GSAT คืออะไร ? ทางเลือกใหม่ของเด็กอยากติดคณะอินเตอร์

GSAT - คืออะไร - bigcover1

GSAT คืออะไร ? ทางเลือกใหม่ของเด็กอยากติดคณะอินเตอร์

          รู้จักข้อสอบ GSAT กันหรือยังครับน้องๆ ? ใครอยากเรียนต่อมหาวิทยาลัยหลักสูตรนานาชาติหรือหลักสูตรอินเตอร์บอกเลยว่าห้ามพลาดกับ “GSAT”  ข้อสอบที่เขาว่ากันว่าอาจมาแทนที่ข้อสอบ NEW SAT !!! พี่เชื่อว่าน้องหลายคนคงเคยได้ยินผ่านหูมาบ้างแต่ยังไม่แน่ใจว่าข้อสอบ GSAT คืออะไร ? สอบวิชาอะไร ? ยื่นมหาวิทยาลัยไหนได้บ้าง ? วันนี้ ignite ขอมาแนะนำข้อมูลทุกเรื่องสำหรับข้อสอบ GSAT ให้น้องๆ ได้เข้าใจแบบลึกซึ้งกันไปเลย…อย่ารอช้า พร้อมแล้วไปรู้จักกับข้อสอบ GSAT กันเลยดีกว่า 

ข้อสอบ GSAT คืออะไร?

GSAT - คืออะไร - bigcover2

ข้อสอบ GSAT (General Scholastic Aptitude Test)

         GSAT คือ ข้อสอบความถนัดทางวิชาการที่ใช้ยื่นเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี หลักสูตรนานาชาติ เเละหลักสูตรอินเตอร์ ซึ่งข้อสอบ GSAT จะอยู่ในระดับมาตรฐานเดียวกับข้อสอบ NEW SAT และถือว่าได้รับการยอมรับในวงการการศึกษาไทย เนื่องจากเป็นข้อสอบที่ได้รับการจัดตั้งโดยมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศไทยถึง 3 แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ทั้งนี้ข้อสอบ GSAT จะเริ่มใช้ตั้งเเต่ปีการศึกษา 2563 เป็นต้นไป

รายชื่อมหาวิทยาลัยและคณะที่เปิดรับคะแนน GSAT ณ ปัจจุบัน

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

  • คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
  • คณะรัฐศาสตร์
  • คณะเศรษฐศาสตร์
  • คณะศิลปศาสตร์
  • คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์
  • คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง
  • สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร
  • วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

  • คณะมนุษยศาสตร์
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์
  • วิทยาลัยนานาชาติเพื่อศึกษาความยั่งยืน
  • วิทยาลัยอุตสาหกรรมสร้างสรรค์

มหาวิทยาลัยขอนแก่น

  • คณะเกษตรศาสตร์
  • คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
  • คณะเทคนิคการแพทย์
  • คณะสังคมศาสตร์บูรณาการ
  • วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

  • คณะเกษตร
  • คณะเศรษฐศาสตร์
  • คณะมนุษยศาสตร์
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

  • วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • วิทยาลัยนานาชาติยางพาราไทย-จีน
  • วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์
  • โครงการจัดตั้งวิทยาลัยนานาชาติ
  • คณะวิเทศศึกษา
  • คณะการบริการและการท่องเที่ยว

มหาวิทยาลัยนครพนม

  • สถาบันนวัตกรรมธุรกิจและการบัญชี

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

  • วิทยาลัยนานาชาติ มจพ.

สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา

  • School of Music

ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับข้อสอบ GSAT

GSAT - คืออะไร - bigcover3

ข้อสอบ GSAT ประกอบด้วย 2 วิชา ได้แก่

ข้อสอบวิชาการเขียน-อ่านภาษาอังกฤษ (Reading and Writing) และข้อสอบวิชาคณิตศาสตร์ (Math) โดยทั้ง 2 วิชามีคะแนนวิชาละ 800 คะแนน รวมคะแนน 2 วิชา เท่ากับ 1600 คะแนน

อายุการใช้งานคะแนนข้อสอบ GSAT

ข้อสอบ GSAT เก็บคะแนนได้นานถึง 2 ปี หรือเทียบเท่ากับคะแนนข้อสอบ NEW SAT

สถานที่สอบ GSAT คือ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

ค่าสมัครสอบ GSAT คือ ราคา 1800 บาท โดยสมัคร 1 ครั้งสามารถลงสอบได้ทั้ง 2 วิชาeo.

รูปแบบข้อสอบ GSAT

GSAT - คืออะไร - bigcover4

ข้อสอบ GSAT แบ่งออกเป็น 4 Section

ข้อสอบวิชาการเขียน-อ่านภาษาอังกฤษ (Reading and Writing)

  • Reading 5 reading passages และ 1 paired passage ทั้งหมด 50 ข้อ เป็นข้อสอบแบบ Multiple Choice ใช้เวลา 65 นาที
  • Writing 4 passages ทั้งหมด 40 ข้อ เป็นข้อสอบแบบ Multiple Choice ใช้เวลา 35 นาที

ข้อสอบวิชาคณิตศาสตร์ (Math)

  • Math (No Calculator) ทั้งหมด 20 ข้อ เป็นข้อสอบแบบ Multiple Choices ใช้เวลา 25 นาที
  • Math (Calculator) ทั้งหมด 40 ข้อเป็นข้อสอบแบบ Multiple Choices ใช้เวลา 55 นาที

เกณฑ์การให้คะแนนข้อสอบ GSAT

ข้อสอบ GSAT มีทั้งหมด 150 ข้อ เวลาทั้งหมด 3 ชั่วโมง เกณฑ์การให้คะแนน ดังนี

table

ขั้นตอนการสมัครสอบ GSAT

สำหรับน้องที่ต้องการสมัครสอบ GSAT สามารถทำตามขั้นตอนที่พี่ ignite ได้รวบรวมวิธีการสมัครสอบ ดังนี้

สามารถสมัครสอบได้ที่ http://gsat.service.sci.tu.ac.th

  1. ขั้นตอนแรก กด sign up เพื่อสมัคร Account
  2. กรอกประวัติส่วนตัว เช่น Email, National ID (รหัสประจำตัวประชาชน), ชื่อ นามสกุล, เบอร์โทรศัพท์ ที่อยู่, วันเกิดและ อื่นๆ
  3. *เลขประจำตัวบัตรประชาชนและวันเกิดที่ใช้สมัคร จะกลายเป็น Username และ Password สำหรับการ log in ครั้งถัดไป
  4. เมื่อได้รับ Account แล้ว ให้กดสมัครรอบที่ต้องการไปสอบ
  5. กรอกข้อมูลคะแนน NEW SAT ถ้าเคยสอบมาก่อน แต่หากไม่เคยหรือไม่ประสงค์กรอกข้อมูล ให้กด skip ได้เลย
  6. กรอกข้อมูล คณะ และมหาวิทยาลัย ที่ต้องการส่งคะแนนไปให้ โดยกรอกได้มากสุดถึง 4 คณะ
  7. สุดท้ายให้ปริ๊น Payment Slip เพื่อนำไปชำระเงินกับธนาคารกรุงไทย

         เป็นอย่างไรกันบ้างครับสำหรับข้อมูล GSAT ที่พี่ ignite ได้นำมาให้น้องๆได้ศึกษา เรียกว่าครบ จบทุกรายละเอียดแล้วจริงๆ หากใครต้องการค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติม สามารถเข้าไปอ่านได้ในเว็บไซต์ที่ https://gsat.service.sci.tu.ac.th/ น้องๆ ignite by OnDemand เตรียมพบกับเรื่องราวของ GSAT ได้อีกแน่นอน อย่าลืมติดตาม Facebook : @ignitebyondemand / Instagram: ignitebyondemand กันไว้นะครับ

Shop online

Related Blog & News

ข่าวสารและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง

Comments

Comment Write a comment...