เทียบช็อต ต่อ ช็อต CU-ATS กับ SAT Subject Tests แตกต่างกันอย่างไรบ้าง?

สวัสดีครับน้องๆ บทความนี้พี่ก๊อฟหยิบยกประเด็นร้อนมาแชร์ให้น้องๆ อ่านกันเลยครับว่า เมื่อ SAT Subject Tests ยกเลิกรอบสอบ ทำให้ทั้งปี 2021 จะเหลือรอบสอบเพียง 2 รอบสุดท้ายเท่านั้น คือ 8 พ.ค. และ 5 มิ.ย. น้องๆ หลายคนที่กำลังเตรียมตัวเข้า ISE และ BSAC จุฬาฯ จึงต่างหันมาเลือกสอบ CU-ATS ซึ่งก็เป็นอีก 1 ใน Requirements ของ 2 คณะนี้ วันนี้พี่ก๊อฟเลยขอมาเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างข้อสอบ CU-ATS และ SAT Subject Tests แบบเจาะลึกทุกแง่มุมไปเลยครับ
ทำความรู้จักข้อสอบ CU-ATS vs SAT Subject Tests

ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักทั้ง 2 ข้อสอบนี้กันดีกว่า
CU-ATS คือ Aptitude Test for Science of Chulalongkorn University เป็นแบบทดสอบความถนัดทางวิทยาศาสตร์ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ใช้เพื่อเข้าเรียนต่อภาคอินเตอร์ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์ จัดสอบโดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประกอบด้วยวิชาเคมีและฟิสิกส์ อายุคะแนน คือ 2 ปี และมีจำนวนรอบสอบทั้งหมด 4 รอบต่อปี น้องๆ สามารถตรวจสอบวันสอบได้ที่ http://www.atc.chula.ac.th/pdf2021/Calendar_PBT.pdf
ส่วน SAT Subject Tests หรือ SAT II คือ การสอบวิชาเฉพาะทางที่ใช้สำหรับการศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย เป็นข้อสอบที่ได้มาตรฐานสากล จัดสอบโดย College Board มหาวิทยาลัยในประเทศไทยจะนิยมนำคะแนน SAT Subject Tests เป็นเกณฑ์พิจารณารับนักศึกษาเข้าเรียนในหลักสูตรนานาชาติ เช่น คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ หรือคณะวิทยาศาสตร์ เป็นต้น SAT ll เปิดสอบหลากหลายกลุ่มวิชา เช่น กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ กลุ่มวิชาภาษาอังกฤษ และกลุ่มวิชาภาษาที่สาม
โดยในประเทศไทย มหาวิทยาลัยที่เปิดรับพิจารณาคะแนน SAT Subject Tests มักนิยมใช้คะแนนในกลุ่มวิชาคณิตศาสตร์และกลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ ได้แก่ วิชา Mathematics Level 2 วิชา Chemistry วิชา Physics และวิชา Biology (M) อายุคะแนนอยู่ที่ 2 ปี และมีจำนวนรอบสอบเดิมอยู่ที่ 4 รอบต่อปี แต่หลังจากประกาศยกเลิกรอบสอบ ทำให้ในปี 2021 เหลือเพียง 2 รอบเท่านั้น
ทั้งนี้ น้องสามารถทำความเข้าใจการสอบ SAT Subject Tests อย่างละเอียดเพิ่มเติมได้ที่บทความ >> SAT Subject tests คือ ? รู้จักกับกุญแจสำคัญที่ทำให้ติดคณะอินเตอร์
การยื่นคะแนน CU-ATS vs SAT Subject Tests

ก่อนหน้านี้น้องๆ หลายคนจะคุ้นเคยกันดีว่าคะแนน SAT Subject Tests นอกจากจะใช้ยื่นเข้า ISE และ BSAC จุฬาฯ ได้แล้ว ยังสามารถใช้ยื่นเข้า คณะแพทยศาสตร์ และ ทันตแพทยศาสตร์ ของบางมหาวิทยาลัยได้ด้วยเช่น แพทยศาสตร์ PCCMS และ ทันตแพทยศาสตร์ MIDS เป็นต้น
ทั้งนี้ เมื่อ SAT Subject Tests ยกเลิกการสอบ สำหรับน้องๆ ที่แพลนจะเข้าคณะ ISE และ BSAC จุฬาฯ ยังไม่ต้องกังวลมาก เพราะ จุฬาฯ ยังคงเปิดรับคะแนนสอบ CU-ATS ทั้งวิชาเคมีและฟิสิกส์ปกติ และน้องๆ ก็ต้องสอบ CU-AAT Math เป็นวิชาคณิตศาสตร์แทนตัว SAT Subject Test Math Level 2 ด้วย
แต่สำหรับน้องๆ ที่จะเข้าศึกษาต่อคณะแพทยศาสตร์ และ ทันตแพทยศาสตร์ ภาคภาษาอังกฤษ อาจจะต้องมาลุ้นกันอีกครั้งว่าแต่ละคณะจะประกาศเกณฑ์คะแนนปี 65 ออกมาอย่างไรบ้างครับ
การสมัครสอบและค่าธรรมเนียม CU-ATS vs SAT Subject Tests

สำหรับรูปแบบและค่าธรรมเนียมของทั้ง 2 ข้อสอบนี้ ค่อนข้างแตกต่างกัน กล่าวคือ
ในการสอบ CU-ATS จะมีรูปแบบการสอบทั้งแบบกระดาษ 1,000 บาท และสอบคอมพิวเตอร์ 2,600 บาทซึ่งการประกาศผลสอบแบบคอมพิวเตอร์จะสามารถรู้ผลสอบได้ทันที เหมาะกับน้องที่ต้องการใช้คะแนนเลย และการสอบนี้จะจัดขึ้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเท่านั้น ที่สำคัญ ในการสอบ 1 ครั้ง น้องๆ จะได้สอบทั้ง 2 วิชาคือเคมีและฟิสิกส์ ไม่สามารถแยกสอบวิชาใดวิชาหนึ่งได้
ส่วนรูปแบบการสอบของ SAT Subject Tests จะมีแต่แบบกระดาษเท่านั้น และในการสมัครสอบจะสามารถแยกวิชาที่สอบได้ แต่สูงสุดไม่เกิน 3 วิชาต่อรอบ โดยค่าธรรมเนียมการสอบก็จะแตกต่างกันอยู่ที่ประมาณ 3,500 (1 วิชา), 4,500 (2 วิชา) และ 6,000 (3 วิชา) ที่สำคัญ เนื่องจาก SAT Subject Tests ได้รับความนิยมมาก ทำให้มีศูนย์สอบหลายแห่งให้น้องๆเลือกได้เลย นอกจากนี้ทั้ง 2 การสอบไม่จำกัดอายุผู้เข้าสอบด้วย
วิชาและรูปแบบข้อสอบ CU-ATS vs SAT Subject Tests

อีกหนึ่งความแตกต่างที่ชัดเจนมากๆ ระหว่าง 2 ข้อสอบนี้คือวิชา และจำนวนข้อที่ออกสอบ ดังนี้
ข้อสอบ CU-ATS ในปัจจุบันประกอบด้วย 2 วิชาเท่านั้น ได้แก่ CU-ATS Chemistry และ CU-ATS Physics ต้องสอบครั้งละ 2 วิชา วิชาละ 1 ชั่วโมง รวมระยะเวลาในการสอบ CU-ATS 2 ชั่วโมง โดย Physics มีจำนวน 30 ข้อ และ เคมี 55 ข้อ สำหรับการสอบ CU-ATS ทางศูนย์สอบจะจัดเตรียมเครื่องคิดเลขไว้ให้ผู้เข้าสอบไว้ด้วย
อย่างไรก็ตาม แม้ว่า SAT Subject Tests จะมีหลากหลายวิชา แต่ตัวที่นิยมสอบในไทยมีทั้งหมด 4 วิชาได้แก่ Physics, Chemistry, Biology, และ Math LV 2 ในการสอบ 1 ครั้งผู้เข้าสอบเลือกสอบได้สูงสุดไม่เกิน 3 วิชา ระยะเวลาในการทำข้อสอบวิชาละ 1 ชั่วโมง โดยจำนวนข้อของแต่ละวิชา ได้แก่ Physics 75 ข้อ, Chemistry 85 ข้อ, Biology 80 ข้อ, และ Math LV2 50 ข้อ ดังนั้น น้องๆต้องวางแผนเลือกวิชาสอบดีๆ และต้องบริหารเวลาในการทำข้อสอบแต่ละวิชาดีๆด้วย ที่สำคัญ น้องๆไม่สามารถใช้เครื่องคิดเลขได้ในการสอบ SAT Subject Tests ยกเว้นวิชา Math LV2 เท่านั้น
พี่ก๊อฟได้สรุปความแตกต่างของข้อสอบ SAT Subject Test Chemistry และ CU-ATS ไว้แล้ว ไปอ่านได้เลยที่ >> เปรียบเทียบโจทย์ SAT Subject Test Chemistry VS CU-ATS (Chemistry)
สรุป CU-ATS ต่างจาก SAT Subject Tests ยังไง?

สุดท้ายนี้ พี่ก๊อฟได้สรุปความแตกต่างของ 2 ข้อสอบนี้ไว้ให้แล้ว รับรองว่าไม่ตกหล่นสักประเด็นแน่นอนครับผม
สำหรับน้องๆ ที่มีเป้าหมายอยากเข้าคณะ ISE และ BSAC จุฬาฯ อยู่แล้ว บอกเลยว่าพี่ก๊อฟพร้อมช่วยเต็มที่ จัดเต็มยกทัพคอร์ส CU-ATS ครบทั้ง 2 วิชา และ CU-AAT Math มาพร้อมเสิร์ฟน้องๆ รับรอบว่าเนื้อหาเข้มข้น โจทย์อัดแน่น และอัพเดทตามข้อสอบล่าสุดแน่นอนครับ
สอบถามรายละเอียดคอร์สเรียนเพิ่มเติมได้เลยที่

น้องๆ คนไหนที่อยากสมัครเรียน สามารถเข้ามาปรึกษาสอบถามรายละเอียดการเรียนได้ทาง Line : @ignitebyondemand หรือโทร 02-6580023 , 091-5761475
สามารถซื้อคอร์สเรียนออนไลน์ ด้วยตัวเองได้ง่ายๆ ผ่าน Shop Online ของ ignite …พร้อมแล้วลุยเลย >> https://shop.ignitebyondemand.com/
ดูรายละเอียดคอร์สเรียน CU-ATS / CU-AAT ทั้งหมดได้ทาง >> https://www.ignitebyondemand.com/our-courses/cu-aat-cu-ats/
Related Blog & News
ข่าวสารและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง
-
Blog, SAT Reading and Writing, SAT
แชร์เทคนิคพิชิตข้อสอบ SAT Reading and Writing ประเภท Vocabulary in Context
สวัสดีครับน้องๆ ทุกคน เป็นอย่างไรกันบ้างเอ่ย เตรียมตัวในการสอบ SAT ไปถึงไหนกันแล้วบ้างครับ หลายๆ คนคงเริ่มเรียนและฝึกฝนทำโจทย์ SAT กันอยู่เพื่อพิชิตคณะในฝัน วันนี้พี่แพททริคจึงขอมาให้กำลังใจพร้อมทั้งแชร์เทคนิคพิชิต ข้อสอบ SAT Reading and Writing กันครับ น้องๆ รู้มั้ยเอ่ยว่าข้อสอบประเภท Vocabulary in Context เนี่ย ก็เป็นข้อสอบอีกประเภทหนึ่งที่มีความสำคัญมากๆ และสามารถช่วยเราเพิ่มคะแนนสอบได้ เพราะว่ามีข้อสอบประเภทนี้ถึง 8-9 ข้อต่อชุด (อ้างอิงจาก Official SAT Practice Tests ชุดที่ 8-9 โดย College Board) นับว่าเกือบจะเป็น 20 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนข้อสอบทั้งหมดเลยทีเดียว (ข้อสอบพาร์ท Reading มีทั้งหมด 52 ข้อ) ดังนั้น หากน้องๆ สามารถเก็บคะแนนในส่วนนี้ได้ทั้งหมด โอกาสในการพิชิต Perfect Score ก็จะเพิ่มขึ้นด้วยครับ หลังจากรู้ถึงความสำคัญที่จะต้องพิชิตข้อสอบ Vocabulary […]
Comments (0)
-
Blog, GED
รวมคำถามยอดฮิต GED อยากสอบติดม.ดังต้องได้คะแนนเท่าไหร่ถึง SAFE!
สวัสดีค่าน้องๆ ตั้งแต่ ignite เริ่มให้คำแนะนำเรื่องการวางแผน เตรียมตัวสอบ GED ก็มีน้องๆ มีข้อสงสัยเกี่ยวกับการเตรียมตัวสอบข้อสอบตัวนี้หลายอย่างเลย ไม่ว่าจะเป็น GED ยื่นเข้ามหาวิทยาลัยไหน คณะไหนได้บ้าง? แล้วต้องมีคะแนน GED เท่าไรถึงจะ SAFE? วันนี้พี่หมิงเลยรวบรวมคำถามที่โดนถามบ่อยๆ พร้อมมาให้คำแนะนำดีๆ อย่างตรงไปตรงมา เพื่อให้น้องๆ เตรียมตัวสำหรับการสอบ GED ได้อย่างไม่พลาดเป้า แถมยังได้ Perfect score ด้วยนะคะ ไปดูกันเลยค่า! 1. อยากเข้าอินเตอร์ ม.ดัง คะแนน GED เท่าไหร่ถึง SAFE! คณะส่วนใหญ่ของกลุ่ม มหาวิทยาลัย จุฬาฯ – ธรรมศาสตร์อินเตอร์ จะตั้งเกณฑ์รับนักเรียน GED ตามเกณฑ์ที่ ทปอ. กำหนด นั่นก็คือ คะแนนรวม […]
Comments (0)
-
Blog, IELTS
คุยกับอดีต IELTS Examiner คนไทยในต่างแดน P’Patrick Oxford
น้องๆ หลายๆ คนอาจจะคุ้นหน้าหรือเคยเรียนกับพี่แพททริคกันมาบ้างแล้วไม่ว่าจะเป็นคอร์ส IELTS หรือ SAT Reading & Writing แต่ทราบหรือไม่ว่า จริงๆ แล้วพี่แพททริคเคยเป็นอดีต IELTS Examiner คนไทย ในต่างประเทศมาก่อน!!! ถ้าน้องๆ อยากรู้จักกับพี่แพททริคมากขึ้นไปอ่านกันต่อได้เลย Q: ช่วยแนะนำตัวหน่อยครับ A: สวัสดีครับ ชื่อพี่แพททริคครับ จบ Postgraduate Diploma ด้าน English for Academic Purposes จาก The University of Waikato ที่ New Zealand ปริญญาโทด้าน Digital Language and Literacies จาก Lancaster University แล้วก็ปริญญาโทอีกใบด้าน Teaching English Language […]
Comments (0)
-
Blog, CU-ATS/CU-AAT, SAT Subject Tests
คณะวิศวะ SIIT คืออะไร? เรียนอะไรบ้าง? อยากสอบติดต้องทำอย่างไร?
สวัสดีว่าที่น้องๆ วิศวะทุกคนนะครับ พี่แอดมินขอพามาทำความรู้จักกับคณะวิศวะอินเตอร์ “SIIT” หลักสูตรยอดฮิตที่เชื่อว่าน้องๆ ต้องเคยได้ยินชื่อมาแล้วแน่นอน เรียกว่าเป็นคณะที่เด็กมัธยมปลายหลายๆ คนใฝ่ฝันที่จะเข้าเรียนกันเลยทีเดียว แต่แค่เคยได้ยินชื่ออย่างเดียวคงไม่พอ วันนี้พี่แอดมินจะมาแนะนำข้อมูลเกี่ยวกับคณะวิศวะอินเตอร์ SIIT คืออะไร? เรียนอะไรบ้าง? อยากสอบติดต้องทำอย่างไร? ให้พวกเราไม่พลาดทุกประเด็นเกี่ยวกับคณะนี้เลยนะครับ ถ้าพร้อมแล้วไปทำความรู้จักวิศวะ SIIT พร้อมกันเลยจ้า วิศวะ SIIT คืออะไร? เรียนอะไร? SIIT (Sirindhorn International Institute of Technology) หรือ สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คือ คณะวิศวะอินเตอร์ที่เปิดสอนหลักสูตรนานาชาติ โดยมีทั้งหมด 9 สาขาวิชา ซึ่งเป็นหลักสูตรด้านวิศวกรรมศาสตร์ 7 สาขาและหลักสูตรการจัดการ 2 สาขา ทั้งนี้ SIIT จะเน้นการเรียนการสอนกับอาจารย์ที่มีคุณภาพ ด้วยความรู้ที่สามารถนำไปใช้ได้จริงในห้องแล็บที่ได้มาตรฐาน อุปกรณ์ครบครัน ซึ่งการเรียนการสอนของ SIIT จะเป็นภาษาอังกฤษทั้งเนื้อหาการเรียน แบบฝึกหัด การพรีเซนต์ต่างๆ และยังได้เรียนร่วมกับนักเรียนแลกเปลี่ยนหลากหลายเชื้อชาติอีกด้วย SIIT เป็นคณะที่มีทุนการศึกษาในแต่ละปีกว่า 200 […]
Comments (0)
Comments