ไขข้อสงสัย GED ยื่นเข้าภาคไทยได้ไหม?

สวัสดีค่ะน้องๆ พี่คิดว่าหลายคนที่เข้ามาอ่านใน Blog นี้คงจะทราบกันดีว่า GED คืออะไร แต่ยังมีอีกหลายคนสงสัยว่า GED สามารถยื่นเข้ามหาลัยในภาคไทยได้หรือไม่? หรือสามารถยื่นเข้าได้แค่คณะอินเตอร์ วันนี้พี่จะมาไขข้อสงสัยให้น้องๆ เอง ตามมาดูกันค่ะ !!
รวมคณะภาคไทย ที่ใช้ GED ยื่นได้

พี่ขอ recap สั้นๆ ให้ฟังอีกครั้งสำหรับน้องๆ ที่ไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับ GED เลย
GED เป็นวุฒิการศึกษาของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการของประเทศไทยได้รับรองวุฒิการศึกษานี้ให้เทียบเท่าได้กับวุฒิการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 ของประเทศไทย ซึ่งเสมือน เป็นใบเทียบวุฒิ ในการเข้ามหาลัยได้ ดังนั้นหมายความว่าหากน้องๆ สอบ GED ผ่านแล้ว สามารถนำวุฒิ GED ที่ได้นี้ไปยื่นเข้ามหาวิทยาลัยที่น้องต้องการได้เลย
พี่ขอสรุปตรงนี้เลยว่า GED สามารถยื่นเข้าภาคไทยได้ นั่นหมายความว่า ถ้าน้องมีคะแนน GED อยู่ในมือแล้ว สามารถยื่นได้ทั้งภาคอินเตอร์และภาคไทยเลยค่ะ แต่โดยปกติ สำหรับน้องภาคไทยนั้นพี่ขอเน้นอีกจุดสำคัญคือ เวลาน้องอ่าน requirements ให้เช็คที่ประโยค “ม.6 หรือเทียบเท่า ” ถ้าเขียนระบุไว้ หมายความว่าสามารถใช้ GED ยื่นเทียบวุฒิได้ และอย่างที่ทราบกันดีว่าต้องยื่นคะแนนอื่นๆ ประกอบด้วย อย่างเช่น GAT PAT , 9 วิชาสามัญ และ O-net
รวมรายชื่อคณะในมหาวิทยาลัยไทยที่รับ GED
1. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- คณะวิศวกรรมศาสตร์
- คณะอักษรศาสตร์
- คณะนิติศาสตร์
- คณะครุศาสตร์
- สำนักวิชาทรัพยากรการเกษตร
2. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
- คณะเศรษฐศาสตร์
- คณะวิศวกรรมศาสตร์เฉพาะสาขาเทคโนโลยียานยนต์ : V-TECH , SOFT-EN
- คณะศิลปศาสตร์ยกเว้นสาขาเยอรมัน รัสเซีย และภาษาไทย
- คณะศิลปกรรมศาสตร์
- คณะวิทยาลัยนวัตกรรม
- วิทยาลัยสหวิทยาการ
- วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ป๋วยอึ้งภากรณ์
- คณะสหเวชศาสตร์ สาขาการจัดการกีฬาและการฝึกสอนกีฬา
- คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์สาขาวิทยาการเรียนรู้
- คณะนิติศาสตร์
3. มหาวิทยาลัยมหิดล
- คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์
- คณะวิศวกรรมศาสตร์
- คณะศิลปศาสตร์
- คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
- คณะวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา
4. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- คณะเกษตร
- คณะประมง
- คณะวนศาสตร์
- คณะวิทยาศาสตร์
- คณะวิศวกรรมศาสตร์
- คณะศึกษาศาสตร์
- คณะเศรษฐศาสตร์
- คณะสังคมศาสตร์
- คณะสัตวแพทยศาสตร์
- คณะอุตสาหกรรมเกษตร
- คณะเทคนิคการสัตวแพทย์
- คณะมนุษยศาสตร์
- คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
- คณะสิ่งแวดล้อม
- วิทยาลัยการชลประทาน
- วิทยาลัยบูรณาการศาสตร์
- คณะบริหารธุรกิจ
5. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- คณะวิทยาศาสตร์
- คณะมนุษยศาสตร์
- คณะศึกษาศาสตร์
- คณะพลศึกษา
- คณะเศรษฐศาสตร์
- คณะสังคมศาสตร์ วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม
- วิทยาลัยนานาชาติเพื่อศึกษาความยั่งยืน
- คณะบริหารธุรกิจเพื่อสังคม
- คณะศิลปกรรมศาสตร์
- คณะวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
- คณะวิศวกรรมศาสตร์
- คณะพยาบาลศาสตร์
นอกเหนือจากที่พี่ได้สรุปรวมรายคณะข้างบนแล้ว ยังมีอีกหลายๆ มหาลัยที่ยังรับ GED ในการยื่นเข้ามหาวิทยาลัย ไม่ว่าจะมหาลัยเอกชน หรือมหาลัยรัฐอื่นๆ ที่พี่ไม่ได้กล่าวไป เช่น ม.กรุงเทพ, ม.รังสิต, ABAC, ม.ลาดกระบัง
แต่พี่ขอย้ำอีกครั้งว่าข้อมูลอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ น้องๆ เช็ค requirements ของคณะที่อยากเข้าอีกครั้งเพื่อความชัวร์ หรือสามารถดาวน์โหลดแอพ TCASTER สำหรับดูข้อมูลระเบียบการต่างๆ ไว้ได้เลย พี่หมิงแนะนำมากๆ เลยค่ะ

สุดท้ายนี้พี่นำกำลังใจจากพี่หมิง GED Guru มาฝากน้องๆ ทุกคน พี่หมิงก็ขอส่งกำลังใจให้กับน้องๆ ทุกคนที่ตั้งใจจะยื่นเทียบวุฒิเข้ามหาวิทยาลัยด้วย GED นะคะ หวังว่าน้องๆ จะทำคะแนนตามที่หวังและก้าวเข้าสู่ชีวิตนิสิตนักศึกษาในคณะที่ตัวเองตั้งใจไว้ได้ค่ะ
หากน้องๆ หรือผู้ปกครองท่านไหนมีข้อสงสัยหรืออยากวางแผนการเตรียมตัวสอบ GED ทั้งในรูปแบบติวตัวต่อตัว (1-ON-1) แบบคอร์สสด (Miniclass) และคอร์สเรียนออนไลน์บนระบบ Learn Anywhere ติดต่อมาที่ Ignite ได้เลย พี่ๆ ทุกคนพร้อมให้คำแนะนำค่ะ
ช่องทางการติดต่อ : Line @ignitebyondemand หรือคลิก https://bit.ly/38wNuQ9 และโทรได้ที่เบอร์ 02-658002
สามารถเข้าดูรายละเอียดคอร์สเรียน GED เพิ่มเติมได้ที่ >> https://www.ignitebyondemand.com/our-courses/ged/
ซื้อคอร์สเรียน ผ่านระบบ Anywhere ได้แล้ววันนี้ ที่ Shop Online คลิกเลย >> https://bit.ly/3zdoQET
พูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญพร้อมให้คำปรึกษา แนะแนว และอัพเดตข้อมูลในการเตรียมตัวสอบ GED ผ่านทาง line group >> https://bit.ly/3PYNX44
Related Blog & News
ข่าวสารและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง
-
Blog
IGCSE คืออะไร? ตอบทุกข้อสงสัยไปกับ ignite by ondemand
IGCSE (International General Certificate of Secondary Educational) คือ หลักสูตรการศึกษาจากประเทศอังกฤษที่ทำให้ได้รับวุฒิการศึกษาเทียบเท่า ม.4 ในไทย ซึ่งหากเรียนจบหลักสูตร IGCSE แล้ว สามารถไปศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นได้ เช่น AS, A Level, IB หรือเพื่อศึกษาต่อระดับมหาวิทยาลัย โดยปกติในประเทศไทยนั้น การสอบ IGCSE จะอยู่ในระบบการศึกษาของโรงเรียนนานาชาติที่ใช้ระบบการเรียนการสอนแบบอังกฤษ (UK) แต่น้องๆที่ไม่ได้อยู่ในระบบ ก็สามารถสมัครสอบ IGCSE ได้โดยตรงกับทาง British Council Thailand นะครับ สำหรับการสอบ IGCSE นั้น ต้องเลือกสอบจำนวน 5 วิชา เพื่อให้ได้ IGCSE Certificate โดย IGCSE มีให้เลือกมากกว่า 70 […]
Comments (0)
-
Blog, Medical TCAS 1 (Portfolio)
เจาะลึกเส้นทางสอบติดคณะแพทย์ระดับโลก “University of Cambridge” น้องพรอมท์ Shrewsbury International School
กลับมาอีกครั้งอย่างยิ่งใหญ่กับบทสัมภาษณ์ ignite Idol น้องพรอมท์ Shrewsbury International School ที่เพิ่งสอบติดคณะแพทย์ University of Cambridge ประเทศอังกฤษปีล่าสุดมาหมาดๆ … ถือเป็นเรื่องน่าภูมิใจของประเทศไทยและ ignite มากๆ ที่สามารถส่งเด็กไทย ไปคว้าที่นั่งในคณะแพทย์เคมบริจด์ ได้ถึง 2 ปีซ้อน ซึ่งเป็นคณะแพทย์ที่ใครๆ ต่างก็ยอมรับว่าสอบเข้ายากที่สุดในโลก วันนี้พี่แอดมินขอพาน้องพรอมท์ มาเจาะลึกเส้นทางสู่คณะแพทย์ University of Cambridge ประเทศอังกฤษ พร้อมเปิดเผยเส้นทางสู่การสอบติดคณะแพทย์ระดับโลก ให้เด็กไทยทุกคนที่มีความฝันได้ศึกษาแนวทางการเตรียมตัวที่ถูกต้อง…พี่แอดมินเชื่อว่าบทความนี้จะทำให้ประเทศไทยได้คุณหมอที่มีศักยภาพระดับโลกกลับมาพัฒนาวงการสาธารณสุขไทยเพิ่มอย่างแน่นอนครับ ได้ยินว่าน้องพรอมท์อยากเป็นหมอ เพราะต้องการทำงานที่ช่วยให้ชีวิตคนอื่นดีขึ้น? เรื่องนี้มีที่มา ที่ไปอย่างไรครับ ใช่ครับ…จริงๆ แล้วผมมีความรู้สึกอยากเป็นหมอมาตั้งแต่เรียนอยู่ ม.2 แล้วครับ ด้วยความที่ยังเด็กมาก เราก็ยังไม่ได้ตัดสินใจอะไรไปตอนนั้น แต่พอโตขึ้นผมได้มีโอกาสไปสอนหนังสือให้น้องๆ […]
Comments (0)
-
Blog, Medical TCAS 1 (Portfolio)
5 โจทย์ที่ต้องเจอใน BMAT Critical Thinking พร้อมเทคนิค CAP รับมือทุกโจทย์ Part 1
สวัสดีครับน้องๆ กลับมาพบกับพี่กั๊กกันอีกครั้งนะครับ ใกล้จะถึงช่วงสอบ BMAT กันอีกแล้ว เชื่อว่าตอนนี้น้องๆ คงตั้งใจทบทวนโค้งสุดท้ายกันอยู่แน่นอน แต่เนื่องจากการสอบ BMAT นั่นมีหลายพาร์ทเหลือเกิน หากจะต้องโฟกัสทุกจุดคงจะใช้เวลาพอสมควรแน่ๆ วันนี้พี่กั๊กเลยมาพร้อมกับเทคนิควิเคราะห์โจทย์ BMAT Critical Thinking เพื่อเพิ่มเลเวลในการอัพคะแนนของน้องๆ ใน BMAT Part 1 และช่วยลดการใช้เวลาในการนั่งทบทวนว่า เอ้…โจทย์ข้อนี้ต้องการอะไรนะ? แต่ก่อนจะเริ่มเทคนิควิเคราะห์โจทย์จากพี่กั๊ก เรามาทบทวนกันอีกรอบดีกว่าว่า “BMAT Part 1 นั้น จริงๆ แล้วเป็นยังไง?” BMAT Part 1 เป็นอย่างไร ต้องเจอกับข้อสอบแบบไหน? แน่นอนว่าการที่น้องๆ จะสอบเข้าแพทย์และได้เป็นคุณหมอในอนาคต สิ่งๆ หนึ่งที่น้องจำเป็นจะต้องมีก็คือทักษะการคิดวิเคราะห์นั่นเอง ซึ่งหากน้องเป็นคนที่มีการคิดวิเคราะห์สูง ตรงนี้ก็อาจจะสื่อถึงความสามารถในการนำไปปรับใช้กับสถานการณ์เร่งด่วนต่างๆ ที่ต้องเจอในสายอาชีพนั่นเอง ดังนั้นนี่ก็เป็นที่มาของเจ้าตัว BMAT Part 1 โดยในส่วนนี้จะถูกแบ่งย่อยออกเป็นอีก 2 พาร์ท คือ BMAT Problem Solving (16 ข้อ) : […]
Comments (0)
-
Blog, CU-ATS/CU-AAT
เจาะลึกเทคนิคพิชิต ACT Science ข้อสอบเป็นยังไง? ต่างจากข้อสอบอื่นยังไงบ้าง?
สวัสดีครับน้องๆ หลังจากที่หลายคณะเริ่มประกาศรับคะแนนการสอบ ACT เพื่อคัดเลือกนิสิต นักศึกษาใหม่เข้าคณะ เช่น ISE CU หรือ SIIT น้องๆ หลายคนก็เริ่มหันมาสนใจการสอบนี้กันมากขึ้น แถมยังมีบางคนรีวิวอีกว่าข้อสอบ ACT ง่ายกว่าการสอบแบบอื่นๆ วันนี้พี่อิ๊งค์จะมาช่วยไขข้อสงสัยถึงรูปแบบของ ข้อสอบ ACT Science ว่าเป็นยังไง แล้วจะง่ายกว่าข้อสอบอื่นจริงหรือไม่กันครับ ลักษณะข้อสอบ ACT Sciencee ข้อสอบ ACT Science มีคำถาม 40 ข้อ โดยให้เวลาในการทำอยู่ที่ 35 นาทีเท่านั้น ถือว่าเป็นข้อสอบ Speed Testมากๆ น้องจะต้องฝึกฝนในการทำให้มาก และฝึกจัดการเวลาในการทำข้อสอบให้เชี่ยวชาญก่อนไปสอบ ซึ่งรูปแบบของคำถาม จะมีการให้ Passage มาประมาณ 6 เรื่อง ในแต่ละเรื่องจะมีคำถาม 4-7 ข้อ […]
Comments (0)
Comments