ข้อสอบเข้าโรงเรียนสาธิตนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล (MUIDS) และวิธีการเตรียมตัว จากปากน้องๆ MUIDS ตัวจริงเสียงจริง

สวัสดีคร้าบบ ช่วงนี้น้องๆที่อยากสอบเข้าโรงเรียนสาธิตนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล (Mahidol University International Demonstration School หรือ MUIDS) ถามกันเข้ามาเยอะเลยว่าข้อสอบที่ใช้ในการสอบเข้ายากไหม ออกอะไรบ้าง แล้วต้องเตรียมตัวสอบยังไง วันนี้พี่เลยชวนรุ่นพี่ MUIDS ตัวจริงเสียงจริงมานั่งคุยกันเลยว่าที่เคยสอบมานั้นมันเป็นยังไงบ้าง ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลยครับ
Q: เชิญน้องๆแนะนำตัวกันหน่อยครับ
น้องแพรนวล : ชื่อแพรนวลค่ะ ตอนนี้อยู่ Grade 10 นักเรียนโรงเรียน MUIDS รุ่นที่ 6 ค่ะ ปีหน้าแพรเป็น Student Government ตำแหน่ง Communication Director ค่ะ
น้องมุ้ย : ชื่อมุ้ยค่ะ ศิษย์เก่า MUIDS รุ่นที่ 3 ค่ะ ตอนนี้เรียนอยู่ปี 1 ที่คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ค่ะ
Q: เหตุผลที่น้องๆสนใจมาสอบเข้าโรงเรียนนี้คืออะไรครับ
น้องแพรนวล : แพรมาจากโรงเรียนไทยค่ะ แต่สนใจเรียนต่อต่างประเทศ พอดีเป็นลูกสาวคนเดียว คุณแม่เป็นห่วง ไม่อยากให้ไปต่างประเทศคนเดียว คุณแม่เลยเสนอโรงเรียนนานาชาติในไทย ซึ่งแพรไปดูแล้วก็โอเค ตัดสินใจไม่ผิดเลยค่ะ แพรชอบโรงเรียนนี้ตรงที่ครูสอนแบบ Practical Learning แล้วก็สังคมในโรงเรียนนี้ที่ไม่ไทยจ๋ามาก และไม่ได้อังกฤษจ๋าเกินไปค่ะ
น้องมุ้ย : ตอนแรกมุ้ยอยากเรียนต่อมหาลัยที่ MUIC ค่ะ เคยทราบมาว่า MUIDS เป็น pathway ในการเข้า MUIC ถ้าอยู่ MUIDS ได้ก็เข้า MUIC ได้แน่ค่ะ แต่พอเข้าไปเรียนจริงๆ มุ้ยได้ทำแล็บเยอะมาก เหมือนได้เปิดโลก ได้เจอทางที่เราชอบ ก็เลยอยากเข้าทันตแพทย์แทนค่ะ
Q: ก่อนสอบเข้า เราได้เตรียมตัวอย่างไรบ้างครับ
น้องแพรนวล : ในชีวิตประจำวัน แพรดู Netflix และใช้ภาษาอังกฤษอยู่แล้วค่ะ เลยรู้สึกคุ้นเคยกับภาษาอังกฤษ แพรจะเน้นติวไปที่การเขียน Essay Writing ค่ะ โดยไปเรียนเพิ่มเอานิดหน่อย ให้รู้หลักการเขียนและฝึกเขียนเยอะๆค่ะ
น้องมุ้ย : ตอนแรกมุ้ยไม่รู้จักเลยว่า TOEFL คืออะไร รู้จักแต่ IELTS ซึ่งข้อสอบเป็นคนละแบบกันเลยนะคะ เลยไปเรียนเสริมข้อสอบ TOEFL เพื่อให้พอรู้แนวข้อสอบ และ เรียนการเขียน Essay Writing เพิ่มเติมเหมือนกันค่ะ
Q: ข้อสอบที่ใช้ในการสอบเข้า MUIDS แต่ละพาร์ทออกอะไรบ้างครับ
TOEFL ITP
น้องแพรนวล : TOEFL ITP เป็นข้อสอบพาร์ทแรกที่น้องๆ จะเจอค่ะ แพรเตรียมตัวโดยการฝึกทำข้อสอบ Error ให้เยอะค่ะ และในพาร์ท Reading ก็ควรมีเทคนิคในการอ่านจับใจความให้เร็ว เพราะเวลามีจำกัดมากค่ะ
น้องมุ้ย : ก่อนอื่นเลยเราต้องรู้ว่าข้อสอบ TOEFL มีกี่พาร์ท แต่ละพาร์ทเป็นยังไง มีกี่ข้อ จะได้วางแผนในการทำข้อสอบได้ถูกค่ะ หลังจากนั้นก็ฝึกฝนทำข้อสอบเยอะๆ เลยค่ะ
ESSAY WRITING
น้องแพรนวล : ในข้อสอบ Writing จะให้หัวข้อมา 3 topics แล้วให้เราเลือกเขียนเพียงเรื่องเดียวค่ะ ตอนที่หนูเขียนหนูเลือกหัวข้อการให้ความเห็นเกี่ยวกับหัวข้อ “Face-to-face is better than writing” ค่ะ ต้องเริ่มจากการเขียน Outline ก่อนค่ะ และอีกเรื่องที่จะทำให้คะแนนดีขึ้น คือ การใช้ Transition Word เยอะๆค่ะ
น้องมุ้ย : มุ้ยเขียนแสดงความเห็นว่า เห็นด้วยไหมกับการทิ้งหมาแมวข้างถนนค่ะ เท่าที่เห็นหัวข้อส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัวนะคะ เป็นเหตุการณ์ที่เราอาจจะเจอได้ทั่วๆ ไปค่ะ
MAP TEST (MATH+READING)
น้องแพรนวล : ข้อสอบพาร์ทนี้ทำในคอมพิวเตอร์ค่ะ จำนวนข้อของแต่ละคนจะไม่เท่ากัน ถ้าน้องทำไปแล้วผิด ข้อถัดไปจะง่ายลง แต่ถ้าทำถูก ข้อถัดไปจะยากขึ้นค่ะ ส่วนที่ยากของข้อสอบ Part นี้น่าจะเป็นบางเรื่องที่นำมาออกข้อสอบ โดยเราอาจไม่มีความถนัดทางด้านนั้นมาก่อนค่ะ สำหรับแพรเองไม่ได้อ่าน poem ไป แต่ข้อสอบออก poem เยอะมาก แต่การที่เราทำ poem ไม่ได้เลยก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะสอบ MAP Test ไม่ผ่านนะคะ
น้องมุ้ย : สำหรับน้องๆ ที่มาจากโรงเรียนไทย วิชาเลขน่าจะง่ายกว่า Reading แต่สำหรับเด็กอินเตอร์ อังกฤษน่าจะง่ายกว่าค่ะ แต่ถ้าเตรียมตัวมาดีๆ น้องๆ ก็ทำได้แน่นอนค่ะ ในส่วนของเลข บางข้อจะมีเครื่องคิดเลขขึ้นมาให้กดในคอม ในข้อที่เขาเห็นว่าสมควรต้องใช้เครื่องคิดเลขค่ะ
INTERVIEW
น้องมุ้ย : รุ่นมุ้ย การสัมภาษณ์ เริ่มจากแนะนำตัว จะมีฉลากให้จับและให้พูดเกี่ยวกับ topic ที่จับได้นั้น แล้วถามสิ่งที่สงสัยต่อจากที่พูด ตัวหนูเองได้หัวข้อกีฬา คุยกันทั้งหมดประมาณ 15 นาทีค่ะ
น้องแพรนวล : รุ่นแพรไม่มีจับฉลาก ถามไปเรื่อยๆจากเรื่องที่ถามตอนแรก ถามสิ่งที่ต้องใช้ความคิด เช่น แพรได้คำถามว่าคิดว่าการใช้โทรศัพท์ในโรงเรียนควรโดนแบน หรือเปล่า คนสัมภาษณ์จะถามต่อว่าโทรศัพท์เยอะไหม ใช้ทำอะไรบ้าง คิดว่าการใช้โทรศัพท์นั้นสำคัญไหม ใช้เวลาคุยทั้งหมดประมาณ 5 นาที แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่าห้องไหนครูจะถามอะไร และใช้เวลานานเท่าไรค่ะ
Q: ตอนสอบเข้า MUIDS ข้อสอบ PART ไหนที่เราคิดว่ายากที่สุดครับ
น้องแพรนวล : แพรคิดว่า Reading ใน TOEFL ยากที่สุดค่ะ เพราะ passage ในข้อสอบยาวมาก กว่าจะตอบคำถามได้คือต้องอ่านทั้ง passage ให้จบก่อนค่ะ และเวลาน้อยมากๆด้วย ปัญหาส่วนใหญ่คือทำไม่ทันค่ะ แถมตอนอยู่ในห้องสอบจริง อาจจะเจอสภาพแวดล้อมไม่คาดฝัน เช่น หนูเจอคนที่เล่นรองเท้าตลอดเวลา แล้วมีเสียงรบกวน หรือคนที่ไม่ได้ตั้งใจมาสอบจริงๆ หลับอยู่บนโต๊ะ เราเลยคิดไปเองว่า เค้าทำข้อสอบเสร็จนานแล้วหรือเปล่า ทำให้เรากดดันตัวเองมากขึ้นไปอีกค่ะ
น้องมุ้ย : คิดว่า Reading เหมือนกันค่ะ เพราะเป็นพาร์ทสุดท้าย เหมือนเราได้รับความกดดันจากพาร์ทอื่นมาด้วย และ passage นึงยาวมากค่ะ คำศัพท์เยอะมากด้วย
Q: ในฐานะที่เคยผ่านการทำข้อสอบมาแล้ว คิดว่าจะมีอะไรที่ช่วยให้เราทำข้อสอบได้ดีขึ้นบ้างครับ
น้องแพรนวล : แพรคิดว่าการทำ Mock Exam หรือฝึกทำข้อสอบบ่อยๆ ทำให้เราทำข้อสอบภายใต้ความกดดัน ได้ดีมากขึ้น และพอถึงวันสอบจริง เราจะได้ชินกับมันค่ะ
น้องมุ้ย : ถ้าเราทำ Mock Exam จะช่วยได้เยอะเลยค่ะ เพราะมันจะทำให้เรารู้ข้อผิดพลาดของเราเอง แล้วหลังจากนั้นเราก็ไปแก้ไขจุดอ่อนของตัวเอง ถ้าเรารู้ข้อผิดพลาดก่อนวันสอบจริง เราจะได้ไม่ไปทำแบบนั้นในห้องสอบอีกค่ะ
Q: ความรู้สึกตอนประกาศผลเป็นอย่างไรบ้างครับ
น้องแพรนวล : ตอนมอบตัว เค้าจะบอกคะแนนด้วย ซึ่งจะเป็นตัวตัดสินว่าเราต้องเรียนหรือไม่เรียนซัมเมอร์ ของแพรไม่จำเป็นต้องเรียนค่ะ แต่แพรอยากเรียนเอง เพราะอยากรู้ว่าจะเข้าสังคมได้หรือเปล่า จะเรียนไหวไหม โดยเรียน Reading , Writing และ Math เป็นเวลา 3 อาทิตย์ค่ะ
Q: พอเข้าไปเรียนใน MUIDS จริงๆแล้ว สังคมที่นี่เป็นอย่างไรบ้างครับ
น้องแพรนวล : ทุกคนมีความหลากหลายมากค่ะ แพรเจอน้องคนนึงอยากเป็นทูต อีกคนอยากเป็นมัณฑนากร ซึ่งแต่ละอย่างเป็นอาชีพที่ว้าวมากค่ะ ตอนอยู่โรงเรียนไทย หนูเคยถามคำถามอาจารย์ซึ่งขัดกับที่เรียนมา อาจารย์ถามว่าทำไมไม่เชื่ออาจารย์ ในขณะเดียวกันพอมาอยู่โรงเรียนนี้ ถามในแบบเดียวกัน อาจารย์ก็ให้มา discuss กัน หรือ หา research ใหม่ๆ ขึ้นมาให้ดู เอามาเป็นความรู้ในห้อง แชร์กับนักเรียนค่ะ
น้องมุ้ย : ใช่ค่ะ ครูจะอัพเดทข้อมูลใหม่ๆตลอดเวลา เอาเรื่องนู้นเรื่องนี้มาเล่า สอนในห้องสนุกมากค่ะ โดยอาจารย์ส่วนใหญ่เป็นอเมริกันค่ะ
Q: สิ่งที่น้องชอบในโรงเรียนมากที่สุดคืออะไรครับ
น้องแพรนวล : แพรรู้สึกว่า MUIDS เป็นโรงเรียนที่สร้างขึ้นมาจากการปฏิรูปการศึกษา สอนไม่เหมือนที่อื่นๆ หลักๆ ที่แพรชอบคือ การสอนเป็นแบบ Practical Learning แพรมาโรงเรียนแบบไม่รู้สึกว่าเหมือนมาโรงเรียน แต่จริงๆ เราได้เรียนรู้ไปแล้วเยอะมากแบบไม่รู้ตัวเลยค่ะ โดยผ่านกิจกรรมที่ครูจัดมาให้ มีความรู้สึกว่าตื่นเช้าแล้วอยากไปโรงเรียนทุกวัน ถึง ไม่สบายก็จะขอแม่ไปโรงเรียนค่ะ
น้องมุ้ย : มุ้ยชอบที่โรงเรียนจัดกิจกรรมให้เยอะมาก เราจะทำกิจกรรมร่วมกันเป็นกลุ่ม โดยแบ่งเป็น House ค่ะ คนใน House จะสนิทกัน เพราะทำกิจกรรมด้วยกันเยอะมาก เช่น กีฬาสี มันทำให้เราได้เจอคนหลากหลาย รู้จักคนเยอะ รู้จักรุ่นพี่ทุกรุ่นและรักกันมาก เหมือนเป็น Community เล็กๆที่อบอุ่นมาก และสังคมในโรงเรียนด้านในก็ปกติเลย ไม่ได้ไฮโซและเข้าถึงยากอย่างที่ทุกคนเข้าใจค่ะ
Q: สุดท้าย อยากฝากอะไรถึงรุ่นน้องที่กำลังเตรียมตัวสอบเข้าบ้างครับ
น้องแพรนวล, น้องมุ้ย : ไม่อยากให้น้องๆ เครียดจนเกินไป วิชาภาษาอังกฤษ อยากให้น้องๆ หาวิธีที่จะใช้ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน ใช้ให้เป็นธรรมชาติของตัวเอง อย่าง Listening น้องๆ ก็อาจฝึกได้จากหนัง Netflix ฝึกฟังไปเรื่อยๆ เพราะในข้อสอบจริงสำเนียงฟังไม่ยากค่ะ พวกข้อสอบ Error ก็ซื้อหนังสือมาฝึกทำ ที่สำคัญคือขอให้น้องมีสติ มีสมาธิในวันสอบจริง สำคัญที่สุดค่ะ ขอให้น้องๆ ทุกคนโชคดีค่ะ หวังว่าจะได้เจอกันนะคะ
กลับไปอ่านเกณฑ์คะแนนที่ใช้ในการสอบเข้า >> https://www.ignitebyondemand.com/get-to-know-muids-and-how-to-prepare-ourselves/

เป็นไงกันบ้างครับน้องๆ พออ่านกันแล้วก็รู้เลยว่าหากใครอยากเข้าโรงเรียนนี้ ไม่เกินความสามารถของน้องๆ อย่างแน่นอนครับ แต่ที่สำคัญที่สุดคือน้องๆต้องตั้งใจและมีการเตรียมตัวที่ดี เพื่อรับมือกับข้อสอบครับ วันนี้พี่แอดมินมีคอร์สมาเป็นตัวช่วยให้น้องๆ ในการเตรียมตัวสอบเข้า MUIDS ครับ หากน้องคนใดสนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่ Line@ : @ignitebyondemand ได้เลยนะครับผม
Related Blog & News
ข่าวสารและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง
-
Blog
IGCSE คืออะไร? ตอบทุกข้อสงสัยไปกับ ignite by ondemand
IGCSE (International General Certificate of Secondary Educational) คือ หลักสูตรการศึกษาจากประเทศอังกฤษที่ทำให้ได้รับวุฒิการศึกษาเทียบเท่า ม.4 ในไทย ซึ่งหากเรียนจบหลักสูตร IGCSE แล้ว สามารถไปศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นได้ เช่น AS, A Level, IB หรือเพื่อศึกษาต่อระดับมหาวิทยาลัย โดยปกติในประเทศไทยนั้น การสอบ IGCSE จะอยู่ในระบบการศึกษาของโรงเรียนนานาชาติที่ใช้ระบบการเรียนการสอนแบบอังกฤษ (UK) แต่น้องๆที่ไม่ได้อยู่ในระบบ ก็สามารถสมัครสอบ IGCSE ได้โดยตรงกับทาง British Council Thailand นะครับ สำหรับการสอบ IGCSE นั้น ต้องเลือกสอบจำนวน 5 วิชา เพื่อให้ได้ IGCSE Certificate โดย IGCSE มีให้เลือกมากกว่า 70 […]
Comments (0)
-
Blog, BMAT
เจาะลึกเส้นทางสอบติดคณะแพทย์ระดับโลก “University of Cambridge” น้องพรอมท์ Shrewsbury International School
กลับมาอีกครั้งอย่างยิ่งใหญ่กับบทสัมภาษณ์ ignite Idol น้องพรอมท์ Shrewsbury International School ที่เพิ่งสอบติดคณะแพทย์ University of Cambridge ประเทศอังกฤษปีล่าสุดมาหมาดๆ … ถือเป็นเรื่องน่าภูมิใจของประเทศไทยและ ignite มากๆ ที่สามารถส่งเด็กไทย ไปคว้าที่นั่งในคณะแพทย์เคมบริจด์ ได้ถึง 2 ปีซ้อน ซึ่งเป็นคณะแพทย์ที่ใครๆ ต่างก็ยอมรับว่าสอบเข้ายากที่สุดในโลก วันนี้พี่แอดมินขอพาน้องพรอมท์ มาเจาะลึกเส้นทางสู่คณะแพทย์ University of Cambridge ประเทศอังกฤษ พร้อมเปิดเผยเส้นทางสู่การสอบติดคณะแพทย์ระดับโลก ให้เด็กไทยทุกคนที่มีความฝันได้ศึกษาแนวทางการเตรียมตัวที่ถูกต้อง…พี่แอดมินเชื่อว่าบทความนี้จะทำให้ประเทศไทยได้คุณหมอที่มีศักยภาพระดับโลกกลับมาพัฒนาวงการสาธารณสุขไทยเพิ่มอย่างแน่นอนครับ ได้ยินว่าน้องพรอมท์อยากเป็นหมอ เพราะต้องการทำงานที่ช่วยให้ชีวิตคนอื่นดีขึ้น? เรื่องนี้มีที่มา ที่ไปอย่างไรครับ ใช่ครับ…จริงๆ แล้วผมมีความรู้สึกอยากเป็นหมอมาตั้งแต่เรียนอยู่ ม.2 แล้วครับ ด้วยความที่ยังเด็กมาก เราก็ยังไม่ได้ตัดสินใจอะไรไปตอนนั้น แต่พอโตขึ้นผมได้มีโอกาสไปสอนหนังสือให้น้องๆ […]
Comments (0)
-
Blog, BMAT
5 โจทย์ที่ต้องเจอใน BMAT Critical Thinking พร้อมเทคนิค CAP รับมือทุกโจทย์ Part 1
สวัสดีครับน้องๆ กลับมาพบกับพี่กั๊กกันอีกครั้งนะครับ ใกล้จะถึงช่วงสอบ BMAT กันอีกแล้ว เชื่อว่าตอนนี้น้องๆ คงตั้งใจทบทวนโค้งสุดท้ายกันอยู่แน่นอน แต่เนื่องจากการสอบ BMAT นั่นมีหลายพาร์ทเหลือเกิน หากจะต้องโฟกัสทุกจุดคงจะใช้เวลาพอสมควรแน่ๆ วันนี้พี่กั๊กเลยมาพร้อมกับเทคนิควิเคราะห์โจทย์ BMAT Critical Thinking เพื่อเพิ่มเลเวลในการอัพคะแนนของน้องๆ ใน BMAT Part 1 และช่วยลดการใช้เวลาในการนั่งทบทวนว่า เอ้…โจทย์ข้อนี้ต้องการอะไรนะ? แต่ก่อนจะเริ่มเทคนิควิเคราะห์โจทย์จากพี่กั๊ก เรามาทบทวนกันอีกรอบดีกว่าว่า “BMAT Part 1 นั้น จริงๆ แล้วเป็นยังไง?” BMAT Part 1 เป็นอย่างไร ต้องเจอกับข้อสอบแบบไหน? แน่นอนว่าการที่น้องๆ จะสอบเข้าแพทย์และได้เป็นคุณหมอในอนาคต สิ่งๆ หนึ่งที่น้องจำเป็นจะต้องมีก็คือทักษะการคิดวิเคราะห์นั่นเอง ซึ่งหากน้องเป็นคนที่มีการคิดวิเคราะห์สูง ตรงนี้ก็อาจจะสื่อถึงความสามารถในการนำไปปรับใช้กับสถานการณ์เร่งด่วนต่างๆ ที่ต้องเจอในสายอาชีพนั่นเอง ดังนั้นนี่ก็เป็นที่มาของเจ้าตัว BMAT Part 1 โดยในส่วนนี้จะถูกแบ่งย่อยออกเป็นอีก 2 พาร์ท คือ BMAT Problem Solving (16 ข้อ) : […]
Comments (0)
-
Blog, CU-ATS/CU-AAT
เจาะลึกเทคนิคพิชิต ACT Science ข้อสอบเป็นยังไง? ต่างจากข้อสอบอื่นยังไงบ้าง?
สวัสดีครับน้องๆ หลังจากที่หลายคณะเริ่มประกาศรับคะแนนการสอบ ACT เพื่อคัดเลือกนิสิต นักศึกษาใหม่เข้าคณะ เช่น ISE CU หรือ SIIT น้องๆ หลายคนก็เริ่มหันมาสนใจการสอบนี้กันมากขึ้น แถมยังมีบางคนรีวิวอีกว่าข้อสอบ ACT ง่ายกว่าการสอบแบบอื่นๆ วันนี้พี่อิ๊งค์จะมาช่วยไขข้อสงสัยถึงรูปแบบของ ข้อสอบ ACT Science ว่าเป็นยังไง แล้วจะง่ายกว่าข้อสอบอื่นจริงหรือไม่กันครับ ลักษณะข้อสอบ ACT Sciencee ข้อสอบ ACT Science มีคำถาม 40 ข้อ โดยให้เวลาในการทำอยู่ที่ 35 นาทีเท่านั้น ถือว่าเป็นข้อสอบ Speed Testมากๆ น้องจะต้องฝึกฝนในการทำให้มาก และฝึกจัดการเวลาในการทำข้อสอบให้เชี่ยวชาญก่อนไปสอบ ซึ่งรูปแบบของคำถาม จะมีการให้ Passage มาประมาณ 6 เรื่อง ในแต่ละเรื่องจะมีคำถาม 4-7 ข้อ […]
Comments (0)
Comments