GSAT คืออะไร ? ทางเลือกใหม่ของเด็กอยากติดคณะอินเตอร์

GSAT คืออะไร ? ทางเลือกใหม่ของเด็กอยากติดคณะอินเตอร์
รู้จักข้อสอบ GSAT กันหรือยังครับน้องๆ ? ใครอยากเรียนต่อมหาวิทยาลัยหลักสูตรนานาชาติหรือหลักสูตรอินเตอร์บอกเลยว่าห้ามพลาดกับ “GSAT” ข้อสอบที่เขาว่ากันว่าอาจมาแทนที่ข้อสอบ NEW SAT !!! พี่เชื่อว่าน้องหลายคนคงเคยได้ยินผ่านหูมาบ้างแต่ยังไม่แน่ใจว่าข้อสอบ GSAT คืออะไร ? สอบวิชาอะไร ? ยื่นมหาวิทยาลัยไหนได้บ้าง ? วันนี้ ignite ขอมาแนะนำข้อมูลทุกเรื่องสำหรับข้อสอบ GSAT ให้น้องๆ ได้เข้าใจแบบลึกซึ้งกันไปเลย…อย่ารอช้า พร้อมแล้วไปรู้จักกับข้อสอบ GSAT กันเลยดีกว่า
ข้อสอบ GSAT คืออะไร?

ข้อสอบ GSAT (General Scholastic Aptitude Test)
GSAT คือ ข้อสอบความถนัดทางวิชาการที่ใช้ยื่นเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี หลักสูตรนานาชาติ เเละหลักสูตรอินเตอร์ ซึ่งข้อสอบ GSAT จะอยู่ในระดับมาตรฐานเดียวกับข้อสอบ NEW SAT และถือว่าได้รับการยอมรับในวงการการศึกษาไทย เนื่องจากเป็นข้อสอบที่ได้รับการจัดตั้งโดยมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศไทยถึง 3 แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ทั้งนี้ข้อสอบ GSAT จะเริ่มใช้ตั้งเเต่ปีการศึกษา 2563 เป็นต้นไป
รายชื่อมหาวิทยาลัยและคณะที่เปิดรับคะแนน GSAT ณ ปัจจุบัน
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
- คณะรัฐศาสตร์
- คณะเศรษฐศาสตร์
- คณะศิลปศาสตร์
- คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- คณะวิศวกรรมศาสตร์
- คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง
- สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร
- วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- คณะมนุษยศาสตร์
- คณะวิศวกรรมศาสตร์
- วิทยาลัยนานาชาติเพื่อศึกษาความยั่งยืน
- วิทยาลัยอุตสาหกรรมสร้างสรรค์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- คณะเกษตรศาสตร์
- คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
- คณะเทคนิคการแพทย์
- คณะสังคมศาสตร์บูรณาการ
- วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- คณะเกษตร
- คณะเศรษฐศาสตร์
- คณะมนุษยศาสตร์
- คณะวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน
- คณะวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- วิทยาลัยนานาชาติยางพาราไทย-จีน
- วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์
- โครงการจัดตั้งวิทยาลัยนานาชาติ
- คณะวิเทศศึกษา
- คณะการบริการและการท่องเที่ยว
มหาวิทยาลัยนครพนม
- สถาบันนวัตกรรมธุรกิจและการบัญชี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
- วิทยาลัยนานาชาติ มจพ.
สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา
- School of Music
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับข้อสอบ GSAT

ข้อสอบ GSAT ประกอบด้วย 2 วิชา ได้แก่
ข้อสอบวิชาการเขียน-อ่านภาษาอังกฤษ (Reading and Writing) และข้อสอบวิชาคณิตศาสตร์ (Math) โดยทั้ง 2 วิชามีคะแนนวิชาละ 800 คะแนน รวมคะแนน 2 วิชา เท่ากับ 1600 คะแนน
อายุการใช้งานคะแนนข้อสอบ GSAT
ข้อสอบ GSAT เก็บคะแนนได้นานถึง 2 ปี หรือเทียบเท่ากับคะแนนข้อสอบ NEW SAT
สถานที่สอบ GSAT คือ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
ค่าสมัครสอบ GSAT คือ ราคา 1800 บาท โดยสมัคร 1 ครั้งสามารถลงสอบได้ทั้ง 2 วิชาeo.
รูปแบบข้อสอบ GSAT

ข้อสอบ GSAT แบ่งออกเป็น 4 Section
ข้อสอบวิชาการเขียน-อ่านภาษาอังกฤษ (Reading and Writing)
- Reading 5 reading passages และ 1 paired passage ทั้งหมด 50 ข้อ เป็นข้อสอบแบบ Multiple Choice ใช้เวลา 65 นาที
- Writing 4 passages ทั้งหมด 40 ข้อ เป็นข้อสอบแบบ Multiple Choice ใช้เวลา 35 นาที
ข้อสอบวิชาคณิตศาสตร์ (Math)
- Math (No Calculator) ทั้งหมด 20 ข้อ เป็นข้อสอบแบบ Multiple Choices ใช้เวลา 25 นาที
- Math (Calculator) ทั้งหมด 40 ข้อเป็นข้อสอบแบบ Multiple Choices ใช้เวลา 55 นาที
เกณฑ์การให้คะแนนข้อสอบ GSAT
ข้อสอบ GSAT มีทั้งหมด 150 ข้อ เวลาทั้งหมด 3 ชั่วโมง เกณฑ์การให้คะแนน ดังนี

ขั้นตอนการสมัครสอบ GSAT
สำหรับน้องที่ต้องการสมัครสอบ GSAT สามารถทำตามขั้นตอนที่พี่ ignite ได้รวบรวมวิธีการสมัครสอบ ดังนี้
สามารถสมัครสอบได้ที่ http://gsat.service.sci.tu.ac.th
- ขั้นตอนแรก กด sign up เพื่อสมัคร Account
- กรอกประวัติส่วนตัว เช่น Email, National ID (รหัสประจำตัวประชาชน), ชื่อ นามสกุล, เบอร์โทรศัพท์ ที่อยู่, วันเกิดและ อื่นๆ
- *เลขประจำตัวบัตรประชาชนและวันเกิดที่ใช้สมัคร จะกลายเป็น Username และ Password สำหรับการ log in ครั้งถัดไป
- เมื่อได้รับ Account แล้ว ให้กดสมัครรอบที่ต้องการไปสอบ
- กรอกข้อมูลคะแนน NEW SAT ถ้าเคยสอบมาก่อน แต่หากไม่เคยหรือไม่ประสงค์กรอกข้อมูล ให้กด skip ได้เลย
- กรอกข้อมูล คณะ และมหาวิทยาลัย ที่ต้องการส่งคะแนนไปให้ โดยกรอกได้มากสุดถึง 4 คณะ
- สุดท้ายให้ปริ๊น Payment Slip เพื่อนำไปชำระเงินกับธนาคารกรุงไทย
เป็นอย่างไรกันบ้างครับสำหรับข้อมูล GSAT ที่พี่ ignite ได้นำมาให้น้องๆได้ศึกษา เรียกว่าครบ จบทุกรายละเอียดแล้วจริงๆ หากใครต้องการค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติม สามารถเข้าไปอ่านได้ในเว็บไซต์ที่ https://gsat.service.sci.tu.ac.th/ น้องๆ ignite by OnDemand เตรียมพบกับเรื่องราวของ GSAT ได้อีกแน่นอน อย่าลืมติดตาม Facebook : @ignitebyondemand / Instagram: ignitebyondemand กันไว้นะครับ
Related Blog & News
ข่าวสารและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง
-
Blog
IGCSE คืออะไร? ตอบทุกข้อสงสัยไปกับ ignite by ondemand
IGCSE (International General Certificate of Secondary Educational) คือ หลักสูตรการศึกษาจากประเทศอังกฤษที่ทำให้ได้รับวุฒิการศึกษาเทียบเท่า ม.4 ในไทย ซึ่งหากเรียนจบหลักสูตร IGCSE แล้ว สามารถไปศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นได้ เช่น AS, A Level, IB หรือเพื่อศึกษาต่อระดับมหาวิทยาลัย โดยปกติในประเทศไทยนั้น การสอบ IGCSE จะอยู่ในระบบการศึกษาของโรงเรียนนานาชาติที่ใช้ระบบการเรียนการสอนแบบอังกฤษ (UK) แต่น้องๆที่ไม่ได้อยู่ในระบบ ก็สามารถสมัครสอบ IGCSE ได้โดยตรงกับทาง British Council Thailand นะครับ สำหรับการสอบ IGCSE นั้น ต้องเลือกสอบจำนวน 5 วิชา เพื่อให้ได้ IGCSE Certificate โดย IGCSE มีให้เลือกมากกว่า 70 […]
Comments (0)
-
Blog, Medical TCAS 1 (Portfolio)
เจาะลึกเส้นทางสอบติดคณะแพทย์ระดับโลก “University of Cambridge” น้องพรอมท์ Shrewsbury International School
กลับมาอีกครั้งอย่างยิ่งใหญ่กับบทสัมภาษณ์ ignite Idol น้องพรอมท์ Shrewsbury International School ที่เพิ่งสอบติดคณะแพทย์ University of Cambridge ประเทศอังกฤษปีล่าสุดมาหมาดๆ … ถือเป็นเรื่องน่าภูมิใจของประเทศไทยและ ignite มากๆ ที่สามารถส่งเด็กไทย ไปคว้าที่นั่งในคณะแพทย์เคมบริจด์ ได้ถึง 2 ปีซ้อน ซึ่งเป็นคณะแพทย์ที่ใครๆ ต่างก็ยอมรับว่าสอบเข้ายากที่สุดในโลก วันนี้พี่แอดมินขอพาน้องพรอมท์ มาเจาะลึกเส้นทางสู่คณะแพทย์ University of Cambridge ประเทศอังกฤษ พร้อมเปิดเผยเส้นทางสู่การสอบติดคณะแพทย์ระดับโลก ให้เด็กไทยทุกคนที่มีความฝันได้ศึกษาแนวทางการเตรียมตัวที่ถูกต้อง…พี่แอดมินเชื่อว่าบทความนี้จะทำให้ประเทศไทยได้คุณหมอที่มีศักยภาพระดับโลกกลับมาพัฒนาวงการสาธารณสุขไทยเพิ่มอย่างแน่นอนครับ ได้ยินว่าน้องพรอมท์อยากเป็นหมอ เพราะต้องการทำงานที่ช่วยให้ชีวิตคนอื่นดีขึ้น? เรื่องนี้มีที่มา ที่ไปอย่างไรครับ ใช่ครับ…จริงๆ แล้วผมมีความรู้สึกอยากเป็นหมอมาตั้งแต่เรียนอยู่ ม.2 แล้วครับ ด้วยความที่ยังเด็กมาก เราก็ยังไม่ได้ตัดสินใจอะไรไปตอนนั้น แต่พอโตขึ้นผมได้มีโอกาสไปสอนหนังสือให้น้องๆ […]
Comments (0)
-
Blog, Medical TCAS 1 (Portfolio)
5 โจทย์ที่ต้องเจอใน BMAT Critical Thinking พร้อมเทคนิค CAP รับมือทุกโจทย์ Part 1
สวัสดีครับน้องๆ กลับมาพบกับพี่กั๊กกันอีกครั้งนะครับ ใกล้จะถึงช่วงสอบ BMAT กันอีกแล้ว เชื่อว่าตอนนี้น้องๆ คงตั้งใจทบทวนโค้งสุดท้ายกันอยู่แน่นอน แต่เนื่องจากการสอบ BMAT นั่นมีหลายพาร์ทเหลือเกิน หากจะต้องโฟกัสทุกจุดคงจะใช้เวลาพอสมควรแน่ๆ วันนี้พี่กั๊กเลยมาพร้อมกับเทคนิควิเคราะห์โจทย์ BMAT Critical Thinking เพื่อเพิ่มเลเวลในการอัพคะแนนของน้องๆ ใน BMAT Part 1 และช่วยลดการใช้เวลาในการนั่งทบทวนว่า เอ้…โจทย์ข้อนี้ต้องการอะไรนะ? แต่ก่อนจะเริ่มเทคนิควิเคราะห์โจทย์จากพี่กั๊ก เรามาทบทวนกันอีกรอบดีกว่าว่า “BMAT Part 1 นั้น จริงๆ แล้วเป็นยังไง?” BMAT Part 1 เป็นอย่างไร ต้องเจอกับข้อสอบแบบไหน? แน่นอนว่าการที่น้องๆ จะสอบเข้าแพทย์และได้เป็นคุณหมอในอนาคต สิ่งๆ หนึ่งที่น้องจำเป็นจะต้องมีก็คือทักษะการคิดวิเคราะห์นั่นเอง ซึ่งหากน้องเป็นคนที่มีการคิดวิเคราะห์สูง ตรงนี้ก็อาจจะสื่อถึงความสามารถในการนำไปปรับใช้กับสถานการณ์เร่งด่วนต่างๆ ที่ต้องเจอในสายอาชีพนั่นเอง ดังนั้นนี่ก็เป็นที่มาของเจ้าตัว BMAT Part 1 โดยในส่วนนี้จะถูกแบ่งย่อยออกเป็นอีก 2 พาร์ท คือ BMAT Problem Solving (16 ข้อ) : […]
Comments (0)
-
Blog, CU-ATS/CU-AAT
เจาะลึกเทคนิคพิชิต ACT Science ข้อสอบเป็นยังไง? ต่างจากข้อสอบอื่นยังไงบ้าง?
สวัสดีครับน้องๆ หลังจากที่หลายคณะเริ่มประกาศรับคะแนนการสอบ ACT เพื่อคัดเลือกนิสิต นักศึกษาใหม่เข้าคณะ เช่น ISE CU หรือ SIIT น้องๆ หลายคนก็เริ่มหันมาสนใจการสอบนี้กันมากขึ้น แถมยังมีบางคนรีวิวอีกว่าข้อสอบ ACT ง่ายกว่าการสอบแบบอื่นๆ วันนี้พี่อิ๊งค์จะมาช่วยไขข้อสงสัยถึงรูปแบบของ ข้อสอบ ACT Science ว่าเป็นยังไง แล้วจะง่ายกว่าข้อสอบอื่นจริงหรือไม่กันครับ ลักษณะข้อสอบ ACT Sciencee ข้อสอบ ACT Science มีคำถาม 40 ข้อ โดยให้เวลาในการทำอยู่ที่ 35 นาทีเท่านั้น ถือว่าเป็นข้อสอบ Speed Testมากๆ น้องจะต้องฝึกฝนในการทำให้มาก และฝึกจัดการเวลาในการทำข้อสอบให้เชี่ยวชาญก่อนไปสอบ ซึ่งรูปแบบของคำถาม จะมีการให้ Passage มาประมาณ 6 เรื่อง ในแต่ละเรื่องจะมีคำถาม 4-7 ข้อ […]
Comments (0)
Comments