เจาะลึกข้อสอบ IGCSE – CHEMISTRY โดยครูพี่เกม

รีวิวข้อสอบ IGCSE Chemistry - CIE - Edexcel - Thumbnail

         สวัสดีครับน้องๆ วันนี้พี่เกมจะมาแนะโครงสร้างของข้อสอบ IGCSE โดยเฉพาะวิชา Chemistry ซึ่งพี่มั่นใจมากว่า น่าจะมีน้องๆ บางคนเลือกที่จะเรียนวิชานี้ เพราะเป็นวิชานึงที่สำคัญมาก ยิ่งหากน้องๆ คนไหนอยากจะเรียนต่อไปในทางคณะสายวิทย์ การทำคะแนนในวิชา IGCSE ให้ได้ดีย่อมทำให้น้องๆ ได้เรียนต่อในระดับ A-Level ของวิชานี้เช่นกันครับ

         ก่อนอื่นขอทำความเข้าใจก่อนว่าการสอบ IGCSE นั้นจะมี Examination board ที่ทำการออกข้อสอบหลักๆ ตามโรงเรียนอินเตอร์ที่น้องๆ ศึกษาอยู่ 2 บอร์ดหลักๆ ด้วยกัน คือ Cambridge International Examination (CIE) และ Pearson Edexcel ซึ่งตรงนี้น้องๆ ต้องรู้ก่อนว่าโรงเรียนตัวเองนั้น ใช้บอร์ดไหนในการจัดเรียนการสอนนะครับ

         ทั้งสองบอร์ดนี้เปิดจัดสอบ IGCSE วิชา Chemistry เหมือนกัน แต่มีรายละเอียดตัวอย่างข้อสอบที่แตกต่างกันอยู่ เราจะมาเริ่มกันที่บอร์ดแรก

บอร์ด ของ Cambridge International Examination (CIE)

Past paper ของบอร์ดนี้จะมีแบ่งออกเป็น 6 paper โดยแบ่งตามความยากง่ายของเนื้อหาดังนี้ครับ

ข้อสอบ IGCSE Chemistry - CIE - Bigcover2

ซึ่งรูปแบบคำถามของ Past paper แต่ละชนิด จะแบ่งออกเป็น

Pastpaper - ข้อสอบ IGCSE Chemistry - CIE - Bigcover3

         น้องๆ คงจะสงสัยแล้วใช่ไหมครับว่าแล้วในส่วนของเนื้อหาละจะเป็นยังไง ต้องบอกไว้ก่อนเลยว่าเนื้อหานั้นค่อนข้างเยอะเอาทีเดียวเชียวแหละครับ

สำหรับเนื้อหาในส่วนของบอร์ด CIE นั้นจะประกอบด้วย 14 หัวข้อหลักตามภาพครับ

เนื้อหาข้อสอบ IGCSE Chemistry - CIE - Bigcover4

เดียวเรามาเจาะลึกเนื้อหา ทั้ง 14 หัวข้อนี้กันครับ

1. The particulate of matter

Core

– ความแตกต่าง โครงสร้าง ของแข็ง ของเหลว และ แก๊ส   

– อธิบายการเปลี่ยนสถานะของสาร         

ผลของอุณหภูมิ ความดันที่มีผลต่อแก๊ส และการเคลื่อนที่ของแก๊ส และการแพร่ของแก๊ส

Supplement

– อธิบายการเปลี่ยนสถานะตาม Kinetic Theory

– Brownian Motion ของ แก๊ส และอธิบายให้เห็นถึงหลักฐานว่ามี Brownian Motion

– ความสัมพันธ์ของการแพร่ของแก๊สกับมวลโมเลกุล (มวลโมเลกุลสูง การเคลื่อนที่ของแก๊สจะช้า)

2. Experimental techniques

2.1 Measurement
Core
– จะเป็นการถามถึงชื่อของเครื่องมือทางเคมี เช่น เทอร์โมมิเตอร์ สำหรับการวัดอุณหภูมิ การวัดมวลโดยตราชั่ง การวัดปริมาตรโดยใช้ pipettes cylinder er chromatography

2.2 Purity
       2.2.1 Criteria of purity
       2.2.2 Methods of purification
เนื้อหาจะออกแต่ส่วนของ Core
– อธิบายและเลือกวิธีทำให้สารนั้นให้บริสุทธิ์ในหัวข้อ Solvent Extraction Filtration crystallization และ distillation

3. Atoms, elements and compounds

Core
– เข้าใจเรื่อง relative masses ของ proton neutron และ electron
– อธิบายจำนวน proton (Atomic number) / nucleon number ภายในอะตอม
– อธิบายความสัมพันธ์กันของโครงสร้างอะตอมกับธาตในตารางธาตุตั้งแต่จำนวนโปรตอน 1 – 20
– อธิบายคำว่า Isotope, Isotone, Isobar และ Isoelectronic และความสัมพันธ์กันของ Isotope กับจำนวน nucleon
– อธิบายถึงชนิดของ isotope ที่เป็น Radioactive และ non-radioactive

Supplement
–อธิบายการเกิดและคุณสมบัติของ compound ที่เกิดจาก bonding ชนิดต่างๆในเชิง ลึกมากขึ้น

4. Stoichiometry/mole concept

Core
– ความหมายของ relative atomic mass, average mass in the nature และ molecular mass (Molar mass)
– เขียนสมการเคมีและดุลสมการ

Supplement
– เขียนสมการเคมีที่ประกอบด้วยไอออนและดุลสมการ
– ความหมายของ mole และ Avogado Constants ความสัมพันธ์กันของ Mole กับ Volume ของ Gas ที่ STP
– คำนวณความเข้มข้นของสารละลายในหน่วย mol/dm3
– Empirical formula และ molecular formula คำนวณ %yield และ %purity

5. Electricity and chemistry

Core
– หลักการทำงานของ electrolysis ของสลายตัวของ Molten ionic compounds หรือ aqueous solution โดย electricity
– ผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นที่ Electrode จาก กระบวนการ electrolysis ของ Molten lead (II) bromide, Concentrated hydrochloric acid, Concentrated aqueous sodium chloride และ diluted sulfuric acid
– หลักการของ Electroplating of metals
– อธิบายการใช้งานของ copper และ aluminum และสาเหตุของการใช้ plastic ใน ceramic เพื่อใช้เป็น insulator


Supplement
– ความสัมพันธ์ของผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นกับ electrode จาก electrolysis จาก aqueous copper (II) sulfate โดยใช้ carbon electrode ผ่านกระบวนการแลกเปลี่ยนไอออน
– อธิบายผลิตภัณฑ์ของกระบวนการ electrolysis ของ halide จาก dilute or concentrated aqueous solution
– สมการ Half equation ของ reaction ที่ cathode
– อธิบายกระบวนการแลกเปลี่ยนประจุ เช่นการเคลื่อนที่ของ electron และการเคลื่อนที่ไอออนจาก simple cell
– อธิบายกระบวนการผลิต aluminums จาก aluminium oxide ใน Molten cryolite และ การผลิต chlorine hydrogen และ Sodium hydroxide จาก concentrated aqueous sodium chloride

6. Chemical energetics

6.1 Energies of a reaction
Core
– ความหมายของ exothermic และ endothermic reaction
– Energy level diagram

Supplement
– อธิบายกระบวนการ bond breaking ใน endothermic process และ bonding forming ใน exothermic process
– วาดและระบุประเภทของพลังงานใน energy diagram ของ endothermic และ exothermic reaction และทำการคำนวณพลังงานของปฏิกิริยาได้

6.2 Energy transfer
Core
– อธิบายการปล่อยความร้อนจากเชื้อเพลิง
– เชื้อเพลิงไฮโดรเจน
– อธิบาย radioactive isotopes เช่น 235U เป็นแหล่งพลังงาน

Supplement

– อธิบายเชื้อเพลิงไฮโดรเจนกับการเกิดปฏิกิริยา oxygen ในการผลิตกระแสไฟฟ้า

7. Chemical reactions

7.1 Physical and chemical changes
Core
ระบุการเปลี่ยนทางเคมีและทางกายภาพและเข้าใจความแตกต่างระหว่างทั้งสองการเปลี่ยนแปลง

7.2 Rate (Speed) of reaction
Core
– ปัจจัยที่มีผลต่อความเร็วในการเกิดปฏิกิริยาเคมี เช่น ความเข้มข้น พื้นที่ผิว ตัวเร่งปฏิกิริยา และอุณหภูมิ
– การประยุกต์ปัจจัยที่มีผลต่อปฏิกิริยากับการอธิบายเรื่องแรงระเบิดเช่น fine powders และแก๊ส
– แปรผลข้อมูลจากการทดลองที่เกี่ยวข้องกับ rate of reaction

Supplement
– เลือกปัจจัยที่เหมาะสมต่อการเพิ่ม rate of reaction
– อธิบายปัจจัยของอุณหภูมิและความเข้มข้น จากทฤษฎีการชนของอนุภาค
– อธิบายบทบาทของแสงใน photochemical reaction และผลของแสงที่มีผลต่อ rate of reaction
– อธิบายการใช้ Silver salt ในกระบวนการ photography เช่นในกระบวนการ reduction of silver ions to silver และปฏิกิริยา photosynthesis ของ carbon dioxide

7.3 Reversible reaction
Core
– อธิบายความหมายของ Reversible reaction เมื่อมีการเปลี่ยนแปลง condition

Supplement
– ปัจจัยที่มีผลต่อ reversible reaction เพื่อให้เกิดการ reverse reaction เช่น ความเข้มข้น อุณหภูมิ และความดัน
– อธิบายปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อ Equilibrium

7.4 Redox
Core
– อธิบายปฏิกิริยา oxidation และ reduction ในแง่ของ ออกซิเจนที่ lose หรือ gain

Supplement
– อธิบาย redox ในแง่ของ electron transfer
– การระบุปฏิกิริยา redox ในการเปลี่ยนแปลง oxidation number และการเปลี่ยนสีของ KMnO4
– ระบุ oxidizing agent และ reducing agent จากสมการ

8. Acids, bases and salts

8.1 The characteristic properties of acids and bases
Core
– อธิบาย characteristic ของกรด และเบส กับโลหะ bases carbonate limus methyl orange และ ammonium salts
– อธิบาย neutrality relative acidity และ alkalinity ในแง่ของ pH และใช้ universal indicator paper
– ความจำเป็นในการควบคุมความเป็นกรดในดิน

Supplement
– อธิบายความเป็นกรดและเบสในแง่ของการแลกเปลี่ยนโปรตอน
– อธิบายความเป็นแก่และอ่อนของสารละลายกรดและเบส

8.2 Types of oxide
Core
-จำแนกประเภทของ acidic basic oxide ที่สัมพันธ์กันกับ metallic และ non-metallic

Supplement
-จำแนกสารประกอบประเภท amphoteric oxide

8.3 Preparation of Salts
Core
-อธิบายการเตรียมและแยก และการทำให้ salts นั้นบริสุทธิ์

Supplement
-อธิบายความเข้าใจในการแยก insoluble salts ออกมาจากกระบวนการ precipitation

8.4 Identification of Ions and Gases
Core

การทดสอบ Cation : Flame test identify , Aqueous cation (aluminium, Ammonium, Calcium, Chromium (III), Copper(II), Iron (II) และ Zinc โดยใช้ sodium hydroxide)
การทดสอบ Anion : การทดสอบ Carbonate โดยใช้กรด การทดสอบ Cl-, Br-, I-, NO3-, SO42- และ SO32-
การทดสอบ Gases : Ammonia Chlorine โดยใช้กระดาษ litmus การทดสอบ CO2 โดยใช้ limewater การทดสอบ H2 โดยใช้การจุดไฟ (light splint) O2 (ใช้ glowing splint) และ การทดสอบ SO2 ใช้สารละลาย potassium manganate (VII)

9. Periodic table

9.1 The periodic table
Core
อธิบายวิธีการจำแนก element ใน periodic tables ตาม properties

9.2 Periodic trends
Core
-อธิบายแนวโน้มจาก metallic ถึง non-metallic character ในคาบเดียวกัน

Supplement
-อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างเลขหมู่ และจำนวน valence electron และ metallic/non-metallic character

9.3 Group properties
Core
– อธิบาย properties ของ group IA เช่น Li Na K Melting point density และ ปฏิกิริยากับน้ำ
– เข้าใจเรื่องสีของ Halogen และอธิบายคุณสมบัติของ Halogen

Supplement
-ระบุแนวโน้มต่างๆ ตาม periodic group ต่างๆ

9.4 Transition elements
Core
คุณสมบัติต่างๆ ของ transition metal เช่น ความหนาแน่น จุดหลอมเหลวที่สูง และมีสีต่างๆ และคุณสมบัติการเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา

Supplement
เข้าใจในเรื่องของ transition metal มี oxidation number หลายค่า

9.5 Noble gases
Core
– อธิบาย noble gases ใน Group VIII โดยเป็น gases ที่เป็น monoatomic gases โดยดูจาก electronic configuration

10. Metals

10.1 properties of metals
Core

– คุณสมบัติทางกายภาพของโลหะ เช่น การนำไฟฟ้า การนำความร้อน จุดเดือด จุดหลอมเหลว เป็นต้น
– ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นของโลหะกับกรดเจือจาง และปฏิกิริยาของโลหะกับออกซิเจน
– คุณสมบัติของ Alloy

10.2 reactivity series
Core
-ลำดับ reactivity ของ โลหะ กับน้ำหรือกรดเจือจาง และปฏิกิริยา reduction ของ oxide กับ carbon และลำดับ reactivity ของ โลหะจากการทดลอง

Supplement
– ลำดับแนวโน้มของ reactivity ที่สัมพันธ์กันกับโลหะที่จะเกิดเป็นประจุบวก ที่เกิดในระบบ aqueous และ oxide
– ปฏิกิริยากิริยาความร้อนของ OH, CO32- และ NO3 ของโลหะ

10.3 Extraction of metals
Core
– อธิบายกระบวนการสกัดโลหะจากแร่ และ reactivity ต่างๆของโลหะ
– กระบวนการสกัด Iron จากแร่ Hematite
– กระบวนการเปลี่ยน iron ไปเป็น Steel ผ่าน basic oxide และ oxygen
– กระบวนการสกัด Al จาก bauxite ผ่านกระบวนการ electrolysis
ข้อดีข้อเสียในกระบวน recycling metal

Supplement
– กระบวนการสกัด Zinc จาก แร่ Zinc blende
– กระบวนการสกัดแร่ aluminium จาก bauxite ประกอบด้วย บทบาทของ cryolite และปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นที่ electrode

10.4 Uses of metals
Core
– การใช้ aluminium ในการผลิตเครื่องบิน และวัสดุบรรจุอาหาร
การใช้โลหะประเภทต่างๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น อุปกรณเครื่องครัว และ ตัวถังรถยนต์

Supplement
– อธิบายกระบวนการใช้ zinc สำหรับ galvanizing และการทำทองเหลือง
– วิธีการเปลี่ยนคุณสมบัติของ iron โดยการควบคุม additives เพื่อที่จะผลิต steels alloy

11. Air and water

11.1 Water
Core
– อธิบายกระบวนการทดสอบน้ำ CoCl2 และ CuSO4 และกระบวนการบำบัดน้ำ เช่นการกรอง และ Chlorination
– ยกตัวอย่างการใช้น้ำในอุตสาหกรรมและบ้าน

Supplement
– กระบวนการทำน้ำที่ปล่อยภัยต่อการดื่ม

11.2 Air
Core
– องค์ประกอบของแก๊สในอากาศสะอาด, มลภาวะโดยทั่วไปที่อยู่ในอากาศ, แหล่งที่มาของมลภาวะ
– ผลของมลภาวะต่อสุขภาพ และสิ่งแวดล้อม
– การเกิดสนิมเหล็กและวิธีการป้องกันสนิม

Supplement
– กระบวนการแยกแก๊สออกซิเจนและไนโตรเจนเหลวจากอากาศด้วยวิธี Fractional distillation
– กระบวนการเกิด Oxide ของ nitrogen จากรถยนต์
– อธิบายกระบวนป้องกันการผุกร่อนเช่น sacrificial protection และ galvanizing method

11.3 Nitrogen and fertilizers
Core
– อธิบายการผลิตปุ๋ย N P K และกระบวนการ displacement of Ammonia จากเกลือ

Supplement
– อธิบายกระบวนการผลิต Ammonia โดย Haber process จากแหล่ง H2 และ N2

11.4 Carbon Dioxide and Methane
Core
– Greenhouse gases เช่น CO2 CH4 และผลที่ทำให้เกิด climate change
– กระบวนการเกิดแก๊ส CO2

Supplement
-อธิบายวัฎจักรคาร์บอนจากกระบวนการเผาไหม้ และกระบวนการหายใจ จนถึงกระบวนการ photosynthesis

12. Sulfur

Core
– แหล่งของ Sulfur
การใช้งาน S ในอุตสาหกรรมของ H2SO4 และกระบวนการ bleaching ของไม้

Supplement
– กระบวนการผลิต H2SO4 ผ่าน Contact process ในปฏิกิริยาที่สำคัญ
– คุณสมบัติและการใช้งานของ diluted H<>sub2SO4 และ Concentrated H2SO4

13. Carbonate

Core
– กระบวนการผลิต CaO จาก CaCO3 จากกระบวนการ Thermal decomposition
– การใช้ lime และ slaked lime ในการลดความเป็นกรดในดินและในการกระบวนการ neutralization waste ที่เป็นกรด
– การใช้ CaCO3 ในอุตสาหกรรมในการผลิต Iron

14. Organic chemistry

14.1 Names of compounds
Core
– การวาดโครงสร้างสาร organic และการอ่านชื่อของ CH4 CH3CH3, C2H5OH และ CH3COOH
– การอ่านชื่อสาร organic ประเภทต่างๆ เช่น -ane, -ene, -ol, หรือ -oic acid

Supplement
– การอ่านชื่อและการวาดโครงสร้างสาร organic ที่เป็นสารunbranched organic ที่มี C สูงสุด 4 C และ การอ่านชื่อ Cis-/Trans-
– การอ่านชื่อและวาดโครงสร้างของสาร organic ประเภท ester จาก unbranched alcohol และ carboxylic acid

14.2 Fuels
Core
– ประเภทของ Fuels เช่น Coal Natural Gas และ petroleum อีกทั้งองค์ประกอบภายใน Fuels ประกอบด้วยอะไรบ้าง
– กระบวนการแยก Petroleum ผ่าน Fractional distillation ผลิตภัณฑ์ที่ได้ และการใช้ประโยชน์ของสารที่ได้

14.3 Homologous Series
Core
-อธิบายลักษณะของ Homologous series ของสาร organic compound ที่มี Functional group แบบเดียวกัน

Supplement
-อธิบายลักษณะโดยทั่วไปของ homologous series และการเกิด Isomerism

14.4 Alkane
Core
-คุณสมบัติโดยทั่วไปของสารประกอบ Alkane จุดเดือด จุดหลอมเหลว ยกเว้นเรื่องการเผาไหม้ และชนิดของ bonding ที่เกิดขึ้นในโครงสร้าง

Supplement
– Substitution of Alkanes

14.5 Alkenes
Core
– กระบวนการผลิต Alkene จากกระบวนการ cracking โดย Hydrogen
– ความแตกต่างระหว่าง Saturated และ Unsaturated hydrocarbon
ปฏิกิริยาการเกิด polymer (Polymerization)

Supplement
ปฏิกิริยาการ addition ของ Br2, H2 และ Steam

14.6 Alcohol
Core
– กระบวนการหมักและจากปฏิกิริยาของ Alkene กับ steam
– คุณสมบัติของ Ethanol
– บทบาทของ Ethanol ในการเป็น Solvent และการเป็นเชื้อเพลิง

Supplement
-ข้อดีและข้อเสียจากกระบวนการผลิต Ethanol

14.7 Carboxylic acid
Core
คุณสมบัติของ Ethanoic acid

Supplement
– กระบวนการเกิด Ethanoic acid จากปฏิกิริยาการ oxidation ของ KMnO4 ในภาวะที่เป็นกรด
– ความแรงของกรด Ethanoic acid (Weak acid)
– ปฏิกิริยาการเกิด Ester ของ alcohol และ Carboxylic acid

14.8 Polymer
Core
– กระบวนการเกิด polymer จาก monomer
– การใช้งานของ plastic และเส้นใย เช่น nylon และ terylene
– ปัญหาของมลภาวะที่เกิดขึ้น จาก non-biodegradable plastic

Supplement
– การเกิด polymer ที่มาจาก monomer ต่างชนิดกัน
– อธิบายความแตกต่างระหว่างปฏิกิริยา Condensation และ Addition polymerization

         เป็นยังไงกันบ้างครับ รายละเอียดเยอะจนตาลายกันเลยทีเดียว  ในส่วนต่อไป พี่เกมจะมาขยายความลงรายละเอียดในส่วนของ ข้อสอบ IGCSE Chemistry Paper 5 และ Paper 6 นะครับ

         Paper 5 เนื้อหาและคำตอบนั้นจะสังเกตการณ์ทดลองที่ทำการทดลองในหัวข้อนั้นๆ แต่ส่วนลักษณะคำถามโดยส่วนใหญ่แล้ว จะเป็นการตอบจากการสังเกต ในสิ่งเกิดขึ้นจริงจากการทดลองในหัวข้อนั้นๆ โดยเน้นว่าการตอบควรเป็น Technical Terminology เพื่อที่จะได้คะแนนที่ดี

เช่น ถ้าเป็นหัวข้อ precipitation คือการตกตะกอนซึ่งเป็นของแข็งที่เกิดขึ้นในน้ำ ควรใช้คำอธิบายว่า insoluble matter และควรอธิบายลักษณะทางกายภาพที่พบเห็นด้วยตาด้วย เช่น สีที่ของของแข็งที่เกิดครับ

         Paper 6 คือเป็นการตอบคำถามซึ่งเกี่ยวข้องกับการทดลองของ Chemistry ต่างๆ แต่จะแตกต่างกับ Paper 5 ตรงที่
จะเป็นข้อมูลที่กำหนดมาให้เรียบร้อยแล้ว เราต้องใช้ความเข้าใจในเนื้อหาเช่น อุปกรณ์การทำแลป วิธีการอ่านค่าของอุปกรณ์ต่างๆ ภายในห้องแลป เช่น การปริมาตรของ Graduated cylinder การวาดกราฟผลการทดลอง เป็นต้น

บอร์ด Pearson Edexcel

         ต่อไป เราจะมาดูกันในส่วนของโครงสร้างข้อสอบของ Pearson Edexcel ซึ่งจะมี paper ทั้งหมด 2 papers ให้น้องๆ สอบ ในส่วนของรูปแบบคำถามจะประกอบไปด้วย

  1. รูปแบบที่เป็นตัวเลือก (Multiple Choices)
  2. รูปแบบเป็นการตอบคำถามแบบสั้นๆ (Short Answer)
  3. รูปแบบการคำนวณ (Calculation)
  4. รูปแบบการบรรยาย (Extended open-response)
 

โดยในการในการสอบนี้น้องๆ สามารถนำเครื่องคิดเลขเข้าใช้ในการสอบได้ด้วยนะครับ

รายละเอียด เวลา และคะแนนรวมของข้อสอบ IGCSE Chemistry บอร์ด Edexcel Paper 1 คือ  

เนื้อหาที่จะตั้งเป็นคำถามจะประกอบด้วยหัวข้อ ดังนี้

  1. Principles of chemistry
  2. Inorganic Chemistry
  3. Physical Chemistry
  4. Organic Chemistry

ส่วนของ Paper 2 นั้นจะมีความต่างกันเล็กน้อยดังในภาพครับ

เนื้อหาข้อสอบ IGCSE Chemistry - Pearson Edexcel - Bigcover6

ซึ่งเนื้อหาที่จะออกสอบก็เป็นเนื้อหาที่ยังไม่ออกใน Paper 1 ครับ โดยรายละเอียดหัวข้อนั้นก็คือ

  1. Principles of chemistry
    – State of matter
    – Elements, compounds and mixture
    – Atomic structure
    – The periodic table
    – Chemical formulae, equations and calculations
    – Ionic bonding, Covalent bonding and Metallic bonding
    – Electrolysis

  2. Inorganic chemistry
    – Group 1 (Alkali metals), Group 7 (Halogens)
    – Gas in atmosphere
    – Reactivity series
    – Extraction and uses of metals
    – Acid, bases, titration and salts preparation
    – Chemicals test

  3. Physical chemistry
     Energetics
    – Rate of reaction
    – Reversible reaction and equilibria

  4. Organic Chemistry
    – Introduction
    – Crude oil
    – Hydrocarbon (Alkanes, Alkenes)
    – Alcohol
    – Carboxylic acid
    – ester
    -Synthetic polymers

วิธีการคิดคะแนน IGCSE

         ในส่วนของการคิดคะแนนนั้น พี่เกมรู้มาว่าผู้ปกครองและน้องๆ หลายคนนี่งงกันมากว่าเค้ามีมาตรฐานอะไรในการประเมิณ ง่ายๆ แบบนี้ครับ การตรวจข้อสอบนั้นเริ่มจากเมื่อได้ดำเนินการสอบเสร็จแล้ว ตัวข้อสอบทั้งหมดจะถูกส่งไปให้ศูนย์สอบ เพื่อทำการตรวจ ซึ่งจะแยกในส่วนของ

Multiple Choices : ตรวจโดยใช้คอมพิวเตอร์
Short Answer และ Open – responses : ตรวจโดยทีม Examiner ผู้เชี่ยวชาญ

         การตรวจข้อสอบนั้น น้องๆ สามารถเชื่อมั่นในมาตรฐานได้เลยเพราะต้องผ่านขั้นตอนอันหลากหลายเพื่อที่จะให้ทำให้การคิดเกรดของน้องๆ ในปีนั้นสมบูรณ์และเที่ยงธรรมที่สุด

         โดยก่อนที่จะเริ่มทำการตรวจข้อสอบของแต่ละปีนั้น จะมีการทดสอบ Examiner ในการให้คะแนนจากตัวอย่างการตอบคำถาม ทางทีมจะมี Mark Scheme (เฉลยแบบบอกวิธีการให้คะแนน) ที่กำหนดขึ้นมาเพื่อเป็นStandard ที่ให้ Examiner ทุกคนนั้นตรวจเทียบ ทำให้ได้คะแนนดิบ (Raw Score) ที่มีความน่าเชื่อถือออกมา ซึ่งเหตุผลที่เขาไม่เอาคะแนนดิบมาคิดตรงๆ เลยนั้นเพราะว่าความง่ายยากของข้อสอบแต่ละปีนั้นไม่เท่ากันครับ อย่าลืมว่าหลักสูตรของแต่ละปีมีการเปลี่ยนแปลงพัฒณาได้ตลอด

         ดังนั้นจึงจะต้องมีการรีวิวข้อสอบในแต่ละปีเพื่อดูระดับความยากง่ายของข้อสอบในปีที่ทำการสอบเทียบกัน โดยทาง Examiner จะดูภาพรวมคะแนนดิบว่าเด็กๆ ที่สอบในปีนั้นๆ ทำกันได้ประมาณเท่าไหร่เพื่อมากำหนด Grade Boundaries ของปีนั้น ซึ่งเจ้าตัวนี้ก็คือเกณฑ์ขั้นต่ำ ที่จะบอกได้ว่าน้องต้องได้คะแนนดิบเท่าไหร่ถึงจะได้เกรด ABC โดย Grade Boundaries นั้นแต่ละปีก็ไม่เท่ากันอีกด้วยครับ

แต่น้องๆ ไม่ต้องห่วง เพราะยังไงซะจะมีการประกาศออกมาทุกปีอยู่แล้ว ว่าปีนี้ Grade Boundaries นั้นอยู่ที่เท่าไหร่ ซึ่งการทำเช่นนี้ทางศูนย์สอบแจ้งว่าเพื่อความยุติธรรมของเด็กที่สอบในปีถัดๆไป และเพื่อที่จะได้มีหลักเกณฑ์ที่น่าเชื่อถือได้เหมือนกันในทุกปีครับ

         อย่างที่ทราบกันดีว่า Grade ที่จะได้มีตั้งแต่ต่ำสุด คือ G , F, E, D, C, B, A, A* คือสูงสุด ส่วนมากแล้วหากได้คะแนนดิบเกิน 80% จะได้เกรด A และเกิน 90% มักจะได้ A* แต่อย่างที่พี่เกมบอกไว้ว่า Grade Boundaries ของแต่ละปีนั้นไม่เท่ากัน ดังนั้น ปีที่แล้วได้คะแนนเกิน 80% อาจจะตัดให้ได้ A*
แต่ปีที่เราสอบมีการประเมินมาแล้วว่าต้องได้เกิน 90% เท่านั้นถึงจะได้ A* น้องๆ จึงต้องรู้ Mark Scheme และพยามตอบให้ตรงตามนั้นมากที่สุดครับ เพราะถ้าตอบไม่ตรง คะแนนก็หาย เกรดก็แย่ไปตามๆ กันครับ

         จะเห็นว่า ทั้ง 2 บอร์ดที่เป็นผู้ออกข้อสอบ IGCSE Chemistry นั้นมีรายละเอียดความแตกต่างกันอยู่ ดังนั้นสำคัญเป็นอย่างมากที่น้องๆและผู้ปกครองควรจะต้องทราบก่อนว่า โรงเรียนที่น้องๆ เรียนอยู่นั้นใช้บริการของบอร์ดไหนบ้างในแต่ละวิชานะครับ ซึ่งจะเห็นว่า อย่างที่พี่เกมอธิบายไปด้านบน ลักษณะของโจทย์และเนื้อหาที่น้องจะต้องเจอในการสอบนั้นก็ไม่เหมือนกัน ถ้าเราเลือกเรียนพิเศษแบบเข้าใจผิดบอร์ด หรือกับครูที่ไม่มีความรู้เรื่องนี้มากพอก็เท่ากับเราเสียเวลาในการติวไปโดยเปล่าประโยชน์เลยทีเดียว หรืออย่างการทำความเข้าใจเรื่องการคิดเกรด ถ้าเราเข้าใจเกณฑ์ต่างๆ อย่างทะลุปรุโปร่งนี่บอกเลยว่าคะแนนที่อยากได้อยู่ไม่ไกลเลยครับ

         ทาง ignite มีทีมครูที่เชี่ยวชาญในทั้งสองบอร์ด ที่จะช่วยสรุปเนื้อหาให้น้องๆ เข้าใจอย่างครอบคลุมในวิชาหลักของ IGCSE พร้อมเคล็ดลับในการฝึกตะลุยโจทย์จนน้องๆ ได้ perfect score และก้าวไปสู่คณะอินเตอร์ที่ใฝ่ฝัน หากน้องๆ คนไหนสนใจ สามารถติดต่อเข้ามาได้ที่พี่ๆ ignite เพื่อสอบถามปรึกษาแนวทางในการเตรียมตัวได้ทาง Line @igniteastar หรือ โทร 02-658-0023 , 091-5761475

ดูรายละเอียดคอร์สเรียน ignite A* เพิ่มเติมได้ทาง >> https://www.igniteastar.com/

Shop online

Related Blog & News

ข่าวสารและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง

Comments

Comment Write a comment...