เทคนิคการเลือกวิชา IGCSE, A-Level ให้ได้คณะในฝัน

การเลือกวิชาใน IGCSE และ A-Level นั้นถือว่าสำคัญมากๆ เพราะเป็นการกำหนดอนาคตที่ใช้ยื่นคะแนนเข้าคณะในฝันของนักเรียนทุกคนที่เรียนหลักสูตรอังกฤษ เพราะหลักสูตรนี้ถือว่าได้รับการยอมรับในสากลจากมหาวิทยาลัยทั่วโลก นักเรียนหลายคนมักจะสับสนว่าควรเลือกวิชาที่ชอบ หรือวิชาที่จำเป็นดีกว่า ดังนั้นวันนี้พี่ๆ ignite จะมาแนะนำเทคนิคการเลือกแบบเข้าใจง่ายๆ ให้น้องๆ กันครับ ถ้าพร้อมแล้วก็มาเริ่มกันเลย !!
ทำความรู้จักหลักสูตร IGCSE vs A-Level

จากภาพด้านบน กล่าวได้ว่า IGCSE นั้นคือหลักสูตร 2 ปีสำหรับน้องๆ Year 10-11 ที่เป็นการเตรียมปูพื้นฐานวิชาให้มีองค์ความรู้รอบด้านและแน่นพอที่จะเลือกเรียนวิชาในขั้นสูงกว่า หรือการทำ A-Level อีกสองปี เพื่อยื่นคะแนนทั้ง 3 วิชานี้เข้ามหาวิทยาลัยที่น้องๆ ต้องการ ต่อมาเรามาดูกันว่าเราควรเลือกเรียนวิชาอะไรให้ตรงกับคณะที่เราต้องการเข้าศึกษาต่อ มาเริ่มกันที่หลักสูตรแรกนั้นก็คือ IGCSE
เทคนิคการเลือกวิชา IGCSE

โดยวิชาที่น้องๆ สามารถสอบได้ใน IGCSE นั้นแบ่งออกเป็น 5 หมวด
- Humanities & Social Science : Geography, History, Psychology
- Language : English, Thai, Foreign Languages
- Science : Biology, Chemistry, Physics, Combined Sciences
- Mathematics , Further Mathematics
- Creative, Technical and Vocational : Business, Economic, ICT
พี่ๆ ignite สนับสนุนให้น้องๆ เลือกเรียนให้ครบทุกด้าน เปิดโอกาสตัวเองให้กว้างด้วยการเลือกวิชา Facilitating subjects เพื่อที่จะสามารถต่อยอดความรู้ได้ตอนขึ้นสู่หลักสูตร A-Level โดยน้องๆ ไม่ควรเลือกตามเพื่อน หรือเลือกเรียนเพียงเพราะเห็นว่าวิชานั้นจะได้คะแนนง่าย การเลือกวิชาน้อยเกินไปก็อาจจะทำให้เรามีข้อจำกัดในการเลือกวิชา A-Level ในปีสูงอีกด้วย
โดยน้องๆ ที่ตั้งเป้าว่าจะเข้า Top Universities ทั่วโลกนั้นควรจะเลือกวิชา IGCSE 9-12 วิชา เพื่อองค์ความรู้ที่รอบด้าน หากคิดว่าตอน A-Level เราจะเรียนวิชาหมวดวิทยาศาสตร์ เราก็จำเป็นจะต้องเลือกวิชาวิทยาศาสตร์ตัวเหล่านั้นตอน IGCSE ด้วย ซึ่งนี่คือข้อบังคับหลัก เพราะเนื้อหามีการต่อเนื่องกัน แต่บางโรงเรียนอาจจะอนุโลมให้หากน้องๆ เลือกเรียน Combined Sciences (ที่รวม 3 วิชา Chemistry,Biology,Physics ใน Syllabus เดียว )
ในส่วนของวิชาภาษาต่างประเทศ เช่นฝรั่งเศส เยอรมัน สเปนนั้น เนื้อหาวิชาจะไม่ได้เริ่มใหม่ตั้งแต่ต้น ดังนั้นพี่ขอแนะนำว่า น้องๆ ควรจะต้องมีพื้นฐานภาษานั้นๆ มาก่อนประมาณ 2 ปีจึงจะเรียนวิชาภาษาได้อย่างราบรื่น
นอกจากนี้ สาเหตุที่ต้องเลือกวิชาหลักเป็น Extended นั้นเพราะการสอบ IGCSE นั้นแบ่งเป็น 2 ระดับ ได้แก่
- Core ซึ่งจะครอบคลุมเฉพาะเนื้อหาพื้นฐานเบื้องต้นของวิชานั้นๆ
เกรดที่จะได้ ได้แก่ C,D,E,F,G (การได้แค่เกรด C จะนั้นไม่เพียงพอที่จะเรียนต่อ A- Level) - Extended เนื้อหาขั้นสูงที่ต้องเรียนเข้มข้นกว่า โดยน้องๆ ที่เลือกเรียนแบบ Extended มีสิทธิได้คะแนนสูงสุดคือ A*แล้วไล่ไป A,B,C,D,E ตามลำดับ
เห็นแล้วใช่มั้ยครับว่าการที่ระดับเนื้อหาแบ่งเป็น Core กับ Extended นั้นทำให้เราต้องเลือกดีๆ ว่าจะให้วิชาไหนเป็นแบบไหน พี่ๆ แนะนำให้น้องๆ เลือกวิชาหลักเป็น Extended ให้หมด เพราะจะทำคะแนนได้มากสุด A* ซึ่งสามารถต่อยอดวิชานั้นใน A-Level ได้ด้วย ตัวอย่างเช่น หากน้องๆ จะเลือกเรียนวิชา Physics การมีพื้นฐานวิชา Math (Extended) นั้นจำเป็นอย่างยิ่ง
เทคนิคการเลือกวิชา A-Level

สำหรับหลักสูตร A-Level สิ่งที่สำคัญที่สุดของ 3 วิชาที่ต้องเลือกคือ ต้องตรงกับ Requirement ของคณะที่สนใจ ! และต้องเป็นวิชาที่ทำคะแนนได้ดีตอน IGCSE (และเลือกเรียน Extended) โดยบางโรงเรียนอาจปฏิเสธไม่ให้น้องๆ เลือกวิชา Chemistry หากเห็นว่าตอนทำ IGCSE นั้นน้องๆ ได้คะแนนวิชานี้แค่เพียง B หรือ C เพราะประเมินแล้วว่าน้องๆ อาจจะเรียน A-Level วิชานี้ต่อไม่ไหว เท่ากับปิดโอกาสไม่ให้น้องๆ เข้าคณะสายวิทย์หลายสายไปอย่างน่าเสียดาย
แต่หากน้องๆ ยังลังเลในคณะที่จะเข้า และอยาก playsafe เลือกวิชาที่ยื่นได้หลายที่ ก็ยังต้องระวังที่จะเลือกเรียนวิชาที่ไม่ใช่ Traditional subjects หรือที่เรียกกันว่า “Non-preferred subjects” วิชาเหล่านี้มักไม่ได้รับการยอมรับในบาง Top Universities เช่น The London School of Economics (LSE) ที่ระบุชัดเจนว่าไม่ยอมรับนักเรียนที่เรียนวิชา Media, Design and Technology, Law เป็นต้น
ในอีกแง่นึง มหาวิทยาลัยในต่างประเทศมักเรียกวิชาเหล่านี้ว่า Soft Subjects และมักจะสนับสนุนให้นักเรียนเลือกวิชาที่เป็น Hard Subjects เพื่อที่จะได้ความรู้ที่ลึกและเข้มข้นกว่า โดยวิชาใน Hard subjects นั้นมักจะเป็นวิชาหลักๆ เช่น Mathematics, Biology, Chemistry, Physics, Geography, History, English ฯลฯ ซึ่งมหาวิทยาลัยส่วนมากที่ถึงจะไม่ได้ระบุ requirement วิชาชัดเจน มักจะยอมรับเสมอหากน้องๆ ยื่นวิชาเหล่านี้ ในขณะที่ Soft Subjects มักเป็นวิชาจำพวก Dance, Photography, Art and design เป็นต้น
การเลือกวิชามากไป อาจส่งผลเสีย !

อีกจุดที่ต้องคำนึงคือ ถึงแม้จะเราจะเลือก A-Level ได้ เกิน 3 วิชา แต่การเลือกวิชาที่ 4-5 นั้นไม่จำเป็นเสมอไป จริงอยู่ที่การมีวิชาที่ 4 ที่เชื่อมโยงกับคณะที่เราสนใจจะเข้า อาจแสดงให้มหาวิทยาลัยเห็นว่าเรามีความกระตือรือร้นในการเรียน มีความผิดชอบ และสนใจในหลักสูตรจริงๆ แต่ยิ่งมากวิชาก็ยิ่งทำให้น้องๆต้องจัดสรรเวลาเพื่อเรียนให้ครอบคลุมทั้งหมด ซึ่งนับเป็นงานที่หนักมากสำหรับสองปี มหาวิทยาลัยทั่วโลกส่วนมากนั้นต้องการแค่คะแนน A-Level เพียง 3 วิชาเท่านั้นสำหรับ Entry requirement
และหากน้องๆ จัดสรรเวลาได้ไม่พอ จนทำให้คะแนนในวิชาที่ 4 นั้นแย่ คะแนนนั้นก็จะเป็น Bad Record ของน้องตลอดไป หากยื่นมหาวิทยาลัยในประเทศไทยนั้นไม่เท่าไหร่ แต่มหาวิทยาลัยที่ต่างประเทศนั้นมักจะดูทุกคะแนนของ IGCSE, A- Level ดังนั้นการมีคะแนนที่แย่อยู่ในประวัติก็จะส่งผลเสียมากกว่าผลดี
ดังนั้นจึงมีน้องๆ หลายวิชาที่เรียนวิชาที่ 4 ไปเพียงครึ่งปีแล้วขอดร็อป ซึ่งน้องๆ สามารถทำได้ครับ
ยกเว้นเสียแต่ว่าคณะในมหาวิทยาลัยที่น้องๆ สนใจจะเข้าจริงๆ นั้นต้องการวิชาที่ 4 ถ้าเป็นแบบนั้นก็อาจจะหลีกเลี่ยงไม่ได้
สำหรับคนที่มีคณะและสายอาชีพในดวงใจแล้ว พี่ๆ Ignite มีตัวอย่างวิชาที่น้องๆ ควรจะเลือกในหมวดต่างๆ มาให้ดังนี้ แยกตามความถนัดทางสายวิทย์ และสายศิลป์ เพื่อให้ดูง่ายๆ ตามภาพด้านล่างครับ
วิชา A-Level ที่แนะนำสำหรับ ทีมสายเลขและวิทย์

วิชา A-Level ที่แนะนำสำหรับ ทีมสายกลาง

วิชา A-Level ที่แนะนำสำหรับ ทีมสายภาษาและศิลปะ

เป็นยังไงครับ พอได้ไอเดียการเลือกวิชาสำหรับ IGCSE, A-Level เพิ่มขึ้นกันแล้วใช่มั้ย รับรองว่าถ้าเลือกประมาณไกด์ไลน์นี้ หนทางสู่อาชีพที่ใช่นั้นไม่ไกลเกินเอื้อมแน่นอน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการดู Requirements ของมหาวิทยาลัยที่อยากเข้านั้นสำคัญที่สุด น้องๆ ควรศึกษาให้ละเอียดก่อนตัดสินใจเลือกนะครับ
หากผู้ปกครองและน้องๆ ยังมีข้อสงสัยหรืออยากจะปรึกษากับทีม ignite เรื่องคอร์สเรียน การเลือกวิชาในโรงเรียนนานาชาติ หรือ Requirements คณะในฝัน ของแต่ละมหาวิทยาลัย สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือสมัครเรียนได้ที่ Line @igniteastar หรือคลิก https://bit.ly/3qOtyCB และโทร 061-265-0047 ได้เลยครับ
ดูรายละเอียดคอร์สเรียน ignite A* เพิ่มเติมได้ทาง >> https://www.igniteastar.com/
Related Blog & News
ข่าวสารและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง
-
Blog
PATHWAY TO SUCCESS กิจกรรมที่จะพาลูกของคุณพ่อคุณแม่ไปสู่คณะในฝันที่ ignite by OnDemand
สวัสดีครับคุณพ่อคุณแม่ อย่างที่ทราบกันว่าการเตรียมตัวสอบเข้าคณะอินเตอร์ หรือคณะที่เปิดรับใน TCAS รอบ 1 นอกจากการเรียนที่เข้มข้นแล้ว กิจกรรมต่างๆ ระหว่างการเตรียมตัวสอบก็เป็นอีกหนึ่งตัวแปรสำคัญที่ทำให้ลูกๆ ของท่านมีโอกาสสอบติดมากขึ้น เพราะหลักสูตรต่างๆ ที่เปิดรับใน TCAS รอบ 1 มักมองหานักศึกษาที่มีทักษะและประสบการณ์ที่มากกว่าแค่ความรู้ในห้องเรียน ignite เล็งเห็นถึงความสำคัญของเรื่องนี้ เราจึงจัดสรรกิจกรรมมากมายเพื่อให้คุณพ่อคุณแม่มั่นใจว่าลูกของท่านจะสอบติด…วันนี้แอดมินขอพาผู้ปกครองทุกท่านไปทำความรู้จักกับ “PATHWAY TO SUCCESS” กิจกรรมที่จะพาลูกของคุณพ่อคุณแม่ไปสู่คณะในฝันที่ ignite by OnDemand กิจกรรมแนะแนวและค้นหาตัวตนที่ ignite เริ่มต้นที่การค้นหาตัวตน เพราะการได้เรียนสิ่งที่น้องๆชอบและเป็นตัวเองคือสิ่งสำคัญ ignite จึงจัดกิจกรรมแนะแนวหลากหลายงานตามสายอาชีพในฝัน ไม่ว่าจะแพทย์ วิศวะ บริหารและอื่นๆ อีกมากมายให้น้องๆ ได้ค้นหาตัวเองว่าตนเหมาะจะเข้าไปเรียนในคณะนั้นๆ หรือไม่ IGNITE FAIR & IGNITE DAY งานแนะแนวเข้ามหาวิทยาลัยหลักสูตรอินเตอร์กว่า 50 หลักสูตร น้องๆ และผู้ปกครองจะได้พบกับบูธรุ่นพี่จากมหาวิทยาลัยทั้งในและต่างประเทศที่พร้อมตอบข้อสงสัยและให้ปรึกษาน้องๆ อย่างใกล้ชิด โดยน้องๆ สามารถเข้ามาสอบถามทั้งเรื่องเรียน สังคมในคณะและเคล็ดลับการเตรียมตัวสอบแบบ Exclusive และนอกจากบูธจากรุ่นพี่กว่า 50 […]
Comments (0)
-
Blog, CU-ATS/CU-AAT
CU-AAT คืออะไร? ครบทุกข้อมูลที่ต้องรู้เกี่ยวกับข้อสอบ CU-AAT
สวัสดีน้องๆ ทุกคนครับ พี่แอดมินเชื่อว่าตอนนี้น้องๆ หลายคนคงกำลังสงสัยกันใช่มั้ยว่าข้อสอบ “CU-AAT คืออะไร” วันนี้เราจะมาตอบทุกคำถามเกี่ยวกับการสอบ CU-AAT ตั้งแต่เนื้อหาข้อสอบเป็นอย่างไร มีกี่วิชา ใช้ยื่นคณะไหนได้บ้าง ค่าสมัครสอบและตารางสอบ…ไม่พูดพร่ำทำเพลง พร้อมแล้วไปอ่านกันเลย !! CU-AAT คืออะไร ข้อสอบ CU-AAT (Chulalongkorn University Academic Aptitude Test) คือ ข้อสอบที่ใช้วัดความสามารถทางด้านคณิตศาสตร์ (Mathematics) และภาษาอังกฤษ (Verbal) ใช้ในการพิจารณาผู้ยื่นเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรี ของหลักสูตรนานาชาติ จุฬาฯ โดยลักษณะข้อสอบคล้ายกับข้อสอบ SAT ธรรมดาทั้ง Part Mathematics และ Part Verbal แต่ความยากของเนื้อหาข้อสอบจะแตกต่างกันออกไป คณะที่สามารถใช้คะแนน CU-AAT เพื่อยื่นพิจารณาศึกษาต่อ เช่น ISE คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (อินเตอร์) […]
Comments (0)
-
Blog, SAT
BBA คืออะไร? อยากสอบติดต้องทำอย่างไรบ้าง?
สวัสดีครับน้องๆ ทุกคน วันนี้พี่แอดมินกลับมาอีกแล้วกลับบทความดีๆ สำหรับชาวอินเตอร์โดยเฉพาะ…พี่เชื่อว่าเด็กสายศิลป์หลายๆ คนคงกำลังมองหาข้อมูล “คณะ BBA” อยู่แน่นอน !!! วันนี้ ignite ขอแชร์ข้อมูลดีๆ เกี่ยวกับคณะ BBA ในมหาวิทยาลัยไทยให้พวกเราทุกคนได้ศึกษารายละเอียดที่ถูกต้องกันนะครับ BBA คืออะไร? เรียนอะไร? BBA คือ หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (Bachelor of Business Administration) ซึ่งเป็นคณะยอดฮิตของเด็กมัธยมที่ต้องการสอบเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี โดยมีมหาวิทยาลัยชั้นนำของไทย เปิดสอนหลักสูตรนี้ เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยเน้นการเรียนการสอนเกี่ยวกับ การบริหาร การบัญชี การเงินและการตลาด โดยวิชาที่เปิดสอนจะขึ้นอยู่กับหลักสูตรของแต่ละมหาวิทยาลัยอีกที น้องๆ อย่าลืมเช็คเพิ่มเติมนะครับ มหาวิทยาลัยที่เปิดสอนหลักสูตร BBA ในประเทศไทย อย่างที่ทราบกันดีว่าคณะ BBA คือ […]
Comments (0)
-
Blog, CU-ATS/CU-AAT
เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างข้อสอบ CU-AAT Math VS ACT Math
สวัสดีครับว่าที่น้องๆ ทีมวิทยา วิศวะอินเตอร์ หรือน้องทีมคณะสายศิลป์ อินเตอร์ หลายๆ คน คงสงสัยว่า หน้าตาข้อสอบของ CU-AAT Math และ ACT Math เป็นอย่างไร เหมือนหรือแตกต่างกันตรงจุดไหนบ้าง และเราควรจะเลือกสอบตัวไหนดี วันนี้พี่ภัทร์มา เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างข้อสอบ CU-AAT MATH และ ACT Math จับทั้งสองข้อสอบมาเปรียบเทียบกันในทุกแง่มุม เพื่อเป็นอีกแนวทางในการช่วยน้องๆ ตัดสินใจครับ ทำความรู้จักข้อสอบ CU-AAT Math VS ACT Math เมื่อเรารู้จักข้อสอบ CU-AAT และ ข้อสอบ ACT TEST กันแล้ว.. ก็มาดูกันว่าเมื่อมีคะแนน CU-AAT Math และ ACT Math สามารถยื่นเข้าคณะไหน มหาลัยไหนได้บ้าง คะแนน […]
Comments (0)
Comments