SOP คือ? │ เขียน SOP อย่างไรให้ได้เป็นตัวจริงรอบพอร์ต

เวลาที่เดินเข้าร้านหนังสือ แล้วเจอหนังสือเล่มหนึ่งที่น่าสนใจ สิ่งแรกที่คนส่วนใหญ่มักทำก็คือ พลิกไปอ่านไฮท์ไลท์สำคัญที่ปกหลังก่อน ซึ่งจะตัดสินใจซื้อหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับข้อความเพียงไม่กี่บรรทัดบนปกหลังนั่นเอง
การเขียน SOP หรือคือ Statement of purpose ก็เช่นกัน ไม่สำคัญว่าเรามีเรื่องราวที่อยากบอกเล่ามากน้อยแค่ไหน สำคัญที่เราจะเล่ามันออกมาอย่างไรให้ให้ผู้อ่านสนใจและอยากติดตามอ่านเรื่องราวไปจนจบมากกว่า วันนี้พี่เลยนำเทคนิคดีๆ ในการเขียน SOP ให้โดนใจคณะกรรมการมาฝาก ไปดูกันฮะ
การเขียน SOP คืออะไร?

ถ้าเอาแบบเข้าใจง่ายๆ Statement of purpose หรือ SOP คือ จดหมายแนะนำตัวเองนั่นแหล่ะ จดหมายที่บอกว่าเราเป็นใคร มีจุดเด่นอะไรที่ทำให้คณะกรรมการต้องตัดสินใจเลือกเรา หรืออาจบอกเล่าถึงแรงบันดาลใจที่ทำให้เราตัดสินใจเขียน SOP ไปยังคณะ หรือมหาวิทยาลัยนั้นๆ ซึ่งสำคัญมากกกกก โดยเฉพาะกับน้องๆ ที่อยากเข้าเป็นตัวจริงรอบพอร์ต
NOTE !! วิธีเขียน SOP ที่ดีควรมีความยาวไม่เกิน 2 หน้ากระดาษ หรือไม่เกิน 1,000 คำ และควรบอกเล่าประเด็นสำคัญ 4 ประเด็นดังต่อไปนี้
4 Topics สำคัญในการเขียน SOP

#1 Who am I?
ย่อหน้าแรกของการเขียน statement of purpose นี้ก็เหมือนกับปกหลังหนังสือ ที่มีส่วนสำคัญต่อการตัดสินใจ “ซื้อ” หรือ “ไม่ซื้อ” ได้มากเลยทีเดียว ฉะนั้นจงบอกเล่าความเป็นเราออกมาให้โดดเด่นมากที่สุด แต่ขอให้เป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับคณะ สายอาชีพ ที่เราเลือกสมัครไป เพื่อความประชับ ตรงประเด็น

#2 What am I interested in?
ใส่ผลงานที่มีมาให้ครบใน SOP แต่ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงว่าต้องเป็นงานวิจัยสุดแสนภาคภูมิใจเท่านั้น แต่กิจกรรมต่างๆ อย่างกีฬาสี ชมรมในโรงเรียน กิจกรรมจิตอาสา ก็สามารถนำมาบอกเล่าเป็นความภาคภูมิใจได้ แต่อยากให้เพิ่มเติมการ พูดถึงปัญหาที่เจอ แล้วเราถึงแนวทางการแก้ปัญหากับสิ่งที่เกิดขึ้น เพิ่มเติมเข้าไปด้วย เพื่อให้คณะกรรมการเห็นถึงแนวทางการแก้ปัญหา ที่อาจนำไปต่อยอดกับการเรียนหรือใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยได้

#3 Why did I Choose this Faculty / University?
บอกเลยว่าไปทำการบ้านมาให้เยอะๆ ก่อนที่จะมาเขียนในส่วนนี้ เพื่อแสดงถึงความสนใจ ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้คณะกรรมการเห็นว่าเรามีความตั้งใจก่อนที่จะตัดสินใจเขียน SOP มายื่นเพื่อพิจารณา วิชาไหน หรือจุดเด่นอะไรที่ให้เราอยากเป็นตัวจริงของที่นี่ จัดมาให้เต็มเหนี่ยว

#4 What is my goal?
ปิดท้ายด้วยเป้าหมายในชีวิตในแบบที่สมเหตุสมผลและจับต้องได้จริง ทั้งในระยะสั้น คือหลังจบการศึกษา และในระยะยาวคือ 10-15 ปีหลังจบการศึกษา และการได้เรียนที่นี่จะช่วยต่อยอด หรือเติมเต็มเป้าหมายในชีวิตอย่างไร พื้นที่ปิดท้ายนี้คือสิ่งที่บ่งบอกถึงวิสัยทัศน์ของเรานั่นเอง
3 สิ่งที่ต้องจำก่อนทำ SOP!

จำเอาไว้เสมอว่า SOP รวมไปถึงพอร์ตที่ดี คือการบอกเล่าความเป็นเรา ดูตัวอย่างของคนอื่นเพื่อเป็นแนวทางได้ แต่ไม่ใช่ลอกจนกลบความเป็นตัวเองไปซะหมด เพราะสุดท้ายแม้จะเขียน SOP ออกมาได้อย่าง Perfect แต่ถ้าผลงานที่อยู่ในนั้น ไม่ใช่ผลงานของเรา และไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเราจริงๆ คณะกรรมการก็จะสามารถรู้จากการตอบคำถามตอนสัมภาษณ์ได้อยู่ดี
ควรเขียน SOP ด้วยภาษาที่มีความแอคทีฟและเขียนด้วยมุมมองเชิงบวก ที่สำคัญ! อย่านอกเรื่องเพราะคณะกรรมการจะเน้นการพิจารณาเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเรียนเท่านั้น
พี่ขอเป็นกำลังใจให้น้องๆ ทุกคนที่ตั้งใจคว้าตำแหน่งตัวจริงรอบพอร์ตกับคณะในฝัน ได้มีโอกาสเป็นตัวจริงสมความตั้งใจ และฝ่าฝันทุกอุปสรรคไปได้อย่างราบรื่นนะครับ สู้ๆ ครับน้องๆ ทุกคน
สำหรับน้องๆ คนไหนที่อยากสอบเข้ามหาวิทยาลัย TCAS รอบ 1 ( Portfolio ) ทาง ignite by OnDemand ก็มี คอร์สเรียนสด คอร์สออนไลน์ Anywhere ให้น้องๆ เรียนที่ไหนเมื่อไหร่ ก็ได้ตามต้องการ โดยอาจารย์ผู้สอนที่มีโปรไฟล์ระดับเทพ รวมถึงกิจกรรม Pathway to Success แบบจัดเต็มที่พร้อมจะพาน้องๆ ไปสู่คณะในฝัน
สนใจสอบถามวางแผนในการเตรียมตัวสอบเข้าสอบเข้ามหาวิทยาลัย รอบ Portfolio สามารถติดต่อได้ที่ ignite by Ondemand ชั้น 15 อาคาร MBK Tower หรือทาง Line @ignitebyondemand ด้านล่างได้เลยครับผม
สามารถดูคอร์สเรียนสอบเข้าคณะอินเตอณ์ของ ignite ทั้งหมดได้ทาง https://www.ignitebyondemand.com/our-courses/
Related Blog & News
ข่าวสารและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง
-
Blog, Medical TCAS 1 (Portfolio)
เจาะลึกเส้นทางสอบติดคณะแพทย์ระดับโลก “University of Cambridge” น้องพรอมท์ Shrewsbury International School
กลับมาอีกครั้งอย่างยิ่งใหญ่กับบทสัมภาษณ์ ignite Idol น้องพรอมท์ Shrewsbury International School ที่เพิ่งสอบติดคณะแพทย์ University of Cambridge ประเทศอังกฤษปีล่าสุดมาหมาดๆ … ถือเป็นเรื่องน่าภูมิใจของประเทศไทยและ ignite มากๆ ที่สามารถส่งเด็กไทย ไปคว้าที่นั่งในคณะแพทย์เคมบริจด์ ได้ถึง 2 ปีซ้อน ซึ่งเป็นคณะแพทย์ที่ใครๆ ต่างก็ยอมรับว่าสอบเข้ายากที่สุดในโลก วันนี้พี่แอดมินขอพาน้องพรอมท์ มาเจาะลึกเส้นทางสู่คณะแพทย์ University of Cambridge ประเทศอังกฤษ พร้อมเปิดเผยเส้นทางสู่การสอบติดคณะแพทย์ระดับโลก ให้เด็กไทยทุกคนที่มีความฝันได้ศึกษาแนวทางการเตรียมตัวที่ถูกต้อง…พี่แอดมินเชื่อว่าบทความนี้จะทำให้ประเทศไทยได้คุณหมอที่มีศักยภาพระดับโลกกลับมาพัฒนาวงการสาธารณสุขไทยเพิ่มอย่างแน่นอนครับ ได้ยินว่าน้องพรอมท์อยากเป็นหมอ เพราะต้องการทำงานที่ช่วยให้ชีวิตคนอื่นดีขึ้น? เรื่องนี้มีที่มา ที่ไปอย่างไรครับ ใช่ครับ…จริงๆ แล้วผมมีความรู้สึกอยากเป็นหมอมาตั้งแต่เรียนอยู่ ม.2 แล้วครับ ด้วยความที่ยังเด็กมาก เราก็ยังไม่ได้ตัดสินใจอะไรไปตอนนั้น แต่พอโตขึ้นผมได้มีโอกาสไปสอนหนังสือให้น้องๆ […]
Comments (0)
-
Blog, Medical TCAS 1 (Portfolio)
AKAT คือ? ทำความรู้จักข้อสอบยื่นแพทย์รอบพอร์ต SWU-NOTT
ข้อสอบน้องใหม่ล่าสุดที่ถูกประกาศนำมาใช้ทดแทนข้อสอบ BMAT อย่างเป็นทางการนั่นก็คือ ข้อสอบ AKAT ที่ทางคณะแพทย์ SWU-NOTT และทันตะ มศว จะนำมาใช้เป็นเกณฑ์ในการคัดเลือกน้องๆ รอบพอร์ต TCAS68 AKAT คือ อะไร? สอบเมื่อไหร่? ควรเตรียมตัวอย่างไร? ไปทำความรู้จัก AKAT ให้มากขึ้นกัน AKAT คือ อะไร? ข้อสอบ AKAT หรือ Aptitude&Knowledge Admisson Test คือ ข้อสอบวัดความถนัดทางการเรียน ซึ่งจัดสอบโดย สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มศว เป็นข้อสอบสำหรับผู้ที่ต้องการเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรนานาชาติของ มศว เช่น คณะแพทย์ โครงการร่วมกับมหาวิทยาลัยนอตติงแฮม (SWU-NOTT), คณะทันตะ และหลักสูตรอินเตอร์อื่น ๆ ใน มศว ข้อสอบ AKAT วัดอะไรบ้าง หากดูจาก Blueprint ของข้อสอบ AKAT ที่ประกาศออกมา คงต้องบอกว่าโครงสร้างของข้อสอบมีความคล้ายคลึงกับ BMAT อย่างมาก เรียกได้ว่าเป็นข้อสอบที่ออกแบบมาเพื่อทดแทน […]
Comments (0)
-
ไม่มีหมวดหมู่, Blog, GED
GED Ready เครื่องมือ(ไม่)ลับ อัพคะแนนตามเป้า!
สวัสดีค่ะน้องๆ กลับมาพบกันอีกครั้งกับบทความ GED วันนี้พี่จะมาเล่าถึงเครื่องมือในการเตรียมสอบ GED ที่สำคัญมากๆ ที่เรียกว่า GED Ready โดยเฉพาะน้องๆ ที่วางแผนอยากจะไปสอบ GED และต้องการที่จะยื่นวุฒิตัวนี้เพื่อเข้าจุฬา หรือ ธรรมศาสตร์ ซึ่งตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นไป ทางที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ได้กำหนดเกณฑ์คะแนนขั้นต่ำของ GED จาก 145 คะแนน (High School Equivalency) เป็น 165 คะแนน (GED College Ready) บอกเลยว่ายากกว่าเดิมมาก และที่สำคัญนโยบายใหม่ของ GED ตั้งแต่ปี 2017 (แอบไปถามทาง GED มาแล้ว ข้อมูลนี้คอนเฟิร์ม!!) ระบุว่า หากสอบผ่าน GED High School Equivalency ไปแล้ว (145/200) การทำเรื่องขอสอบใหม่เพื่อต้องการปรับคะแนนขึ้นจะไม่สามารถทำได้ทุกคนแล้วนะคะ ส่วนใครแก้ได้ใครแก้ไม่ได้เดี๋ยวพี่จะให้ข้อมูลไว้ข้างล่างค่ะ แต่เอาเป็นว่าตอนนี้มีเงื่อนไขเกิดขึ้นใหม่มากมาย สำหรับใครที่ยังยืนยันจะสอบ […]
Comments (0)
-
Blog, CU-ATS/CU-AAT
CU-AAT คืออะไร? ครบทุกข้อมูลที่ต้องรู้เกี่ยวกับข้อสอบ CU-AAT
สวัสดีน้องๆ ทุกคนครับ พี่แอดมินเชื่อว่าตอนนี้น้องๆ หลายคนคงกำลังสงสัยกันใช่มั้ยว่าข้อสอบ “CU-AAT คืออะไร” วันนี้เราจะมาตอบทุกคำถามเกี่ยวกับการสอบ CU-AAT ตั้งแต่เนื้อหาข้อสอบเป็นอย่างไร มีกี่วิชา ใช้ยื่นคณะไหนได้บ้าง ค่าสมัครสอบและตารางสอบ…ไม่พูดพร่ำทำเพลง พร้อมแล้วไปอ่านกันเลย !! CU-AAT คืออะไร ข้อสอบ CU-AAT (Chulalongkorn University Academic Aptitude Test) คือ ข้อสอบที่ใช้วัดความสามารถทางด้านคณิตศาสตร์ (Mathematics) และภาษาอังกฤษ (Verbal) ใช้ในการพิจารณาผู้ยื่นเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรี ของหลักสูตรนานาชาติ จุฬาฯ โดยลักษณะข้อสอบคล้ายกับข้อสอบ SAT ธรรมดาทั้ง Part Mathematics และ Part Verbal แต่ความยากของเนื้อหาข้อสอบจะแตกต่างกันออกไป คณะที่สามารถใช้คะแนน CU-AAT เพื่อยื่นพิจารณาศึกษาต่อ เช่น MEDICAL คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ISE คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (อินเตอร์) EBA คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (อินเตอร์) BALAC คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย […]
Comments (0)
Comments