รวมโจทย์เด็ด CU-ATS ที่ออกสอบบ่อย│Update รอบล่าสุด Jan 2023

พี่ก๊อฟและพี่อิ้งค์ กูรู CU-ATS จาก ignite พามาดูโจทย์เด็ดข้อสอบ CU-ATS ที่ออกสอบบ่อย Update รอบล่าสุด Jan 2023 ที่รวบรวมโจทย์เด็ดมาทั้ง Chemistry และ Physics บอกเลยน้อง ๆ คนไหนกำลังเตรียมตัวสอบ CU-ATS อยู่ไม่ควรพลาด.. สอบรอบหน้ามั่นใจขึ้นแน่นอน!
ข้อสอบ CU-ATS Chemistry บทเด็ดที่ออกสอบบ่อย

สำหรับตัวอย่างแรก จะเป็นบท Chemical bonding หรือ บทพันธะเคมี เดิมทีตัวบทนี้จะเป็นบทที่มี detail ค่อนข้างเยอะอยู่แล้ว แต่ความดีงามของบทนี้ก็คือว่ามันจะเป็นบทเป็นพื้นฐานไปต่อยอดในบทอื่น ๆ ได้ เช่น Solids, liquids and gases หรือ Organic chemistry ซึ่งในการสอบ 5 รอบติดกันที่ผ่านของสนาม CU-ATS ในวิชาเคมีนั้น หัวข้อนี้ออกแบบสนั่นหวั่นไหว ขนาดที่ว่า ถ้าคิดเป็นพื้นที่ในการออกข้อสอบ จะอยู่ที่ประมาณ 1 ใน 5 ของจำนวนข้อสอบทั้งหมด พูดเลยว่า ถ้าลืมอ่านบทนี้ หรือเท หรือข้ามบทนี้มี อาจจะเกิดการสั่นคลอนของคะแนนขึ้นมาทันที เราลองมาดูตัวอย่างโจทย์กันดีกว่า

พูดกันตามตรงว่าข้อนี้เหมือนเอาคะแนนมาเสิร์ฟถึงโต๊ะสอบ เพราะว่าโจทย์แนวแบบนี้จะเป็นแนวโจทย์ถามปุ๊บตอบปั๊บ ใช้คำว่าวิ่งใส่แทบไม่ทัน ถ้าเราเข้าใจทฤษฎีสมบัติของพันธะโลหะของโลหะทองแดงและพันธะไออนิกของสารประกอบแคลเซียมคลอไรด์ จะเข้าใจได้ว่าทั้งสองสารจะมีสิ่งที่ร่วมกันนั้นก็คือ มีจุดเดือดจุดหลอมเหลวที่ค่อนข้างสูงเกินกว่า 1,500 °C ทั้งคู่ โดยทองแดงจะอยู่ที่ 2,562 °C และ สารประกอบแคลเซียมคลอไรด์จะอยู่ที่ 1,935 °C เลยทำให้คำตอบข้อนี้ไปลงเอยอยู่ที่ Choice 1) นั้นเอง ส่วน Choice อื่น จะเป็นสมบัติของแค่สารใดสารหนึ่งแค่นั้นเอง

สำหรับตัวอย่างถัด จะเป็นบท Solids Liquids and Gases หรือ บทของแข็ง ของเหลว แก๊ส จะเป็นบทกึ่งคำนวณ กึ่งทฤษฎี โดยจะอาศัยพื้นฐานจากบท Stoichiometry กับ บท Chemical bonding มาผสม ๆ กัน เลยทำให้บทนี้แสดงตัวออกมาทุกรอบของการสอบ เราลองมาดูตัวอย่างโจทย์กันเลยดีกว่า

จากตัวคำถาม เราจะเห็นว่าจะเป็นหัวข้อ Gases เกี่ยวกับเรื่องของอัตราการแพร่ของแก๊ส ซึ่งตัวทฤษฎีตามหลักของ Graham จะกล่าวไว้ว่า แก๊สที่แพร่เร็วกว่าจะเป็นแก๊สที่มีน้ำหนักเบากว่า ทำให้เราสามารถตีความออกมาเป็นสูตรสำเร็จในการคำนวนได้แบบนี้

โดยที่ MW หมายถึง molecular weight (มวลโมเลกุล)เมื่อทำการแทนข้อมูลที่โจทย์ให้มาก็จะได้แบบนี้ครับ

ดังนั้น the unknown gas ที่โจทย์พูดถึง ก็จะตกไปอยู่ที่ แก๊สคลอรีน (Cl2) ที่มีมวลโมเลกุลเท่ากับ 71 นั้นเอง คำตอบข้อนี้จึงไปตกอยู่ที่ Choice 2) จะเห็นได้ว่าข้อนี้จะเป็นแนวคำนวณของหัวข้อแก๊สในบทนี้ที่ไม่ยากจนเกินไปจ้า ต้องรีบคว้าเอาไว้ให้ไวเลย
แต่ถ้าจะพูดถึงตำนานที่ยังมีลมหายใจ ที่สามารถทำให้คนสอบนั้นหยุดหายใจได้เลย อาจจะต้องตกมาอยู่ที่บทนี้เลย ก็คือ Acids and Bases ไม่พูดถึงไม่ได้จริง ๆ เพราะว่ายืนหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาก สำหรับบทนี้ เพราะเป็นบทที่มีทั้งทฤษฎีและคำนวนผสมกัน อีกทั้งยังจะต้องใช้ตัวบทหลาย ๆ บทมาประยุกต์รวมกันเป็น ข้อเดียวด้วย จะเป็นยังไง ไปดูตัวอย่างโจทย์กัน

มีคนเคนกล่าวว่าโจทย์ที่สั้นมักจะแสดงวิธีทำยาวเสมอ ซึ่งข้อนี้เกือบจะเข้าข่ายได้เลยนะ แต่ถ้าเรามีวิธีการที่รวบรัดตัดตอนเราจะรู้ว่า ข้อนี้จะเป็นพาร์ทคำนวณของบทนี้ โดยที่ข้อนี้จะประยุกต์ สองบทเข้าด้วยกันคือ Solution และ Acid and Bases เพื่อที่จะต้องให้ทำข้อสอบทันเวลา ข้อนี้เราจึงจะต้องพึ่งพาสูตรนี้ในการคำนวนน้า


เมื่อสูตรทั้งหมดเพียบพร้อม ก็แทนค่าทั้งหมดลงไปได้เลย ตามสมการด้านล่างจ้า

จะเห็นได้ว่ามีสองเรื่องที่ใช้ คือการหาความเข้มข้นในหน่วย molarity จากบท Solution และ จากตัวบทนี้เองที่คำนวนหา pH แม้ว่าจะมีความซับซ้อนของทฤษฎี แต่จะเห็นความใจของตัวเลขที่โจทย์ให้คำนวนอยู่ครับ เลยทำให้คำตอบข้อนี้ไปลงเอยอยู่ที่ Choice 3) ครับ
มาถึงอีกบทนึงที่ออกเยอะพอสำควร เห็นผ่านตากันบ่อย ๆ ก็คือ บท Electrochemistry ช็อตฟีลสมชื่อบทไฟฟ้า ชื่อบทที่มีความฟิสิกส์แต่ตามด้วยคำว่า chemistry เลยทำให้มีความแตกต่างกันอยู่ บทนี้จะคล้าย ๆ กรดเบส ตรงที่ว่ามีความลูกผสมของทฤษฎีและคำนวณไปพร้อม ๆ กัน ซึ่งต้องใช้ทฤษฎีครึ่งนึงของบทเข้าช่วยการคำนวณ ถึงจะสามารถทำบทนี้ได้ ลองดูมาตัวอย่างโจทย์กัน

ดุดัน ไม่เกรงใจใครของแท้ต้องให้ข้อนี้จริง ๆ เพราะว่าถ้าเข้าใจทฤษฎีจะลุยคำนวณต่อได้ ถ้าช็อตขึ้นมาตอนทำอาจจะทำให้พลาดเลยก็ได้ สำหรับข้อนี้นั้นจะต้อง เข้าใจสูตรการหา the cell potential at standard state conditions หรือ ของปฏิกิริยา redox ก่อน ดูจากด้านล่างได้เลย

จากนั้นเราจะต้องเข้าใจสถานการณ์ว่าโจทย์ต้องการจุ่มแท่งโครเมียมลงไปในสารละลาย cobalt(II) nitrate ที่มี Co2+ ดังนั้นรูปสถาการณ์จะเป็นแบบนี้

จะเห็นได้ว่าตัวปฏิกิริยานี้เกิดขึ้นเองได้แปลว่า แท่งโครเมียมยอมจ่ายอิเล็กตรอนให้กับ Co2+ เลยทำให้สรุปใจความได้ว่าแท่งโครเมียมเกิดปฏิกิริยา oxidation และ Co2+ ในสารละลาย cobalt(II) nitrate เกิดปฏิกิริยา reduction
Oxidation reaction: Cr3+(aq) + 3e– → Cr(s) Eo = -0.74 V
Reduction reaction: Co2+(aq) + 2e– → Co(s) Eo = -0.28 V
และเมื่อทำการแทน ค่า E0 ลงไปในสมการ the cell potential at standard state conditions ก็จะได้ค่าศักย์ไฟฟ้าตามนี้
E0cell = -0.74 – (-0.28)
E0cell = +0.46 V
มาถึงตัวอย่างสุดท้าย แม้ว่าเราเหนื่อยกับคำนวณอย่างบ้าคลั่งก็ตาม แต่สำหรับใครที่เป็นชาวคลั่งไคล้บทที่เป็นทฤษฎี ก็จะต้องประทับใจกับบทนี้แน่นอน นั้นก็คือ Organic chemistry พูดถึงชื่อบทแล้วจะต้องอุทานว่า “ตัวแม่จะแคร์เพื่อ” เพราะด้วยความทฤฎษีที่เยอะ ใคร ๆ ที่พูดถึงบทนี้ก็จะบอกว่าจำเยอะมากแม่บทนี้ ไม่ไหว อยากเท แต่ช้าก่อน เพราะว่าจริง ๆ แล้วตัวบทนี้ค่อนข้างออกง่ายพอสมควร และออกแนวเดิม ๆ ทำให้รู้สึกว่าไม่ควรเสียเวลาเท ถ้าตั้งใจจะสามารถ keep คะแนนไว้ได้แน่นอน ลองมาดูตัวอย่างโจทย์กัน


จะเห็นว่าไม่ยากอย่างที่คิด และที่เป็นยาว ๆ นั้น ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับคำถามเลย ซึ่ง pattern นี้สามารถออกกับทุก chapter ที่ทำให้ผู้สอบเสียเวลากับการอ่านไปโดยเปล่าประโยชน์ เป็นผลทำให้ข้อนี้ตอบ Choice 2)
จะเห็นว่า ตัวข้อสอบที่ออกมาใน 5 รอบติดนั้นจะมีระดับของข้อสอบอยู่ที่ประมาณ กลาง ๆ ไม่ง่ายหรือยากจนเกินไป แต่ตัวข้อสอบเองทั้งหมดก็จะมีข้อที่ง่ายและยากผสมปนเปกันไปมา ถึงแม้ว่าจะง่าย กลาง ๆ หรือยาก แต่ถ้าเราฝึกทำโจทย์ควบคู่กับเวลาก็จะสามารถช้อนเอาคะแนน 600+ มาครอบครองได้
ข้อสอบ CU-ATS Physics บทเด็ดที่ออกสอบบ่อย

5 Chapters เด็ดที่มีสถิติออกสอบสูงสุดใน CU-ATS Physics
- Newton’s laws of motion
- Mechanics: Work&Evergy
- EM fields/forces
- Basic of waves
- Energy levels










เป็นยังไงกันบ้างรวมโจทย์เด็ด CU-ATS มาใหักันอย่างจุใจ.. มั่นฝึกทำโจทย์ให้คุ้นชิน เดียวก็ได้คะแนนฟิน ๆ กลับไปกันอย่างแน่นอน พี่ ๆ ขอเป็นกำลังใจให้น้อง ๆ ทุกคนที่กำลังเตรียมตัวสอบ CU-ATS กันทุก ๆ คนนะครับผม
สำหรับน้องๆ ที่อยากเตรียมตัวสอบเข้าคณะวิศวะอินเตอร์ สามารถเข้ามาปรึกษาวางแผนการเตรียมตัวกับพี่ Education Cuonsultant ได้ที่ Line@ignitebyondemand หรือโทร 02-6580023 , 091-5761475 ได้เลยครับผม
สามารถซื้อคอร์สเรียนออนไลน์ ด้วยตัวเองได้ง่ายๆ ผ่าน Shop Online ของ ignite …พร้อมแล้วคลิกเลย http://bit.ly/3HNBFsa
ดูรายละเอียดคอร์สเรียนของ ignite ทั้งหมดได้ทาง >> http://bit.ly/3YoMhou
Related Blog & News
ข่าวสารและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง
-
Blog, Medical TCAS 1 (Portfolio)
รวมข้อสอบ BMAT Past papers , IMAT และ TSA ย้อนหลัง 10 ปี พร้อมเฉลย
สวัสดีครับน้องๆ ว่าที่คุณหมอที่กำลังเตรียมตัวเพื่อสอบเข้าคณะแพทย์ รอบ Portfolio กันทุกๆ คน วันนี้พี่ๆ ignite ได้รวบรวม ข้อสอบ BMAT Past papers , practice papers พร้อมพิเศษข้อสอบ IMAT และข้อสอบ TSA ย้อนหลังให้ถึง 10 ปี พร้อมเฉลย ให้น้องๆ ฝึกทำโจทย์ให้มั่นใจกันอย่างจุใจ เตรียมพร้อมก่อนไปสอบกันนะครับ ก่อนจะเริ่มฝึกทำโจทย์ เรามาดูแผนเตรียมตัวสอบ BMAT ปี 2020 กันก่อนดีกว่า เพราะสถานการณ์ COVID-19 ส่งผลให้การสอบปีนี้มีการเปลี่ยนแปลงจากทุกครั้งที่ผ่านมา โดยทาง Cambridge ได้ยกเลิกการสอบ BMAT ในรอบ SEP ทำให้ปีนี้ๆ น้องเหลือรอบสอบแค่รอบ NOV ! เท่านั้น […]
Comments (0)
-
Blog, EP ม.ต้น
เรียน EP อยู่แล้วต้องเรียนภาษาอังกฤษเสริมอีกมั้ย ?
สวัสดีค่ะ พี่แนนจาก ignite นะคะ มีคำถามนึงที่ช่วงนี้พี่แนนได้ยินบ่อยมากๆ จากทั้งคุณพ่อคุณแม่และน้องๆ ม.ต้นที่เรียน EP มาว่า “เรียน EP อยู่แล้ว ยังต้องเรียนภาษาอังกฤษเสริมอยู่มั้ย” เพราะตามที่คุณพ่อคุณแม่เข้าใจคือหลักสูตรนี้เน้นภาษาอังกฤษอยู่แล้วน่าจะไม่ต้องทำอะไรมากมาย ก่อนที่เราจะไปหาคำตอบกัน พี่แนนมีเรื่องมาเล่าให้ฟังค่ะ เป็นเรื่องของนักเรียนคนนึงที่พี่เคยสอน น้องเรียน English Program มาตั้งแต่ ม.1 และตอนที่มาเจอกับพี่ครั้งแรก น้องอยู่ ม.3 แล้วและสนใจเตรียมตัวสอบเข้า Grade 10 ที่ MUIDS (โรงเรียนสาธิตนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล) ในวันที่เจอกับคุณแม่ของน้องครั้งแรกเพื่อวางแผนการเรียนกัน คุณแม่มองว่าน้องน่าจะไม่ต้องติวภาษาอังกฤษเยอะเพราะเรียน EP มา แต่เพื่อให้สามารถวางแผนการเรียนและสอนได้อย่างตรงจุด พี่จึงให้น้องลองทำโจทย์สอบเข้ารวมถึง พาร์ทการเขียนเรียงความภาษาอังกฤษ (Essay) สิ่งที่เกิดขึ้นคือน้องบอกกับพี่แนนว่าน้องเขียนไม่ได้ นึกคำศัพท์ไม่ออก เรียบเรียงไม่ถูก ในเวลาหนึ่งชั่วโมงนั้นน้องจึงเขียนได้เพียง Paragraph สั้นๆ เท่านั้น Academic English ปัญหาสำคัญของน้อง EP EP หรือ English Program เป็นทางเลือกที่กำลังได้รับความนิยมขึ้นเรื่อยๆ ในหมู่นักเรียนทั้ง ม.ต้น และ […]
Comments (0)
-
Blog, SAT
รีวิวการเตรียมตัวสอบ รอบ Early น้องสตรีวิทย์ ติด BBA ยกแก๊ง!!
สวัสดีครับน้องๆ จากสถิติคะแนนยื่นสอบเข้าที่สูงขึ้นเรื่อยๆ ดันบาร์ความโหดเพิ่มขึ้นในทุกๆ ปี ทำให้การสอบเข้า BBA จุฬาฯ หรือ หลักสูตรบริหาร ภาคอินเตอร์ ที่เป็นคณะในฝันของใครหลายๆ คน ติดท๊อปลิสต์ คณะสอบเข้ายากในฝั่งอินเตอร์แทบทุกโพล แต่!!! วันนี้ แก๊งรุ่นพี่ ignite จากโรงเรียนสตรีวิทยา ซึ่งตอนนี้พึ่งเป็นนิสิต BBA CU หมาดๆ ทั้ง 3 คน จะมาเล่าให้ฟังว่าการสอบเข้า BBA CU อาจไม่ง่าย แต่ก็ไม่ได้ยากอย่างที่คิด ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลยดีกว่าว่าพี่ๆ เค้ามีวิธีเตรียมตัวสอบเข้ากันยังไงบ้างถึงได้สอบติดรอบ Early กันยกแก๊งแบบนี้ Q: แนะนำตัวให้น้องๆ ignite รู้จักกันหน่อยว่าแต่ละคนติดคณะอะไรและใช้คะแนนอะไรยื่นบ้างครับ แจน: สวัสดีค่ะน้องๆ พี่ชื่อแจนค่ะ สอบติด BBA จุฬาฯ ค่ะ ด้วยคะแนน SAT 1,450 และ IELTS 7.5 ค่ะ ครีม: สวัสดีค่ะ พี่ชื่อครีมค่ะ สอบติดทั้ง […]
Comments (0)
-
Blog, CU-ATS/CU-AAT
สรุปทุกข้อสงสัยเลือกสอบแบบไหนดี ระหว่าง CU TEST Paper – Based Test VS CU TEST E-Testing
สวัสดีครับว่าที่น้องๆ ISE วิศวะอินเตอร์ จุฬา ทุกคน พี่เชื่อว่าหลายคนใช้คะแนน CU-ATS & CU-AAT ในการยื่นเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย แต่คงมีข้อสงสัยว่า แล้วมันต่างกันอย่างไร จะเลือกสอบ CU TEST แบบไหนดี วันนี้ พี่อิ้งค์ เลยมารีวิวและสรุปความแตกต่างของการสอบทั้ง 2 แบบ ว่ามีความเหมือน หรือแตกต่างกันอย่างไร เพื่อเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยให้น้องๆ ตัดสินใจได้ง่ายขึ้นว่าจะ เลือกสอบ CU TEST แบบ Paper – Based Test หรือแบบ E-Testing แบบไหนที่เหมาะสมกับเราและตอบโจทย์มากที่สุดครับ สรุปสิ่งที่เหมือนกันของการสอบ CU-TEST ทั้งแบบ Paper – Based Test VS E-Testing อย่างแรก เรามาพิจารณากันที่ความเหมือนกันของการสอบทั้ง […]
Comments (0)
Comments