เจาะลึก ทุกเกณฑ์การให้คะแนนและเทคนิค IELTS Writing เพื่อพิชิตคะแนน 7.0 UP โดย ดร.พี่กั๊ก IGNITE BY ONDEMAND

เจาะลึก ทุกเกณฑ์การให้คะแนนและเทคนิค IELTS Writing เพื่อพิชิตคะแนน 7.0 UP
โดย ดร.พี่กั๊ก IGNITE BY ONDEMAND
สวัสดีครับน้องๆ ชาว ignite ทุกคน พี่กั๊กมารายงานตัวแล้วครับ น้องๆรู้ไหมครับว่า ในการสอบ IELTS ทักษะไหนที่ขึ้นชื่อว่าเป็นทักษะที่คะแนนมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด แน่นอนครับว่า คือ ทักษะการเขียน (Writing) เพราะเป็นทักษะที่เราจะต้องแสดงความสามารถทางภาษาออกไปทั้งหมดทั้งด้านเนื้อหา ด้านการถ่ายทอด และด้านภาษาที่ใช้สื่อ ซึ่งทำให้เราไม่สามารถเดาสุ่มคำตอบได้เหมือนทักษะอื่นๆ
เพื่อเป็นผู้ช่วยให้น้องๆ ได้อัพคะแนน IELTS ให้ถึงคณะและมหาวิทยาลัยในฝัน วันนี้พี่กั๊กขอมาปอกเปลือกทุกเกณฑ์การให้คะแนนของ IELTS Writing พร้อมแชร์เทคนิคอัพคะแนน เพื่อให้น้องๆ ใช้เป็นแนวทางการฝึกเขียนต่อไปและคว้าคะแนน IELTS 7.0 Up ให้ได้นะครับ

ใน IELTS Writing น้องๆจะต้องเขียนตอบทั้งหมด 2 บทความ ภายในระยะเวลา 1 ชั่วโมง สำหรับบทความแรก คือ การเขียนบรรยายข้อมูล (Task 1) จะเป็นการบรรยายกราฟ, ตาราง, แผนภูมิ, แผนผัง, หรือแผนที่ เป็นต้น โดยต้องเขียนอย่างน้อย 150คำ ในส่วนนี้น้องๆ ควรใช้เวลาไม่เกิน 20นาที สัดส่วนของคะแนนอยู่ที่ 1/3
ส่วนบทความที่สองคือ การเขียนแบบแสดงแนวคิด (Task 2) จะเขียนทั้งหมด 250 คำ ซึ่งมีสัดส่วนของคะแนนอยู่ที่ 2/3 จากนั้นเอาคะแนนทั้งสองส่วนมาคิด ก็จะได้คะแนนรวมเป็น 9 ครับผม
เนื่องจากทั้งสองบทความนี้ น้องๆ มีเวลาการทำอยู่เพียง 1 ชั่วโมงเท่านั้น การแบ่งเวลาทำข้อสอบจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ น้องๆ ต้องบริหารเวลาให้ดี ร่างโครงไอเดียก่อนเริ่มเขียน เวลาเขียนคำตอบ น้องๆ ควรเขียนแบบบรรทัดเว้นบรรทัด หากเขียนผิดไม่ต้องเสียเวลาลบ ขีดฆ่าแล้วเขียนแก้กำกับไว้ได้เลย ข้อสำคัญของการเขียนตอบข้อสอบ ในพาร์ทนี้ คือพยายามอย่าเขียนน้อยกว่าจำนวนที่กำหนด แต่ก็ไม่ควรเขียนเกินเยอะจนเกินไปเพราะจะทำให้ทำข้อสอบไม่ทัน

เกณฑ์การให้คะแนน IELTS Writing
เมื่อรู้จักลักษณะของข้อสอบ IELTS Writing แล้ว เราลองมาเจาะลึกถึงเกณฑ์การให้คะแนน IELTS Writing กันทีละส่วนเพื่อให้น้องๆเห็นภาพ และมีแนวทางในการเขียนมากขึ้นกันครับ สำหรับ ทั้ง 2 ส่วน (Task 1 และ Task 2) จะมีเกณฑ์การให้คะแนนอยู่ 4 ด้านเหมือนกัน และก็เฉลี่ยกันไปด้านละ 25% ซึ่งแต่ละด้านประกอบด้วย
1. Task Achievement (TA) หรือ Task Response (TR): หัวใจหลักของเกณฑ์นี้ก็คือการทำตามคำสั่งของโจทย์ ตอบตรงคำถาม เขียนจำนวนคำครบตามกำหนด โดยที่ Task 1 จะเป็นการเขียนบรรยายข้อมูลโดยที่มีการบอกว่า main features หรือลักษณะที่สำคัญของข้อมูลเป็นแบบไหน อะไรเป็นจุดที่น่าสนใจและควรดึงมาเขียน รวมถึงมีการ make comparison where relevant หรือการเปรียบเทียบข้อมูลที่ให้มา ไม่ใช่เพียงการบอกบรรยายภาพเฉยๆ และในส่วนของ Task 2 จะเป็นการแสดงแนวคิดตามประเภทของคำถาม และมีโครงสร้างที่มีคำนำ เนื้อเรื่อง และสรุปอย่างชัดเจน ซึ่งคำถามใน Task นี้จะมีหลากหลายมากทั้ง Opinion, Advantages and Disadvantages, Problem and Solution, หรือ Discuss both views เป็นต้น น้องๆต้องอ่านคำถามให้เข้าใจและชัดเจนก่อนที่จะเริ่มเขียนคำตอบนะครับ
2. Coherence and Cohesion (CC): เกณฑ์นี้เป็นเกณฑ์ที่วัดว่าบทความของน้องๆนั้นมีการร้อยเรียงเนื้อหาที่สอดคล้องกันทั้งหมดหรือไม่ และมีการใช้ Transition words ที่ถูกต้องและเหมาะสมหรือไม่ เช่น การใช้ However เพื่อเชื่อมใจความของสองประโยคที่ขัดแย้งกัน หรือการใช้ Furthermore เพื่อเชื่อมใจความของประโยคที่เสริมกัน ดังนั้น การใช้ Transition words ที่หลากหลายและตรงกับบริบทที่ต้องการสื่อจึงเป็นส่วนวำคัญมากๆสำหรับเกณฑ์การให้คะแนนนี้ เพราะถ้าไม่ใช้กรรมการก็ไม่รู้จะให้คะแนนตรงไหนนะครับ
ก่อนไปต่ออีก 2 เกณฑ์การให้คะแนน พี่กั๊กขอแอบบอกข่าวดีว่าสำหรับน้องๆคอร์ส IELTS และคอร์ส Advanced Writing for IELTS พี่กั๊กมีเทคนิคการเขียนแบบง่ายๆ ในรูปแบบที่พร้อมใช้ ที่เรียกว่า “Big 4” ซึ่งจะช่วยอัพคะแนนสองส่วนข้างบนนี้ได้ไม่ยาก พูดง่ายๆ คือน้องๆสามารถเก็บครึ่งนึงของคะแนนทั้งหมดไว้แล้วและก้าวไปยืนรอที่ band 7 เลย อิอิ
3. Lexical Resources (LR): เกณฑ์นี้จะวัดการใช้คำศัพท์ที่ถูกต้องตรงตามบริบทและมีความหลากหลายของการใช้ รวมถึงการสะกดคำที่ถูกต้อง และนอกจากนั้น ยังต้องมีการใช้คำศัพท์ที่เป็นคำที่ค่อนข้าง less common หน่อย เพื่อแสดงความสามารถ เช่น เราอาจจะรู้จักคำว่า money แต่เราสามารถปรับคำนี้ให้เหมาะตามบริบทต่างๆ เช่น income หรือ financial stability หรือ financial incentives แล้วแต่ความเหมาะสม ฝากไว้ว่าการใช้คำศัพท์ที่ดีไม่ได้หมายความว่า คำนั้นต้องเป็นคำที่ยาว ยาก และพิศดาร แต่ต้องเป็นการใช้ให้เหมาะสมและเป็นธรรมชาตินะครับ การเพิ่มคะแนนในส่วนนี้ก็คือต้องอ่านเยอะๆ เพื่อเก็บคำศัพท์ และรูปแบบการใช้ จากนั้นก็คือทดลองใช้จริง จนเกิดความเคยชินอย่างต่อเนื่องครับผม
4. Grammatical Range and Accuracy (GRA): สุดท้าย เกณฑ์นี้เป็นการดูการใช้ไวยากรณ์ที่ถูกต้อง เหมาะสม มีรูปแบบการเขียนโครงสร้างทางภาษาที่หลากหลาย และมีการใช้รูปประโยคเชิงซ้อน หรือ Complex sentences การที่เราอยากให้คะแนนส่วนนี้ถึง band 7 ไม่ได้หมายความว่าแกรมม่าต้องถูกแบบเป๊ะเวอร์ จริงๆ แล้วการมีข้อผิดพลาดเล็กน้อยสามารถยอมรับได้ใน band นี้ แต่ขอให้มีการกล้าที่จะใช้ประโยคเชิงซ้อน ที่มีส่วนที่ขยายกันเองภายในประโยค เช่น Relative clauses, Participle เป็นต้น

เป็นอย่างไรกันบ้างครับน้องๆ การพิชิตคะแนน 7.0UP อาจไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้ถ้าน้องๆตั้งใจและหมั่นขยันฝึกนะครับ โดยเฉพาะพาร์ทนี้ ถ้าน้องๆ รู้แนวทาง มีรูปแบบการเขียนที่ถูกต้อง ก็จะสามารถอัพคะแนนในพาร์ทนี้ได้ไม่ยาก พี่กั๊กและพี่แพททริคขอเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยให้น้องๆ ได้คะแนนตามที่ตั้งไว้นะครับ แล้วมาเจอกัน สนุกไปด้วยกันในคอร์ส IELTS และ คอร์ส Advanced Writing for IELTS นะครับ
ทั้งนี้ น้องๆ สามารถเข้าไปอ่านบทความ >>> “ผ่าข้อสอบ IELTS” ซึ่งเป็นบทความที่รวมลักษณะข้อสอบ ทุกทักษะพร้อมเทคนิคทั้งหมดเพื่อเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยให้น้องๆก่อนสอบครับ
และน้องๆ สามารถศึกษาแนวทางในการการเตรียมตัวสอบได้ในบทความ >>> “เตรียมตัวอย่างไรให้ สอบ IELTS ได้ 7.0 UP!!! BY น้องจ๋ำ ผู้พิชิต IELTS 8.0 ตั้งแต่ม. 3″ ซึ่งน้องจ๋ำได้มาแชร์ประสบการณ์ในการเตรียมไว้ได้อย่างละเอียดเลยครับ
สามารถติดต่อสอบถามเกี่ยวกับคอร์สเรียน IELTS ที่มีให้เลือกเรียนทั้ง คอร์สสด และ คอร์ส Self ได้เลยนะครับ ดร.พี่กั๊กและพี่แพททริครอเจอน้องๆอยู่นะครับ
Related Blog & News
ข่าวสารและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง
-
Blog
IGCSE คืออะไร? ตอบทุกข้อสงสัยไปกับ ignite by ondemand
IGCSE (International General Certificate of Secondary Educational) คือ หลักสูตรการศึกษาจากประเทศอังกฤษที่ทำให้ได้รับวุฒิการศึกษาเทียบเท่า ม.4 ในไทย ซึ่งหากเรียนจบหลักสูตร IGCSE แล้ว สามารถไปศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นได้ เช่น AS, A Level, IB หรือเพื่อศึกษาต่อระดับมหาวิทยาลัย โดยปกติในประเทศไทยนั้น การสอบ IGCSE จะอยู่ในระบบการศึกษาของโรงเรียนนานาชาติที่ใช้ระบบการเรียนการสอนแบบอังกฤษ (UK) แต่น้องๆที่ไม่ได้อยู่ในระบบ ก็สามารถสมัครสอบ IGCSE ได้โดยตรงกับทาง British Council Thailand นะครับ สำหรับการสอบ IGCSE นั้น ต้องเลือกสอบจำนวน 5 วิชา เพื่อให้ได้ IGCSE Certificate โดย IGCSE มีให้เลือกมากกว่า 70 […]
Comments (0)
-
Blog, Medical TCAS 1 (Portfolio)
เจาะลึกเส้นทางสอบติดคณะแพทย์ระดับโลก “University of Cambridge” น้องพรอมท์ Shrewsbury International School
กลับมาอีกครั้งอย่างยิ่งใหญ่กับบทสัมภาษณ์ ignite Idol น้องพรอมท์ Shrewsbury International School ที่เพิ่งสอบติดคณะแพทย์ University of Cambridge ประเทศอังกฤษปีล่าสุดมาหมาดๆ … ถือเป็นเรื่องน่าภูมิใจของประเทศไทยและ ignite มากๆ ที่สามารถส่งเด็กไทย ไปคว้าที่นั่งในคณะแพทย์เคมบริจด์ ได้ถึง 2 ปีซ้อน ซึ่งเป็นคณะแพทย์ที่ใครๆ ต่างก็ยอมรับว่าสอบเข้ายากที่สุดในโลก วันนี้พี่แอดมินขอพาน้องพรอมท์ มาเจาะลึกเส้นทางสู่คณะแพทย์ University of Cambridge ประเทศอังกฤษ พร้อมเปิดเผยเส้นทางสู่การสอบติดคณะแพทย์ระดับโลก ให้เด็กไทยทุกคนที่มีความฝันได้ศึกษาแนวทางการเตรียมตัวที่ถูกต้อง…พี่แอดมินเชื่อว่าบทความนี้จะทำให้ประเทศไทยได้คุณหมอที่มีศักยภาพระดับโลกกลับมาพัฒนาวงการสาธารณสุขไทยเพิ่มอย่างแน่นอนครับ ได้ยินว่าน้องพรอมท์อยากเป็นหมอ เพราะต้องการทำงานที่ช่วยให้ชีวิตคนอื่นดีขึ้น? เรื่องนี้มีที่มา ที่ไปอย่างไรครับ ใช่ครับ…จริงๆ แล้วผมมีความรู้สึกอยากเป็นหมอมาตั้งแต่เรียนอยู่ ม.2 แล้วครับ ด้วยความที่ยังเด็กมาก เราก็ยังไม่ได้ตัดสินใจอะไรไปตอนนั้น แต่พอโตขึ้นผมได้มีโอกาสไปสอนหนังสือให้น้องๆ […]
Comments (0)
-
Blog, Medical TCAS 1 (Portfolio)
5 โจทย์ที่ต้องเจอใน BMAT Critical Thinking พร้อมเทคนิค CAP รับมือทุกโจทย์ Part 1
สวัสดีครับน้องๆ กลับมาพบกับพี่กั๊กกันอีกครั้งนะครับ ใกล้จะถึงช่วงสอบ BMAT กันอีกแล้ว เชื่อว่าตอนนี้น้องๆ คงตั้งใจทบทวนโค้งสุดท้ายกันอยู่แน่นอน แต่เนื่องจากการสอบ BMAT นั่นมีหลายพาร์ทเหลือเกิน หากจะต้องโฟกัสทุกจุดคงจะใช้เวลาพอสมควรแน่ๆ วันนี้พี่กั๊กเลยมาพร้อมกับเทคนิควิเคราะห์โจทย์ BMAT Critical Thinking เพื่อเพิ่มเลเวลในการอัพคะแนนของน้องๆ ใน BMAT Part 1 และช่วยลดการใช้เวลาในการนั่งทบทวนว่า เอ้…โจทย์ข้อนี้ต้องการอะไรนะ? แต่ก่อนจะเริ่มเทคนิควิเคราะห์โจทย์จากพี่กั๊ก เรามาทบทวนกันอีกรอบดีกว่าว่า “BMAT Part 1 นั้น จริงๆ แล้วเป็นยังไง?” BMAT Part 1 เป็นอย่างไร ต้องเจอกับข้อสอบแบบไหน? แน่นอนว่าการที่น้องๆ จะสอบเข้าแพทย์และได้เป็นคุณหมอในอนาคต สิ่งๆ หนึ่งที่น้องจำเป็นจะต้องมีก็คือทักษะการคิดวิเคราะห์นั่นเอง ซึ่งหากน้องเป็นคนที่มีการคิดวิเคราะห์สูง ตรงนี้ก็อาจจะสื่อถึงความสามารถในการนำไปปรับใช้กับสถานการณ์เร่งด่วนต่างๆ ที่ต้องเจอในสายอาชีพนั่นเอง ดังนั้นนี่ก็เป็นที่มาของเจ้าตัว BMAT Part 1 โดยในส่วนนี้จะถูกแบ่งย่อยออกเป็นอีก 2 พาร์ท คือ BMAT Problem Solving (16 ข้อ) : […]
Comments (0)
-
Blog, CU-ATS/CU-AAT
เจาะลึกเทคนิคพิชิต ACT Science ข้อสอบเป็นยังไง? ต่างจากข้อสอบอื่นยังไงบ้าง?
สวัสดีครับน้องๆ หลังจากที่หลายคณะเริ่มประกาศรับคะแนนการสอบ ACT เพื่อคัดเลือกนิสิต นักศึกษาใหม่เข้าคณะ เช่น ISE CU หรือ SIIT น้องๆ หลายคนก็เริ่มหันมาสนใจการสอบนี้กันมากขึ้น แถมยังมีบางคนรีวิวอีกว่าข้อสอบ ACT ง่ายกว่าการสอบแบบอื่นๆ วันนี้พี่อิ๊งค์จะมาช่วยไขข้อสงสัยถึงรูปแบบของ ข้อสอบ ACT Science ว่าเป็นยังไง แล้วจะง่ายกว่าข้อสอบอื่นจริงหรือไม่กันครับ ลักษณะข้อสอบ ACT Sciencee ข้อสอบ ACT Science มีคำถาม 40 ข้อ โดยให้เวลาในการทำอยู่ที่ 35 นาทีเท่านั้น ถือว่าเป็นข้อสอบ Speed Testมากๆ น้องจะต้องฝึกฝนในการทำให้มาก และฝึกจัดการเวลาในการทำข้อสอบให้เชี่ยวชาญก่อนไปสอบ ซึ่งรูปแบบของคำถาม จะมีการให้ Passage มาประมาณ 6 เรื่อง ในแต่ละเรื่องจะมีคำถาม 4-7 ข้อ […]
Comments (0)
Comments