รีวิวสอบเข้า INDA CU อย่างละเอียด โดยน้องมิ้นท์ สตรีวิทยา

สวัสดีน้องๆ ที่อยากเข้า INDA (International Program in Design and Architecture) หรือ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาวิชาการออกแบบสถาปัตยกรรม (หลักสูตรนานาชาติ) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทุกคนนะครับ วันนี้แอดมินพาพี่มิ้นท์ รุ่นพี่ ignite ที่สอบติด INDA รอบ Early ปีล่าสุดมารีวิวการเตรียมตัวสอบ และการสอบ ตั้งแต่การเก็บคะแนนเพื่อยื่น การสอบรอบข้อเขียน และการสอบสัมภาษณ์ เพื่อช่วยให้คำแนะนำน้องๆ ใช้เป็นแนวทางในการเตรียมตัวกัน จะมีอะไรน่าสนใจบ้าง ไปฟังกันเลย
Q: ช่วยแนะนำตัวให้น้องๆ ignite รู้จักกันหน่อยครับ
A: ชื่อมิ้นท์ค่ะ จบจากโรงเรียนสตรีวิทยาค่ะ สอบติด INDA จุฬาฯ ค่ะ
Q: เล่าให้ฟังหน่อยได้ไหมครับว่าทำไมถึงอยากเรียน INDA
A: หนูชอบวาดรูปมาตั้งแต่เด็กๆ พอมีพื้นฐานศิลปะบ้าง มีคนมาพูดกับหนูตลอดว่าทำไมไม่ทำสิ่งที่ตัวเองวาดให้เป็นจริง หรือ เอาความสามารถไปช่วยคนอื่น เลยลองมาศึกษาด้านนี้ก็รู้สึกว่าเจ๋งดี หนูลองได้ไปดูคลิปและลองไปทำงานของมัน หนูก็รู้สึกว่าทำได้แล้วก็ไม่เบื่อด้วย ทำได้เรื่อยๆ หนูเคยเรียนวาดรูปมาบ้างแล้วตั้งแต่ ม.4 เรียนเผื่อไว้ พวกแรงเงา ตอนจะขึ้น ม.5 ก็รู้ตัวเเล้วว่าจะเข้าคณะนี้ ที่บ้านก็อยากให้ได้ภาษาอังกฤษด้วยเลยมาเข้า INDA ดีกว่า เพราะสถาปัตย์อินเตอร์ในไทยมีไม่เยอะ ที่นี่ก็น่าจะตรงสายกับหนูที่สุด จริงๆ ภาษาอังกฤษพื้นฐานไม่ค่อยดี ตอนม.ต้นเรียนภาคปกติ พึ่งย้ายมา EP ตอน ม.ปลาย ภาษาอังกฤษก็พัฒนาขึ้น ได้เรียนพิเศษด้วย ก็พัฒนาไปเรื่อยๆ
Q: น้องมีการเตรียมตัวสอบยังไง และใช้คะแนนอะไรในการยื่นบ้างครับ
A: หนูยื่น CU-TAD, IELTS, และก็ SAT Math ค่ะ
CU-TAD
เริ่มจากวาดรูปก่อนเพราะการวาดรูปไม่ได้ใช้เวลาแปปเดียวเเล้วมันได้ ตัวข้อสอบถ้าเราจับถูกทาง สามารถทำให้ได้ตรงจุดกับที่ข้อสอบต้องการจะสามารถพัฒนาได้เร็วมาก หนูเลยเริ่มเรียนมาตั้งแต่ ม.4 และจริงจังตอน ม.5 เพราะว่าต้องสอบให้ได้ หนูยื่น CU-TAD 70 คะแนน สอบไปทั้งหมด 3 รอบค่ะ สำหรับ CU-TAD หนูคิดว่าต้องลองสนามสอบก่อนไม่ว่าใครก็ตาม ส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีใครไปสอบครั้งแรกแล้วได้เลย ควรต้องไปลองก่อน
IELTS
IELTS หนูสอบไป 2 รอบ พอจะสอบหนูรู่ว่า Writing ยากสุด หนูก็เลยไปลง Adv. Writing for IELTS กับพี่กั๊ก ช่วยเยอะมาก มีประโยชน์มาก ตอนแรกได้คะแนนไม่ค่อยดีเพราะพาร์ทอื่นยังไม่ค่อยเเม่น สอบเเล้วยังไม่โอเค รอบแรกหนูเตรียมตัวได้ไม่ดีมากพอ ตอนแรกคิดว่าเหมือนจะทำได้ คิดเข้าข้างตัวเองว่าถ้าไปทำของจริงคงจะได้มากกว่า แต่พอไปทำจริงหนูรู้เลยว่าถ้าฝึกแล้วมันทำได้แค่ไหนก็คือได้เท่านั้น หรือบางทีอาจจะน้อยกว่าด้วยซ้ำ หนูเลยเตรียมตัวใหม่ไปสอบอีกรอบ สำหรับคนที่ไม่เก่งภาษาอังกฤษควรจะใช้เวลาในการศึกษา ฝึกทำ ลองทำดูเองก่อน ดูคลิปเพิ่มมันจะช่วยพัฒนาหลายอย่างมาก ตอนที่พร้อมเเล้วจริงๆช่วงใกล้จะสอบอีกรอบก็ไปเรียนไพรเวทกับพี่แนนด้วย เพื่อเตรียมตัว ก่อนสอบ ส่ง Essay ให้พี่เค้าตรวจได้ตลอดเลย ให้ช่วยอธิบายก็คอยตอบเราเสมอ ช่วยอัพคะแนนได้ขึ้นมา คะแนนก็ขึ้นจาก แบนด์ 6 มาแบนด์ 7
SAT Math
ส่วน SAT หนูมาลงเรียนคอร์สสดกับ ignite เริ่มตั้งแต่ Pre SAT Math ถึง SAT Math ธรรมดา และก็ลง Anywhere ออนไลน์ คอร์ส Adv. SAT Math ซึ่งเป็นเหมือนการรวมโจทย์เยอะๆ ชอบมากค่ะ หนูเริ่มลองสอบตอนปิดเทอมก่อนขึ้นม.5 สอบไป 3 รอบ เกณฑ์มันเอาไม่ได้เยอะขนาดนั้น รอบแรกหนูได้ 700 แต่ก็สอบอีก 2 ครั้งเพราะอยากอัพมากกว่านี้ สุดท้ายได้ 730 ซึ่งหนูก็คิดว่ามันโอเคเเล้ว นี่ก็เกินเกณฑ์แล้ว คิดว่าพอได้เเล้ว จะได้ไปทำ Portfolio ต่อ
หนูแนะนำว่าควรทำคะแนนที่ต้องใช้ยื่นให้จบภายใน ม.5 เพื่อจะไปทุ่มกับ Portfolio ตอนม.6 มันจะเป็นอะไรที่เวิร์คมาก แต่ของหนูบางตัวคะแนนยังไม่เป็นที่น่าพอใจเท่าไหร่ เลยต้องสอบใหม่อีกรอบ ยืดเยื้อไปถึง ม.6 ด้วยซึ่งมันไปคาบเกี่ยวกับตอนทำ Portfolio หนูรู้สึกว่าใครทำให้จบก่อนจะดีกว่าเพื่อให้ทำ Portfolio ได้ทัน

เตรียม Portfolio เพื่อสอบเข้า INDA CU
Q: เล่าถึงตอนที่ทำ Portfolio ให้ฟังหน่อยครับ แล้วมีคำแนะนำอะไรที่อยากแชร์มั้ยครับ
A: เริ่มทำเดือนมีนาคมก่อนขึ้น ม.6 หนูก็ทำไปเรื่อยๆ ในช่วงแรกๆ เพราะรู้สึกว่าเวลามันยังอีกยาวไกล แต่พอกลับมาคิดดูแล้วมันเป็นอะไรที่ผิดพลาดมาก เพราะตอนท้ายๆ มันเยอะแล้วทำให้ลนมาก โชคดีที่ปีหนูติดสถานการณ์โควิด การส่งเอกสารเลยใช้เป็นไฟล์ ช่วยประหยัดเวลาตอนที่ปริ้นท์ไปได้ 1-2 อาทิตย์ค่ะ
มีรุ่นพี่แนะนำมาว่า อย่างน้อยที่สุดควรทำมามากกว่า 8 งานขึ้นไป ซึ่งหนูทำไป 9 งาน ถ้าทำงานที่ง่ายก่อนมันก็มีข้อดีตรงที่เราจะมีงานสะสมเก็บไว้เยอะๆ อยู่แล้ว ถ้าไม่ทันตอนท้ายอย่างน้อยก็มางานมาโปะๆ ได้ แต่ถ้าเราทำงานยากก่อนเลยอาจจะได้งานที่อลังการมากกว่าแต่ก็ต้องเตรียมใจไว้ว่าจะได้ชิ้นงานที่น้อย ของหนูเลยเริ่มจากงานที่ไม่ยากก่อน จนพอมีงานอยู่ในมือให้อุ่นใจ ถึงไปเริ่มงานยากต่อค่ะ
การทำ Portfolio ของ INDA ไม่ได้เน้นความอลังการขนาดนั้น เค้าเน้นที่ Concept มากกว่าว่างานนั้นมีความหมาย หรือ แรงบันดาลใจมาจากอะไร ดีกว่าทำงานอลังการแต่ไม่ได้มีความหมายอะไร ถ้าน้องทำ 8 งาน ซึ่งเป็นงานง่ายหมดเลย แต่ concept ดี มันก็ติดได้ และ แนะนำว่าใน Portfolio ควรมีงานพวกสถาปัตย์ 2 งาน เซฟๆ ไว้ก่อนค่ะ
Q: ลองยกตัวอย่างงานใน Portfolio ให้ฟังหน่อยได้ไหมครับ
A: หนูเป็นคนที่ถนัดทำมือมากกว่ากราฟฟิค หนูก็เลยชอบทำพวกโมเดล มีงานนึงที่ภูมิใจมากคือโมเดลตึกที่มี inspiration มากจากดอกไม้ งานนี้หนูเริ่มมาจากปัญหาที่เห็น เราสามารถแก้ หรือทำอะไรเล่นอะไรได้บ้าง หนูไปเห็นพวกตลาดแบบปากคลองตลาด มันดูไม่ค่อย organized เลยรู้สึกว่า อยากทำเป็นพื้นที่ตึกใหญ่ๆ ออกมาสำหรับการขายดอกไม้โดยเฉพาะ ทำให้มันดูดี ดูสะอาด หนูร่างไว้ก่อน เเล้วค่อยมาทำโมเดลมือค่ะ อยากบอกน้องๆ ว่าทุกอย่างควรอยู่ในสมุดสเก็ตโดยเฉพาะ เพราะบางที่เค้าอาจจะอยากเรียกดูการสเก็ตของเราว่ามีไอเดียอะไรก่อนที่จะเป็นชิ้นงานนี้ด้วยค่ะ
Q: การสอบข้อเขียนของ INDA เป็นยังไงบ้างครับ
A: หนูยื่นรอบแรก เลยมีสอบทั้ง Written exam และ Interview สำหรับการเขียนเค้าจะให้โจทย์มา โจทย์ที่หนูได้คือ ให้ดีไซน์อะไรก็ได้จากอะไรก็ได้ หนูก็เลยเลือกที่จะดีไซน์โคมไฟจากดอกไม้ค่ะ อยากแนะนำว่าถ้าเคยฝึกดีไซน์ของมาแล้ว ให้เอาสิ่งที่เราเคยออกแบบไว้ในหัวมาทำเลยดีกว่า เพราะถ้าคิดใหม่มันจะเสียเวลามาก เค้าให้เวลาไม่เยอะ หนูเลยเอาสิ่งที่หนูเคยออกแบบมาเขียนเลย เค้ามีให้ส่ง 2 อย่าง คือที่เราวาดรูป ไม่ต้องลงสี วาดดินสอธรรมดา กับ ตัว Essay คือ เค้าจะให้เขียนเกี่ยวกับพวก function, inspiration, และ concept สิ่งที่เราดีไซน์ไปค่ะ
Q: แล้วรอบสัมภาษณ์โหดไหมครับ
A: เริ่มมาเค้าขึ้นหน้าจอเป็นตัวเลขให้เราเลือก หนูก็เลือกตัวเลขนึงไป เปิดมาเป็นภาพศิลปะ เค้าให้เราดูและให้อธิบายให้ฟังว่าเราเห็นอะไรจากภาพนี้บ้าง อยากรู้มุมมองของเราต่อภาพนี้ค่ะ พอจบอันนี้ก็เป็นการสัมภาษณ์ธรรมดาซึ่งอาจารย์ใจดีมาก คำถามที่เจอก็เช่น ถ้าคุณมีโอกาสที่จะทำงาน อยากทำงานคู่กับ architect คนไหน ซึ่งหนูคิดว่าน้องๆ ควรจะเลือกไว้ในใจก่อนมาแล้ว เพราะถ้าเค้าถามจะได้ตอบได้เลย มีถามด้วยว่าทำไมถึงเลือก INDA แต่จริงๆ อาจารย์ถามไม่ค่อยเยอะ เน้นที่ Portfolio มากกว่า เค้าจะสุ่มเลือกมา 2 อันแบบสุ่มขึ้นมาเลย เเล้วให้เราอธิบายว่าทำไมเราถึงเลือกทำงานชิ้นนี้ จบท้ายด้วยการถามว่ามีคำถามอะไรมั้ย ซึ่งหนูคิดว่าควรถามไป ไม่ควรบอกว่าไม่มีค่ะ
Q: น้องมีความประทับใจต่อ ครู และ ignite ยังไงบ้างครับ?
A: เริ่มจาก พี่ภัทร์ ก่อนเลย พี่เค้าเปิดกว้างมาก และก็เฮฮามาก เข้าถึงได้ไม่ยาก พี่เค้าเป็นฝ่ายที่เข้าหาเด็กเองก่อนเลยทำให้เรารู้สึกว่าเราก็ถามเค้าได้ไม่ใช่เรื่องที่น่าอาย กิจกรรมในห้องเรียนของคอร์สสดมีเล่นเกมด้วย พี่ภัทร์ก็ชอบซื้อขนมมาเลี้ยง ทำให้เด็กเอนจอยกับการเรียน ไม่กดดันมากเกินไป ส่วน พี่ข้าว น่ารักมาก ถ้าหนูไม่ได้อะไรเค้าก็จะพยายามสอน ใจเย็นมาก เเล้วก็ใจดีด้วย ไม่กดดันหรืออึดอัดเลย ทำให้เรารู้สึกอยากตั้งใจเรียนมากขึ้น และ พี่แนน พี่เค้าใจดีมาก เข้าใจเด็ก ถ้าหนูทำไม่ได้เค้าก็จะช่วย คอยถามตลอดว่าเรามีอะไรจะถามมั้ย แล้วไม่เคยเร่งเลย หนูไปมาหลายที่ บางที่เค้าอาจจะจำหนูไม่ได้ด้วยซ้ำเพราะคนเยอะ แต่ของทีนี่เด็กไม่ได้เยอะเกินไป เวลาถามอะไรก็กล้าถาม ทำให้ครูกับเด็กมีคอนเนคชั่นกัน สงสัยก็ถามได้เลย พี่ๆ ใจดีมาก ถ้าไม่เข้าใจก็มี Checkpoint ให้ได้ทบทวน มันเป็นอะไรที่มีประโยชน์มาก Boost up ก็เหมือนกัน ก่อนสอบอยากมีคนติวและสรุปให้เรา ช่วยเพิ่มความมั่นใจหนูมาก ประทับใจมาก พี่ๆ เค้าก็คอยติดตามเราตลอดๆ จำเราได้

Q: สุดท้ายแล้ว อยากฝากอะไรถึงน้องที่อยากจะเข้า INDA แบบเราบ้างครับ
A: คณะนี้ถ้าตั้งใจอยากจะมาจริงๆ เป้าหมายสำเร็จได้ไม่ยาก ระหว่างทางอาจจะดูเยอะ แต่ถ้าทุ่มเทกับมันหนูคิดว่าติดแน่นอน ถึงแม้สอบมาได้คะแนนไม่ดีแล้วท้อ ท้อได้ แต่ถ้าล้มเเล้วต้องรีบลุกให้เร็ว เพราะทุกอย่างผ่านไปเร็วมาก ไม่มีเวลาให้เรามานั่งเสียใจค่ะ
เป็นอย่างไรบ้างครับกับ รีวิวสอบเข้า INDA จุฬาฯ จากพี่มิ้นท์ … แอดมินเชื่อว่าน้องๆ ที่ได้อ่านบทความนี้จะได้เทคนิคและแนวทางการเตรียมตัวสอบที่จะช่วยให้พวกเรามั่นใจมากขึ้นว่าจะสอบติด INDA จุฬาฯ นะครับ

น้องๆ คนไหนที่อยากสอบติด INDA … มาเจอกันได้ที่ ignite เราเตรียม คอร์สสด, Mini Class, One on One และ คอร์สเรียนออนไลน์ในระบบ Learn Anywhere ให้ทุกคนมั่นใจว่าจะสอบติดคณะในฝันชัวร์ๆ สามารถทักมาขอคำปรึกษาสอบถามรายละเอียดการเรียนต่อคณะอินเตอร์ได้ทาง Line : @ignitebyondemand หรือโทร 02-6580023 , 091-5761475
สามารถซื้อคอร์สเรียนออนไลน์ ด้วยตัวเองได้ง่ายๆ ผ่าน ShopOnline ของ ignite …พร้อมแล้วลุยเลย >> https://shop.ignitebyondemand.com/
ดูรายละเอียดคอร์สเรียน SAT และ IELTS ได้ทาง >> https://www.ignitebyondemand.com/our-courses/
Related Blog & News
ข่าวสารและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง
-
Blog, SAT Subject Tests
คู่มือสำหรับพ่อแม่ที่อยากให้ลูกสอบติดคณะวิศวะอินเตอร์
สวัสดีคุณพ่อคุณแม่ที่อยากให้ลูกเรียนวิศวะทุกท่านนะครับ…วันนี้ ignite จะขอมาแนะนำการ สอบเข้าคณะวิศวะอินเตอร์ ไม่ว่าจะ วิศวะอินเตอร์ จุฬาฯ , วิศวะอินเตอร์ ลาดกระบังฯ หรือ วิศวะอินเตอร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดย ignite จะมาแนะนำว่าน้องๆ ต้องใช้คะแนนอะไร เพื่อยื่นเข้าวิศวะใน TCAS รอบ 1…รู้ก่อน สอบติดก่อน มาวางแผนการเรียนให้ลูกสอบติดก่อนใครกับ ignite ได้เลยครับ คะแนนที่ต้องใช้ เพื่อยื่นเข้า วิศวะอินเตอร์ TCAS รอบ 1 1. Math หรือผลสอบความสามารถทางคณิตศาสตร์ ผลสอบวิชาคณิตศาสตร์ คือ คะแนนที่มหาวิทยาลัยที่เปิดรับคณะวิศวะอินเตอร์ ส่วนใหญ่กำหนดให้น้องๆ ใช้เป็นคะแนนในการยื่นเพื่อพิจารณานะครับ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วน้องๆ มักจะเลือกสอบอยู่ 2 ตัวด้วยกันคือ SAT Math และ CU-AAT Math ถ้าคุณพ่อคุณแม่ยังไม่แน่ใจว่าข้อสอบทั้ง 2 อย่างแตกต่างกันอย่างไร…ignite จะขอแนะนำให้ ณ ที่นี่เลยครับ […]
Comments (0)
-
Blog
เทคนิคการเลือกวิชา IGCSE, A-Level ให้ได้คณะในฝัน
การเลือกวิชาใน IGCSE และ A-Level นั้นถือว่าสำคัญมากๆ เพราะเป็นการกำหนดอนาคตที่ใช้ยื่นคะแนนเข้าคณะในฝันของนักเรียนทุกคนที่เรียนหลักสูตรอังกฤษ เพราะหลักสูตรนี้ถือว่าได้รับการยอมรับในสากลจากมหาวิทยาลัยทั่วโลก นักเรียนหลายคนมักจะสับสนว่าควรเลือกวิชาที่ชอบ หรือวิชาที่จำเป็นดีกว่า ดังนั้นวันนี้พี่ๆ ignite จะมาแนะนำเทคนิคการเลือกแบบเข้าใจง่ายๆ ให้น้องๆ กันครับ ถ้าพร้อมแล้วก็มาเริ่มกันเลย !! ทำความรู้จักหลักสูตร IGCSE vs A-Level จากภาพด้านบน กล่าวได้ว่า IGCSE นั้นคือหลักสูตร 2 ปีสำหรับน้องๆ Year 10-11 ที่เป็นการเตรียมปูพื้นฐานวิชาให้มีองค์ความรู้รอบด้านและแน่นพอที่จะเลือกเรียนวิชาในขั้นสูงกว่า หรือการทำ A-Level อีกสองปี เพื่อยื่นคะแนนทั้ง 3 วิชานี้เข้ามหาวิทยาลัยที่น้องๆ ต้องการ ต่อมาเรามาดูกันว่าเราควรเลือกเรียนวิชาอะไรให้ตรงกับคณะที่เราต้องการเข้าศึกษาต่อ มาเริ่มกันที่หลักสูตรแรกนั้นก็คือ IGCSE เทคนิคการเลือกวิชา IGCSE โดยวิชาที่น้องๆ สามารถสอบได้ใน IGCSE นั้นแบ่งออกเป็น […]
Comments (0)
-
Blog, Medical TCAS 1 (Portfolio)
5 โจทย์ที่ต้องเจอใน BMAT Critical Thinking พร้อมเทคนิค CAP รับมือทุกโจทย์ Part 1
สวัสดีครับน้องๆ กลับมาพบกับพี่กั๊กกันอีกครั้งนะครับ ใกล้จะถึงช่วงสอบ BMAT กันอีกแล้ว เชื่อว่าตอนนี้น้องๆ คงตั้งใจทบทวนโค้งสุดท้ายกันอยู่แน่นอน แต่เนื่องจากการสอบ BMAT นั่นมีหลายพาร์ทเหลือเกิน หากจะต้องโฟกัสทุกจุดคงจะใช้เวลาพอสมควรแน่ๆ วันนี้พี่กั๊กเลยมาพร้อมกับเทคนิควิเคราะห์โจทย์ BMAT Critical Thinking เพื่อเพิ่มเลเวลในการอัพคะแนนของน้องๆ ใน BMAT Part 1 และช่วยลดการใช้เวลาในการนั่งทบทวนว่า เอ้…โจทย์ข้อนี้ต้องการอะไรนะ? แต่ก่อนจะเริ่มเทคนิควิเคราะห์โจทย์จากพี่กั๊ก เรามาทบทวนกันอีกรอบดีกว่าว่า “BMAT Part 1 นั้น จริงๆ แล้วเป็นยังไง?” BMAT Part 1 เป็นอย่างไร ต้องเจอกับข้อสอบแบบไหน? แน่นอนว่าการที่น้องๆ จะสอบเข้าแพทย์และได้เป็นคุณหมอในอนาคต สิ่งๆ หนึ่งที่น้องจำเป็นจะต้องมีก็คือทักษะการคิดวิเคราะห์นั่นเอง ซึ่งหากน้องเป็นคนที่มีการคิดวิเคราะห์สูง ตรงนี้ก็อาจจะสื่อถึงความสามารถในการนำไปปรับใช้กับสถานการณ์เร่งด่วนต่างๆ ที่ต้องเจอในสายอาชีพนั่นเอง ดังนั้นนี่ก็เป็นที่มาของเจ้าตัว BMAT Part 1 โดยในส่วนนี้จะถูกแบ่งย่อยออกเป็นอีก 2 พาร์ท คือ BMAT Problem Solving (16 ข้อ) : […]
Comments (0)
-
Blog, CU-ATS/CU-AAT
เจาะลึกเทคนิคพิชิต ACT Science ข้อสอบเป็นยังไง? ต่างจากข้อสอบอื่นยังไงบ้าง?
สวัสดีครับน้องๆ หลังจากที่หลายคณะเริ่มประกาศรับคะแนนการสอบ ACT เพื่อคัดเลือกนิสิต นักศึกษาใหม่เข้าคณะ เช่น ISE CU หรือ SIIT น้องๆ หลายคนก็เริ่มหันมาสนใจการสอบนี้กันมากขึ้น แถมยังมีบางคนรีวิวอีกว่าข้อสอบ ACT ง่ายกว่าการสอบแบบอื่นๆ วันนี้พี่อิ๊งค์จะมาช่วยไขข้อสงสัยถึงรูปแบบของ ข้อสอบ ACT Science ว่าเป็นยังไง แล้วจะง่ายกว่าข้อสอบอื่นจริงหรือไม่กันครับ ลักษณะข้อสอบ ACT Sciencee ข้อสอบ ACT Science มีคำถาม 40 ข้อ โดยให้เวลาในการทำอยู่ที่ 35 นาทีเท่านั้น ถือว่าเป็นข้อสอบ Speed Testมากๆ น้องจะต้องฝึกฝนในการทำให้มาก และฝึกจัดการเวลาในการทำข้อสอบให้เชี่ยวชาญก่อนไปสอบ ซึ่งรูปแบบของคำถาม จะมีการให้ Passage มาประมาณ 6 เรื่อง ในแต่ละเรื่องจะมีคำถาม 4-7 ข้อ […]
Comments (0)
Comments