4 ปัจจัย ทำไมสอบ SAT Math ไม่เต็ม 800 ซะที
สำหรับน้อง ๆ ทั้งที่เรียนภาคไทย, EP (English Program) หรือน้อง ๆ ที่เรียนภาคอินเตอร์ แล้วเคยสอบ SAT มาแล้ว เคยสงสัยไหมว่าทำไม? พอเห็นคะแนนหลังสอบออกมาจาก Collegeboard แล้วจะร้อง Ohhh Noooo(กรุณาจินตนาการเสียงให้เหมือนด้วย) แทบทุกคน ที่เป็นแบบนี้ก็เพราะว่า “คะแนนที่คิดตอนทำข้อสอบ SAT Math เสร็จ กับคะแนนที่ได้จริงนั้น มันช่างแตกต่างกัน”
การเลือกตอบของน้องในแต่ละข้อนั้น มันช่างสำคัญมาก มาก มาก ขึ้นไปเรื่อย ๆ ถ้าน้องอยากเข้าคณะที่มัน Poppular จนถึงขนาดน้อง ๆ ต้องคาดหวังคะแนนจาก SAT Math แบบว่าต้องได้เต็ม 800 กันเลยทีเดียว โดยส่วนตัวแล้ว พี่เชื่อว่าน้องทุกคนสามารถทำคะแนนเต็ม 800 คะแนนในการ สอบ SAT Math ได้ ถ้าน้องมีพืิ้นฐานเลขที่ดีและเตรียมตัวระวัง 4 ปัจจัยพวกนี้ คือ “รู้ไม่ครบ ทำไม่ทัน ขาดระวัง ตัวไม่พร้อม”
ปัจจัยที่ทำให้น้อง ” สอบ SAT MATH ” ไม่ได้คะแนนเต็ม 800
ปัจจัยที่ 1: รู้ไม่ครบ
หมายความว่า น้องยังไม่รู้จักแนวข้อสอบ SAT Math ดีพอ ทั้งหมด เนื่องจากข้อสอบในแต่ละสนามนั้น มันจะมีลักษณะเฉพาะตัวอยู่ มีรายละเอียดเนื้อหาที่ออกและไม่ออกอยู่ ถ้าน้องรู้ว่าเขาจะออกเนื้อหาอะไรบ้าง ข้อสอบเป็นลักษณะไหนบ้าง น้องก็จะวางกลยุทธ์ในการเตรียมตัวเรียน SATและการทำข้อสอบ SAT Math ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล
พอน้องรู้ไม่ครบ ก็ทำให้บางข้อ หรือบางโจทย์ น้องก็จะทำไม่ได้ หรือโดนข้อสอบหลอก (ทำได้ แต่ที่ตอบน่ะผิดจ้า) ในกรณีแบบนี้จริง ๆ แล้วถ้าน้องแค่รู้ น้องก็ทำได้แล้วครับ
พี่ขอยกตัวอย่างให้เห็นภาพละกัน เช่น ถ้าน้องภาคไทย เตรียมตัวสอบ PAT1 (ความถนัดทางคณิตศาตร์) ซึ่งมันยากกว่าข้อสอบ SAT Math แน่นอน แล้วน้องบอกว่า เนื้อหา PAT1 ครอบคลุมหมด หนูอ่าน PAT1 เรียบร้อยก่อน แล้วค่อยมาลองทำโจทย์ Math ที่เป็นภาษาอังกฤษดู แค่นี้หนูก็ไป สอบ SAT Math ได้เต็ม 800 แล้ว — พี่บอกไว้เลยว่า “ยากส์” ที่จะเต็ม 800 น้องต้องเป็นตัว Top จริง ๆ เท่านั้นถึงจะทำได้ เพราะข้อสอบ PAT1 กับข้อสอบ SAT Math มันคนละลักษณะหรือคนละเรื่องกันเลย ถึงแม้น้องจะเก่ง PAT1 มาก ก็ต้องมีข้อสอบ SAT Math บางข้อที่น้องไม่รู้จะคิดยังไง เอาเนื้อหาไหนมาใช้แก้โจทย์ สิ่งนี้ละ คือ ปัจจัยแรกที่ทำให้น้องไม่เต็ม 800
ปัจจัยที่ 2: ทำไม่ทัน
หมายความว่า ในกรณีที่น้องรู้ครบหมดทุกเรื่องของเนื้อหาและข้อสอบ SAT Math แล้ว แต่ก็ยังไม่เต็ม เพราะเนื่องจากว่า น้องรู้ก็จริง แต่น้องทำไม่ทันครับ เพราะลักษณะของข้อสอบ SAT Math จะเป็นรูปแบบ Speed Test ด้วย คือ น้องต้องทำได้เร็วพอสมควร เนื่องจากความรู้ของน้องจะไม่มีประโยชน์เลย ถ้าน้องไม่ได้ใช้มัน เพราะเวลาหมดซะก่อน
ก็มีน้องสงสัยว่า ทำไม่ผมทำเท่าไรก็ทำข้อสอบไม่เคยทันซะที – น้องครับ เพราะน้องใช้วิธีเดิมในการทำ แล้วแค่พยายามจะคิดเลขให้เร็วขึ้นครับ ซึ่งมันไม่ใช่วิธีที่ถูกต้องที่จะทำให้น้องเปลี่ยนจากคนที่ทำข้อสอบ SAT Mathไม่ทัน แล้วจะมาทำทันในเวลาได้ ดังนั้นเมื่อน้องรู้อย่างนี้ น้องต้องใช้เทคนิค ในการทำข้อสอบ SAT Math ให้ทันครับ ไม่ว่าจะเป็น วิธีการอ่านโจทย์แบบวิศวกร การอ่านตัวเลือกแบบคนขี้เกียจ การมองเห็นเทคนิคการทำแบบพิเศษ(เหมือนเห็นผี) เป็นต้น ซึ่งการที่น้องมีเทคนิคหรือลูกเล่นแบบนี้ น้องจึงจะสามารถทำข้อสอบได้ทัน และสามารถใช้ความรู้ของน้องได้อย่างเต็มที่ แล้วน้องก็จะได้คะแนนเต็ม 800 อย่างที่ต้องการ
ปัจจัยที่ 3: ขาดระวัง
ข้อนี้ พี่เรียกง่าย ๆ ว่า “สะเพร่า” ครับน้อง ไม่ว่าจะลืม เขียนสูตรผิด คิดเลขผิด กดเครื่องคิดเลขผิด เป็นต้น มันจะเป็นอาการประมาณว่า “โง่เอง” – แล้วผมจะทำยังไงไม่ให้เป็นละพี่ ? – คำถามนี้ มันต้องผุดขึ้นมาในหัวน้อง ๆ แน่นอน พี่ก็จะขอตอบว่า มันต้อง “ฝึก ฝึกและฝึก” ครับ ของแบบนี้ ต้องฝึกอย่างมีหลักการ ไม่ใช่ตะบี้ตะบัน ทำแบบเดิมไปเรื่อย ๆ (แล้วจะหวังผลแบบใหม่ มันเป็นไปไม่ได้)
ยกตัวอย่างการฝึกก็เช่น การใช้ปากกาสีตอนซ้อม(ใช้หลักการทางสมองนิดนึง) ฝึกใจนิ่งในสถานการณ์กดดัน การใช้กายมา remind เป็นต้น ถ้าน้องฝึกอย่างเอาจริง น้องจะได้พบผลลัพธ์ที่น้องจะทึ่งแบบไม่น่าเชื่อในการลดการสะเพร่า สำหรับการทำข้อสอบ SAT Math แล้วมันจะทำให้น้องพบกับ score 800 ตามที่หวัง
ปัจจัยที่ 4 ปัจจัยสุดท้าย: ตัวไม่พร้อม
หมายความว่า ในวันสอบจริง สภาพร่างกายและจิตใจน้องไม่พร้อมแบบ 120% ทำให้ไม่สามารถดึงศักยภาพในตัวออกมาได้อย่างเต็มที่ จากประสบการณ์ที่พี่เป็นนักกีฬาของมหาวิทยาลัย เคยซ้อมกับสโมสร เคยซ้อมกับโค้ชทีมชาติ ทำให้เห็นว่านักกีฬาอาชีพจริง ๆ เขาซ้อมกันยังไง เตรียมตัวกันยังไง เมื่อเปลี่ยนมุมมองมาใช้กับการเตรียมตัวสอบ SAT ก็เห็นว่าน้อง ๆ หลายคนยังไม่เป็นมืออาชีพพอ ทำให้พอถึงจังหวะสำคัญในวันจริงมันก็จะผิดพลาดได้
“ทำไมนักกีฬาเขาต้องเลือกเวลาซ้อม ให้เหมือนเวลาแข่ง ?”
“ทำไมนักกีฬาเขาต้องขอไปซ้อมสนามจริงก่อนวันแข่ง ?”
“อุปกรณ์ที่เขาใช้ซ้อมก็ต้องเป็นแบบเดียวกับที่ใช้แข่ง ?”
ถ้าน้องอ่านแล้วคิดดูดีดี มาเปรียบเทียบกับการเตรียมตัว สอบ SAT Mathของน้องเอง แล้ว
- น้องเคยฝึกทำข้อสอบแบบจับเวลา เหมือนของจริงในช่วงเช้าเหมือนวันสอบไหม ?
- น้องเรียน น้องฝึกทำข้อสอบ นั้นเลือกใช้ดิินสอแท่งเดียว หรือยี่ห้อเดียวกับที่ใช้วันจริงไหม ?
- น้องเคยสัมผัสบรรยากาศของการสอบจริงหรือยัง ?
- เวลากินข้าว กินน้ำ การเข้าห้องน้ำของน้อง น้องปรับให้มันสอดคล้องกับวันเวลาสอบแล้วไหม?
อันนี้แค่ส่วนหนึ่ง เพราะเรื่องพวกนี้ เป็นเรื่องละเอียด และสำคัญ (น้องอาจจะคิดว่าไม่สำคัญ) แต่ถ้าน้องละเอียดกับเรื่องพวกนี้ มันก็จะทำให้น้องดึงความรู้ความสามารถมาใช้ได้อย่างเต็มที่ในวันสอบจริงครับ
สุดท้าย บทความนี้ก็เป็นแค่การชี้ให้เห็นสิ่งที่น้องมักจะพลาดแล้วทำให้ได้คะแนนไม่ดีเท่าที่คิดไว้ จริง ๆ แล้วอาจจะมีปัจจัยส่วนบุคคลอย่างอื่นอีกก็ได้ พี่ต้องการแค่ชี้ให้เห็น เมื่อน้องเห็นน้องก็จะมีการป้องกันตัว การแก้ไข ซึ่งสิ่งเหล่นี้จะทำให้น้องพัฒนาขึ้น แล้วน้องก็จะได้เข้าไปเรียนใน “คณะที่ใช่ มหาวิทยาลัยที่ชอบ” ครับ
ปล. สำหรับเทคนิคต่าง ๆ ในบทความนี้ วันหลังพี่จะเอามาแลกเปลี่ยนการในตอนถัด ๆ ไปนะครับ หรือใครมีเทคนิคแบบไหนก็สามารถส่งมาแบ่งปันกันได้ครับ
แต่สำหรับน้องๆ คนไหนที่กำลังเตรียมตัวจะไปสอบ SAT และต้องการเตรียมตัวเพิ่มเติมน้องๆ สามารถเข้าไปดูคอร์ส SAT Math ได้ที่นี้เลย >> Course SAT Math แต่หากใครชอบแบบ Private ก็สามารถลงเรียนแบบ One on One หรือจะเข้ามาปรึกษาพี่ๆ Ignite ใน Line@ :@ignitebyondemand ก่อนก็ได้เช่นกันครับ พี่ยินดีช่วยเหลือให้คำปรึกษาน้องเต็มที่ครับ
Related Blog & News
ข่าวสารและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง
-
Blog, SAT
รีวิวเตรียมตัวสอบและสัมภาษณ์จนติด BBA TU โดยน้องภูมิ – ก๊อต คู่หู คู่ฮาจากรั้ว BBA TU ปีล่าสุด!
สวัสดีครับน้องๆ สำหรับหลายคนที่อยากเข้าเรียน BBA หรือหลักสูตรบริหารอินเตอร์นั้น อาจจะคิดว่าการสอบเข้า BBA เป็นเรื่องง่ายๆ ชิวๆ แต่เดี๋ยวก่อน!! วันนี้รุ่นพี่ ignite 2 คน ซึ่งตอนนี้เพิ่งเป็นนักศึกษา BBA TU (หลักสูตรการบริหารธุรกิจ ภาคอินเตอร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) ไปหมาดๆ จะมาเล่าให้น้องฟังว่า การสอบเข้า BBA ไม่ได้ง่ายอย่างที่น้องคิด!! ถ้าพร้อมแล้ว เราไปดูกันดีกว่าครับว่าพี่ๆ เค้าพยายามกันมากแค่ไหน และมีวิธีเตรียมตัวสอบเข้ากันยังไงให้ติดคณะในฝัน? Q : แนะนำตัวให้น้องๆ ignite รู้จักกันหน่อยครับ ก๊อต : สวัสดีน้องๆ ครับ พี่ชื่อ ก๊อต-พจนารท จบจากโรงเรียนสารสาสน์วิเทศรังสิตครับ ตอนนี้สอบติด BBA (หลักสูตรการบริหารธุรกิจ) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ครับ ภูมิ : พี่ชื่อ ภูมิ-จารุภูมิ จบจากโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยมครับ ตอนนี้สอบติด BBA ธรรมศาสตร์ คณะเดียวกันกับก๊อตเลยครับ Q […]
Comments (0) -
Blog, CU-ATS/CU-AAT
CU-AAT คืออะไร? ครบทุกข้อมูลที่ต้องรู้เกี่ยวกับข้อสอบ CU-AAT
สวัสดีน้องๆ ทุกคนครับ พี่แอดมินเชื่อว่าตอนนี้น้องๆ หลายคนคงกำลังสงสัยกันใช่มั้ยว่าข้อสอบ “CU-AAT คืออะไร” วันนี้เราจะมาตอบทุกคำถามเกี่ยวกับการสอบ CU-AAT ตั้งแต่เนื้อหาข้อสอบเป็นอย่างไร มีกี่วิชา ใช้ยื่นคณะไหนได้บ้าง ค่าสมัครสอบและตารางสอบ…ไม่พูดพร่ำทำเพลง พร้อมแล้วไปอ่านกันเลย !! CU-AAT คืออะไร ข้อสอบ CU-AAT (Chulalongkorn University Academic Aptitude Test) คือ ข้อสอบที่ใช้วัดความสามารถทางด้านคณิตศาสตร์ (Mathematics) และภาษาอังกฤษ (Verbal) ใช้ในการพิจารณาผู้ยื่นเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรี ของหลักสูตรนานาชาติ จุฬาฯ โดยลักษณะข้อสอบคล้ายกับข้อสอบ SAT ธรรมดาทั้ง Part Mathematics และ Part Verbal แต่ความยากของเนื้อหาข้อสอบจะแตกต่างกันออกไป คณะที่สามารถใช้คะแนน CU-AAT เพื่อยื่นพิจารณาศึกษาต่อ เช่น MEDICAL คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ISE คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (อินเตอร์) EBA คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (อินเตอร์) BALAC คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย […]
Comments (0) -
Blog, CU-ATS/CU-AAT
ความแตกต่างของ CU-ATS vs SAT Subject Tests
สวัสดีครับชาว igniter ทุกคน ตั้งแต่ต้นปี 2021 มานี้ น้องๆ ทุกคนต้องเจอกับความเปลี่ยนแปลงมากมายทั้ง การยกเลิกข้อสอบ SAT Subject Tests, สนานสอบ SAT ยกเลิกการสอบเพราะพิษโควิด, Requirement ที่ไม่แน่นอนของทางมหาวิทยาลัยว่าจะใช้คะแนนสอบใดแทนได้บ้าง ทำเอาน้องๆ หลายๆ คนถึงกับตั้งตัวไม่ทันเลย พี่ๆ ignite ทุกคนขอเป็นกำลังใจให้ครับ อย่างไรก็ตาม สำหรับน้องๆ ทีม ISE CU เป็นที่แน่ชัดแล้วว่า จะสามารถยื่นคะแนน CU-ATS และ CU-AAT แทน SAT Subject Tests ได้ ดังนั้น พี่ๆ จึงไม่รอช้า มาแชร์แบบหมดเปลือกว่าข้อสอบ CU-ATS มีอะไรที่เหมือนหรือต่างไปจากข้อสอบ SAT Subject Test บ้าง […]
Comments (0) -
Blog, GED
เคลียร์ทุกข้อสงสัย GED Rescore ทำยังไง ครูหมิง GED Guru มีคำตอบ!
สวัสดีค่ะน้องๆ ทุกคนกลับมาพบกับพี่หมิง GED Guru จาก Ignite กันอีกครั้งนะคะ วันนี้พี่ก็มีข้อมูลเจาะลึกเกี่ยวกับการ Rescore GED มาฝาก เนื่องจากช่วงนี้ก็เข้าใกล้การยื่นคะแนนเข้ามหาวิทยาลัยแล้ว น้องๆ ทีม GED ก็ทักมาถามพี่หมิงกันเยอะมากว่า “อยากเพิ่มคะแนน อยาก Rescore คะแนน GED ต้องยังไงบ้าง” Blog นี้พี่มีคำตอบให้ค่ะ! GED Rescore คืออะไร ทำไมต้องทำ? สำหรับน้องๆ ที่ยังไม่เคยสอบ GED อาจจะงงว่า Rescore คืออะไร ทำไมต้องทำ? พี่ต้องบอกก่อนค่ะว่าหลายๆ คณะ โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยที่การแข่งขันสูง เช่น CU, TU, MUIC มีการกำหนดเกณฑ์คะแนนขั้นต่ำ บางคณะกำหนดสูงถึง 660+ ถึงจะมีสิทธิ์ยื่นสมัครเข้าเรียนได้ จึงเป็นที่มาว่าทำไมน้องๆ ที่ตั้งเป้าคณะเหล่านี้มักจะสอบถามเรื่อง […]
Comments (0)
Comments