ไขข้อสงสัย ความแตกต่างระหว่างหลักสูตร A-Level, IB, AP ในระบบการศึกษาแบบนานาชาติ

ในยุคที่โรงเรียนนานาชาติในไทยพากันผุดเป็นดอกเห็ด บรรดาผู้ปกครองและน้องๆ ก็อาจจะสับสนกับระบบและหลักสูตรต่างๆ ของ โรงเรียนนานาชาติในประเทศไทย ทำไมคนนั้นเรียน A-Level แล้ว ระบบ IB ละคืออะไร ทำไมบางโรงเรียนถึงเลือกได้ทั้งสองแบบ ในขณะที่บางโรงเรียนมีแค่ AP แล้วต้องสอบ SAT ด้วย ??
วันนี้พี่เอมี่และพี่แทนจะมาเล่าให้ฟังคร่าวๆ เกี่ยวกับความต่างของแต่ระบบวิชาในโรงเรียนกันค่ะ โดยหลักสูตรที่ popular ที่สุดในประเทศไทยคงจะหนีไม่พ้นหลักสูตรอังกฤษ ตามด้วยหลักสูตรอเมริกัน และ หลักสูตร IB ตามลำดับ
ความแตกต่างระหว่างระบบการศึกษานานาชาติ
หลักสูตรอังกฤษ - หลักสูตรอเมริกัน - หลักสูตร IB

พอจะเห็นภาพความแตกต่างของระบบการศึกษาต่างๆ กันแล้วใช่ไหมคะ ทั้งนี้ทั้งนั้นผู้ปกครองที่กำลังเลือกโรงเรียนให้บุตรหลาน หรือน้องๆ ที่กำลังศึกษาอยู่ในระบบโรงเรียนนานาชาติต่างๆ ควรจะศึกษาหลักสูตรที่เหมาะกับความถนัดและความต้องการในการเรียนต่อในอนาคตมากที่สุดค่ะ
ต่อไปเราจะมาแยกอธิบายเจาะลึกลงไปในแต่หลักสูตรนะคะ ว่ามีเนื้อหา เกณฑ์การให้คะแนน จุดเด่นที่สำคัญหรือแตกต่างกันอะไรยังไงบ้าง
หลักสูตร A-Level

เราจะมาเริ่มกันที่ หลักสูตร A-Level ซึ่งต้องเรียกได้ว่าขั้นกว่าของ IGCSE (ที่นักเรียนต้องเรียนตอนอยู่ Year 10-11) โดยเนื้อหาของ A level นั้นต้องเรียนทั้งหมด 2 ปี คือ Year 12-13 หลายวิชานั้นจัดได้ว่าเข้มข้นและเนื้อหาลึกมาก อาจเทียบเท่าเนื้อหาปี 1 หรือปี 2 ของมหาวิทยาลัยในไทย เราจึงแบ่งการเรียน A-Level ให้เข้าใจง่ายๆ เป็น 2 ระดับ ได้แก่
- AS Examination(Advanced Subsidiary) โดยทั่วไปคือการเรียนในช่วง Year 12
เกรดที่จะได้ ได้แก่ a,b,c,d,e โดยน้องๆ จะต้องเลือกเรียน 4 วิชา
เกรดที่ได้ถือว่าสอบผ่านทั้งหมด แต่การสอบผ่านเพียงระดับ AS Level จะถือว่าจบแค่เพียงครึ่งเดียว หรือครึ่งเครดิตของหลักสูตร A Level เท่านั้น - A2 Examination โดยทั่วไปคือการเรียนในช่วง Year 13
ซึ่งเกรดที่จะได้นั้นมากสุดคือ A*,แล้วไล่มาที่ A,B,C,D,E ตามลำดับ โดยนักเรียนจะเลือกเรียนทั้งหมด 3-4 วิชา
เนื้อหาของ As และ A2 นั้นมีความต่อเนื่องกัน เช่นเลือกเรียนวิชา Physics ในพาร์ทของ AS นั้นเทียบได้ว่าเป็น Physics บทที่ 1-2 พอขึ้น Year 13 นั้นก็เริ่มเรียนพาร์ท 3-4 ต่อไป
ซึ่งจุดประสงค์ของการเรียน A-Level คือให้น้องๆ ที่ค้นพบตัวเองแล้วเลือกวิชาเรียนให้แคบลงให้เหมาะสมกับการยื่นคณะเข้าสู่ช่วงอุดมศึกษา เนื่องจากกว่าน้องๆ จะเรียน A-Level ได้นั้นต้องผ่านการสอบ IGCSE ที่มีวิชาบังคับ ใน Year 10-11 มาก่อน พอมาถึง A-Level ตัวหลักสูตรนี้จึงไม่มีการบังคับว่าน้องๆ จำเป็นจะต้องเลือก Math, Science หรือ English อีก ทำให้นักเรียนบางคนอาจพลาดโอกาสไปอย่างเสียดายหากขาดการแนะแนวที่ถูกต้อง หรือเลือกวิชาผิด การเลือกตามเพื่อน หรือเลือกเพราะความชอบไม่ชอบในวิชานั้นๆ
การเลือกวิชาผิดนี้อาจส่งผลถึงอนาคตการยื่นคณะเข้ามหาวิทยาลัย เช่น นักเรียนเพิ่งมารู้ตัวว่าอยากเข้าคณะวิศวกรรม ตอนอยู่ Year 13 ช่วงปลายๆ แต่ตอนต้นเทอมไม่เลือกเรียน Physics แล้วนั้น บางมหาวิทยาลัยที่เป็นตัวท็อปในภาควิชานั้นๆ อาจจะปฏิเสธการยื่นสมัครของน้องๆ เพราะขาดวิชาหลักอย่าง Physics เป็นต้น การเลือกวิชาเพื่อทำ A-Level จึงค่อนข้างสำคัญอย่างมาก เพราะ 3-4 วิชาที่เราเลือกเลือกเราต้องอยู่กับมันสองปีเต็ม เนื้อหาในแต่ละวิชาก็ค่อนข้างที่จะลึกมาก หากเลือกพลาดแล้วต้องการจะเปลี่ยนอาจจะไม่ทันเอาได้ น้องๆ จึงควรจะต้องค้นหาตัวเองให้เจอก่อนตั้งแต่ก่อนขึ้น Year 12-13 ว่าอยากเข้าคณะอะไร ทำอาชีพไหนในอนาคตกันแน่แล้วค่อยตัดสินใจค่ะ
จำนวนวิชากับการจบหลักสูตร A-Level
การเรียนจบ 3 วิชาขึ้นไปใน Year 13 นั้นจะถือว่าน้องๆ เรียนจบหลักสูตร A-level (รวมกับ IGCSE 5 วิชา ในตอน year 10-11 จะถือว่าได้วุฒิมัธยมปลาย ) แต่หากอยากเข้า Top University ในต่างประเทศ การทำได้ถึง 4 วิชานั้นอาจจะทำให้เรามีแต้มต่อที่มากกว่าในการยื่นผลคะแนน แต่หากวิชาที่ 4 นั้นทำได้ไม่ดี เราอาจจะดร็อปให้วิชานั้นเป็นเพียง AS level ก็ย่อมได้
ทั้งนี้ทั้งนั้น ถึงหลักสูตร A-Level จะได้รับการยอมรับในสากล แต่เป็นที่รู้กันว่าการยื่นคะแนน A-Level เข้ามหาวิทยาลัยในอังกฤษและเครือจักรภพนั้นเป็นที่นิยมกว่า เพราะหากน้องๆ สนใจจะยื่นเข้ามหาวิทยาลัยในอเมริกา หรือยุโรป แค่เพียงคะแนน A-Level อาจจะไม่เพียงพอ เพราะเกณฑ์การรับเข้านั้นต่างกัน น้องๆ อาจจะต้องสอบ SAT หรือ ACT ควบคู่ไปด้วยค่ะ
ในส่วนของหลักสูตรต่อไปที่จะกล่าวถึง ก็คือ หลักสูตร IB ที่ขอเรียกว่าเป็น option เสริม มักมีให้น้องๆ เลือกเรียนในสองปีสุดท้ายของ high school ในหลายโรงเรียน ทั้งหลักสูตรอังกฤษและหลักสูตรอเมริกาเลยค่ะ
หลักสูตร IB (International Baccalaureate)

ในส่วนของ หลักสูตร IB นั้นคือหลักสูตรที่ประยุกต์และบูรณาการจากระบบการศึกษาต่างๆทั่วโลก เพื่อที่จะให้นักเรียนเอาคะแนนไปยื่นเข้าสอบหรือสมัครเรียนต่อในมหาวิทยาลัยต่างๆ ในระดับนานาชาติ ใช้แพร่หลายมากกว่า 125 ประเทศ โดยจะมีมาตรฐานเดียวกันหมด
IB Programme จริงๆ แล้วแบ่งหลักสูตรออกเป็น 3 ระดับคือ
- Primary Years Program (3-12)
- Middle Years Program (11-16)
- Diploma Program (16-19)
ซึ่งหลักๆ ใน blog นี้พี่เอมี่และพี่แทนจะขอโฟกัสไปที่พาร์ทที่จะยื่นเข้ามหาวิทยาลัยซึ่งเรียกว่า IB diploma นะคะ โดยวัตถุประสงค์ของการก่อตั้งหลักสูตรนี้ก็เพื่อให้มีระบบการศึกษาในรูปแบบใหม่ที่เป็นที่ยอมรับเดียวกันจากทั่วโลก ซึ่งเหมาะมากสำหรับเด็กที่ต้องโยกย้ายไปแต่ละประเทศตามพ่อแม่ โดยการเรียน IB diploma นั้นใช้เวลาทั้งหมด 2 ปีค่ะ (2 ปีสุดท้ายก่อนเรียนจบ High school)
จุดเด่นของหลักสูตร IB
โดยหากให้เทียบกันแล้ว อาจจะกล่าวได้ว่านักเรียนที่เรียนระบบ IB นั้นนับว่าต้องเรียนหนักหน่วงกว่าใครเพื่อนเลยค่ะ เพราะตัวหลักสูตรสนับสนุนให้น้องๆ นั้นมีความสามารถรอบด้าน สนใจสิ่งต่างๆ รอบตัวนอกจากวิชาการและมีองค์ความรู้ที่ลึกซึ้ง วิชาเรียนนั้นบังคับให้เรียนทั้งหมด 6 วิชาจาก 6 กลุ่มความรู้ เพื่อให้นักเรียนนั้นเรียนได้กว้างที่สุด นอกจากนั้นยังมีอีก 3 เงื่อนไขวิชาหลักที่ถ้าไม่ผ่านก็จะถือว่าไม่จบหลักสูตร IB เช่นกัน ซึ่งวิชาเหล่านั้นก็คือ
- Theory of Knowledge (ToK) ฝึกการคิดวิเคราะห์เชิงวิพากษ์เกี่ยวกับมนุษย์และสังคม วัฒนธรรมของตนเองและโลกผ่าน essay 1200-1600 คำ
- Creativity, Action, Service (CAS) โครงงานกิจกรรมนอกโรงเรียนที่เน้นความคิดสร้างสรรค์ จิตอาสา เพื่อสังคมต่างๆ
- Extended Essay (EE) การเขียนเรียงความในหัวข้อที่สนใจ 4000 คำ
โดยนักเรียนที่ไม่ผ่านเงื่อนไข ทั้ง 3 ข้อนี้จะถือว่าไม่ได้จบ IB Diploma แต่จะได้ได้เพียง IB Certificate เท่านั้น
ดังนั้นอาจจะกล่าวได้ว่า ระบบ IB นั้นเหมาะกับคนรุ่นใหม่ที่มีความคิดสร้างสรรค์ ชอบคิดนอกกรอบ ช่วยเหลือสังคม ไม่ใช่เพียงแต่เน้นวิชาการอย่างเดียว แต่พร้อมที่จะผลักดันการเรียนรู้และศึกษาวัฒนธรรมทั้งของตัวเองและชาติต่างๆ โดยไม่ปิดกั้น ฝึกให้เด็กมีจิตสาธารณะที่เอาใจใส่และเข้าอกเข้าใจความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรมอย่างแท้จริง
ซึ่งหลักสูตรนี้ มีส่วนช่วยอย่างมากเวลาน้องๆ ยื่น Portfolio เข้ามหาวิทยาลัย เพราะจะมีประวัติที่น้องๆ ต้องไปทำกิจกรรมจิตอาสาช่วยเหลือสังคมอยู่แล้ว นับว่าจะเป็นแต้มต่อใน port ของน้องๆ ในการยื่นคณะในฝันอีกด้วยค่ะ ในส่วนของการยื่นเข้ามหาวิทยาลัย IB นั้นเป็นที่ยอมรับในมหาวิทยาลัยทั่วโลก ทุกประเทศ ดังนั้นหากน้องๆ ยังไม่แน่ใจว่ามหาวิทยาลัยที่อยากจะเข้านั้นคืออังกฤษ อเมริกา หรือในประเทศอื่นๆ เช่นในยุโรป การเลือกระบบ IB อาจจะเป็นทางเลือกที่ปลอดภัยมากๆ ค่ะ โดยในกรุงเทพนั้น โรงเรียนที่สอน ระบบ IB Full ตั้งแต่ปฐมวัยถึงมัธยม มีเพียง NIST, KIS, Concordian เท่านั้น โดยโรงเรียนระบบอื่นมักจะเป็นเพียง option ให้เลือกเรียน IB diploma เพื่อสอบเข้ามหาวิทยาลัยในช่วงอายุ 16-19 ค่ะ
หลักสูตร AP (Advanced placement)

หลักสูตร AP คือ โครงการเพื่อการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย ซึ่งในส่วนของโรงเรียนนานาชาติหลักสูตรอเมริกันนั้น เป็นที่รู้กันว่าจะเน้นการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมในช่วงประถมวัยแล้วควบคู่ไปกับการศึกษาวิชาการในวัยที่โตขึ้น เพื่อให้เด็กรับรู้ความต้องการของตนเอง หลายคนเลยอาจจะเข้าใจว่าการเรียนเชิงวิชาการของโรงเรียนระบบอเมริกันนั้นไม่หนักหน่วงเท่าหลักสูตร A-Level และ IB ซึ่งตรงนี้พี่ต้องบอกว่าไม่เสมอไปนะคะ เพราะในบางโรงเรียนหลักสูตรอเมริกันก็มี option ให้น้องๆ เลือก IB diploma ตอนอยู่ Grade สูงได้ๆ เช่น ISB, RIS
จุดเด่นหลักสูตร AP
จุดเด่นข้อแรกของหลักสูตร AP คือ คนที่จะไปสอบไม่จำเป็นต้องเป็นเด็กที่เรียนในโรงเรียนที่จัดการเรียนการสอนแบบ AP มาก่อนเท่านั้น แปลว่าน้องๆ สามารถหาหนังสือมาอ่านเองที่บ้านเพื่อเตรียมสอบได้เองค่ะ
ซึ่งหลายคนอาจสับสนว่า AP นั้นเหมือนการสอบ A-Level หรือ IB หรือไม่ ในที่นี้พี่ต้องแจ้งน้องๆ ว่าการสอบนี้แตกต่างกันค่ะ เพราะ AP เป็นเหมือน “ทางลัด” การสอบเก็บคะแนนวิชาที่น้องๆ อยากจะยกเว้นไม่ต้องเรียนในมหาวิทยาลัย ปี 1 หากน้องๆ เรียนอยู่ Grade 12 ในโรงเรียนระบบอเมริกัน ทางโรงเรียนจะมีวิชา AP กว่า 30 วิชาให้นักเรียนเลือก
ถ้านักเรียนมั่นใจว่าจะเข้าคณะวิศวะ น้องๆ อาจจะเลือกลง AP Physics หรือ AP Math ไว้ หากน้องๆ ทำคะแนนได้ดีมากในสองวิชานี้ ทางบอร์ดมหาวิทยาลัยอาจจะลงความเห็นให้น้องๆ สามารถเทียบโอนเกรดเพื่อไม่ต้องเรียนในวิชา physics 1 หรือ Math 1 ในปีแรก เพราะวิชา AP นั้นนับว่าเนื้อหาค่อนข้างเข้มข้นมาก เป็นความรู้ระดับมหาวิทยาลัย ซึ่งหากน้องๆ ผ่านวิชานี้มาได้ก็นับว่าองค์ความรู้วิชาที่น้องๆ เลือกสอบนั้นเกินกว่าเด็กมัธยมในรุ่น ดังนั้นน้องๆ หลายคนที่รู้ตัวแล้วว่าจะเข้าเรียนคณะไหน บางคนอาจจะไม่เลือกทำ IB diploma ก็ย่อมได้ อาจจะแค่สอบวิชาที่โรงเรียนบวกกับ SAT และ AP บางวิชาเพื่อยื่นเข้ามหาวิทยาลัย ก็จะไม่หนักเท่ากับการทำ IB diploma แบบเต็มๆ ค่ะ
สรุปแล้ว พี่เอมี่และพี่แทนมองว่าทุกหลักสูตรนั้นมีทั้งข้อดีและข้อเสียที่ต่างกัน การที่ผู้ปกครองหรือนักเรียนจะเลือกเรียนหลักสูตรไหนนั้น ขึ้นอยู่กับความต้องการเข้ามหาวิทยาลัยในแต่ละประเทศเป็นหลัก หากน้องๆ มั่นใจว่ายังไงก็จะยื่นเข้ามหาวิทยาลัยที่อังกฤษแน่ๆ การเลือกเรียน A-Level ก็อาจจะเพียงพอแล้วสำหรับการสอบเข้า ยกเว้นแต่ว่าโรงเรียนที่น้องๆ เรียนนั้นเป็นโรงเรียนที่มีแต่หลักสูตร IB อย่างเดียว ถ้าเป็นแบบนั้นน้องๆ ก็อาจจะได้เปรียบในการยื่นเข้าคณะได้หลากหลายขึ้นในมหาวิทยาลัยทั่วโลกค่ะ
สำหรับน้องๆ คนไหนที่อยากเตรียมตัวล่วงหน้า ต้องการเรียนเสริมเฉพาะเพิ่มเติมเพื่อรับประกันคะแนนสำหรับการปูทางเข้าสู่มหาวิทยาลัย ทาง Ignite มีเหล่าครูผู้เชี่ยวชาญในวิชาหลักๆ ทั้ง A-Level , IB และ AP พร้อมรองรับน้องๆ ทั้งการเรียนแบบ 1on1 , mini private class จะเรียนเดี่ยวหรือจับกลุ่มเพื่อนกันมาเองก็ได้ จัดตารางเวลากันได้ตามสบายเลยค่ะ สามารถเข้ามาปรึกษาสอบถามวางแผนการเรียนได้ทาง Line : @igniteastar หรือคลิก https://bit.ly/3qOtyCB และโทร 02-6580023 , 091-5761475
ดูรายละเอียดคอร์สเรียน ignite A* เพิ่มเติมได้ทาง >> https://www.igniteastar.com/
Related Blog & News
ข่าวสารและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง
-
SAT Math, Blog, SAT
รีวิวข้อสอบ SAT March 2020 รู้ให้ชัด ก่อนไปฟัด SAT รอบปลายปี!
สวัสดีครับน้องๆ ทุกคนที่มีกำลังเตรียมตัวจะสอบ SAT ในรอบที่เหลือของปี 2020 ในบทความนี้พี่ภัทร์จะมารีวิวภาพรวม, แนวโจทย์ ที่เพิ่งออกสอบ SAT Math รอบ March 2020 ซึ่งเป็น SAT รอบเดียวของปีนี้ที่เพิ่งได้จัดการสอบ แม้ศูนย์สอบส่วนใหญ่จะโดนยกเลิก และ น้องๆ ส่วนใหญ่ก็อดสอบ แต่ไม่ต้องห่วงครับวันนี้พี่ภัทร์จะมาสรุป และ รีวิวข้อสอบ SAT March 2020 ให้ดูกันชัดๆ ว่า SAT รอบล่าสุดนี้แนวโจทย์เป็นอย่างไร และ เก็งเทรนด์คำถามยอดฮิตที่จะออกสอบ SAT ในรอบถัดไปแน่นอน รับรองว่าน้อง ignite ต้องสามารถพิชิตข้อสอบ SAT ในรอบที่เหลือทุกรอบได้แน่นอนครับ พร้อมแล้วมาดูกันเลย! Test Center ที่ไม่ยกเลิกสอบรอบ March 2020 ก่อนอื่นเราไปดูข้อมูลศูนย์สอบที่ไม่ยกเลิกสอบในรอบ March […]
Comments (0)
-
Blog, SAT Subject Tests
รีวิวสอบเข้าแพทย์รอบ Portfolio ด้วย SAT Subject Tests โดยน้องเกศ นานาชาติเปรม สอบติดแพทย์จุฬาภรณ์ UCL
สวัสดีน้องๆ ว่าที่หมอทุกคนนะครับ วันนี้พี่แอดมินขอพาพี่เกศ จากโรงเรียนนานาชาติเปรม ที่เพิ่งสอบติดแพทย์จุฬาภรณ์ (PCCMS) – UCL ปีล่าสุด มาแนะนำการสอบเข้าแพทย์รอบ 1 (Portfolio) ด้วยคะแนน SAT Subject ซึ่งเป็นอีกวิธีที่น้องๆ โรงเรียนนานาชาติให้ความนิยมมากๆ เลย เพราะสามารถใช้ SAT Subject Tests แทนเกรดโรงเรียนที่ออกช้า หรือใช้แทนคะแนน BMAT ที่สอบได้แค่ปีละ 1 ครั้ง พี่มีรายชื่อคณะแพทย์ ที่สามารถใช้คะแนน SAT Subject Tests และการใช้คะแนนเพื่อยื่นเข้ามาให้น้องๆ ด้วยครับ คณะแพทย์ TCAS รอบ 1 (Portfolio) ที่ใช้คะแนน SAT Subject Tests ยื่นเข้าได้ คณะที่ใช้ SAT Subject Tests เป็นคะแนนวิชาการ คณะแพทย์ศาสตร์จุฬาภรณ์ (PCCMS) ร่วมกับ UCL คณะที่ใช้ […]
Comments (0)
-
SAT Math, Blog, SAT
รีวิวเตรียมตัวสอบ SAT Math ในเวลา 1 เดือน ให้ได้ 800 เต็ม ตั้งแต่สอบครั้งแรกโดยน้องเบสท์ อัสสัมชัญบางรัก
สวัสดีครับ ใครกำลังเร่งเตรียมตัวสอบ SAT วันนี้พี่แอดมินพา น้องเบสท์ ignite idol ที่สอบ SAT Math ครั้งแรกก็ได้ 800 เต็ม อีกทั้งยังใช้เวลาเตรียมตัวแค่ 1 เดือนเท่านั้น…ใครอยากรู้ว่าน้องเบสท์ มีเคล็ดลับเทคนิคและวางแผนการเตรียมตัว SAT Math อย่างไร…ห้ามพลาดบทความนี้นะครับ ก่อนอื่นต้องบอกเลยว่าผมไม่เคยรู้อะไรเกี่ยวกับการสอบ SAT Math มาก่อนเลย…ไม่รู้ว่าคือข้อสอบแบบไหน เนื้อหาเป็นอย่างไร รู้อย่างเดียวคือเอาไว้ใช้ยื่นคณะอินเตอร์ ซึ่งผมอยากเรียน BBA TU ครับ ตอนเพิ่งขึ้น ม.5 ก็ยังไม่ได้หาข้อมูลอะไร คิดว่าอีกนานกว่าจะยื่น แต่รู้ตัวอีกที เพื่อนก็พากันไปสอบ SAT กันหลายครั้งแล้ว ผมเลยต้องรีบเตรียมตัวบ้าง วันนั้นถามเพื่อนว่าเรียน SAT Math ที่ไหน ทุกคนก็บอกว่า เรียน SAT Math ที่ ignite…วันรุ่งขึ้นผมก็มาสมัครเรียนทันทีเลยครับ Timeline เตรียมตัวสอบ SAT Math ในเวลา 1 เดือน […]
Comments (0)
-
Blog, SAT
How to เคล็ดลับอัพคะแนน SAT 1,530 by น้อง Bam ignite
สวัสดีครับ พี่ ignite เห็นน้องๆ หลายคนอาจจะกำลังขมักเขม้นในการเตรียมสอบ SAT กันอยู่ วันนี้พี่เลยพาพี่แบม เจ้าของคะแนน SAT รวม 1530 มาให้น้องๆ รู้จักกัน พี่แบมจะมีเทคนิคในการเตรียมตัวสอบ พร้อมทริค เคล็ดลับอัพคะแนน SAT ยังไงในการพิชิต Perfect Score บ้างนั้น ไปสอบถามกันเลย Q: แนะนำตัวให้น้องๆ รู้จักกันหน่อยครับ? A: สวัสดีค่ะ ชื่อวริศรา ณรงค์วณิชย์ ชื่อเล่นแบมนะคะ มาจาก รร.สาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน EP ค่ะ ตอนนี้พึ่งสอบติดคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ค่ะ Q: น้องมีการวางแผนการเตรียมตัวสอบ SAT ยังไงบ้างครับ? A: พี่สาวของเพื่อนแนะนำให้เตรียม SAT ไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ เพราะมันยากกว่าภาษาอังกฤษปกติ ตอนแรกหนูก็ไม่คิดว่ามันจะยากขนาดนั้น แต่พอมาลองทำก็ยากจริงๆ ตอนนั้นจบ ม.4 หนูก็รู้ตัวแล้วว่าถ้าอยากได้คะแนน SAT เยอะๆ […]
Comments (0)
Comments