คณะวิศวะ TEP-TEPE คืออะไร? เจาะลึกการเตรียมตัวที่เด็กวิศวะอินเตอร์ต้องรู้!

อีกหนึ่งคณะยอดฮิตของน้องสายวิทย์ นอกจากคณะแพทย์แล้ว ก็คงจะเป็นคณะไหนไปไม่ได้นอกจาก “วิศวกรรมศาสตร์” ซึ่งปัจจุบันก็มีเปิดในหลากหลายหลักสุูตร และหลากหลายรูปแบบให้น้องๆ ได้เลือกเรียนตามความชื่นชอบ วันนี้พี่เลยจะพาน้องๆ ไปรู้จักกับ คณะวิศวะอินเตอร์ของรั้วธรรมศาสตร์ อย่าง TEP-TEPE ซึ่งเป็นอีกหนึ่งคณะที่มาแรง ด้วยความโดดเด่นของหลักสูตร TEP ที่สามารถเลือกได้ว่าจะเรียนในไทย หรือไปเรียนกับมหาวิทยาลัยคู่สัญญาที่ต่างประเทศ
คณะ TEP-TEPE วิศวะอินเตอร์ ม.ธรรมศาสตร์ คืออะไร?

TEP-TEPE คือ คณะวิศวกรรมศาสตร์ หลักสูตรอินเตอร์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดย
1. หลักสูตร TEP (Twinning Engineering Programmes) จะเรียนที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ในช่วง 2 ปีแรก และใน ปี 3-4 จะสามารถเลือกไปเรียนต่อในมหาวิทยาลัยคู่สัญญาในต่างประเทศ ได้แก่
- University of Nottingham (สหราชอาณาจักร)
- University of New South Wales (ออสเตรเลีย)
- Katholieke Universiteit Leuven (เบลเยี่ยม)
เมื่อจบการศึกษาจะได้รับปริญญาตรี 2 ใบ คือจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 1 ใบและมหาวิทยาลัยต่างประเทศ 1 ใบ
2. หลักสูตร TEPE (Thammasat English Programme of Engineering) จัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ตลอดระยะเวลา 4 ปี พร้อมด้วยโอกาสในการรับทุนการศึกษา และการเดินทางไปศึกษาต่อที่ต่างประเทศ
สาขาวิชาของ TEP-TEPE ม.ธรรมศาสตร์ มีอะไรบ้าง?

สาขาวิชาของ TEP ปัจจุบัน ประกอบไปด้วย 4 สาขาวิชา คือ
- วิศวกรรมเคมี (Chemical Engineering)
- วิศวกรรมโยธา (Civil Engineering)
- วิศวกรรมเครื่องกล (Mechanical Engineering)
- วิศวกรรมไฟฟ้า (Electrical Engineering)
โดยมหาวิทยาลัยที่น้องๆ จะเลือกไปศึกษาต่อนั้น จะต้องมีสาขาที่เกี่ยวเนื่องกับสาขาที่น้องเลือกเรียนใน 2 ปีแรก มิเช่นนั้นอาจจะต้องใช้ระยะเวลาในการศึกษามากกว่า 4 ปี
ในส่วนของ TEPE ปัจจุบัน จะมีสาขาวิชาทั้งหมด ดังนี้
- วิศวกรรมไฟฟ้าและข้อมูล (Electrical and Data Engineering)
หลักสูตรครอบคลุมตั้งแต่การวิเคราะห์วงจรไฟฟ้า การเรียนรู้ระบบดิจิทัล Microprocessor การวิเคราะห์ข้อมูล และการเรียนรู้กลไกการทำงานของระบบ Hardware น้องๆ จะมีโอกาสได้เรียนรู้อย่างเจาะลึกเกี่ยวกับวิทยาการข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลจาก Big Data เพิ่มโอกาสในการแข่งขันกับตลาดแรงงาน
- วิศวกรรมโยธาและการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (Civil Engineering and Real Estate Development)
หลักสูตรนี้น้องๆ จะได้เรียนรู้ครอบคลุมตั้งแต่โครงสร้างพื้นฐานของสิ่งปลูกสร้าง ไปจนถึงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ โดยคณาจารย์ผู้มากประสบการณ์จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง ร่วมกับอาจารย์จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ อย่างเจาะลึกทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ
- วิศวกรรมเครื่องกลและการจัดการอุตสาหกรรม (Mechanical Engineering and Industrial Management)
หลักสูตรที่เรียนเจาะลึกตั้งแต่หลักกลศาสตร์ไปจนถึงการจัดการทางด้านอุตสาหกรรม โดยในปีที่ 4 น้องๆ จะสามารถเลือกรูปแบบการเก็บหน่วยกิตได้ว่าจะเป็นการเรียนแลกเปลี่ยน ทำโครงการวิจัย หรือฝึกงานเพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์การเรียนรู้กับอุตสาหกรรมชั้นนำ
- วิศวกรรมเคมีและการจัดการ (Chemical Engineering and Management)
เป็นสาขาวิชาที่รวมหลักการของวิศวกรรมเคมีและการจัดการเข้าด้วยกันเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการออกแบบ การพัฒนา และการทำงานของกระบวนการและระบบทางเคมี เรียนรู้ผ่านห้องปฏิบัติการที่ทันสมัย และการศึกษาจากกรณีศึกษาจริง เพื่อนำไปสู่การปรับใช้ได้ในอนาคต
ค่าเทอมของ TEP-TEPE วิศวะอินเตอร์ ม.ธรรมศาสตร์

สำหรับค่าเทอมของ TEP-TEPE คือเทอมละ 90,000 บาท
ค่าเทอมตลอดหลักสูตรของ TEP คือ
ค่าเทอมการศึกษาที่ไทย 2 ปี (5 เทอม) 450,000 บาท และค่าเทอมการศึกษาที่ต่างประเทศ ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามแต่ละมหาวิทยาลัย ดังนี้
- เรียนที่ University of Nottingham (สหราชอาณาจักร) GBP 39,750 (ตลอดหลักสูตร)
- เรียนที่ University of New South Wales (ออสเตรเลีย) AUD 99,920 – 124,900 (ตลอดหลักสูตร)
- เรียนที่ Katholieke Universiteit Leuven (เบลเยี่ยม) EUR 13,200 (ตลอดหลักสูตร)
ค่าเทอมตลอดหลักสูตรของ TEPE คือ 720,000 บาท
ตัวอย่าง Requirements คณะ TEP-TEPE ม.ธรรมศาสตร์

สำหรับคะแนนในการยื่นสอบเข้า TEP-TEPE ทางคณะเปิดให้ใช้คะแนนสอบที่หลากหลาย พี่ขอยกตัวอย่างเกณฑ์คะแนนของข้อสอบยอดฮิตที่น้องๆ นิยมใช้ยื่นมาให้ดูกันนะครับ
- คะแนนภาษาอังกฤษ *เลือกยื่นวิชาใดวิชาหนึ่ง
IELTS ≥ 6.0
TOEFL (PBT) ≥ 500
TOEFL (IBT) ≥ 61
TU-GET (PBT) ≥ 500
TU-GET (PBT) ≥ 61
- คะแนน Standardized Test *เลือกยื่นวิชาใดวิชาหนึ่ง
Digital SAT
- Math ≥ 620
- R&W ≥ 400
ACT Overall ≥ 21
- Math ≥ 620
- Science ≥ 400
A-Level
- Math ≥ B
- R&W ≥ B
GED
- Math ≥ 160
- Science ≥ 160
สำหรับเกณฑ์คะแนน ข้อมูลหลักสูตรการเรียนการสอน สามารถเข้าไปศึกษาเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์คณะ >> https://www.tep.engr.tu.ac.th/
นอกเหนือจาก TEP-TEPE ซึ่งเป็นคณะวิศวะอินเตอร์ของ ม.ธรรมศาสตร์ ก็มีอีกวิศวะอินเตอร์ยอดฮิตที่เปิดสอนหลักสูตรวิศวะอินเตอร์เป็นสถาบันแรกในประเทศไทย อย่าง SIIT (Sirindhorn International Institute of Technology) ของสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่น่าสนใจไม่แพ้กัน

สำหรับน้องๆ ที่อยากเรียนคณะวิศวะอินเตอร์ แต่ยังไม่มั่นใจว่าเริ่มต้นอย่างไร พี่แอดมินขอแนะนำ Engineering Buffet Pack แพ็กคอร์สเรียนที่ออกแบบมาเพื่อน้องวิศวะอินเตอร์โดยเฉพาะ สามารถวางแผน จัดสรรตารางเรียนได้ตามความต้องการ กับพี่ๆ Education Consult แบบส่วนตัวโดยไม่มีค่าใช้จ่าย ทักเข้ามาคุยกันได้ตลอดที่ Line: @ignitebyondemand และ โทร 091-5761475
หากต้องการเลือก Shop คอร์สเรียน Online สามารถเลือกช้อป!คอร์สเรียนด้วยตัวเองได้ที่
Related Blog & News
ข่าวสารและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง
-
Blog, Medical TCAS 1 (Portfolio)
รีวิวสอบเข้าแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รอบ Portfolio กับโอกาสในการเป็นหมอของชาวเหนือจากน้องฟร๊อก สาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
สำหรับใครที่สนใจเรียนคณะแพทย์ พี่มีข้อมูลดีๆ ของคณะแพทย์ จากอีกหนึ่งมหาวิทยาลัยคุณภาพมาฝากนั่นก็คือ……คณะแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ครับ !!! ซึ่งการสอบเข้า คณะแพทย์ มช. เนี่ย สามารถเลือกสอบเข้าได้หลายวิธีเลย แต่วันนี้พี่แอดมินขอพาน้องฟร๊อก รุ่นพี่ ignite ที่สอบติดแพทย์มช. ที่เลือกสอบเข้า ด้วยโครงการเรียนดีภาษาอังกฤษ ใน TCAS รอบ1 ปีล่าสุด มารีวิวการสอบเข้าเพื่อให้น้องๆ ใช้เป็นแนวทางการเตรียมตัวได้อย่างถูกต้องนะครับ…แต่ก่อนอื่นเรามาดู Requirement ของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โครงการนี้กันดีกว่าว่าต้องใช้อะไรในการยื่นบ้าง Requirements คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โครงการเรียนดีภาษาอังกฤษ คุณสมบัติของผู้สมัครและคะแนนที่ใช้ยื่น มีผลสอบความสามารถทางภาษาอังกฤษ– โรงเรียนไทย TOEFL (iBT) ≥ 79 หรือ IELTS ≥ 6.5– โรงเรียนนานาชาติ TOEFL (iBT) ≥ 100 หรือ IELTS (Academic) ≥ 7 […]
Comments (0)
-
Blog
ไขข้อสงสัย ความแตกต่างระหว่างหลักสูตร A-Level, IB, AP ในระบบการศึกษาแบบนานาชาติ
ในยุคที่โรงเรียนนานาชาติในไทยพากันผุดเป็นดอกเห็ด บรรดาผู้ปกครองและน้องๆ ก็อาจจะสับสนกับระบบและหลักสูตรต่างๆ ของ โรงเรียนนานาชาติในประเทศไทย ทำไมคนนั้นเรียน A-Level แล้ว ระบบ IB ละคืออะไร ทำไมบางโรงเรียนถึงเลือกได้ทั้งสองแบบ ในขณะที่บางโรงเรียนมีแค่ AP แล้วต้องสอบ SAT ด้วย ?? วันนี้พี่เอมี่และพี่แทนจะมาเล่าให้ฟังคร่าวๆ เกี่ยวกับความต่างของแต่ระบบวิชาในโรงเรียนกันค่ะ โดยหลักสูตรที่ popular ที่สุดในประเทศไทยคงจะหนีไม่พ้นหลักสูตรอังกฤษ ตามด้วยหลักสูตรอเมริกัน และ หลักสูตร IB ตามลำดับ ความแตกต่างระหว่างระบบการศึกษานานาชาติ หลักสูตรอังกฤษ – หลักสูตรอเมริกัน – หลักสูตร IB พอจะเห็นภาพความแตกต่างของระบบการศึกษาต่างๆ กันแล้วใช่ไหมคะ ทั้งนี้ทั้งนั้นผู้ปกครองที่กำลังเลือกโรงเรียนให้บุตรหลาน หรือน้องๆ ที่กำลังศึกษาอยู่ในระบบโรงเรียนนานาชาติต่างๆ ควรจะศึกษาหลักสูตรที่เหมาะกับความถนัดและความต้องการในการเรียนต่อในอนาคตมากที่สุดค่ะ […]
Comments (0)
-
Blog, SAT
รวมคำถามที่พบบ่อย การสมัครสอบ SAT ปี 2021
สวัสดีครับวันนี้พี่แอดมินพาพี่ภัทร์และพี่ข้าว #กูรูSAT มาเคลียร์ข้อสงสัยใน การสมัครสอบ SAT แบบใหม่ ที่จะใช้ตั้งแต่ปี 2021 เป็นต้นไป เพื่อไม่ให้น้องๆ กังวลในการสมัครสอบ พวกเราเลยขอรวบรวมคำถามและปัญหาที่พบบ่อยๆ ไว้ที่นี่ที่เดียวกันไปเลย…พร้อมแล้วไปดูคำถามแรกสุดฮิตที่เป็นปัญหาของน้องๆ หลายคนจากพี่ภัทร์ กันก่อนเลยว่าเราควรสมัครสอบ SAT ที่ไหนถึงจะไม่โดนยกเลิก สมัครสอบ SAT ที่ไหนถึงจะไม่โดนยกเลิก by พี่ภัทร์ รวมคำถามที่พบบ่อย ในการสมัครสอบ SAT ปี 2021 Q : วิธีเปลี่ยนสนามสอบ SAT หลังจากที่สมัครทุกอย่างไปเรียบร้อยแล้ว A : เข้าไปที่ my sat > my registration> เลือกรอบที่ต้องการจะเปลี่ยน > กด I would like to…. > change registration (แต่ตอนนี้เหมือนระบบการเปลี่ยนสนามสอบจะเกิดขัดข้อง น้องๆอาจต้องลอง […]
Comments (0)
-
Blog, Medical TCAS 1 (Portfolio)
เตรียมตัวอย่างไรให้พิชิต BMAT Biology โดย ครูเคนจิ
สวัสดีครับน้องๆ ว่าที่น้องหมอทุกๆ คน พี่เคนจิ สอนวิชา BMAT Biology ให้ครับ ignite by OnDemand อยากมาแชร์เทคนิคที่หลายๆคนสงสัยว่าจะ เตรียมตัวทำข้อสอบ BMAT Biology ยังไง? ให้ทำได้ครบ ทำได้ทัน และมั่นใจในทุกคำตอบ พี่เคนจิ ได้ไกด์แนวทางในการเตรียมตัวให้น้องๆ ไว้แล้วเริ่มอ่านกันได้เลย เทคนิคเตรียมตัวสอบ BMAT Biology โดยครูเคนจิ 1. ทำความเข้าใจ specification ทำความเข้าใจ specification ให้ดีว่าเราต้องรู้อะไรบ้าง เพราะสิ่งที่เราต้องรู้ในแต่ละปีอาจจะเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ ใช้ตัว specification เป็น checklist ดูว่าเรารู้ทุกอย่างครบถ้วนดีแล้วหรือยัง ข้อสอบจะชอบออกเนื้อหาใหม่ที่เพิ่งเพิ่มเข้าไป 2. ทำโจทย์ BMAT เยอะๆ ทำโจทย์เยอะ ๆ เพื่อให้คุ้นเคยกับแนวคำถาม เพราะโจทย์ทั้งยาวและชอบดักทางเรา โดยการใช้คำที่มักทำให้ความหมายของประโยคเปลี่ยนอย่างสิ้นเชิง อย่างเช่น only, could be กับ must […]
Comments (0)
Comments