MCAT คืออะไร? ทำความรู้จักข้อสอบพิชิตเส้นทางหมอในอเมริกาและแคนาดา

หลังจากมีการประกาศอย่างชัดเจนแล้วว่า การสอบ BMAT รอบตุลาคม 2023 จะเป็นการสอบรอบสุดท้าย และจะไม่มีการจัดสอบเพิ่มเติมอีก โดยยังไม่มีข้อมูลที่แน่ชัดว่า จะนำการทดสอบใดเข้ามาแทนที่ ทำให้ข้อสอบที่มีโครงสร้างคล้ายคลึงมากที่สุดอย่าง ข้อสอบ The Medical College Admission Test หรือ MCAT ถูกจับตามองอย่างใกล้ชิด ว่าจะมีโอกาสแค่ไหนที่จะถูกนำมาใช้แทนที่ BMAT วันนี้พี่ ignite เลยอยากจะชวนน้องๆ ที่วาดเส้นทางฝันสู่การเป็นหมอ มาทำความรู้จักกับข้อสอบ MCAT คืออะไร? สอบอะไรบ้าง..เปรียบเทียบกับข้อสอบ BMAT และ UCAT แตกต่างกันอย่างไร? กันไว้ก่อนครับ
ข้อสอบ MCAT คือ

ข้อสอบ MCAT (The Medical College Admission Test) คือ ข้อสอบที่ใช้สำหรับการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนทางการแพทย์ของสหรัฐอเมริกาและแคนาดา ซึ่งจัดทำขึ้นโดยสมาคมวิทยาลัยการแพทย์อเมริกัน (AAMC) ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับข้อสอบ BMAT แต่แตกต่างตรงที่ไม่มีข้อสอบทางด้านคณิตศาสตร์แบบเจาะลึก ข้อสอบ MCAT ถูกใช้เพื่อคัดเลือกสำหรับผู้ที่จบหลักสูตรปริญญาตรี pre-med เพื่อมาศึกษาต่อยอดในโรงเรียนทางการแพทย์
ส่วนในประเทศไทยข้อสอบ MCAT ก็ได้มีการนำใช้เป็นทางเลือกเพื่อคัดเลือกเข้าศึกษาต่อใน คณะแพทย์ศิริราช และแพทย์จุฬาฯ หลักสูตรนานาชาติ ในปี 2022
รูปแบบของข้อสอบ MCAT
ข้อสอบ MCAT จะเป็นแบบปรนัยทั้งหมด แบ่งออกเป็น 4 Parts คือ
- Biological and Biochemical Foundations of Living Systems (พื้นฐานชีววิทยาและชีวเคมีของระบบสิ่งมีชีวิต) ซึ่งเป็นการทดสอบเกี่ยวกับพื้นฐานวิชาชีววิทยา ชีวเคมี
- Chemical and Physical Foundations of Biological Systems (พื้นฐานเคมีและฟิสิกส์ของระบบสิ่งมีชีวิต) ซึ่งเป็นการทดสอบเจาะลึกทางด้านเคมีอินทรีย์ เคมีอนินทรีย์ ตารางธาตุ และฟิลิกส์
- Psychological, Social, and Biological Foundations of Behavior (พื้นฐานทางจิตวิทยา สังคมวิทยา และชีววิทยาของพฤติกรรม)
- Critical Analysis and Reasoning Skills (ทักษะการวิเคราะห์และการให้เหตุผล)
สำหรับ Part ที่ 1 ถึง 3 จะมีข้อสอบ part ละ 59 ข้อ โดยจะแบ่งออกเป็นการตอบคำถามจากการอ่าน Passages 10 เรื่อง และตอบคำถามที่ไม่เกี่ยวกับ Passages อีก 15 ข้อ มีเวลาในการทำข้อสอบ part ละ 95 นาที
ในส่วนของ Critical Analysis and Reasoning Skills จะแตกต่างไปเล็กน้อย โดยจะมีจำนวน 53 ข้อ เป็นการตอบคำถามจากการอ่าน Passages 9 เรื่อง มีระยะเวลาในการทำ 90 นาที
ความแตกต่างของข้อสอบ BMAT - MCAT - UCAT

นอกจากวิชาสอบที่แตกต่างกันแล้ว MCAT เองยังเป็นข้อสอบที่มีระยะเวลาในการทำนาน 6 ชั่วโมง 15 นาที ไม่รวมเวลาพัก และเวลาพักเที่ยง โหดเอาเรื่องอยู่ใช่ไหมครับ
ข้อควรรู้เกี่ยวกับการสอบ MCAT

- คะแนนสอบจะออกหลังสอบเสร็จประมาณ 30-35 วัน โดยสามารถเข้าดูคะแนนได้ที่ https://students-residents.aamc.org/taking-mcat-exam/taking-mcat-exam
- แต่ละ part จะมีคะแนนต่ำสุดที่ 118 คะแนน และสูงสุดที่ 132 คะแนน แตกต่างไปตามความยากง่ายของแต่ละ part คะแนนรวมทั้ง 4 part จะอยู่ที่ 472 – 528 คะแนน
- ควรตอบให้ครบมากที่สุด เพราะข้อที่ตอบผิดจะไม่ถูกนำมาหักลบคะแนน
- ค่าสอบอยู่ที่ประมาณ 12,000 บาท โดยสามารถสอบได้ 3 รอบต่อปี
รอบสอบ MCAT ในประเทศไทย

โดยน้องๆ สามารถสมัครสอบได้ที่ >> https://mcat.aamc.org/mrs/#/
เป็นอย่างไรกันบ้างครับน้องๆ ข้อสอบ MCAT ข้อสอบตัวสำคัญจากทาง US&CA ที่อาจมาแทนข้อสอบ BMAT และถ้าน้องๆ อยากรู้จักกับข้อสอบอีกตัวจากทาง UK อย่างข้อสอบ UCAT คือข้อสอบอะไร? สอบออะไรบ้าง? พี่อิกไนท์ก็ได้ทำเนื้อหาไว้ให้เรียบร้อยแล้ว คลิกอ่านได้เลย >> UCAT คืออะไร? ชวนรู้จักข้อสอบวัดความถนัด สู่คณะแพทย์-ทันตะใน UK
สำหรับน้องๆ และผู้ปกครองที่อยากปรึกษาวางแผนการเตรียมตัวสอบเข้าคณะแพทย์รอบพอร์ต และคณะอินเตอร์ยอดฮิต สามารถ Add Line @ignitebyondemand หรือโทร 02-6580023 , 091-5761475 เข้ามาได้เลย พี่ๆ ทุกคนพร้อมให้คำแนะนำแบบรายบุคคลให้กับทุกครอบครัวครับผม
สามารถช้อปคอร์สเรียนออนไลน์ Learn Anywhere ด้วยตัวเองง่ายๆ ผ่านทาง Shop Online ignite คลิกเลย >> https://shop.ignitebyondemand.com/
Related Blog & News
ข่าวสารและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง
-
Blog, Medical TCAS 1 (Portfolio)
เจาะลึกเส้นทางสอบติดคณะแพทย์ระดับโลก “University of Cambridge” น้องพรอมท์ Shrewsbury International School
กลับมาอีกครั้งอย่างยิ่งใหญ่กับบทสัมภาษณ์ ignite Idol น้องพรอมท์ Shrewsbury International School ที่เพิ่งสอบติดคณะแพทย์ University of Cambridge ประเทศอังกฤษปีล่าสุดมาหมาดๆ … ถือเป็นเรื่องน่าภูมิใจของประเทศไทยและ ignite มากๆ ที่สามารถส่งเด็กไทย ไปคว้าที่นั่งในคณะแพทย์เคมบริจด์ ได้ถึง 2 ปีซ้อน ซึ่งเป็นคณะแพทย์ที่ใครๆ ต่างก็ยอมรับว่าสอบเข้ายากที่สุดในโลก วันนี้พี่แอดมินขอพาน้องพรอมท์ มาเจาะลึกเส้นทางสู่คณะแพทย์ University of Cambridge ประเทศอังกฤษ พร้อมเปิดเผยเส้นทางสู่การสอบติดคณะแพทย์ระดับโลก ให้เด็กไทยทุกคนที่มีความฝันได้ศึกษาแนวทางการเตรียมตัวที่ถูกต้อง…พี่แอดมินเชื่อว่าบทความนี้จะทำให้ประเทศไทยได้คุณหมอที่มีศักยภาพระดับโลกกลับมาพัฒนาวงการสาธารณสุขไทยเพิ่มอย่างแน่นอนครับ ได้ยินว่าน้องพรอมท์อยากเป็นหมอ เพราะต้องการทำงานที่ช่วยให้ชีวิตคนอื่นดีขึ้น? เรื่องนี้มีที่มา ที่ไปอย่างไรครับ ใช่ครับ…จริงๆ แล้วผมมีความรู้สึกอยากเป็นหมอมาตั้งแต่เรียนอยู่ ม.2 แล้วครับ ด้วยความที่ยังเด็กมาก เราก็ยังไม่ได้ตัดสินใจอะไรไปตอนนั้น แต่พอโตขึ้นผมได้มีโอกาสไปสอนหนังสือให้น้องๆ […]
Comments (0)
-
Blog, Medical TCAS 1 (Portfolio)
AKAT คือ? ทำความรู้จักข้อสอบยื่นแพทย์รอบพอร์ต SWU-NOTT
ข้อสอบน้องใหม่ล่าสุดที่ถูกประกาศนำมาใช้ทดแทนข้อสอบ BMAT อย่างเป็นทางการนั่นก็คือ ข้อสอบ AKAT ที่ทางคณะแพทย์ SWU-NOTT และทันตะ มศว จะนำมาใช้เป็นเกณฑ์ในการคัดเลือกน้องๆ รอบพอร์ต TCAS68 AKAT คือ อะไร? สอบเมื่อไหร่? ควรเตรียมตัวอย่างไร? ไปทำความรู้จัก AKAT ให้มากขึ้นกัน AKAT คือ อะไร? ข้อสอบ AKAT หรือ Aptitude&Knowledge Admisson Test คือ ข้อสอบวัดความถนัดทางการเรียน ซึ่งจัดสอบโดย สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มศว เป็นข้อสอบสำหรับผู้ที่ต้องการเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรนานาชาติของ มศว เช่น คณะแพทย์ โครงการร่วมกับมหาวิทยาลัยนอตติงแฮม (SWU-NOTT), คณะทันตะ และหลักสูตรอินเตอร์อื่น ๆ ใน มศว ข้อสอบ AKAT วัดอะไรบ้าง หากดูจาก Blueprint ของข้อสอบ AKAT ที่ประกาศออกมา คงต้องบอกว่าโครงสร้างของข้อสอบมีความคล้ายคลึงกับ BMAT อย่างมาก เรียกได้ว่าเป็นข้อสอบที่ออกแบบมาเพื่อทดแทน […]
Comments (0)
-
ไม่มีหมวดหมู่, Blog, GED
GED Ready เครื่องมือ(ไม่)ลับ อัพคะแนนตามเป้า!
สวัสดีค่ะน้องๆ กลับมาพบกันอีกครั้งกับบทความ GED วันนี้พี่จะมาเล่าถึงเครื่องมือในการเตรียมสอบ GED ที่สำคัญมากๆ ที่เรียกว่า GED Ready โดยเฉพาะน้องๆ ที่วางแผนอยากจะไปสอบ GED และต้องการที่จะยื่นวุฒิตัวนี้เพื่อเข้าจุฬา หรือ ธรรมศาสตร์ ซึ่งตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นไป ทางที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ได้กำหนดเกณฑ์คะแนนขั้นต่ำของ GED จาก 145 คะแนน (High School Equivalency) เป็น 165 คะแนน (GED College Ready) บอกเลยว่ายากกว่าเดิมมาก และที่สำคัญนโยบายใหม่ของ GED ตั้งแต่ปี 2017 (แอบไปถามทาง GED มาแล้ว ข้อมูลนี้คอนเฟิร์ม!!) ระบุว่า หากสอบผ่าน GED High School Equivalency ไปแล้ว (145/200) การทำเรื่องขอสอบใหม่เพื่อต้องการปรับคะแนนขึ้นจะไม่สามารถทำได้ทุกคนแล้วนะคะ ส่วนใครแก้ได้ใครแก้ไม่ได้เดี๋ยวพี่จะให้ข้อมูลไว้ข้างล่างค่ะ แต่เอาเป็นว่าตอนนี้มีเงื่อนไขเกิดขึ้นใหม่มากมาย สำหรับใครที่ยังยืนยันจะสอบ […]
Comments (0)
-
Blog, CU-ATS/CU-AAT
CU-AAT คืออะไร? ครบทุกข้อมูลที่ต้องรู้เกี่ยวกับข้อสอบ CU-AAT
สวัสดีน้องๆ ทุกคนครับ พี่แอดมินเชื่อว่าตอนนี้น้องๆ หลายคนคงกำลังสงสัยกันใช่มั้ยว่าข้อสอบ “CU-AAT คืออะไร” วันนี้เราจะมาตอบทุกคำถามเกี่ยวกับการสอบ CU-AAT ตั้งแต่เนื้อหาข้อสอบเป็นอย่างไร มีกี่วิชา ใช้ยื่นคณะไหนได้บ้าง ค่าสมัครสอบและตารางสอบ…ไม่พูดพร่ำทำเพลง พร้อมแล้วไปอ่านกันเลย !! CU-AAT คืออะไร ข้อสอบ CU-AAT (Chulalongkorn University Academic Aptitude Test) คือ ข้อสอบที่ใช้วัดความสามารถทางด้านคณิตศาสตร์ (Mathematics) และภาษาอังกฤษ (Verbal) ใช้ในการพิจารณาผู้ยื่นเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรี ของหลักสูตรนานาชาติ จุฬาฯ โดยลักษณะข้อสอบคล้ายกับข้อสอบ SAT ธรรมดาทั้ง Part Mathematics และ Part Verbal แต่ความยากของเนื้อหาข้อสอบจะแตกต่างกันออกไป คณะที่สามารถใช้คะแนน CU-AAT เพื่อยื่นพิจารณาศึกษาต่อ เช่น MEDICAL คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ISE คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (อินเตอร์) EBA คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (อินเตอร์) BALAC คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย […]
Comments (0)
Comments