถือว่าเป็นการเตรียมตัวที่ไม่ช้าไป ไม่เร็วไป แต่ในกรณีของพี่จะต้องเจอกิจกรรมของโรงเรียนที่เราได้ไปมีบทบาทสำคัญอย่างตอนม.5 ที่เป็นฝ่ายเขียนโค้ด แปรอักษรงานจตุรมิตรสามัคคี และม.6 ที่จัดงานวันเกิดให้กับทางโรงเรียน…กิจกรรมเหล่านี้ค่อนข้างกินเวลาชีวิตเราพอสมควร ทำให้พี่ต้องวางแผนจัดการเวลาในการเตรียมตัวสอบเข้า ISE CU ให้รอบคลอบมากที่สุด เริ่มจากม.5 พี่ได้สมัครคอร์ส Engineer pack ของ ignite ครับ ซึ่งเป็นคอร์สแพ็คสำหรับคนที่อยากสอบเข้าคณะวิศวะโดยเฉพาะ ตอนนั้นพี่สมัครสอบครั้งแรกในรอบ Nov โดยได้คะแนนสอบ SAT Subject tests ดังนี้ครับ วิชา Chemistry […]
Comments (0)
-
Blog
BJM คืออะไร? เรียนอะไรบ้าง? อยากสอบติดต้องทำอย่างไร?
สวัสดีน้องๆ สายศิลป์ทุกคนนะครับ พี่แอดมินพาคณะอินเตอร์ปังๆ มาแนะนำให้พวกเราได้รู้จักกันอีกแล้ว…วันนี้มาพบกับ BJM คณะอินเตอร์ยอดฮิตที่รับรองว่าตรงใจชาวสายศิลป์หลายคนแน่นอน ไม่พูดพร่ำทำเพลง เราไปทำความรู้จักกันว่า คณะ BJM คืออะไร? ในหลักสูตรเรียนอะไรบ้างกันเลยดีกว่า BJM คืออะไร? เรียนอะไร? BJM หรือ Bachelor of Arts Program in Journalism (Mass Media Studies) คือ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน สาขาวิชาสื่อ หลักสูตรนานาชาติ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ น้องๆ นิยมเรียกกันสั้นๆ ว่า คณะวารสารอินเตอร์หรือ BJM นั้นเอง สำหรับหลักสูตรนี้จะมีความคล้ายคลึงกับคณะนิเทศศาสตร์ที่พวกเราคุ้นเคยกันอยู่พอสมควรครับ แต่ที่ BJM จะเน้นเรียนครอบคลุมมากกว่า ไม่มีการเลือกสาขา เฉพาะเจาะจงแต่น้องจะได้เรียนครบเกี่ยวกับสื่อในทุกด้าน ตั้งแต่การผลิต ออกแบบ สร้างสรรค์ ภาพยนตร์ โฆษณา ประชาสัมพันธ์หรือวิทยุและโทรทัศน์ ไปจนถึงเรียนการบริหารการสื่อสาร ซึ่งรุ่นพี่แอบกระซิบมาว่าที่นี่เน้นเรียนปฏิบัติ น้องจะได้ศึกษาทั้งการเป็นเบื้องหน้าและเบื้องหลัง รับรอบว่ามาเรียน […]
Comments (0)
-
Blog, GED
ไขข้อสงสัย GED ยื่นเข้าภาคไทยได้ไหม?
สวัสดีค่ะน้องๆ พี่คิดว่าหลายคนที่เข้ามาอ่านใน Blog นี้คงจะทราบกันดีว่า GED คืออะไร แต่ยังมีอีกหลายคนสงสัยว่า GED สามารถยื่นเข้ามหาลัยในภาคไทยได้หรือไม่? หรือสามารถยื่นเข้าได้แค่คณะอินเตอร์ วันนี้พี่จะมาไขข้อสงสัยให้น้องๆ เอง ตามมาดูกันค่ะ !! รวมคณะภาคไทย ที่ใช้ GED ยื่นได้ พี่ขอ recap สั้นๆ ให้ฟังอีกครั้งสำหรับน้องๆ ที่ไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับ GED เลย GED เป็นวุฒิการศึกษาของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการของประเทศไทยได้รับรองวุฒิการศึกษานี้ให้เทียบเท่าได้กับวุฒิการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 ของประเทศไทย ซึ่งเสมือน เป็นใบเทียบวุฒิ ในการเข้ามหาลัยได้ ดังนั้นหมายความว่าหากน้องๆ สอบ GED ผ่านแล้ว สามารถนำวุฒิ GED ที่ได้นี้ไปยื่นเข้ามหาวิทยาลัยที่น้องต้องการได้เลย พี่ขอสรุปตรงนี้เลยว่า GED สามารถยื่นเข้าภาคไทยได้ นั่นหมายความว่า ถ้าน้องมีคะแนน GED อยู่ในมือแล้ว สามารถยื่นได้ทั้งภาคอินเตอร์และภาคไทยเลยค่ะ แต่โดยปกติ สำหรับน้องภาคไทยนั้นพี่ขอเน้นอีกจุดสำคัญคือ เวลาน้องอ่าน requirements ให้เช็คที่ประโยค “ม.6 หรือเทียบเท่า […]
Comments (0)
Comments