การเขียน Reflection คือ?│ สำคัญอย่างไรกับแพทย์รอบพอร์ต

หากใครมีโอกาสได้อ่าน Blog เรื่องการเขียน SOP ที่พี่เคยบอกไว้ว่า “การเขียน SOP ก็เหมือนการเขียนไฮไลท์สำคัญที่ปกหลังของหนังสือ” ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อและไม่ซื้อหนังสือเล่มนั้นของใครหลายๆ คน แต่สำหรับ การเขียน Reflection นั้น พี่ขอนิยามว่าเป็นการปิดจบบทสรุปของเรื่องราวในหนังสือให้คนดูประทับใจก็แล้วกัน ในเมื่อเราตั้งใจทำทุกขั้นตอนมาเป็นอย่างดีแล้ว วันนี้เรามาเรียนรู้ การเขียน Reflection ให้ผู้อ่านประทับใจกัน
การเขียน Reflection คืออะไร?

ก่อนอื่นเราไปทำความรู้จักกันก่อนว่า การเขียน Reflection คือ อะไร? หากแปลตรงความหมาย Reflection คือ การสะท้อน หรือการครุ่นคิด ไตร่ตรอง ดังนั้นการเขียน Reflection จึงเป็นการเขียนเพื่อสะท้อนสิ่งที่เราได้เรียนรู้ สิ่งที่คิด สิ่งที่เกิดขึ้น รวมไปถึงผลลัพท์ของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เราได้ทำไป เป็นสิ่งที่จะช่วยให้ผู้อื่นเข้าใจว่าเรามีมุมมองหรือแนวคิดต่อสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างไร เป็นสิ่งที่ช่วยสะท้อนมุมมองและตัวตนของน้องๆ และที่สำคัญคือเป็นสิ่งที่คณะกรรมการอยากเห็นมากที่สุดจากน้องๆ ที่ยื่นสมัครเข้ารับการคัดเลือกรอบใน TCAS รอบ 1 หรือรอบ Portfolio
ควรเขียน Reflection เมื่อใด?

คำถามต่อมาที่น้องๆ มักถามต่อคือ แล้วเราควรเขียน Reflection ตอนไหน? ถ้าเอาตามหลักการเลย เราควรเขียน Reflection ทันทีหลังทำกิจกรรมนั้นๆ หรือหลังกิจกรรมนั้นเกิดขึ้นได้ไม่นาน เพราะจะเป็นช่วงเวลาที่เรายังสามารถจดจำความรู้สึกต่อเหตุการณ์นั้นได้ดีที่สุด พูดง่ายๆ ว่า “ยังอินอยู่” นั่นแหล่ะ
แต่ๆๆ พี่ก็เข้าใจว่า ในการทำพอร์ต มีพื้นที่ค่อนข้างจำกัดตามข้อกำหนดของแต่ละคณะ ดังนั้นเราจึงต้องเลือกเอากิจกรรมที่เราชื่นชอบมากที่สุด หรือภูมิใจมากที่สุดมาใส่ในพอร์ต ซึ่งนั่นแปลว่าอาจจะเป็นกิจกรรมที่เราทำมาแล้ว 2-3 ปี ทีนี้จะทำยังไงหล่ะพี่ เขียน Reflection ตอนนี้ยังทันไหม? “คำตอบคือ ทัน!! ก็ต้องทันแหล่ะ” แต่พี่อยากแนะนำให้น้องๆ ลองย้อนนึกถึงความรู้สึกในตอนนั้นขณะที่เราทำกิจกรรมนั้นสักนิด แล้วเอามาผสมรวมกับแพชชั่นที่เราอยากจะเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของคณะ สะท้อนเล่าสิ่งที่เราได้รับในมุมที่เกี่ยวข้อง หรือสามารถต่อยอดให้เกิดประโยชน์ในการศึกษาต่อ รวมไปถึงสายอาชีพของคณะที่เรายื่นพอร์ตได้เลย
ควรเขียน Reflection อย่างไร?

การเขียน Reflection ที่ดีพี่ว่าหลักๆ ควรอธิบายถึง 4 เรื่องนี้ให้ได้
- บริบทของผลงาน : กิจกรรมนั้นเกี่ยวข้องกับอะไร และมีวัตถุประสงค์อย่างไร?
- สิ่งที่คาดหวัง : ผลลัพท์ที่เราคาดการณ์ไว้ว่าจะเกิดขึ้นก่อนที่เราจะได้ลงมือทำสิ่งนั้น
- สิ่งที่ได้รับ : ได้เรียนรู้อะไรบ้างจากการลงมือทำ ได้รับผลลัพท์ตามที่คาดการณ์ไว้หรือไม่ อย่างไร?
- สิ่งนั้นช่วยพัฒนา หรือนำไปต่อยอดได้อย่างไร : อันนี้สำคัญมาก สะท้อนให้เห็นมุมมอง การคิดวิเคราะห์ของเรา แม้ว่าผลลัพท์จะเป็นไปตามคาด หรือไม่ก็ตาม ตรงนี้แหล่ะ ใส่ความเชื่อมโยงกับคณะที่เราจะยื่นพอร์ตเข้าไปให้เต็มที่! จัดเต็มได้ แต่ขอให้อยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริงนะจ๊ะ
** สำคัญมากๆ คือ เขียนให้กระชับ ตรงประเด็น สะท้อนตัวตน และความคิดของเราให้ชัดเจน **
สำหรับน้องๆ ที่วางแผนในการสมัคร TCAS รอบ 1 หรือรอบ Portfolio แล้วกำลังทำพอร์ตอยู่ พี่ก็ขอเป็นกำลังใจและหวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์กับน้องๆ ไม่มากก็น้อย 📍แต่สำหรับน้องๆ คนไหนที่อยากได้เทคนิคดีๆ ในการเล่าผลงานสุดภาคภูมิใจให้ปังที่สุดในพื้นที่เขียนที่มีจำกัด ❗️มาสร้างผลงานของตัวเองให้โดดเด่นและบอกเล่าเรื่องราวของเราให้ดีที่สุดได้กับคอร์ส Medical Portfolio
✒เจาะลึกการเขียน 𝐒𝐭𝐚𝐭𝐞𝐦𝐞𝐧𝐭 𝐨𝐟 𝐏𝐮𝐫𝐩𝐨𝐬𝐞
✒เทคนิค 𝐌𝐀𝐑 𝐌𝐨𝐝𝐞𝐥 ที่จะทำงานเขียนของน้อง 𝐈𝐦𝐩𝐚𝐜𝐭!
✒ลงมือเขียนจริงทั้ง 𝐒𝐎𝐏 และ 𝐑𝐞𝐟𝐥𝐞𝐜𝐭𝐢𝐨𝐧𝐬 ของตัวเอง
✒เขียนเสร็จแล้ว พี่ตรวจให้! รับการตรวจและให้คำแนะนำโดยผู้เชี่ยวชาญผ่านระบบ 𝐖𝐫𝐢𝐭𝐢𝐧𝐠 𝐜𝐞𝐧𝐭𝐫𝐞

คอร์สเรียนนี้บอกเลยว่าพี่ ignite by OnDemand ทุกคนตั้งใจออกแบบมาเพื่อน้องๆ โดยเฉพาะ มาพิชิตจุดตัดสำคัญของคณะแพทย์รอบพอร์ต ด้วยกันครับ สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Line : @ignitebyondemand หรือคลิก
ดูรายละเอียดคอร์สเรียนด้วยตัวเองเพิ่มเติมได้ที่
Related Blog & News
ข่าวสารและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง
-
Blog, Medical TCAS 1 (Portfolio)
ถอดรหัสข้อสอบ BMAT ตาม Specification 2021
สวัสดีครับว่าที่น้องหมอทุกๆ คน สำหรับปีนี้ทาง Cambridge Assessment ได้ประกาศอัพเดท BMAT Specification ปี 2021 มาแล้ว ทางทีมครู ignite ไม่รอช้า ขอมาเล่าสรุปให้น้องๆ ฟังกันครับว่าเป็นอย่างไรบ้าง อย่างไรก็ตาม แอบบอกข่าวดีกับน้องๆ ก่อนครับว่าปีนี้โครงสร้างและหัวข้อที่ออกสอบใน BMAT โดยส่วนใหญ่จะคล้ายคลึงกับ BMAT Specification ปีที่แล้วเลยครับผม และไม่ต้องกังวลไปเลยครับ สำหรับในส่วนที่ต่าง ทางคุณครู ignite ก็จะอัพเดทในคอร์สเรียนของปีนี้ด้วยครับ ทำความรู้จักโครงสร้างข้อสอบ BMAT ก่อนอื่น เรามาทบทวนโครงสร้างข้อสอบ BMAT กันอีกครั้งครับ ข้อสอบ BMAT ยังคงมีทั้งหมด 3 ส่วนใหญ่ๆ ได้แก่ 1. Thinking Skills, 2. Scientific Knowledge and Applications, และ 3. Writing Task โดยแต่ละส่วนจะประเมินผู้เข้าสอบดังนี้ Thinking […]
Comments (0)
-
Blog, Medical TCAS 1 (Portfolio)
AKAT คือ? ทำความรู้จักข้อสอบยื่นแพทย์รอบพอร์ต SWU-NOTT
ข้อสอบน้องใหม่ล่าสุดที่ถูกประกาศนำมาใช้ทดแทนข้อสอบ BMAT อย่างเป็นทางการนั่นก็คือ ข้อสอบ AKAT ที่ทางคณะแพทย์ SWU-NOTT และทันตะ มศว จะนำมาใช้เป็นเกณฑ์ในการคัดเลือกน้องๆ รอบพอร์ต TCAS68 AKAT คือ อะไร? สอบเมื่อไหร่? ควรเตรียมตัวอย่างไร? ไปทำความรู้จัก AKAT ให้มากขึ้นกัน AKAT คือ อะไร? ข้อสอบ AKAT หรือ Aptitude&Knowledge Admisson Test คือ ข้อสอบวัดความถนัดทางการเรียน ซึ่งจัดสอบโดย สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มศว เป็นข้อสอบสำหรับผู้ที่ต้องการเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรนานาชาติของ มศว เช่น คณะแพทย์ โครงการร่วมกับมหาวิทยาลัยนอตติงแฮม (SWU-NOTT), คณะทันตะ และหลักสูตรอินเตอร์อื่น ๆ ใน มศว ข้อสอบ AKAT วัดอะไรบ้าง หากดูจาก Blueprint ของข้อสอบ AKAT ที่ประกาศออกมา คงต้องบอกว่าโครงสร้างของข้อสอบมีความคล้ายคลึงกับ BMAT อย่างมาก เรียกได้ว่าเป็นข้อสอบที่ออกแบบมาเพื่อทดแทน […]
Comments (0)
-
SAT Math, Blog, SAT
รีวิวข้อสอบ SAT March 2020 รู้ให้ชัด ก่อนไปฟัด SAT รอบปลายปี!
สวัสดีครับน้องๆ ทุกคนที่มีกำลังเตรียมตัวจะสอบ SAT ในรอบที่เหลือของปี 2020 ในบทความนี้พี่ภัทร์จะมารีวิวภาพรวม, แนวโจทย์ ที่เพิ่งออกสอบ SAT Math รอบ March 2020 ซึ่งเป็น SAT รอบเดียวของปีนี้ที่เพิ่งได้จัดการสอบ แม้ศูนย์สอบส่วนใหญ่จะโดนยกเลิก และ น้องๆ ส่วนใหญ่ก็อดสอบ แต่ไม่ต้องห่วงครับวันนี้พี่ภัทร์จะมาสรุป และ รีวิวข้อสอบ SAT March 2020 ให้ดูกันชัดๆ ว่า SAT รอบล่าสุดนี้แนวโจทย์เป็นอย่างไร และ เก็งเทรนด์คำถามยอดฮิตที่จะออกสอบ SAT ในรอบถัดไปแน่นอน รับรองว่าน้อง ignite ต้องสามารถพิชิตข้อสอบ SAT ในรอบที่เหลือทุกรอบได้แน่นอนครับ พร้อมแล้วมาดูกันเลย! Test Center ที่ไม่ยกเลิกสอบรอบ March 2020 ก่อนอื่นเราไปดูข้อมูลศูนย์สอบที่ไม่ยกเลิกสอบในรอบ March […]
Comments (0)
-
Blog, CU-ATS/CU-AAT
CU-ATS คืออะไร? รู้จัก CU-ATS โอกาสสำคัญในการสอบติดคณะอินเตอร์ยอดฮิต
สวัสดีทุกคนนะครับ วันนี้พี่แอดมินนำข้อมูลดีๆ เกี่ยวกับข้อสอบ CU-ATS ซึ่งเป็นข้อสอบที่ช่วงนี้กำลังเป็นกระแสและน้องๆ กำลังค้นหาข้อมูลว่ามันคืออะไรกันแน่ พี่แอดมินเลยขอพาทุกคนไปทำความรู้จักว่าข้อสอบ “CU-ATS คืออะไร” พร้อมตอบทุกข้อสงสัยตั้งแต่เนื้อหาข้อสอบเป็นอย่างไร ใช้ยื่นคณะไหนได้บ้าง ค่าสมัครสอบและตารางสอบ อย่ารอช้า…พร้อมแล้วไปอ่านกันเลย !! ข้อสอบ CU-ATS คือ ข้อสอบ CU-ATS (Chulalongkorn University Aptitude Test for Science) คือ ข้อสอบที่ใช้วัดความถนัดทางวิทยาศาสตร์เพื่อใช้ในการพิจารณาผู้ยื่นเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรี ของหลักสูตรนานาชาติ จุฬาฯ โดยลักษณะข้อสอบคล้ายกับข้อสอบ SAT Subject Tests แต่ความยากของเนื้อหาจะแตกต่างกันออกไป คณะที่สามารถใช้คะแนน CU-ATS เพื่อยื่นพิจารณาศึกษาต่อ คือ ISE คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (อินเตอร์) BSAC คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาเคมีประยุกต์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (อินเตอร์) ข้อควรรู้เกี่ยวกับการสอบ CU-ATS ข้อสอบ CU-ATS คะแนนรวม 1,600 คะแนน ประกอบด้วย 2 วิชา […]
Comments (0)
Comments