4 ปัจจัย ทำไมสอบ SAT Math ไม่เต็ม 800 ซะที

สำหรับน้อง ๆ ทั้งที่เรียนภาคไทย, EP (English Program) หรือน้อง ๆ ที่เรียนภาคอินเตอร์ แล้วเคยสอบ SAT มาแล้ว เคยสงสัยไหมว่าทำไม? พอเห็นคะแนนหลังสอบออกมาจาก Collegeboard แล้วจะร้อง Ohhh Noooo(กรุณาจินตนาการเสียงให้เหมือนด้วย) แทบทุกคน ที่เป็นแบบนี้ก็เพราะว่า “คะแนนที่คิดตอนทำข้อสอบ SAT Math เสร็จ กับคะแนนที่ได้จริงนั้น มันช่างแตกต่างกัน”
การเลือกตอบของน้องในแต่ละข้อนั้น มันช่างสำคัญมาก มาก มาก ขึ้นไปเรื่อย ๆ ถ้าน้องอยากเข้าคณะที่มัน Poppular จนถึงขนาดน้อง ๆ ต้องคาดหวังคะแนนจาก SAT Math แบบว่าต้องได้เต็ม 800 กันเลยทีเดียว โดยส่วนตัวแล้ว พี่เชื่อว่าน้องทุกคนสามารถทำคะแนนเต็ม 800 คะแนนในการ สอบ SAT Math ได้ ถ้าน้องมีพืิ้นฐานเลขที่ดีและเตรียมตัวระวัง 4 ปัจจัยพวกนี้ คือ “รู้ไม่ครบ ทำไม่ทัน ขาดระวัง ตัวไม่พร้อม”
ปัจจัยที่ทำให้น้อง ” สอบ SAT MATH ” ไม่ได้คะแนนเต็ม 800

ปัจจัยที่ 1: รู้ไม่ครบ
หมายความว่า น้องยังไม่รู้จักแนวข้อสอบ SAT Math ดีพอ ทั้งหมด เนื่องจากข้อสอบในแต่ละสนามนั้น มันจะมีลักษณะเฉพาะตัวอยู่ มีรายละเอียดเนื้อหาที่ออกและไม่ออกอยู่ ถ้าน้องรู้ว่าเขาจะออกเนื้อหาอะไรบ้าง ข้อสอบเป็นลักษณะไหนบ้าง น้องก็จะวางกลยุทธ์ในการเตรียมตัวเรียน SATและการทำข้อสอบ SAT Math ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล
พอน้องรู้ไม่ครบ ก็ทำให้บางข้อ หรือบางโจทย์ น้องก็จะทำไม่ได้ หรือโดนข้อสอบหลอก (ทำได้ แต่ที่ตอบน่ะผิดจ้า) ในกรณีแบบนี้จริง ๆ แล้วถ้าน้องแค่รู้ น้องก็ทำได้แล้วครับ
พี่ขอยกตัวอย่างให้เห็นภาพละกัน เช่น ถ้าน้องภาคไทย เตรียมตัวสอบ PAT1 (ความถนัดทางคณิตศาตร์) ซึ่งมันยากกว่าข้อสอบ SAT Math แน่นอน แล้วน้องบอกว่า เนื้อหา PAT1 ครอบคลุมหมด หนูอ่าน PAT1 เรียบร้อยก่อน แล้วค่อยมาลองทำโจทย์ Math ที่เป็นภาษาอังกฤษดู แค่นี้หนูก็ไป สอบ SAT Math ได้เต็ม 800 แล้ว — พี่บอกไว้เลยว่า “ยากส์” ที่จะเต็ม 800 น้องต้องเป็นตัว Top จริง ๆ เท่านั้นถึงจะทำได้ เพราะข้อสอบ PAT1 กับข้อสอบ SAT Math มันคนละลักษณะหรือคนละเรื่องกันเลย ถึงแม้น้องจะเก่ง PAT1 มาก ก็ต้องมีข้อสอบ SAT Math บางข้อที่น้องไม่รู้จะคิดยังไง เอาเนื้อหาไหนมาใช้แก้โจทย์ สิ่งนี้ละ คือ ปัจจัยแรกที่ทำให้น้องไม่เต็ม 800

ปัจจัยที่ 2: ทำไม่ทัน
หมายความว่า ในกรณีที่น้องรู้ครบหมดทุกเรื่องของเนื้อหาและข้อสอบ SAT Math แล้ว แต่ก็ยังไม่เต็ม เพราะเนื่องจากว่า น้องรู้ก็จริง แต่น้องทำไม่ทันครับ เพราะลักษณะของข้อสอบ SAT Math จะเป็นรูปแบบ Speed Test ด้วย คือ น้องต้องทำได้เร็วพอสมควร เนื่องจากความรู้ของน้องจะไม่มีประโยชน์เลย ถ้าน้องไม่ได้ใช้มัน เพราะเวลาหมดซะก่อน
ก็มีน้องสงสัยว่า ทำไม่ผมทำเท่าไรก็ทำข้อสอบไม่เคยทันซะที – น้องครับ เพราะน้องใช้วิธีเดิมในการทำ แล้วแค่พยายามจะคิดเลขให้เร็วขึ้นครับ ซึ่งมันไม่ใช่วิธีที่ถูกต้องที่จะทำให้น้องเปลี่ยนจากคนที่ทำข้อสอบ SAT Mathไม่ทัน แล้วจะมาทำทันในเวลาได้ ดังนั้นเมื่อน้องรู้อย่างนี้ น้องต้องใช้เทคนิค ในการทำข้อสอบ SAT Math ให้ทันครับ ไม่ว่าจะเป็น วิธีการอ่านโจทย์แบบวิศวกร การอ่านตัวเลือกแบบคนขี้เกียจ การมองเห็นเทคนิคการทำแบบพิเศษ(เหมือนเห็นผี) เป็นต้น ซึ่งการที่น้องมีเทคนิคหรือลูกเล่นแบบนี้ น้องจึงจะสามารถทำข้อสอบได้ทัน และสามารถใช้ความรู้ของน้องได้อย่างเต็มที่ แล้วน้องก็จะได้คะแนนเต็ม 800 อย่างที่ต้องการ

ปัจจัยที่ 3: ขาดระวัง
ข้อนี้ พี่เรียกง่าย ๆ ว่า “สะเพร่า” ครับน้อง ไม่ว่าจะลืม เขียนสูตรผิด คิดเลขผิด กดเครื่องคิดเลขผิด เป็นต้น มันจะเป็นอาการประมาณว่า “โง่เอง” – แล้วผมจะทำยังไงไม่ให้เป็นละพี่ ? – คำถามนี้ มันต้องผุดขึ้นมาในหัวน้อง ๆ แน่นอน พี่ก็จะขอตอบว่า มันต้อง “ฝึก ฝึกและฝึก” ครับ ของแบบนี้ ต้องฝึกอย่างมีหลักการ ไม่ใช่ตะบี้ตะบัน ทำแบบเดิมไปเรื่อย ๆ (แล้วจะหวังผลแบบใหม่ มันเป็นไปไม่ได้)
ยกตัวอย่างการฝึกก็เช่น การใช้ปากกาสีตอนซ้อม(ใช้หลักการทางสมองนิดนึง) ฝึกใจนิ่งในสถานการณ์กดดัน การใช้กายมา remind เป็นต้น ถ้าน้องฝึกอย่างเอาจริง น้องจะได้พบผลลัพธ์ที่น้องจะทึ่งแบบไม่น่าเชื่อในการลดการสะเพร่า สำหรับการทำข้อสอบ SAT Math แล้วมันจะทำให้น้องพบกับ score 800 ตามที่หวัง

ปัจจัยที่ 4 ปัจจัยสุดท้าย: ตัวไม่พร้อม
หมายความว่า ในวันสอบจริง สภาพร่างกายและจิตใจน้องไม่พร้อมแบบ 120% ทำให้ไม่สามารถดึงศักยภาพในตัวออกมาได้อย่างเต็มที่ จากประสบการณ์ที่พี่เป็นนักกีฬาของมหาวิทยาลัย เคยซ้อมกับสโมสร เคยซ้อมกับโค้ชทีมชาติ ทำให้เห็นว่านักกีฬาอาชีพจริง ๆ เขาซ้อมกันยังไง เตรียมตัวกันยังไง เมื่อเปลี่ยนมุมมองมาใช้กับการเตรียมตัวสอบ SAT ก็เห็นว่าน้อง ๆ หลายคนยังไม่เป็นมืออาชีพพอ ทำให้พอถึงจังหวะสำคัญในวันจริงมันก็จะผิดพลาดได้
“ทำไมนักกีฬาเขาต้องเลือกเวลาซ้อม ให้เหมือนเวลาแข่ง ?”
“ทำไมนักกีฬาเขาต้องขอไปซ้อมสนามจริงก่อนวันแข่ง ?”
“อุปกรณ์ที่เขาใช้ซ้อมก็ต้องเป็นแบบเดียวกับที่ใช้แข่ง ?”
ถ้าน้องอ่านแล้วคิดดูดีดี มาเปรียบเทียบกับการเตรียมตัว สอบ SAT Mathของน้องเอง แล้ว
- น้องเคยฝึกทำข้อสอบแบบจับเวลา เหมือนของจริงในช่วงเช้าเหมือนวันสอบไหม ?
- น้องเรียน น้องฝึกทำข้อสอบ นั้นเลือกใช้ดิินสอแท่งเดียว หรือยี่ห้อเดียวกับที่ใช้วันจริงไหม ?
- น้องเคยสัมผัสบรรยากาศของการสอบจริงหรือยัง ?
- เวลากินข้าว กินน้ำ การเข้าห้องน้ำของน้อง น้องปรับให้มันสอดคล้องกับวันเวลาสอบแล้วไหม?
อันนี้แค่ส่วนหนึ่ง เพราะเรื่องพวกนี้ เป็นเรื่องละเอียด และสำคัญ (น้องอาจจะคิดว่าไม่สำคัญ) แต่ถ้าน้องละเอียดกับเรื่องพวกนี้ มันก็จะทำให้น้องดึงความรู้ความสามารถมาใช้ได้อย่างเต็มที่ในวันสอบจริงครับ
สุดท้าย บทความนี้ก็เป็นแค่การชี้ให้เห็นสิ่งที่น้องมักจะพลาดแล้วทำให้ได้คะแนนไม่ดีเท่าที่คิดไว้ จริง ๆ แล้วอาจจะมีปัจจัยส่วนบุคคลอย่างอื่นอีกก็ได้ พี่ต้องการแค่ชี้ให้เห็น เมื่อน้องเห็นน้องก็จะมีการป้องกันตัว การแก้ไข ซึ่งสิ่งเหล่นี้จะทำให้น้องพัฒนาขึ้น แล้วน้องก็จะได้เข้าไปเรียนใน “คณะที่ใช่ มหาวิทยาลัยที่ชอบ” ครับ
ปล. สำหรับเทคนิคต่าง ๆ ในบทความนี้ วันหลังพี่จะเอามาแลกเปลี่ยนการในตอนถัด ๆ ไปนะครับ หรือใครมีเทคนิคแบบไหนก็สามารถส่งมาแบ่งปันกันได้ครับ
แต่สำหรับน้องๆ คนไหนที่กำลังเตรียมตัวจะไปสอบ SAT และต้องการเตรียมตัวเพิ่มเติมน้องๆ สามารถเข้าไปดูคอร์ส SAT Math ได้ที่นี้เลย >> Course SAT Math แต่หากใครชอบแบบ Private ก็สามารถลงเรียนแบบ One on One หรือจะเข้ามาปรึกษาพี่ๆ Ignite ใน Line@ :@ignitebyondemand ก่อนก็ได้เช่นกันครับ พี่ยินดีช่วยเหลือให้คำปรึกษาน้องเต็มที่ครับ
Related Blog & News
ข่าวสารและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง
-
Blog, Medical TCAS 1 (Portfolio)
คู่มือสำหรับพ่อแม่ อยากให้ลูกติดหมอ ตั้งแต่ TCAS รอบแรก ต้องใช้อะไรบ้าง
สวัสดีคุณพ่อคุณแม่ทุกที่อยากให้ลูกๆเป็นหมอทุกท่านนะครับ…วันนี้ ignite จะขอมาแนะนำการ สอบเข้าคณะแพทย์ TCAS รอบ 1 หรือที่ผู้ปกครองหลายๆ ท่านจะคุ้นหูกับคำว่า “แพทย์รอบ Portfolio” ซึ่งมีมหาวิทยาลัยที่เปิดรับ เช่น แพทย์จุฬาฯ แพทย์รามาฯ แพทย์ม.ขอนแก่น แพทย์ม.เชียงใหม่และอีกมากมายโดยวันนี้ ignite จะมาแนะนำข้อมูลสำคัญที่จะทำให้ลูกๆ ของคุณพ่อคุณแม่สอบติดหมอก่อนใครตั้งแต่ TCAS รอบแรก…ถ้าพร้อมแล้วเรามาดูกันเลย !! สอบเข้าแพทย์รอบ Portfolio ต้องใช้อะไรบ้าง GPAX หรือเกรดเฉลี่ยสะสม สิ่งที่จำเป็นต่อการ สอบเข้าแพทย์รอบ Portfolio อย่างแรกคือ GPAX หรือเกรดเฉลี่ยสะสม โดยส่วนใหญ่มหาวิทยาลัยจะกำหนดให้ใช้เกรดรวมทั้งหมด 4-5 เทอมด้วยกัน แต่จะมีเกณฑ์เกรดเฉลี่ยสะสมแตกต่างกันออกไปตามความต้องการของแต่ละคณะ แต่ต้องเรียนคุณพ่อคุณแม่ว่าหากลูกของท่านมี GPAX ตั้งแต่ 3.50 ขึ้นไป น้องๆ จะมีโอกาสในการยื่นเข้าคณะแพทย์รอบ 1 ได้ทุกมหาวิทยาลัย […]
Comments (0)
-
Blog, GED
GED Math & Science สองวิชาสำคัญ ช่วยอัพ Total Score
สวัสดีค่ะน้องๆ กลับมาพบกับพี่หมิง Ignite อีกครั้ง วันนี้พี่หมิงก็มีเรื่องสำคัญเกี่ยวกับ GED มาฝากอีกเช่นเคยค่ะ สำหรับน้องๆ ที่สนใจอยากใช้คะแนน GED เทียบวุฒิเพื่อเข้ามหาวิทยาลัยก็คงทราบกันดีอยู่แล้วว่าหลายๆ คณะมักจะกำหนดคะแนนรวม (Total Score) ขั้นต่ำที่น้องๆ ต้องทำได้ถึงจะมีสิทธิ์ยื่นสมัครเข้าคณะนั้นๆ เช่น CU-TU กำหนดคะแนน GED ขั้นต่ำที่ 660 คะแนน, MUIC กำหนดที่ 600 คะแนน เป็นต้น ดังนั้น นอกจากน้องๆ จะโฟกัสที่การสอบรายวิชาแล้ว อีกเรื่องที่ต้องคำนึงคือคะแนนรวม และสองวิชาที่ครูหมิงขอบอกเลยว่าเป็นตัวช่วยดึงคะแนนรวมที่ดีมากๆ ให้กับน้องๆ ก็คือ GED Mathematical Reasoning และ GED Science ค่ะ ก่อนอื่นเรามาเจาะลึกดูรายละเอียดของแต่ละวิชากันก่อนนะคะ GED Mathematical Reasoning ข้อมูลที่ต้องรู้ GED Mathematical Reasoning 1.ข้อสอบมี […]
Comments (0)
-
Blog
เจาะลึก 2 วิชายาก IGCSE Chemistry & Biology กับครูเกมและครูเวิลด์
นับถอยหลังอีกเพียง 4 เดือนสู่การสอบ IGCSE รอบตุลาคมสำหรับน้องๆ ระบบการศึกษานานาชาติ การสอบครั้งนี้ถือว่าเป็นจุดสำคัญเลยทีเดียว เพราะน้องๆ ต้องนำคะแนนเหล่านี้ไปใช้ศึกษาต่อวิชาที่ต้องการในระดับ A-Level และอาจต้องใช้ยื่นควบคู่กันในการสมัครเข้ามหาวิทยาลัยในอนาคตอีกด้วย วันนี้พี่ๆ Ignite เลยจะพาน้องๆ มาเจาะลึก 2 วิชายาก IGCSE Chemistry & Biology กับครูพี่เกมและครูพี่เวิลด์ ผู้ที่มีประสบการณ์แน่นในการสอนน้องๆ หลักสูตรอินเตอร์ เพื่อที่จะได้รีบเตรียมตัวคว้าคะแนน A* กันถ้วนหน้า เรามาเริ่มกันเลยดีกว่า! เจาะลึกข้อสอบ IGCSE Chemistry จุดไหนยากสุด? ครูพี่เกมต้องขออธิบายก่อนว่า ก่อนที่เราจะเจาะลึกถึงความยากของ IGCSE Chemistry นั้น น้องๆ อาจจะต้องดูก่อนว่าข้อสอบที่น้องๆ จะเจอนั้นมาจากบอร์ดไหน CIE (Cambridge) หรือ Pearson Edexcel ถึงเเม้ว่าทั้ง 2 […]
Comments (0)
-
Blog, CU-ATS/CU-AAT
เหมือนไม่เหมือน เอาปากกามาวง เทียบให้ชัด CU-ATS VS ACT SCIENCE
สวัสดีครับว่าที่น้องๆ ทีมวิทยา วิศวะอินเตอร์ทุกคน ตั้งแต่มีการยกเลิก SAT Subject Tests ไป พี่เชื่อว่าน้องๆ หลายคน ต้องวางแผนเส้นทางสู่คณะในฝันกันใหม่ ซึ่งแน่นอนว่า ทั้ง CU-ATS และ ACT Science เป็นหนทางใหม่ในการพาน้องไปสู่จุดมุ่งหมาย แต่พี่เชื่อว่าคงมีหลายคนสงสัยว่า แล้วหน้าตาข้อสอบของ CU-ATS และ ACT Science เป็นอย่างไร แตกต่างกันตรงจุดไหนบ้าง และเราจะเลือกสอบตัวไหนดี วันนี้ทั้งพี่อิ้งค์และพี่ก๊อฟ ขอมา เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างข้อสอบ CU-ATS และ ACT Science จับทั้งสองข้อสอบมาเปรียบเทียบกันในทุกแง่มุม เพื่อเป็นอีกแนวทางในการช่วยน้องๆ ตัดสินใจครับ ทำความรู้จักข้อสอบ CU-ATS VS ACT Science อย่างแรก เรามาทำความรู้จักข้อสอบทั้ง 2 แบบก่อนนะครับ […]
Comments (0)
Comments