ความแตกต่างระหว่าง CU-TEP กับ TU-GET ข้อสอบไหนยากกว่ากัน

เป็นอีกหนึ่งคำถามยอดฮิตเลยว่าข้อสอบ CU-TEP และ TU-GET เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร และน้องๆ ควรเลือกสอบข้อสอบไหนดีกว่ากัน เราไปดูความแตกต่างของข้อสอบจากทั้ง 2 สถาบันนี้กันแบบข้อต่อข้อ และหาคำตอบไปพร้อมกันว่าน้องๆ ควรเลือกสอบตัวไหนดี
มารู้จักข้อสอบ CU-TEP คืออะไร? TU-GET คืออะไร?

ก่อนอื่นแลย เรามาทำความรู้จักกับข้อสอบทั้ง 2 ข้อสอบว่า CU-TEP คืออะไร และ TU-GET คืออะไรกันนะครับ
CU-TEP ย่อมาจาก Chulalongkorn University Test of English Proficiency คือ ข้อสอบวัดระดับภาษาอังกฤษที่ออกโดย สถาบันภาษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อวัดความรู้ความสามารถทั่วไปด้านภาษาอังกฤษ
- ผลคะแนน CU-TEP จะมีอายุ 2 ปี
- ผลคะแนนของ CU-TEP โดยส่วนใหญ่จะใช้ยื่นศึกษาต่อในแทบทุกคณะอินเตอร์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทั้ง แพทยศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ สัตวแพทยศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ พาณิชยศาสตร์และการบัญชี อักษรศาตร์ และจิตวิทยา เป็นต้น
- นอกจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยังมีมหาวิทยาลัยอื่นๆ ที่รับรองผลคะแนนสอบ CU-TEP ในการยื่นสมัครศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี เช่น แพทยศาสตร์ และทันตแพทยศาสตร์ ม.ขอนแก่น แพทยศาสตร์ ม.เชียงใหม่ รวมไปถึงคณะวิศวกรรมศาสตร์อินเตอร์ของ ม.ธรรมศาสตร์ และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ซึ่งแต่ละคณะเหล่านี้ ก็จะใช้ระดับคะแนนที่แตกต่างกัน
- รวมถึงคะแนน CU-TEP ยังสามารถนำไปใช้ยื่นเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาโทและเอกของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้อีกด้วย
TU-GET ย่อมาจาก Thammasat University General English Test คือ ข้อสอบวัดระดับความรู้ภาษาอังกฤษของผู้ที่ประสงค์จะสมัครเข้าเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- TU-GET สามารถใช้เป็นส่วนหนึ่งในการยื่นเข้าสมัครในภาคอินเตอร์ในหลายๆ คณะของธรรมศาสตร์ได้ครับ และเรียนต่อปริญญาโทที่ธรรมศาสตร์ได้เช่นกัน
- โดยใช้เข้าคณะอินเตอร์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อาทิเช่น วิศวกรรมศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ ศิลปศาสตร์ หรือวารสารศาสตร์ เป็นต้น
- อายุคะแนนของ TU-GET คือ 2 ปี เช่นเดียวกับ CU-TEP
- สำหรับเกณฑ์การยื่นคะแนนของแต่ละคณะและแต่ละมหาวิทยาลัย ก็จะแตกต่างกันไปตามประกาศของคณะนั้นๆ
ค่าสอบและการสมัครสอบ

มาดูที่ค่าธรรมเนียมการสอบของแต่ละตัวกันหน่อย ต้องขอออกตัวก่อนเลยว่า ทั้ง CU-TEP และ TU-GET มีค่าธรรมเนียมการสอบที่อยู่ในระดับที่เอื้อมถึงได้ เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่น้องๆ หลายคนเลือกสอบ 2 ตัวนี้
สำหรับการค่าใช้จ่ายในการสมัครสอบ CU-TEP ที่ครอบคลุมทักษะ Listening, Reading, และ Writing มีราคาทั้งสิ้น 900 บาท แต่หากผู้สมัครสอบจำเป็นต้องใช้คะแนน CU-TEP Speaking เพื่อนำไปยื่นเข้าบางคณะของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเช่น BBA, EBA, JIPP, แพทยศาสตร์ และทันตแพทยศาสตร์ ค่าสมัครสอบจะอยู่ที่ราคา 2,900 บาท
การสมัครสอบของ CU-TEP ผู้สมัครสอบ สามารถสมัครออนไลน์ได้ผ่านเว็บไซต์ข้างต้น ในหัวข้อ “ระบบลงทะเบียนออนไลน์” เมื่อข้อมูลที่กรอกได้รับการยืนยันแล้ว ผู้สมัครสอบสามารถชำระเงินการสอบ โดยมีวิธีดังนี้
ชำระเงินผ่านทางเคาน์เตอร์ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกรุงไทย หรือธนาคารทหารไทย โดยพิมพ์ใบชำระเงินจากระบบการสมัคร และนำใบชำระเงินไปยื่นกับทางเคาน์เตอร์ธนาคาร เพื่อทำการชำระเงิน (สามารถชำระเงินได้ภายในเวลาทำการ ของธนาคารภายในวันสุดท้ายของการสมัครสอบ) หรือ ชำระผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิส
ชำระเงินผ่าน ATM โดยชำระผ่านตู้ ATM โดยเลือกเมนูชำระสินค้าและบริการ ทำการใส่ Ref 1 และ Ref 2 ตามที่ระบุไว้ในใบชำระเงินที่พิมพ์ออกมาจากระบบ (สามารถชำระเงินภายในเวลาเทื่องคืน ของวันสุดท้ายของการสมัครสอบ ถ้าหากชำระเงินเกินตามเวลาที่กำหนด ทางระบบจะปรับยอดเป็นวันถัดไป ซึ่งถือว่าเกินตามระยะเวลาการชำระเงิน จะถือว่าผู้สมัครได้ชำระเงิน เกินกำหนดระยะเวลาการสมัครสอบ) สามารถพิมพ์ใบชำระเงินได้ภายในเวลา 17.00 น.ของวันสุดท้ายของการสมัคร
* ผู้สมัครสามารถตรวจสอบสถานะการชำระเงินของตนเองได้ ภายใน 3 วันทำการ หลังจากทำการชำระเงิน
** หากผู้สมัครไม่ได้ชำระเงินภายในเวลาที่กำหนด จะไม่สามารถชำระเงินย้อนหลังได้ และต้องรอสมัครใหม่ในรอบต่อไป
ส่วนค่าธรรมเนียมการสมัคสอบ TU-GET โดยปกติอยู่ที่ราคา 500 บาท แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับช่วงเวลาที่สมัครสอบด้วย กล่าวคือ หากน้องทำการสมัครสอบวันที่ 1-15 ของทุกเดือน ค่าสมัครสอบจะอยู่ที่ 500 บาท
ผู้สมัครสอบสามารถสมัครสอบทางออนไลน์ และพิมพ์ใบแจ้งการชำระเงินและนำไปชำระเงินได้ที่ ธนาคารกสิกรไทย ทุกสาขา แต่หากน้องสมัครวันที่ 16 จนถึงวันสอบ ค่าสมัครสอบจะอยู่ที่ 700 บาท และผู้สมัครสอบต้องจ่ายค่าสมัครสอบด้วยตนเอง ที่ห้อง TU-GET ชั้น 1 อาคารสถาบันภาษา มธ. ท่าพระจันทร์
ทั้งนี้ ผู้สมัครสอบสามารถตรวจสอบเลขประจำตัวสอบ สถานที่ วันและเวลาสอบได้ทางเว็บไซต์ ก่อนสอบ 1 สัปดาห์
น้องๆสามารถสมัครสอบทั้ง CU-TEP และ TU-GET ได้ตามลิงค์ที่แชร์ด้านล่างนี้ได้เลย
1. ลิงค์การสมัครสอบ CU-TEP
http://register.atc.chula.ac.th/ChulaATC/index.php?mod=welcome&op=&lang=th
2. ลิงค์การสมัครสอบ TU-GET
http://litu.tu.ac.th/TUGET/Login.aspx
วันและสถานที่สอบ

CU-TEP และ TU-GET เปิดรอบสอบทุกเดือนเหมือนกัน แต่ CU-TEP จะจัดสอบเดือนละ 1-2 ครั้ง และจะเปิดรอบสอบ CU-TEP Speaking เดือนละ 1ครั้งเท่านั้น ส่วน TU-GET จะเปิดสอบเดือนละ 1 ครั้ง
สำหรับการรับผลสอบ CU-TEP ผู้สอบจะรู้ผลสอบประมาณ 2 สัปดาห์ หลังจากการสอบผ่านเว็บไซต์ออนไลน์ ส่วนผลการสอบ TU-GET ผู้เข้าสอบสามารถตรวจสอบคะแนนได้ทางเว็บไซต์ หลังจากวันสอบ 1 สัปดาห์ โดยที่สถาบันภาษาจะส่งคะแนนอย่างเป็นทางการให้ผู้สมัครสอบ ภายหลังการสอบ 2 สัปดาห์
ทั้งนี้ ผู้สอบสามารถเช็คปฏิทินการจัดสอบได้ในลิงค์ด้านล่างนี้เลย
1. ปฏิทินสอบ CU-TEP (ปรากฏในแถบด้านซ้ายมือของเว็บไซต์)
http://www.atc.chula.ac.th/index2.html
2. ปฏิทินสอบ TU-GET
http://litu.tu.ac.th/2019/assets/public/kcfinder/upload/public/pdf/2019/12/Brochure%20TU-GET(PBT)-2562-2563.pdf
สำหรับสถานที่สอบของ CU-TEP และ TU-GET ผู้สมัครสอบสามารถตรวจสอบสถานที่, วัน, และเวลาการสอบได้จากเว็บไซต์ทางการข้างต้น โดยสถานที่สอบของ CU-TEP จะมีความหลากหลายกว่าเพื่อความสะดวกของผู้สมัครสอบในแต่ละภูมิภาค สนามสอบที่ได้รับความนิยมมากที่สุดของ CU-TEP คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนั่นเอง ส่วนสนามสอบของ TU-GET จะเป็นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต แต่บางครั้งก็มีการจัดรอบพิเศษตามศูนย์สอบโรงเรียนต่างๆ ในกรุงเทพมหานคร
ข้อสอบและระยะเวลาการสอบ

เราลองมาลงรายละเอียดเนื้อหาในข้อสอบกันบ้าง ทั้ง CU-TEP และ TU-GET ต่างก็มีข้อสอบ 3 พาร์ท แต่ทักษะที่สอบก็มีความแตกต่างกันบ้าง ดังนี้
ข้อสอบ CU-TEP ประกอบไปด้วย 3 พาร์ท รวมทั้งหมด 120 ข้อ คะแนนเต็ม 120 คะแนน ในแต่ละพาร์ทจะกำหนดเวลาทำแยกกัน คือเมื่อทำเสร็จพาร์ทหนึ่งก็จะเก็บและทำอีกพาร์ทหนึ่งต่อ โดยในแต่ละพาร์ทมีจำนวนข้อและจำกัดเวลา ดังนี้
- Listening จำนวน 30 ข้อ ระยะเวลาในการสอบ 30 นาที
- Reading จำนวน 60 ข้อ ระยะเวลาในการสอบ 70 นาที
- Writing จำนวน 30 ข้อ ระยะเวลาในการสอบ 30 นาที
ข้อสอบ TU-GET ประกอบไปด้วย 3 พาร์ทที่มีความแตกต่างจาก CU-TEP บ้าง มีจำนวนข้อทั้งหมด 100 ข้อ คะแนนเต็ม 1,000 คะแนน สำหรับการสอบ TU-GET นี้ ระยะเวลาในการสอบจะรวมกัน 3 ชั่วโมงต่อเนื่องกัน ดังนั้น ผู้เข้าสอบต้องบริหารเวลาในการทำข้อสอบเอง โดยทักษะการสอบมีดังนี้
- Grammar and Structure จำนวน 25 ข้อ
- Vocabulary จำนวน 25 ข้อ
- Reading comprehension จำนวน 50 ข้อ
เจาะลึกข้อสอบ CU-TEP และ TU-GET

ได้เวลามาเจาะลึกทั้ง 2 ข้อสอบกันแล้ว เพื่อให้น้องๆเห็นภาพมากขึ้น จะได้เตรียมตัวได้ง่ายขึ้น ลองไปดูกันเลย
ข้อสอบ CU-TEP ที่ผู้สมัครทั่วไปสอบมีคำถามทั้งหมดรวม 120 ข้อ เป็นข้อสอบปรนัยทั้งหมด โดยที่ข้อสอบ CU-TEP ประกอบด้วย 3 ทักษะ ได้แก่ Listening, Reading, และ Writing โดยในแต่ละพาร์ทจะมีรายละเอียดการสอบ ดังนี้
- ข้อสอบ LISTENING มีจำนวน 30 ข้อ ระยะเวลาการทำ 30 นาที แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่
– บทสนทนาสั้นระหว่างผู้พูด 2 คน จำนวน 15 ข้อ
– บทสนทนาที่ผู้พูดโต้ตอบกัน ความยาวประมาณ 10-20 exchanges จำนวน 3 บท บทละ 3 ข้อ รวมเป็นทั้งหมด 9 ข้อ
– บทพูดคนเดียว (Monologue) ที่มีความยาวประมาณ 200-250 คำ จำนวน 2 บท บทละ 3 ข้อ รวมเป็น 6 ข้อสำหรับการสอบ Listening ผู้สอบจะได้ยินบทสนทนาแต่ละบทเพียงครั้งเดียว และหลังบทสนทนาผู้สอบจะได้ยินคำถามเพียงครั้งเดียวเช่นกัน เมื่อคำถามแต่ละข้อจบลง ผู้สอบต้องตอบคำถามโดยการเลือกจากตัวเลือก 1, 2, 3, หรือ 4
- ข้อสอบ READING มีจำนวน 60 ข้อ ระยะเวลาการทำ 70 นาที แบ่งข้อสอบออกเป็น 3 ลักษณะ ได้แก่
Cloze reading เป็นบทความภาษาอังกฤษ ที่มีการเว้นช่องว่าง 15 ช่อง 15 ข้อ 15 คะแนนผู้สอบต้องเลือกคำตอบจากตัวเลือก 1, 2, 3, หรือ 4 ให้บทความสมบูรณ์ถูกต้องทั้งด้านเนื้อหาและไวยากรณ์
– บทความสั้น เป็นบทความสั้นประมาณ 1 ย่อหน้าหรือประมาณครึ่งหน้า A4 มักเป็นรูปแบบจดหมาย และมีคำถามแบบปรนัยจำนวน 5 ข้อ
– บทความยาว เป็นบทความที่มีความยาวประมาณ 1 หน้า A4 จำนวน 4บทความ โดยมีคำถามจาก 4บทความรวมทั้งสิ้น 40 ข้อ*ด้วยจำนวนข้อถึง 60 ข้อ ภายใน 70 นาที ทำให้ผู้สอบมีเวลาเฉลี่ยต่อข้ออยู่เพียงข้อละ 1 นาทีเศษ ผู้สอบจึงควรบริหารเวลาในการทำข้อสอบให้มีประสิทธิภาพที่สุด
- ข้อสอบ WRITING มีจำนวน 30 ข้อ ระยะเวลาในการทำข้อสอบ 30 นาที เฉลี่ยข้อละ 1 นาทีเท่านั้น
ข้อสอบส่วนนี้จะออกมาในรูปแบบของ Error Identification เพื่อวัดความรู้ทางไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ ของผู้เข้าสอบโดยเฉพาะ เป็นข้อสอบปรนัยแบบเลือกจากตัวเลือก 1, 2, 3, หรือ 4 เช่นกัน*ทั้งนี้ ดร.พี่กั๊กและพี่แพททริค ได้รวบรวมเทคนิคการทำข้อสอบ CU-TEP รวมถึง CU-TEP Speaking ไว้ให้แล้ว น้องสามารถคลิกเข้าไปอ่านได้ที่ >> เผยเทคนิคพิชิต CU-TEP + CU-TEP SPEAKING พร้อมแนวข้อสอบทั้ง 4 ทักษะ
มาต่อกันที่ ข้อสอบ TU-GET กันบ้าง ข้อสอบนี้มีคำถามรวมทั้งหมด 100 ข้อ ระยะเวลาในการทำข้อสอบทั้งหมดรวม 3 ชั่วโมงแบบที่ผู้เข้าสอบสามารถบริหารเวลาทำข้อสอบได้เอง โดยเนื้อหาที่สอบมีดังนี้
- Grammar and Structure เป็นพาร์ทที่วัดความรู้ด้านไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ มีจำนวนคำถามทั้งหมด 25 ข้อ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
– Error identification จำนวน 13 ข้อ เป็นการหาจุดผิดจากประโยค เป็นข้อสอบปรนัยแบบ 4 ตัวเลือก ข้อสอบในส่วนนี้จะมีความคล้ายคลึงกับข้อสอบพาร์ท Writing ของ CU-TEP มากๆ
– Sentence completion จำนวน 12 ข้อ เป็นพาร์ทเติมคำตอบในช่องว่างที่วัดความรู้ทางไวยากรณ์โดยเฉพาะ เป็นข้อสอบปรนัยแบบ 4 ตัวเลือก คำถามจะมาเป็นประโยคและเว้นว่างไว้ให้น้องๆ เลือกเติมประโยคให้สมบูรณ์ถูกต้อง บอกเลยว่าเป็นพาร์ทที่ต้องแม่นไวยากรณ์จริงๆ - Vocabulary เป็นพาร์ทวัดความรู้ด้านคำศัพท์ภาษาอังกฤษ มีทั้งหมด 25 ข้อ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่
– Fill in the blanks มีจำนวนทั้งหมด 13 ข้อ ก่อนหน้านี้ข้อสอบจะเป็น Passage มาให้และให้เลือกคำไปเติมให้ถูกต้อง เป็นลักษณะเหมือน Cloze test แต่ปัจจุบันนี้ ข้อสอบ TU-GET เปลี่ยนพาร์ทนี้เป็นข้อต่อข้อ กล่าวคือ เป็นประโยคมาให้ทีละข้อ และให้เลือกคำศัพท์ที่ถูกต้องทั้งถูกความหมายและถูกบริบทไปเติม ตัวเลือกเป็นปรนัยแบบ 4 ตัวเลือกเช่นเดียวกัน ความยากของพาร์ทนี้คือ ตัวเลือกที่โจทย์ให้มาจะมีความใกล้เคียงกันมาก บางครั้งใกล้เคียงในตัวสะกดทำให้น้องๆ ลังเลได้ บางครั้งก็ใกล้เคียงในความหมาย ทำให้น้องๆ ต้องเลือกใช้คำให้ถูกบริบทด้วย
– Synonyms มีจำนวนทั้งหมด 12 ข้อ พาร์ทนี้เป็นการวัดว่าน้องๆ รู้ความหมายและบริบทการใช้ของคำศัพท์ที่โจทย์กำหนดมาเลยหรือไม่ เพราะน้องๆ ต้องเลือกคำตอบที่มีความหมายเหมือนหรือใกล้เคียงคำที่โจทย์ขีดเส้นใต้มามากที่สุด - Reading comprehension มีจำนวนทั้งหมด 50 ข้อ จากทั้งหมด 6 passages ใน 1 Passage ก็จะมีคำถามประมาณ 7-10 ข้อ ความยาวของแต่ละ passage จะมีความแตกต่างกัน บางบทความอาจสั้น บางบทความยาว เรื่องที่ออกจะมีความหลากหลาย เช่น บทความการทดลองทางวิทยาศาสตร์ บทความเกี่ยวกับปแญกาสิ่งแวดล้อม หรือบทความที่เกี่ยวกับด้านสังคม เป็นต้น ส่วนคำถามของพาร์ทนี้จะมีความคล้ายคลึงกับคำถามในข้อสอบ CU-TEP ทั้งการถาม Title, main idea, reference, vocabulary รวมถึงการถามแบบลงรายละเอียด จึงจำเป็นมากๆ ที่น้องๆ จะต้องอ่านเข้าใจภาพรวมของบทความนั้นๆ
สรุปความเหมือนและต่างของข้อสอบ

สุดท้ายนี้ เราไปดูความเหมือนและความแตกต่างระหว่างข้อสอบ CU-TEP และ TU-GET กัน อย่างที่ได้บอกไปแล้วว่าทั้งสองข้อสอบนี้มีบางทักษะและรูปแบบคำถามที่แตกต่างกัน กล่าวคือ CU-TEP จะมีการทดสอบ Listening จำนวน 30 ข้อ ในขณะที่ข้อสอบ TU-GET ไม่มี แต่จะมีการทดสอบ Vocabulary แทนในจำนวน 25 ข้อ สำหรับพาร์ท Reading จำนวนข้อของ CU-TEP ก็จะมากกว่าของ TU-GET 10 ข้อ และในพาร์ท Writing จาก CU-TEP ที่เป็น Error identification อย่างเดียว 30 ข้อ ใน TU-GET ก็จะเหลือแค่ 13 ข้อ และมีส่วนที่เป็น Sentence completion เข้ามาแทน 12 ข้อ
ทั้งนี้ ระดับความยากของทั้งสองข้อสอบ ค่อยข้างอยู่ในระดับเดียวกัน แต่น้องๆ หลายคนอาจบอกว่าข้อสอบ CU-TEP ยากกว่า ซึ่งก็อาจจะเป็นเพราะเวลาในการทำข้อสอบที่สั้นกว่าก็ได้ ที่ทำให้น้องๆ รู้สึกกดดันตัวเอง
คอร์สเรียน CU-TEP & TU-GET

จะเห็นเลยว่า ทั้ง CU-TEP และ TU-GET มีความคล้ายคลึงในเนื้อหาที่สอบอย่างมากโดยเฉพาะด้านการอ่าน, คำศัพท์, และไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ หรือ Grammar นั่นเอง ดังนั้น เพื่อที่จะให้น้องๆ ได้ประโยชน์จากการเรียนอย่างสูงสุด ทาง ignite จึงได้ออกแบบคอร์สเรียนที่สามารถช่วยให้น้องๆ เตรียมตัวสอบทั้ง 2 ข้อสอบได้ไปพร้อมๆ กันกับคอร์ส Mini Class CU-TEP & TU-GET โดยพี่พิมพ์ รับรองว่าน้องๆ จะได้พบกับเทคนิคการทำข้อสอบมากมาย และเริ่มปูความรู้ตั้งแต่พื้นฐานไวยากรณ์ที่ออกสอบบ่อยในทั้ง 2 ข้อสอบ พร้อมการแตกศัพท์มากมายมั่นใจได้เลยว่าออกสอบแน่ ที่สำคัญ คอร์สนี้จำกัดที่นั่งเพียง 10 คนเท่านั้น!
สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมหรือเข้ามาทำ Placement Test เพื่อวัดระดับความรู้ ได้ที่ Ignite by Ondemand ชั้น 12B อาคารสยามพิวรรธน์ทาวเวอร์ หรือคลิกปุ่ม Line@ ด้านล่างเพื่อสอบถามข้อมูลเข้ามาได้เลยครับ
สามารถศึกษาข้อมูลข้อสอบ CU-TEP หรือเทคนิคในการทำข้อสอบ CU-TEP ที่น่าสนใจ ที่พวกพี่ๆ ได้รวบรวมไว้ให้น้องๆ ได้ทาง >> https://www.ignitebyondemand.com/category/cu-tep/
Related Blog & News
ข่าวสารและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง
-
Blog, SAT Subject Tests
คู่มือสำหรับพ่อแม่ที่อยากให้ลูกสอบติดคณะวิศวะอินเตอร์
สวัสดีคุณพ่อคุณแม่ที่อยากให้ลูกเรียนวิศวะทุกท่านนะครับ…วันนี้ ignite จะขอมาแนะนำการ สอบเข้าคณะวิศวะอินเตอร์ ไม่ว่าจะ วิศวะอินเตอร์ จุฬาฯ , วิศวะอินเตอร์ ลาดกระบังฯ หรือ วิศวะอินเตอร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดย ignite จะมาแนะนำว่าน้องๆ ต้องใช้คะแนนอะไร เพื่อยื่นเข้าวิศวะใน TCAS รอบ 1…รู้ก่อน สอบติดก่อน มาวางแผนการเรียนให้ลูกสอบติดก่อนใครกับ ignite ได้เลยครับ คะแนนที่ต้องใช้ เพื่อยื่นเข้า วิศวะอินเตอร์ TCAS รอบ 1 1. Math หรือผลสอบความสามารถทางคณิตศาสตร์ ผลสอบวิชาคณิตศาสตร์ คือ คะแนนที่มหาวิทยาลัยที่เปิดรับคณะวิศวะอินเตอร์ ส่วนใหญ่กำหนดให้น้องๆ ใช้เป็นคะแนนในการยื่นเพื่อพิจารณานะครับ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วน้องๆ มักจะเลือกสอบอยู่ 2 ตัวด้วยกันคือ SAT Math และ CU-AAT Math ถ้าคุณพ่อคุณแม่ยังไม่แน่ใจว่าข้อสอบทั้ง 2 อย่างแตกต่างกันอย่างไร…ignite จะขอแนะนำให้ ณ ที่นี่เลยครับ […]
Comments (0)
-
Blog
เทคนิคการเลือกวิชา IGCSE, A-Level ให้ได้คณะในฝัน
การเลือกวิชาใน IGCSE และ A-Level นั้นถือว่าสำคัญมากๆ เพราะเป็นการกำหนดอนาคตที่ใช้ยื่นคะแนนเข้าคณะในฝันของนักเรียนทุกคนที่เรียนหลักสูตรอังกฤษ เพราะหลักสูตรนี้ถือว่าได้รับการยอมรับในสากลจากมหาวิทยาลัยทั่วโลก นักเรียนหลายคนมักจะสับสนว่าควรเลือกวิชาที่ชอบ หรือวิชาที่จำเป็นดีกว่า ดังนั้นวันนี้พี่ๆ ignite จะมาแนะนำเทคนิคการเลือกแบบเข้าใจง่ายๆ ให้น้องๆ กันครับ ถ้าพร้อมแล้วก็มาเริ่มกันเลย !! ทำความรู้จักหลักสูตร IGCSE vs A-Level จากภาพด้านบน กล่าวได้ว่า IGCSE นั้นคือหลักสูตร 2 ปีสำหรับน้องๆ Year 10-11 ที่เป็นการเตรียมปูพื้นฐานวิชาให้มีองค์ความรู้รอบด้านและแน่นพอที่จะเลือกเรียนวิชาในขั้นสูงกว่า หรือการทำ A-Level อีกสองปี เพื่อยื่นคะแนนทั้ง 3 วิชานี้เข้ามหาวิทยาลัยที่น้องๆ ต้องการ ต่อมาเรามาดูกันว่าเราควรเลือกเรียนวิชาอะไรให้ตรงกับคณะที่เราต้องการเข้าศึกษาต่อ มาเริ่มกันที่หลักสูตรแรกนั้นก็คือ IGCSE เทคนิคการเลือกวิชา IGCSE โดยวิชาที่น้องๆ สามารถสอบได้ใน IGCSE นั้นแบ่งออกเป็น […]
Comments (0)
-
Blog, CU-ATS/CU-AAT
ข้อสอบ ACT คืออะไร? มารู้จักอีกหนึ่งโอกาส สอบติดคณะอินเตอร์
ข้อสอบ ACT คืออะไร? คงเป็นคำถามที่น้องๆ ทีมอินเตอร์สงสัยกันมากที่สุดตอนนี้ !!! หลังจากที่ข้อสอบ SAT Subject tests ถูกยกเลิกอย่างเป็นทางการ ทำให้มหาวิทยาลัยในไทยที่เปิดสอนหลักสูตรอินเตอร์ต่างพากันเบนเข็มมาเปิดรับคะแนน ACT กันมากขึ้น ไม่ว่าจะคณะวิศวะหรือวิทยาศาสตร์ ดังนั้นใครที่อยากสอบติด TCAS รอบ1 ต้องมารู้จักกับข้อสอบ ACT ที่เป็นอีกหนึ่งโอกาสทำให้น้องๆสอบติดคณะอินเตอร์ยอดฮิตนะครับ ถ้าพร้อมแล้วไปอ่านพร้อมกันได้เลย…ignite เตรียมข้อมูลพร้อมเสิร์ฟให้น้องๆ แล้วครับผม ข้อสอบ ACT คือ ACT หรือ American College Testing Assessment คือ ข้อสอบมาตรฐานจากประเทศสหรัฐอเมริกาและแคนาดาใช้วัดระดับทักษะด้านการใช้เหตุผล การคิดวิเคราะห์ การแก้ไขปัญหา และการสื่อสารที่จำเป็นในการเรียนต่อมหาวิทยาลัย โดยมหาวิทยาลัยหลักสูตรอินเตอร์ที่เปิดรับนักศึกษาจากระบบ TCAS รอบ1 มักจัดหมวดหมู่คะแนน ACT ให้อยู่ประเภทเดียวกับคะแนน SAT หรือ SAT […]
Comments (0)
-
Blog, GED
เรียน Homeschool คืออะไร? เรียนยังไงให้ได้วุฒิ ด้วย GED
สวัสดีน้องๆและผู้ปกครองทุกคนนะคะ พี่เชื่อว่าหลายๆ คน คงจะรู้จัก GED หรือการสอบเทียบวุฒิมาบ้าง ไม่มากก็น้อย และก็คงจะเคยได้ยินคำว่า การเรียนแบบ Home School กันมาบ้าง วันนี้พี่จะมาคลายทุกข้อสงสัย ว่าการเรียนแบบ Homeschool คืออะไร? มีความแตกต่างกับการเรียนในโรงเรียนอย่างไร มีข้อดี-ข้อเสียอย่างไรบ้าง และการเรียนแบบ Homeschool จะยื่นเข้ามหาวิทยาลัยในฝันได้อย่างไร ก่อนอื่นอยากจะมากระซิบก่อนเลยว่า การสอบ GED เป็นการเพิ่มโอกาสในการสอบเข้ามหาวิทยาลัยสำหรับน้องๆ ที่เรียนแบบ Homeschool มากๆ น่าสนใจขนาดนี้แล้ว งั้นไปดูกันทีละหัวข้อเลยค่า การเรียนแบบ Homeschool คืออะไร ? Home School นั้นถูกจัดว่าเป็นประเภทหนึ่งของการจัดการศึกษาให้เด็กในวัยเรียน โดยอิงตามมาตรา 12 ของ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ซึ่งครอบครัว พ่อแม่ สามารถจัดการการศึกษาพื้นฐานให้แก่เด็กเอง โดยที่ไม่ต้องเข้าเรียนในโรงเรียนของรัฐ หรือเอกชน หรือถ้าพูดให้เข้าใจง่ายๆ คือ […]
Comments (0)
Comments