เทคนิคพิชิตข้อสอบ GED พาร์ทปราบเซียน

เทคนิค - ข้อสอบ - GED - Bigcover1

เทคนิคพิชิตข้อสอบ GED พาร์ทปราบเซียน

สวัสดีครับ สำหรับน้องๆ หลายคนที่กำลังเตรียมตัวสอบ GED คือ น้องๆ มักจะมีคำถามเข้ามาว่า ในบรรดาวิชาของ ข้อสอบ GED ทั้ง 4 วิชาประกอบไปด้วย

  1. Reasoning through Language Arts
  2. Social Studies
  3. Mathematics Reasoning
  4. Science

วิชาไหนที่ยากและท้าทายความสามารถมากที่สุด ซึ่งคำตอบก็คือ Reasoning through Language Arts หรือ RLA ครับผม วันนี้เราจะมาคุยกันว่าทำไมวิชานี้ ถึงทำคะแนนได้ยาก พร้อม Trick เทคนิค วิธีการที่จะทำให้น้องพิชิตข้อสอบ RLA ได้อย่างแน่นอน โดยเรามาทำความรู้จักกับข้อสอบ GED วิชา RLA กันก่อนครับ

เทคนิค - ข้อสอบ - GED - Bigcover2

สอบ GED 2014 ยากขึ้นอย่างไร ทำไมน้องๆส่วนใหญ่สอบ RLA ไม่ผ่าน?

จากประสบการณ์ที่ครู ignite สอนมา ตั้งแต่ GED 2002 จนเปลี่ยนเป็น GED 2014 นั้น ข้อสอบเวอร์ชั่นใหม่ ต่างไปจากข้อสอบเก่าอยู่มากพอสมควรครับ ข้อสอบ GED RLA ไม่ใช่แค่เพียงน้องอ่านภาษาอังกฤษพอได้ หรือเขียนเรียงความภาษาอังกฤษพอเป็น แต่ด้วยชื่อวิชาสอบว่า “Reasoning through Language Arts” ซึ่งก็คือ การให้เหตุผลผ่านศิลปะของการใช้ภาษา อื้อหือ ดูแค่ชื่อข้อสอบก็ยากแล้วนะครับเนี่ย

เพราะวิธีในการตั้งคำถามของ GED 2014 จะเน้นเรื่องการคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล (Critical Thinking) ทั้งในส่วนของบทอ่านและการเขียน (Extended Response) ซึ่งไม่ใช่ว่าแค่อ่านพอเข้าใจแล้วจะทำได้ เพราะโจทย์คำถาม อาจจะถามน้องๆ ไปถึง คุณลักษณะของตัวละครในบทอ่าน สไตล์ น้ำเสียงที่ผู้เขียนใช้ การเชื่อมโยงข้อมูลในบทอ่าน ไปสู่บริบทอื่นๆ ซึ่งข้อมูลพวกนี้ไม่สามารถหาคำตอบเจอในบทความได้ เพราะคำตอบต้องเกิดจากการคิดวิเคราะห์และเชื่อมโยงเอง อย่างมีเหตุผลของตัวน้องเองครับ

จุดเด่นอีกอย่างหนึ่ง คือ การบูรณาการเนื้อหาในรายวิชาอื่นๆของ GED เข้ามาในข้อสอบอ่านของวิชา RLA กล่าวคือ เนื้อเรื่องเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ บุคคลสำคัญของอเมริกา กฎหมาย และ วรรณกรรมของอเมริกา อาจจะปรากฎอยู่ในบทอ่านของข้อสอบ RLA ด้วย นั่นหมายความว่า ศัพท์กฎหมาย ศัพท์วิทยาศาสตร์ คำศัพท์สวยๆหรูๆ ใน Speech ต่างๆ ก็อาจจะมาด้วย จนน้องหลายคนมาบ่นว่าศัพท์ยากจังเลย แปลไม่ค่อยออกเลย

เท่านั้นยังไม่พอ ข้อสอบเขียนก็ต่างไปจากเดิมมาก เดิมการสอบเขียนของ GED 2002 เขาจะให้หัวข้อน้องมาแล้วให้น้องเขียนเรียงความโดยอ้างอิงข้อมูลต่างๆจากความคิดเห็นและประสบการณ์ของน้องเอง แต่สำหรับ GED 2014 น้องๆจะได้อ่านบทอ่านสองชิ้น (Writing prompt) อันหนึ่งสนับสนุนสถานการณ์ที่โจทย์กำหนดมา และอีกอันหนึ่งจะไม่สนับสนุนสถานการณ์ที่โจทย์กำหนด หน้าที่ของเรา คือ อ่านบทอ่านทั้งสองให้เข้าใจแล้วนำมาเขียนเป็นเรียงความเพื่อบอกว่า เราสนับสนุนเหตุและผลของผู้เขียนคนใดมากกว่ากัน เพราะอะไร แล้วทำไมเหตุผลของอีกคนจึงมีน้ำหนักน้อยกว่า โดยมีเวลาให้น้องทำงานเขียนชิ้นนี้ 45 นาที (รวมเวลาที่ใช้อ่าน Writing prompt แล้วนะครับ) จำนวนคำที่ทาง GED แนะนำ คือ 500-700 คำครับ แต่มีข้อห้าม คือ ห้ามนำความคิดเห็นของตนเองมาเขียน ทุกอย่างจะต้องมาจากข้อมูลที่ writing prompt ให้มาเท่านั้นครับ

จากที่เล่ามา GED RLA 2014 นับว่าเป็นข้อสอบภาษาอังกฤษรูปแบบใหม่ที่เน้นให้น้องๆ อ่านบทอ่านภาษาอังกฤษพร้อมกับคลังศัพท์ของศาสตร์ความรู้ต่างๆ ที่หลากหลาย ข้อสอบเน้นตั้งคำถามประเภทคิดวิเคราะห์เชื่อมโยง และการเขียนเรียงความแบบที่เด็กไทยไม่คุ้นเคย (evidence-based) โดยเน้นข้อมูลที่ข้อสอบให้มา มาเรียบเรียงเพื่อนำเสนออย่างมีเหตุและผล ดังนั้น คลังศัพท์ที่ยากขึ้น หลากหลายขึ้น และข้อสอบเขียนที่น้องๆ ไม่ค่อยคุ้นเคย อาจจะเป็นอุปสรรคที่ทำให้คะแนนสอบของน้องไม่สูงครับ

เทคนิค - ข้อสอบ - GED - Bigcover4

RLA แค่สอบให้ผ่านคงไม่พอ แต่จะสอบยังไงให้ได้คะแนนดี?

การทำข้อสอบให้ได้คะแนนดีนั้นสำคัญนะครับ ถึงแม้ว่าเกณฑ์ผ่านที่สามารถรับรองเป็นวุฒิได้ คือ 145/200 แต่การรับตรงของบางคณะ ของบางมหาวิทยาลัย ได้กำหนดคะแนนของวิชา GED RLA ไว้สูงกว่า 145 คะแนนด้วย เช่น ทุกคณะของ MUIC หากต้องการยื่นเข้าด้วยวุฒิ GED น้องๆ จะต้องมีคะแนนแต่ละวิชาไม่ต่ำกว่า 150 คะแนน หรือ BAS TU กำหนดคะแนนขั้นต่ำของ GED แต่ละวิชาไม่ต่ำกว่า 160 คะแนนครับ ดังนั้น พี่จะลองมาแชร์วิธีการพัฒนาทักษะการอ่าน ด้วยตนเองเพื่อช่วยให้น้องๆ สามารถอ่านบทอ่านใน GED RLA เข้าใจมากยิ่งขึ้นครับ

1. เวลาอ่านบทความอังกฤษ ให้น้องลองฝึกตั้งคำถามและตอบคำถามจากเรื่องที่อ่านไปด้วย ก็จะช่วยให้น้องสามารถเข้าใจเรื่องแบบลึกซึ้งมากยิ่งขึ้นครับ โดยคำถามในข้อสอบ GED RLA แบ่งตามระดับของ Depth Of Knowledge (DOK) ได้ 4 ระดับ คือ

  • DOK 1 = What is the knowledge? (Recall & Reproduction)

คำถามจะเกี่ยวกับข้อเท็จจริงทั่วไปที่ปรากฎในเรื่อง คือ ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่

คำถามสำหรับความลึกข้องข้อมูลระดับนี้ ได้แก่ Who? What? Where? When? How?

  • DOK 2 = How can the knowledge be used? (Basic Application of skills and applications)

คำถามเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้สถานการณ์ในเรื่อง ไปสู่สถานการณ์อื่นๆ

คำถามสำหรับความลึกข้องข้อมูลระดับนี้ ได้แก่ How does/did it happen? How does/did it work? How is/was it used?

  • DOK 3 = Why can the knowledge be used? (Strategic Thinking)

ทำไมความรู้ที่อ่านมาถึงสามารถนำไปใช้ได้

คำถามสำหรับความลึกข้องข้อมูลระดับนี้ ได้แก่ Why did it happen? How/Why can you use it? What is the effect?

  • DOK 4 = What else can be done with the knowledge?

ข้อมูลที่อ่านนำไปต่อยอดในเรื่องอื่นๆได้อย่างไร (การตอบคำถามนี้มักอยู่ในข้อสอบเขียน Extended Response)

คำถามสำหรับความลึกของข้อมูลระดับนี้ ได้แก่ What is the impact? What is the relationship? What can you create/ design/ develop?

2. ฝึกอ่านแบบ close reading

  • ฝึกอ่านเรื่องหลายๆรอบ รอบแรกอ่านเพื่อความเข้าใจทั่วๆไป รอบที่สองอ่านเพื่อสร้างความเข้าใจเชิงลึกเกี่ยวกับข้อมูลในบทอ่าน สำหรับเชื่อมโยง วิเคราะห์ ต่อยอดจากสิ่งที่โจทย์ถาม
  • ฝึกใช้ syntax clues ในบทอ่านให้เป็นประโยชน์

3. ในการฝึกอ่าน ให้น้องใช้ดินสอลากเส้นไปตามแนวบรรทัดที่อ่าน จะช่วยเพิ่มโฟกัสในการอ่านได้ดีขึ้น

4. ลองหาแหล่งรวมบทอ่านที่เป็นประโยชน์เพื่อฝึกเติมคลังศัพท์อยู่เสมอ ซึ่ง GED แนะนำเว็บไซต์ของ newsela.com ให้น้องๆเข้าไปฝึกอ่านกัน โดยเนื้อหาครอบคลุมเรื่องราวทุกแขนงทั้งในบริบทของโลก และประเทศอเมริกา

5. เพิ่มเติมคลังศัพท์ภาษาอังกฤษอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยส่งเสริมการอ่านเพื่อความเข้าใจให้กับน้องๆ ได้ครับ

6. เวลาอ่านเรื่องจบ ให้น้องลองฝึกเขียนสรุปเป็นภาษาอังกฤษ และพยายามใช้คำศัพท์ระดับทางการเวลาเขียน สิ่งนี้จะช่วยสนับสนุนการทำข้อสอบเขียน Extended Response ใน GED RLA ได้เยอะเลยทีเดียวครับ

เทคนิค - ข้อสอบ - GED - Bigcover5

FAQ คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ GED RLA?

Q: ต้องทำถูกกี่ข้อถึงสอบผ่าน 145 คะแนน?

A: ถึงแม้บทอ่านจะยาก และแนวข้อสอบแบบนี้เด็กไทยจะไม่คุ้นเคย แต่การสอบให้ผ่านนั้นไม่ยากเกินความสามารถน้องเลยครับ เพราะน้องๆ จะมีคะแนนตั้งต้นอยู่ที่ 100 คะแนน จากคะแนนเต็ม 200 และข้อสอบที่น้องจะเจอในส่วนของ Reading จะมีจำนวนข้ออยู่ที่ประมาณ 45-53 ข้อ พูดง่ายๆคือ ถ้าน้องตอบถูกเกินครึ่งหนึ่งของจำนวนข้อทั้งหมดที่มี และเขียนเรียงความ Extended Response ได้อย่างพอเข้าใจ แค่นี้การันตีว่าผ่านแน่นอนครับ

Q: ไม่ต้องทำข้อเขียนก็สามารถสอบผ่าน 145 คะแนนได้ จริงไหม?

A: จริงครับ เพราะ สัดส่วนในการคำนวนคะแนนมาจาก Reading 80% และ Extended Response 20% โดยประมาณ นั่นหมายความว่า ถ้าน้องๆ มั่นใจว่าตัวเองสามารถทำโจทย์การอ่านได้ดี ถ้าไม่เขียน Extended Response น้องๆ มีสิทธิผ่านได้ครับ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเวลาสอบจริง ข้อสอบส่วนเขียนเป็นข้อสอบส่วนสุดท้ายที่ในระบบจะให้เวลาน้องทำถึง 45 นาที พี่เห็นว่าอย่างน้อยให้น้องอ่านแล้วลองเขียนดูครับ แม้จะเขียนออกมาไม่สมบูรณ์แบบ พี่ก็เชื่อว่าจะเป็นส่วนที่ทำให้คะแนนของน้องเพิ่มขึ้นได้อย่างแน่นอน

Q: ใครเป็นผู้ตรวจการเขียน Extended Response ให้น้องๆ?

A: ผู้ตรวจการเขียน Extended Response คือ ระบบคอมพิวเตอร์ครับ โดยในระบบของการตรวจข้อสอบ GED จะรวบรวมตัวอย่างงานเขียนที่ดีไว้กว่าพันชิ้น แล้วใช้ระบบคอมพิวเตอร์ในการตรวจเทียบเคียงกับบทอ่านเหล่านั้นครับ

สุดท้าย พี่หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้น้องทุกคน เข้าใจรูปแบบข้อสอบ GED RLA มากขึ้น และคำแนะนำในการฝึกฝนเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านให้ตรงกับแนวข้อสอบ GED RLA จะเป็นประโยชน์กับน้องๆในการเตรียมตัวนะครับ

GED - miniclass - ignitebyondemand

รายละเอียดคอร์สเรียน GED – ignite by OnDemand

หากน้องคนไหนที่ต้องการตัวช่วยในการสอบ GED ทาง ignite ได้จัดคอร์ส GED ให้น้องๆ จัดสอนโดยครูที่ได้รับการอบรมจาก USA โดยตรง ด้วยหลักสูตรกระชับ เรียนไม่นาน การันตีการสอบผ่านด้วย Mock Exam ก่อนสอบจริง และในคอร์สเรียนใช้ตำราคุณภาพจากต่างประเทศ  ซึ่งจะทำให้ความรู้ที่ได้ ประยุกต์ใช้ได้จริงในการเรียนมหาวิทยาลัย สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดคอร์สเพิ่มเติมได้ที่ Line@ : @ignitebyondemand ได้เลยนะครับ
สมัครเรียนหรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

Related Blog & News

ข่าวสารและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง

Comments

Comment Write a comment...