GED คืออะไร? เจาะลึกทุกรายละเอียดเกี่ยวกับการสอบ GED

ผู้ปกครองและน้องๆ หลายๆ คนคงเคยได้ยินถึงการสอบ GED หรือ สอบเทียบวุฒิ GED มาบ้างแล้วนะครับ วันนี้พี่จะมาไขข้อข้องใจกันครับว่าการสอบนี้เป็นอย่างไร ก่อนอื่นพี่อยากบอกน้องๆ ว่าการสอบ GED เป็นการเพิ่มโอกาสในการสอบเข้ามหาวิทยาลัยสำหรับน้องๆ ที่เรียนแบบ Homeschool มากๆ ครับ น่าสนใจขนาดนี้แล้ว ไปดูกันดีกว่าครับว่าการสอบ GED คืออะไร?
GED คืออะไร?

GED หรือชื่อเต็ม คือ General Educational Development เป็นวุฒิการศึกษาของประเทศสหรัฐอเมริกาครับ ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการของประเทศไทยได้รับรองวุฒิการศึกษานี้ให้เทียบเท่าได้กับวุฒิการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 ของประเทศไทย อย่างเป็นทางการตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2558 น้องๆ สามารถใช้วุฒิ GED นี้ในการเรียนต่อมหาวิทยาลัยได้ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ดังนั้นหมายความว่าหากน้องๆ สอบ GED ผ่านแล้ว ก็เทียบเท่ากับการจบ ม.6 โดยน้องๆ สามารถนำวุฒิ GED ที่ได้นี้ไปยื่นเข้ามหาวิทยาลัยที่น้องต้องการได้เลยครับ (ทั้งนี้ให้น้องๆ ดูประกาศของคณะที่ต้องการเข้าเรียนอีกครั้งนะครับว่ารับการสอบเทียบวุฒิ GED หรือไม่)
การได้มาซึ่งวุฒิ GED นี้ น้องจะต้องไปสอบข้อสอบที่ออกโดย GED อเมริกา ประกอบด้วย 4 วิชา ได้แก่
- Reasoning Through Language Arts (RLA)
- Social Studies
- Mathematical Reasoning
- Science
ซึ่งข้อสอบทั้งหมดเป็นภาษาอังกฤษ ที่เน้นความรู้พื้นฐานที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิต เชื่อมโยงการคิดวิเคราะห์และตรรกะครับผม
ใครสอบ GED ได้บ้าง?

น้องๆ ทุกคนสามารถสอบ GED ได้ แต่มีข้อแม้ว่าต้องมีอายุ 16 ปีขึ้นไป และต้องมีจดหมายยินยอมจากผู้ปกครอง (Consent Form)
GED สอบอะไรบ้าง?

การสอบ GED จะแบ่งออกเป็น 4 รายวิชา ได้แก่ Reasoning Through Language Arts (RLA), Social Studies, Mathematical Reasoning, และ Science คะแนนเต็มวิชาละ 200 คะแนน น้องๆ ต้องสอบได้คะแนนวิชาละ 145 คะแนนขึ้นไป จึงจะได้วุฒิ GED ซึ่งรายละเอียดโครงสร้างข้อสอบมีดังนี้ครับ
1. Reasoning Through Language Arts (RLA) ข้อสอบวิชาภาษาอังกฤษประกอบไปด้วยข้อสอบแบบ multiple choices, drag and drop, select and area, and drop down วัดทักษะการอ่าน ไวยากรณ์พื้นฐาน และการเขียนเรียงความแบบ argumentative โดยการสอบ ใช้เวลารวม 150 นาที แบ่งออกเป็นสามส่วน
Part 1 – 30 minutes
– Reading (2 Passages)
Part 2 – 45 minutes
– Extended Response
Part 3 – 65 minutes
– Reading (4 Passages)
– Standard English Convention (2 Passages)
2. Social Studies ข้อสอบวิชาสังคม ประกอบไปด้วยคำถาม 30 ข้อ ใช้เวลาทั้งหมด 70 นาที ทักษะที่เน้นในวิชานี้คือการอ่านวิเคราะห์ข้อมูลทางประวัติศาสตร์และการเมืองการปกครอง รวมถึงการอ่านตัวเลข กราฟ ตาราง และแผนที่ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสังคมศึกษา เนื้อหาจะแบ่งออกเป็น 4 หัวข้อหลัก ได้แก่
a. ประวัติศาสตร์อเมริกา (U.S. History)
b. การเมืองการปกครอง (Civic and government)
c. เศรษฐศาสตร์ (Economics)
d. ภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์โลก (Geography and the world)
3. Mathematical Reasoning ข้อสอบวิชาคณิตศาสตร์ ประกอบไปด้วยคำถามจำนวน 46 ข้อ ใช้เวลาทั้งหมด 115 นาที หัวข้อที่ออก ได้แก่
a. คณิตศาสตร์พื้นฐาน (Basic Math)
b. เรขาคณิต (Geometry)
c. พีชคณิตพื้นฐาน (Basic Algebra)
d. กราฟและฟังก์ชั่น (Graphs and function)
4. Science ข้อสอบวิชาวิทยาศาสตร์ ประกอบไปด้วยคำถามจำนวน 34 ข้อ ใช้เวลาทั้งหมด 90 นาที หัวข้อที่ออกได้แก่
a. การอ่านบทอ่านภาษาอังกฤษที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ (Reading for meaning in Science)
b. การออกแบบและทดลองทางวิทยาศาสตร์ (Designing and interpreting science experiments)
c. การอ่านตัวเลขและกราฟที่เกี่ยวข้องกับวิชาวิทยาศาสตร์ (Using numbers and graphics in science

วิธีการสมัครสอบ GED
สมัครสอบที่ www.ged.com
รอบสอบ GED
มีรอบสอบทุกวัน และสามารถรู้ผลสอบได้ทันที 3 วิชา ยกเว้นวิชา RLA รอผลประมาณ 1 สัปดาห์
ค่าสมัครสอบ GED
ค่าสมัครสอบ 80 USD/วิชา (ประมาณ 2,700 บาท) รวมค่าสมัครสอบ 4 วิชา เป็นเงิน 320 USD
ศูนย์สอบ GED
- Paradigm Language Institute เพลินจิต
- Pearson Professional Centers: BB Building อโศก
- ต่างจังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ ตาก และภูเก็ต
วุฒิ GED ใช้เข้าคณะอะไรได้บ้าง?

พี่ขอยกตัวอย่าง คณะท็อปฮิตที่รับวุฒิ GED ในการศึกษาต่อ ดังนี้ครับ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- คณะวิศวกรรมศาสตร์ หลักสูตรนานาชาติ (ISE)
- คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี หลักสูตรนานาชาติ (BBA)
- คณะเศรษฐศาสตร์ หลักสูตรนานาชาติ (EBA)
- คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ หลักสูตรนานาชาติ (COMMDE, INDA)
- คณะจิตวิทยา หลักสูตรนานาชาติ (JIPP)
- คณะวิทยาศาสตร์ หลักสูตรนานาชาติ (BSAC)
- คณะนิเทศศาสตร์ หลักสูตรนานาชาติ (COMMARTS)
- คณะอักษรศาสตร์ หลักสูตรนานาชาติ (BALAC)
- หลักสูตรศิลปศาสตรและวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมบูรณาการ หลักสูตรนานาชาติ (BAScii)
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- คณะวิศวกรรมศาสตร์ หลักสูตรนานาชาติ (TEP, TEPE)
- สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร (SIIT)
- คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี หลักสูตรนานาชาติ (BBA)
- คณะเศรษฐศาสตร์ หลักสูตรนานาชาติ (BE)
- การเมืองและการระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ (BIR)
- อังกฤษ-อเมริกันศึกษา (BAS)
- ภาษาอังกฤษเชิงธุรกิจ (BEC)
- สื่อมวลชนศึกษา (BJM)
- กฎหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ (LL.B.)
- หลักสูตรนวัตกรรมการบริการ (BSI)
นอกจากนี้ยังมีอีกหลายมหาวิทยาลัยที่เปิดรับวุฒิ GED เช่น วิทยาลัยนานาชาติมหิดล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รวมไปถึงมหาวิทยาลัยเอกชนอีกด้วย ส่วนกลุ่มคณะแพทยศาสตร์ และทันตแพทยศาสตร์ส่วนใหญ่จะไม่รับวุฒิ GED หากน้องๆ สนใจคณะไหนสามารถตรวจสอบข้อมูลล่าสุดได้ที่เว็บไซต์ของคณะดังกล่าว หรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Line@ : @ignitebyondemand ได้ตลอดเลยครับ
เคล็ดลับในการสอบผ่านทุกวิชาของ GED
พื้นฐานภาษาอังกฤษเป็นส่วนที่สำคัญมากในการสอบ GED ให้ผ่านและได้คะแนนดี เพราะข้อสอบ GED ไม่ได้เน้นความจำใดๆ แต่เน้นความเข้าใจองค์ความรู้พื้นฐานในแต่ละรายวิชาครับ และความสามารถในการใช้ทักษะการคิดวิเคราะห์และเชื่อมโยงสถานการณ์ในข้อสอบได้ หากน้องๆ มีพื้นฐานภาษาอังกฤษในระดับพอใช้ไปจนถึงดีมาก จะทำให้ระยะเวลาในการเตรียมตัวเพื่อการสอบเทียบวุฒิ GED สั้นลง และมีโอกาสในการสอบผ่านสูง แต่หากวันนี้น้องๆ คนใดไม่มั่นใจในภาษาอังกฤษของตนเองทาง ignite by Ondemand สามารถเตรียมความพร้อมให้กับน้องๆ ในส่วนนี้ได้ ซึ่งการเรียนจะเน้น การสร้างองค์ความรู้พื้นฐาน และ ทักษะที่จำเป็น ต่อการนำไปต่อยอดการเรียนในระดับมหาวิทยาลัยเท่านั้น โดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นส่วนหลักในการจัดการเรียนการสอน ระยะเวลาในการเรียนขึ้นอยู่กับพื้นฐานความรู้เดิมของน้องๆ แต่จะอยู่ในช่วงเวลา 2-6 เดือนในการเรียนให้จบหลักสูตร เพื่อไปสู่ขั้นตอนการเตรียมพร้อมเข้าสู่การสอบเทียบวุฒิ GED
มาทำความรู้จักการสอบ GED คืออะไร? เพิ่มเติมโดยครูหมิง ครูผู้เชี่ยวชาญการสอน GED ได้ที่ Video นี้เลยครับ
คอร์สเรียน GED ที่ ignite เลือกเรียนได้ตามสไตล์ที่ตอบโจทย์
พร้อมติว GED ออนไลน์ ได้ทุกที่ ผ่านระบบ Anywhere ได้แล้ววันนี้ ที่ Shop Online คลิกเลย >> https://bit.ly/3uM0iO7
พูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญพร้อมให้คำปรึกษา แนะแนว และอัพเดตข้อมูลในการเตรียมตัวสอบ GED ผ่านทาง line group >> https://bit.ly/3v2406Z
สามารถทักเข้ามาทำแบบทดสอบวัดความรู้ (Placement Test) และหากน้องๆ สนใจคอร์สเรียน GED สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม สมัครเรียนได้ทาง Line คลิกได้เลยครับ
Related Blog & News
ข่าวสารและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง
-
Blog, Medical TCAS 1 (Portfolio)
รวมข้อสอบ BMAT Past papers , IMAT และ TSA ย้อนหลัง 10 ปี พร้อมเฉลย
สวัสดีครับน้องๆ ว่าที่คุณหมอที่กำลังเตรียมตัวเพื่อสอบเข้าคณะแพทย์ รอบ Portfolio กันทุกๆ คน วันนี้พี่ๆ ignite ได้รวบรวม ข้อสอบ BMAT Past papers , practice papers พร้อมพิเศษข้อสอบ IMAT และข้อสอบ TSA ย้อนหลังให้ถึง 10 ปี พร้อมเฉลย ให้น้องๆ ฝึกทำโจทย์ให้มั่นใจกันอย่างจุใจ เตรียมพร้อมก่อนไปสอบกันนะครับ ก่อนจะเริ่มฝึกทำโจทย์ เรามาดูแผนเตรียมตัวสอบ BMAT ปี 2020 กันก่อนดีกว่า เพราะสถานการณ์ COVID-19 ส่งผลให้การสอบปีนี้มีการเปลี่ยนแปลงจากทุกครั้งที่ผ่านมา โดยทาง Cambridge ได้ยกเลิกการสอบ BMAT ในรอบ SEP ทำให้ปีนี้ๆ น้องเหลือรอบสอบแค่รอบ NOV ! เท่านั้น […]
Comments (0)
-
Blog, EP ม.ต้น
เรียน EP อยู่แล้วต้องเรียนภาษาอังกฤษเสริมอีกมั้ย ?
สวัสดีค่ะ พี่แนนจาก ignite นะคะ มีคำถามนึงที่ช่วงนี้พี่แนนได้ยินบ่อยมากๆ จากทั้งคุณพ่อคุณแม่และน้องๆ ม.ต้นที่เรียน EP มาว่า “เรียน EP อยู่แล้ว ยังต้องเรียนภาษาอังกฤษเสริมอยู่มั้ย” เพราะตามที่คุณพ่อคุณแม่เข้าใจคือหลักสูตรนี้เน้นภาษาอังกฤษอยู่แล้วน่าจะไม่ต้องทำอะไรมากมาย ก่อนที่เราจะไปหาคำตอบกัน พี่แนนมีเรื่องมาเล่าให้ฟังค่ะ เป็นเรื่องของนักเรียนคนนึงที่พี่เคยสอน น้องเรียน English Program มาตั้งแต่ ม.1 และตอนที่มาเจอกับพี่ครั้งแรก น้องอยู่ ม.3 แล้วและสนใจเตรียมตัวสอบเข้า Grade 10 ที่ MUIDS (โรงเรียนสาธิตนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล) ในวันที่เจอกับคุณแม่ของน้องครั้งแรกเพื่อวางแผนการเรียนกัน คุณแม่มองว่าน้องน่าจะไม่ต้องติวภาษาอังกฤษเยอะเพราะเรียน EP มา แต่เพื่อให้สามารถวางแผนการเรียนและสอนได้อย่างตรงจุด พี่จึงให้น้องลองทำโจทย์สอบเข้ารวมถึง พาร์ทการเขียนเรียงความภาษาอังกฤษ (Essay) สิ่งที่เกิดขึ้นคือน้องบอกกับพี่แนนว่าน้องเขียนไม่ได้ นึกคำศัพท์ไม่ออก เรียบเรียงไม่ถูก ในเวลาหนึ่งชั่วโมงนั้นน้องจึงเขียนได้เพียง Paragraph สั้นๆ เท่านั้น Academic English ปัญหาสำคัญของน้อง EP EP หรือ English Program เป็นทางเลือกที่กำลังได้รับความนิยมขึ้นเรื่อยๆ ในหมู่นักเรียนทั้ง ม.ต้น และ […]
Comments (0)
-
Blog, SAT
รีวิวการเตรียมตัวสอบ รอบ Early น้องสตรีวิทย์ ติด BBA ยกแก๊ง!!
สวัสดีครับน้องๆ จากสถิติคะแนนยื่นสอบเข้าที่สูงขึ้นเรื่อยๆ ดันบาร์ความโหดเพิ่มขึ้นในทุกๆ ปี ทำให้การสอบเข้า BBA จุฬาฯ หรือ หลักสูตรบริหาร ภาคอินเตอร์ ที่เป็นคณะในฝันของใครหลายๆ คน ติดท๊อปลิสต์ คณะสอบเข้ายากในฝั่งอินเตอร์แทบทุกโพล แต่!!! วันนี้ แก๊งรุ่นพี่ ignite จากโรงเรียนสตรีวิทยา ซึ่งตอนนี้พึ่งเป็นนิสิต BBA CU หมาดๆ ทั้ง 3 คน จะมาเล่าให้ฟังว่าการสอบเข้า BBA CU อาจไม่ง่าย แต่ก็ไม่ได้ยากอย่างที่คิด ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลยดีกว่าว่าพี่ๆ เค้ามีวิธีเตรียมตัวสอบเข้ากันยังไงบ้างถึงได้สอบติดรอบ Early กันยกแก๊งแบบนี้ Q: แนะนำตัวให้น้องๆ ignite รู้จักกันหน่อยว่าแต่ละคนติดคณะอะไรและใช้คะแนนอะไรยื่นบ้างครับ แจน: สวัสดีค่ะน้องๆ พี่ชื่อแจนค่ะ สอบติด BBA จุฬาฯ ค่ะ ด้วยคะแนน SAT 1,450 และ IELTS 7.5 ค่ะ ครีม: สวัสดีค่ะ พี่ชื่อครีมค่ะ สอบติดทั้ง […]
Comments (0)
-
Blog, CU-ATS/CU-AAT
สรุปทุกข้อสงสัยเลือกสอบแบบไหนดี ระหว่าง CU TEST Paper – Based Test VS CU TEST E-Testing
สวัสดีครับว่าที่น้องๆ ISE วิศวะอินเตอร์ จุฬา ทุกคน พี่เชื่อว่าหลายคนใช้คะแนน CU-ATS & CU-AAT ในการยื่นเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย แต่คงมีข้อสงสัยว่า แล้วมันต่างกันอย่างไร จะเลือกสอบ CU TEST แบบไหนดี วันนี้ พี่อิ้งค์ เลยมารีวิวและสรุปความแตกต่างของการสอบทั้ง 2 แบบ ว่ามีความเหมือน หรือแตกต่างกันอย่างไร เพื่อเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยให้น้องๆ ตัดสินใจได้ง่ายขึ้นว่าจะ เลือกสอบ CU TEST แบบ Paper – Based Test หรือแบบ E-Testing แบบไหนที่เหมาะสมกับเราและตอบโจทย์มากที่สุดครับ สรุปสิ่งที่เหมือนกันของการสอบ CU-TEST ทั้งแบบ Paper – Based Test VS E-Testing อย่างแรก เรามาพิจารณากันที่ความเหมือนกันของการสอบทั้ง […]
Comments (0)
Comments