การเขียน Reflection คือ?│ สำคัญอย่างไรกับแพทย์รอบพอร์ต

หากใครมีโอกาสได้อ่าน Blog เรื่องการเขียน SOP ที่พี่เคยบอกไว้ว่า “การเขียน SOP ก็เหมือนการเขียนไฮไลท์สำคัญที่ปกหลังของหนังสือ” ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อและไม่ซื้อหนังสือเล่มนั้นของใครหลายๆ คน แต่สำหรับ การเขียน Reflection นั้น พี่ขอนิยามว่าเป็นการปิดจบบทสรุปของเรื่องราวในหนังสือให้คนดูประทับใจก็แล้วกัน ในเมื่อเราตั้งใจทำทุกขั้นตอนมาเป็นอย่างดีแล้ว วันนี้เรามาเรียนรู้ การเขียน Reflection ให้ผู้อ่านประทับใจกัน
การเขียน Reflection คืออะไร?

ก่อนอื่นเราไปทำความรู้จักกันก่อนว่า การเขียน Reflection คือ อะไร? หากแปลตรงความหมาย Reflection คือ การสะท้อน หรือการครุ่นคิด ไตร่ตรอง ดังนั้นการเขียน Reflection จึงเป็นการเขียนเพื่อสะท้อนสิ่งที่เราได้เรียนรู้ สิ่งที่คิด สิ่งที่เกิดขึ้น รวมไปถึงผลลัพท์ของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เราได้ทำไป เป็นสิ่งที่จะช่วยให้ผู้อื่นเข้าใจว่าเรามีมุมมองหรือแนวคิดต่อสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างไร เป็นสิ่งที่ช่วยสะท้อนมุมมองและตัวตนของน้องๆ และที่สำคัญคือเป็นสิ่งที่คณะกรรมการอยากเห็นมากที่สุดจากน้องๆ ที่ยื่นสมัครเข้ารับการคัดเลือกรอบใน TCAS รอบ 1 หรือรอบ Portfolio
ควรเขียน Reflection เมื่อใด?

คำถามต่อมาที่น้องๆ มักถามต่อคือ แล้วเราควรเขียน Reflection ตอนไหน? ถ้าเอาตามหลักการเลย เราควรเขียน Reflection ทันทีหลังทำกิจกรรมนั้นๆ หรือหลังกิจกรรมนั้นเกิดขึ้นได้ไม่นาน เพราะจะเป็นช่วงเวลาที่เรายังสามารถจดจำความรู้สึกต่อเหตุการณ์นั้นได้ดีที่สุด พูดง่ายๆ ว่า “ยังอินอยู่” นั่นแหล่ะ
แต่ๆๆ พี่ก็เข้าใจว่า ในการทำพอร์ต มีพื้นที่ค่อนข้างจำกัดตามข้อกำหนดของแต่ละคณะ ดังนั้นเราจึงต้องเลือกเอากิจกรรมที่เราชื่นชอบมากที่สุด หรือภูมิใจมากที่สุดมาใส่ในพอร์ต ซึ่งนั่นแปลว่าอาจจะเป็นกิจกรรมที่เราทำมาแล้ว 2-3 ปี ทีนี้จะทำยังไงหล่ะพี่ เขียน Reflection ตอนนี้ยังทันไหม? “คำตอบคือ ทัน!! ก็ต้องทันแหล่ะ” แต่พี่อยากแนะนำให้น้องๆ ลองย้อนนึกถึงความรู้สึกในตอนนั้นขณะที่เราทำกิจกรรมนั้นสักนิด แล้วเอามาผสมรวมกับแพชชั่นที่เราอยากจะเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของคณะ สะท้อนเล่าสิ่งที่เราได้รับในมุมที่เกี่ยวข้อง หรือสามารถต่อยอดให้เกิดประโยชน์ในการศึกษาต่อ รวมไปถึงสายอาชีพของคณะที่เรายื่นพอร์ตได้เลย
ควรเขียน Reflection อย่างไร?

การเขียน Reflection ที่ดีพี่ว่าหลักๆ ควรอธิบายถึง 4 เรื่องนี้ให้ได้
- บริบทของผลงาน : กิจกรรมนั้นเกี่ยวข้องกับอะไร และมีวัตถุประสงค์อย่างไร?
- สิ่งที่คาดหวัง : ผลลัพท์ที่เราคาดการณ์ไว้ว่าจะเกิดขึ้นก่อนที่เราจะได้ลงมือทำสิ่งนั้น
- สิ่งที่ได้รับ : ได้เรียนรู้อะไรบ้างจากการลงมือทำ ได้รับผลลัพท์ตามที่คาดการณ์ไว้หรือไม่ อย่างไร?
- สิ่งนั้นช่วยพัฒนา หรือนำไปต่อยอดได้อย่างไร : อันนี้สำคัญมาก สะท้อนให้เห็นมุมมอง การคิดวิเคราะห์ของเรา แม้ว่าผลลัพท์จะเป็นไปตามคาด หรือไม่ก็ตาม ตรงนี้แหล่ะ ใส่ความเชื่อมโยงกับคณะที่เราจะยื่นพอร์ตเข้าไปให้เต็มที่! จัดเต็มได้ แต่ขอให้อยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริงนะจ๊ะ
** สำคัญมากๆ คือ เขียนให้กระชับ ตรงประเด็น สะท้อนตัวตน และความคิดของเราให้ชัดเจน **
สำหรับน้องๆ ที่วางแผนในการสมัคร TCAS รอบ 1 หรือรอบ Portfolio แล้วกำลังทำพอร์ตอยู่ พี่ก็ขอเป็นกำลังใจและหวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์กับน้องๆ ไม่มากก็น้อย 📍แต่สำหรับน้องๆ คนไหนที่อยากได้เทคนิคดีๆ ในการเล่าผลงานสุดภาคภูมิใจให้ปังที่สุดในพื้นที่เขียนที่มีจำกัด ❗️มาสร้างผลงานของตัวเองให้โดดเด่นและบอกเล่าเรื่องราวของเราให้ดีที่สุดได้กับคอร์ส Medical Portfolio
✒เจาะลึกการเขียน 𝐒𝐭𝐚𝐭𝐞𝐦𝐞𝐧𝐭 𝐨𝐟 𝐏𝐮𝐫𝐩𝐨𝐬𝐞
✒เทคนิค 𝐌𝐀𝐑 𝐌𝐨𝐝𝐞𝐥 ที่จะทำงานเขียนของน้อง 𝐈𝐦𝐩𝐚𝐜𝐭!
✒ลงมือเขียนจริงทั้ง 𝐒𝐎𝐏 และ 𝐑𝐞𝐟𝐥𝐞𝐜𝐭𝐢𝐨𝐧𝐬 ของตัวเอง
✒เขียนเสร็จแล้ว พี่ตรวจให้! รับการตรวจและให้คำแนะนำโดยผู้เชี่ยวชาญผ่านระบบ 𝐖𝐫𝐢𝐭𝐢𝐧𝐠 𝐜𝐞𝐧𝐭𝐫𝐞

คอร์สเรียนนี้บอกเลยว่าพี่ ignite by OnDemand ทุกคนตั้งใจออกแบบมาเพื่อน้องๆ โดยเฉพาะ มาพิชิตจุดตัดสำคัญของคณะแพทย์รอบพอร์ต ด้วยกันครับ สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Line : @ignitebyondemand หรือคลิก
ดูรายละเอียดคอร์สเรียนด้วยตัวเองเพิ่มเติมได้ที่
Related Blog & News
ข่าวสารและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง
-
Blog, SAT Subject Tests
เจาะลึก 5 ภาคของ ISE คณะวิศวะอินเตอร์ จุฬาฯ กับน้องโพนี่ รุ่นพี่ ignite
สำหรับว่าที่ วิศวะอินเตอร์หลายๆคน ที่อยากเรียน ISE (INTERNATIONAL SCHOOL OF ENGINEERING) หรือ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลักสูตรนานาชาติ เคยรู้มาก่อนมั้ยว่า 5 ภาค ในคณะที่เราสนใจ ต้องเรียนอะไรบ้าง แล้วแต่ละภาคมีความน่าสนใจยังไง!? วันนี้พี่แอดมินมีรุ่นพี่ ignite ที่ตอนนี้เป็นนิสิตปีหนึ่ง จากคณะ ISE จะมาเล่า Insight ภายในคณะให้น้องฟังกันครับ ถ้าพร้อมแล้ว เราไปดูกันเลย สวัสดีน้องๆ และทุกคนที่กดเข้ามาอ่านนะคะ ก่อนอื่นเลยพี่ขอแนะนำตัวก่อน พี่ชื่อ โพนี่ จบจากโรงเรียนนานาชาติเอกมัย (EIS) ตอนนี้เรียนอยู่ ISE ปีหนึ่ง ภาค ICE ค่ะ บทความนี้พี่ตั้งใจมาแชร์ Insight ของแต่ละ Major ใน ISE […]
Comments (0)
-
Blog, GED
เผยวิธีเตรียมสอบ GED ยังไง ให้ได้ 660+ จากครูหมิง GED Guru
สวัสดีค่ะ พี่หมิง GED Guru จาก ignite นะคะ ช่วงนี้มีน้องๆ ถามกันมาเยอะมากว่า ทำยังไงให้ได้คะแนน GED สูงกว่า 660 คะแนน เพื่อให้มีสิทธิ์ยื่นเรียนต่อมหาวิทยาลัยชื่อดัง ไม่ว่าจะเป็นจุฬาฯ, มธ., MUIC และอีกหลายๆ ที่ เดี๋ยววันนี้พี่หมิงจะมาแชร์วิธีการที่พี่ใช้โค้ชน้องๆ คลาส GED ให้พวกเขาได้คะแนนตามเป้าหมาย ก่อนอื่นพี่ขอแบ่งทักษะออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ Skillset และ Mindset Skillset – ทักษะที่ใช้ในการเตรียมตัวสอบ GED 1. รู้กติกาการสอบ GED อย่างละเอียด ข้อนี้สำคัญมากนะคะ พี่หมิงเจอน้องๆ หลายคนมากที่ไม่รู้ว่ากติกาของ GED (บางคนไม่รู้ว่า GED สอบได้ครั้งเดียว!) ไปสอบจริงแล้วคะแนนไม่ตามเป้า กว่าจะ rescore […]
Comments (0)
-
Blog, CU-ATS/CU-AAT
เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างข้อสอบ CU-AAT Math VS ACT Math
สวัสดีครับว่าที่น้องๆ ทีมวิทยา วิศวะอินเตอร์ หรือน้องทีมคณะสายศิลป์ อินเตอร์ หลายๆ คน คงสงสัยว่า หน้าตาข้อสอบของ CU-AAT Math และ ACT Math เป็นอย่างไร เหมือนหรือแตกต่างกันตรงจุดไหนบ้าง และเราควรจะเลือกสอบตัวไหนดี วันนี้พี่ภัทร์มา เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างข้อสอบ CU-AAT MATH และ ACT Math จับทั้งสองข้อสอบมาเปรียบเทียบกันในทุกแง่มุม เพื่อเป็นอีกแนวทางในการช่วยน้องๆ ตัดสินใจครับ ทำความรู้จักข้อสอบ CU-AAT Math VS ACT Math เมื่อเรารู้จักข้อสอบ CU-AAT และ ข้อสอบ ACT TEST กันแล้ว.. ก็มาดูกันว่าเมื่อมีคะแนน CU-AAT Math และ ACT Math สามารถยื่นเข้าคณะไหน มหาลัยไหนได้บ้าง คะแนน […]
Comments (0)
-
Blog, SAT, IELTS
ทำความรู้จักกับคณะสายศิลป์ สุดชิค! BCM CU (คณะนิเทศศาสตร์ หลักสูตรนานาชาติ)
สวัสดีน้องๆ ที่อยากเข้า ‘คณะนิเทศศาสตร์ อินเตอร์ จุฬา’ ทุกคนนะครับ วันนี้พี่ๆ ignite ได้รวบรวมข้อมูลหลักสูตรสำคัญเกี่ยวกับคณะสุดชิค! อย่าง คณะ BCM คืออะไร เรียนอะไร กันมาฝาก โดยพี่ๆ ได้เลือกตัวอย่างจาก คณะ BCM CU หรือคณะเดียวกับชื่อที่น้องๆคุ้นเคยกันว่า CommArts มาก่อน เพื่อเป็นแนวทางและเกณฑ์ที่ใช้ในการเตรียมตัวในการเข้าคณะนี้กัน พี่ๆ จะมาอธิบายทั้งความแตกต่างจากคณะนิเทศศาสตร์ภาคไทย และเจาะลึกข้อมูลหลักสูตรการเรียนในมหาวิทยาลัยเพื่อให้น้องๆ ได้เข้าใจตรงกันนะครับ ถ้าพร้อมแล้วเรามาเริ่มกันเลย ! เจาะลึกคณะ BCM CU คือ? เรียนอะไรบ้าง? คณะ BCM หรือ Bachelor of Arts in Communication Management คือ คณะนิเทศศาสตร์ หลักสูตรนานาชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือเดิมที่น้องๆชอบเรียกกันว่า […]
Comments (0)
Comments