รีวิวข้อสอบพร้อมเทคนิคพิชิต ข้อสอบ BMAT Part 1 by พี่ภัทร์และพี่กั๊ก

รีวิวข้อสอบพร้อมเทคนิคพิชิต ข้อสอบ BMAT PART 1 BY พี่ภัทร์และพี่กั๊ก
สวัสดีครับน้องๆ ทุกคน วันนี้พี่ภัทร์และพี่กั๊กจะขอเอาใจน้องๆ ที่อยากเป็นหมอ น้องๆหลายคนคงทราบกันแล้วว่า BMAT สำคัญมากๆ ในการยื่นเข้ารอบ 1 (Portfolio) โดยในปี 2562 ที่ผ่านมา มีการเปิดรับสมัครด้วยการยื่นคะแนน BMAT กว่า 400 ที่นั่ง !!! จากหลายสถาบัน โอกาสมาถึงขนาดนี้ ใครไม่เตรียมสอบ BMAT ถือว่าพลาดอย่างแรง
ข้อสอบ BMAT เป็นการทดสอบที่จัดขึ้นโดย Cambridge Assessment จากประเทศอังกฤษ สามารถใช้ยื่นเข้าคณะแพทย์ฯ, ทันตะฯ หรือสัตวแพทย์ ในข้อสอบประกอบไปด้วย 3 พาร์ท ได้แก่
- Part 1 : Aptitude and Skills
- Part 2 : Scientific Knowledge and Applications
- Part 3 : Writing
ซึ่งน้องๆ หลายคนมักจะบอกว่า พาร์ทที่ยากที่สุด คือ Part 1 : Aptitude and Skills คือถ้าน้องๆ ทำพาร์ทนี้ได้ คะแนนของน้องก็จะโดดเด่นกว่าคนอื่นมากเลยทีเดียว
ในรีวิวนี้พวกพี่จึงจะมาจัดเต็มแบบเน้นๆ ว่ามีโจทย์แนวไหนบ้างที่สำคัญ พร้อมเทคนิคการทำข้อสอบในแต่ละแนวที่น้องต้องรู้! เอาเป็นว่าถ้าพร้อมแล้วเราไปดูกันเลยดีกว่า

BMAT Part 1 Aptitude and Skills
ข้อสอบในพาร์ท 1 นี้สามารถแบ่งเป็น 3 ส่วนหลักๆ คือ Aptitude test, Critical Analysis และ แบบ Fusion
1. APTITUDE TEST :
ข้อสอบส่วนใหญ่เป็นข้อสอบคิดวิเคราะห์เชิงคำนวณ (เช่น สมการเส้นตรง, อัตราส่วน, %, ความน่าจะเป็น), โจทย์เชาวน์ปัญญา, โจทย์วิเคราะห์ตารางหรือกราฟ และโจทย์แนวมองรูป 2-3 มิติ ดูแล้วเหมือนจะไม่ยาก แต่น้องส่วนใหญ่จะบอกว่ามันยากมากกเพราะโจทย์ยาวมาก (เกินครึ่งหน้า) และโจทย์ใน ข้อสอบ BMAT Part 1 จะไม่เหมือนโจทย์เลขปกติที่น้องๆเคยทำเพราะโจทย์มักจะจำลองสถานการณ์ในชีวิตประจำวันมาให้ วิเคราะห์และคำนวณเพื่อหาคำตอบออกมา
เช่น BMAT Past Paper 2016 มีข้อนึงถามว่า “ถ้าต้องการกู้เงินเพื่อซื้อบ้าน โดยมีธนาคารทั้งหมด 5 แห่ง แต่ละที่มีอัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมต่างกัน น้องจะต้องตัดสินใจว่ากู้ธนาคารใดที่จะคุ้มค่าที่สุด เท่านั้นไม่พอโจทย์ยังให้พิจารณาเงื่อนไขอัตราส่วนเงินกู้ต่อหลักทรัพย์ค้ำประกันของแต่ละธนาคารอีกด้วย ” โอ้โห ขนาดแปลมาเป็นภาษาไทยยังปวดหัวขนาดนี้ ถ้าใครไม่เคยฝึกทำ ข้อสอบ BMAT Part 1 มาก่อน พี่บอกเลยว่าเจอโจทย์ข้อนี้เข้าไปอาจจะถอดใจได้ ทั้งที่จริงแล้วโจทย์ข้อนี้ใช้แค่ความรู้เรื่อง % เท่านั้น

Type 1 : Select Relevant Information + Basic Calculation
Trick 1 : อ่านโจทย์ด้วยความละเอียด ไม่ควรอ่านข้ามแม้แต่ประโยคเดียว เพราะจะหาคำตอบได้ยากหรืออาจจะสับสนว่ามีคำตอบถูกมากกว่า 1 ข้อ
Trick 2 : อ่านโจทย์ไปขีดเงื่อนไขไป และสังเกตว่าโจทย์จะแบ่งประเด็นที่แตกต่างกันในแต่ละย่อหน้ามาให้แล้ว

Type 2 : Equation
Trick 1 : วาด diagram หรือเขียนข้อมูลที่เรารู้เป็นส่วนย่อยๆไปก่อน (น้องไม่จำเป็นต้องเข้าใจและตั้งสมการได้ตั้งแต่แวบแรกที่อ่านโจทย์เสร็จ)
Trick 2 : สมมติตัวแปรเป็นสิ่งที่โจทย์ถาม และโจทย์ ข้อสอบ BMAT Part 1 จะไม่มีทางสมมติเกิน 2 ตัวแปรแน่นอน!

Type 3 : Pin Number
Trick: ใช้วิธี Check Choice เลยครับน้อง! เมื่ออ่านโจทย์แล้วรู้สึกว่าจะต้องสมมติตัวแปรเยอะมากๆ (เกิน 2 ตัวแปร) แต่ก่อนจะ Check Choice อย่าลืมใช้ Trick อ่านโจทย์ไปขีดเส้นใต้เงื่อนไขไปนะครับ จะได้รู้ว่าตัด choice ผิดด้วยเงื่อนไขใดได้บ้าง
Sample of BMAT Past Paper 2015

Type 4 : Data Analysis
Trick: ประมาณเลขเศษส่วนให้คล่อง + แปลงค่ากลับไปมาระหว่างอัตราส่วน (ratio) กับ % ให้แม่นๆ
Sample of BMAT Past Paper 2014

2. CRITICAL ANALYSIS:
ข้อสอบการอ่านเชิงคิดวิเคราะห์ เป็นการวิเคราะห์ประโยคต่างๆ ที่รวมกันใน argument เพื่อดูว่าอะไรคือ the conclusion หรืออะไรเป็นข้อมูลที่มาสนับสนุนข้อสรุปนั้น (premises) ทำให้บางคนเรียกแนวข้อสอบนี้ว่า understanding arguments หรือ critical reasoning ซึ่งจะมีอยู่ใน ข้อสอบ BMAT part 1 ประมาณ 9-12 ข้อ

ในการทำโจทย์แนว critical analysis ทักษะการแยก premises กับ the main conclusion จึงเป็นทักษะพื้นฐานที่สำคัญที่สุด เพราะแนวคำถามที่เหลือไม่ว่าจะเป็น flaw, assumption, weakening หรือ strengthening ก็อาศัยทักษะพื้นฐานนี้ โดยที่ flaw เราจะวิเคราะห์ว่า premises กับ the main conclusion ไม่สอดคล้องกันยังไง ถ้าเป็นแนว assumption ก็จะไปดูว่าตัวเลือกไหนเป็น premise ที่จะทำให้ the main conclusion นั้นถูกต้อง ส่วน weakening เป็นการเลือกตัวเลือกที่จะทำให้ the conclusion นั้นมีความน่าเชื่อถือน้อยลงหรือผิดไป และสุดท้ายในส่วน strengthening คือการหาตัวเลือกที่ทำให้ the main conclusion มีความน่าเชื่อถือมากขึ้น ครับผมมม
เรามาลงรายละเอียดข้อสอบแนวที่ 1 กันครับ เพื่อดูทักษะเบื้องต้นที่จำเป็นในการพัฒนาการอ่านแบบ critical analysis โดยทั่วไปในข้อสอบ Reading ถ้าถามหา conclusion เราก็มักจะหา keyword ที่ใช้ในการสรุป เช่น therefore, thus, so, hence หรือ in conclusion แต่ ข้อสอบ BMAT ไม่เคยทำให้ชีวิตง่ายขนาดนั้น น้องจึงต้องอ่านทุกประโยค (แต่ไม่จำเป็นต้องอ่านทุกคำ) และทำความเข้าใจหน้าที่ของแต่ละประโยคใน argument เพื่อดูว่าอะไรคือ conclusion หรือ premises ลองดูตัวอย่างกันครับ
(EXAMPLE)
There is widespread and justified concern about the reliance on expert opinion in law court cases. Where experts disagree on an interpretation of the facts, there is always the possibility that the more charismatic and persuasive expert’s opinion will prevail for this reason alone. Their reason for holding the opinions they do could be more to do with their own personal prejudices than their professional expertise. However, if we want justice to be done, we should distinguish sharply between this and expert evidence which is not reliant on interpretation. It would be a tragedy if key advances in tackling crime such as matching DNA were regarded with suspicion just because such evidence came from an expert witness.
Which of the following is a statement of the main conclusion in the above argument?
A. The widespread concern about the use of expert opinion in legal cases is justified.
B. It would be most regrettable if evidence such as DNA became suspect in legal cases.
C. In the interests of justice we should distinguish between expert evidence and expert opinion.
D. Expert opinion may arise from personal views rather than professional knowledge.
E. Juries may be swayed by the personal characteristics of those presenting expert opinions.
วิเคราะห์แนวทาง
- คุณพระ! ตัวเลือกที่ให้มาทั้งหมด ดันสอดคล้องกับเนื้อหา แต่อาจจะมีบางคำที่ดูกล่าวเกินจริงไปหน่อย
- คุณพระ! ไม่มี clues ทางด้านภาษาพอที่จะให้เราเห็นใจความสรุปได้เลย ที่พอเห็นเป็น clue หน่อย ก็มีแค่คำว่า However
- คุณพระ! จะยาวไปไหน ปกติข้อสอบ critical analysis จะมีความยาวประมาณ 120-150 คำต่อข้อแล้วยังมีตัวเลือกอีก 5 ตัวเลือก น้องจะมีเวลาต่อข้อประมาณ 90 วินาทีเท่านั้น !!! ดังนั้นทักษะในการอ่านเร็วเป็นสิ่งที่สำคัญมาก
แนวทางในการทำ
- น้องต้องรู้ว่า argument ประกอบด้วย the conclusion และ premises ซึ่ง the conclusion ในแนว argument นี้จะต้องเป็นการกล่าวอ้างหรือ claim อะไรบางอย่าง ดังนั้นจะดู clue จากคำไม่ได้ แต่ต้องดู clue จากใจความ ซึ่งใจความส่วนใหญ่ที่เป็น the claim หรือ the conclusion จะเป็นใจความที่นำเสนอความคิดที่แตกต่างจากตัวอื่น
- ประโยคที่เป็น the conclusion ใน argument ที่ดี จะมี premises เข้ามาสนับสนุนประมาณ 1-2 อย่าง ถ้าแยกออกว่าอะไรเป็น premises ได้ ก็จะทำให้ conclusion เด่นขึ้น
เฉลยคำตอบ
Argument ในโจทย์นี้มีโครงสร้างเป็น sandwich โดยมี conclusion อยู่ตรงกลาง และมี premises ประกบอยู่ด้านบนและด้านล่าง เราลองมาวิเคราะห์เรียงประโยคกันครับ
- ประโยคแรก เป็นการเกริ่นนำเข้ามาเฉยๆ ว่ามีการใช้ expert opinion ใน law court กันอย่างแพร่หลาย ไม่ได้เป็น conclusion แต่เป็น premise อย่างหนึ่งที่กำลังเรียงร้อยหนึ่งประเด็นสำคัญ
- ประโยคสอง ก็เป็น premise ที่มีหน้าที่ในการขยายใจความของประโยคแรก โดยบอกว่า ถ้ามี disagreement เกิดขึ้น บนพื้นฐานของการตีความของข้อเท็จจริง การตัดสินใจมักโน้มเอียงไปที่ expert opinion (he more charismatic and persuasive expert’s opinion will prevail for this reason alone)
- ประโยคที่สาม เป็น premise โดยมีหน้าที่ในการขยายใจความเดียวกันนี้ว่าการตัดสินใจของ expert เหล่านี้จะเป็นการตัดสินใจบนพื้นฐานความเชื่อส่วนตัวมากกว่าความเป็มมืออาชีพ (more to do with their own personal prejudices than their professional expertise)
ดังนั้นประโยค 1, 2 และ 3 เป็นการเรียงร้อย premises เพื่อจะบอกว่า การตัดสินในชั้นศาลปัจจุบันนี้ขึ้นกับ expert opinion ในการตัดสิน เมื่อมี disagreement เกิดขึ้น ซึ่ง opinion นี้ค่อนข้างที่จะเป็น personal มากกว่า professional
- ประโยคที่สี่ เปิดขึ้นมาแสดงความย้อนแย้งกับแนวคิดนี้อย่างชัด ด้วยคำว่า However แล้วอธิบายว่าถ้าอยากให้ justice เกิดขึ้นจริง มันต้องมีการแบ่งแยกระหว่าง expert opinion กับ expert evidence ซึ่งอย่างหลังนี้ต้องไม่ขึ้นอยู่กับ interpretation ที่ข้างบนบอกว่าค่อนข้าง personal
- ประโยคที่ห้า เข้ามาเป็น premise เพื่อยกตัวอย่าง support โดยมีทั้งที่เป็น opinion และ evidence และเน้นไปที่ว่าถ้าการตัดสินอยู่บนพื้นฐานแบบ personal interpretation หรือ expert witness มันจะเป็น tragedy เลย
เนื่องจากประโยค 4 ทำหน้าที่เป็น the claim ใน argument นี้โดยมีเนื้อหาย้อนแย้งกับสามประโยคแรก และมีตัวอย่างในประโยคห้าที่มาสนับสนุน ดังนั้นจึงเป็น the conclusion ซึ่งทำให้ตัวเลือก c เป็นคำตอบที่ถูกต้อง เพราะตัวเลือกอื่นๆ เป็นเพียง premises เท่านั้น
นี่เป็นแค่การอธิบายหลักการและแนวทางเบื้องต้น ยังมีเทคนิคในการตัดตัวเลือก และการทำโจทย์แนวอื่นที่ได้ลับอาวุธสมองกันอย่างสุดล้ำกันต่อไปนะครับบบบ
3. FUSION
สำหรับในส่วนนี้พี่ถือเป็นข้อสอบที่รวมร่างของโจทย์ 2 ประเภทบน โดยโจทย์แนว Fusion จะเป็นโจทย์ 3 ข้อใหญ่ ซึ่งแนวที่ออกข้อสอบบ่อยๆก็คือ Long Text (บทความขนาดยาว), Executive Summary (บทสรุปงานวิจัย) และตารางใหญ่ๆ ข้อมูลแน่นๆ ซึ่งในข้อใหญ่ 1 ข้อจะประกอบด้วยโจทย์ย่อย 4 – 5 ข้อ ซึ่งจะมีทั้งโจทย์การคำนวณและอ่านคิดวิเคราะห์บทความ
สรุปคือ โจทย์ ข้อสอบ BMAT Part 1 ต้องใช้ทั้งทักษะการอ่าน, คิดวิเคราะห์ และคำนวณอย่างเป็นระบบ ถ้าลองทำครั้งแรกอาจจะรู้สึกว่ายากมาก แต่ถ้าน้องฝึกฝนทำข้อสอบเก่าเยอะๆและเรียนรู้เทคนิคที่ซ่อนอยู่ในโจทย์แต่ละแนว น้องจะสามารถจัดการกับ ข้อสอบ BMAT Part 1 ได้ไม่ยาก และถ้าน้องสามารถทำคะแนนของพาร์ทนี้ได้ดี (มากกว่า 5 เต็ม 9) รับรองว่าคะแนน BMAT ของน้องจะโดดเด่นกว่าของคนอื่น และมีโอกาสสูงมากที่จะสอบติดคณะแพทย์ฯและทันตะฯ ในรอบ 1 ครับ

สำหรับน้องๆ คนไหนที่ต้องใช้คะแนน BMAT เพื่อสอบเข้าคณะแพทยศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์และทันตแพทยศาสตร์ อย่าปล่อยให้โอกาสหลุดมือไป ลองนำเทคนิคไปใช้ เตรียมตัวก่อน มีโอกาสติดก่อนนะครับ และน้องๆ สามารถศึกษาแนวทางการเตรียมตัวสอบ BMAT จากน้องเพิร์ต ที่1 BMAT ประเทศไทย ได้ที่บทความนี้ >> บทสัมภาษณ์ “เพิร์ต” BMAT ที่1 ของประเทศ ที่มาแชร์ประสบการณ์เตรียมตัว พร้อมเทคนิค และแนะนำหนังสือที่ควรอ่านก่อนสอบ ในบทความครับ
ส่วนน้องคนไหนที่สนใจคอร์ส Self สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.ignitebyondemand.com/our-courses/bmat/
Related Blog & News
ข่าวสารและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง
-
Blog, Medical TCAS 1 (Portfolio), SAT Subject Tests
รวม Requirement ยื่นคณะแพทยศาสตร์ และทันตแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยไทย TCAS รอบ 1 สำหรับเด็กโรงเรียนอินเตอร์
สวัสดีน้องๆ โรงเรียนอินเตอร์ ที่อยากเรียนแพทย์ ทุกคนนะครับ วันนี้ ignite ได้รวบรวม Requirement ของคณะแพทยศาสตร์ และทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยไทย TCAS รอบ1 หรือ แพทย์ รอบ Portfolio ทั้งหมดมาให้น้องๆ ใช้เป็นแนวทางในการเตรียมตัวให้ชัวร์ว่า ถ้าเรียนโรงเรียนอินเตอร์มาแล้วแต่ละหลักสูตรต้องใช้คะแนนอะไร เท่าไรบ้าง อย่ารอช้าน้องๆ ว่าที่คุณหมอทุกคน สนใจคณะไหน มหาลัยไหน ไปดูกันได้เลยครับ รวม Requirement ยื่นคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยไทย TCAS รอบ 1 สำหรับเด็กโรงเรียนอินเตอร์ คณะแพทยศาสตร์ โครงการรับสมัครสอบคัดเลือกนักเรียนที่มีความถนัดทางภาษาอังกฤษ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระดับ Grade 12 ตามระบบการศึกษาแบบอเมริกัน หรือระดับ Year 13 ตามระบบการศึกษาแบบอังกฤษ โดยมี GPAX ≥ 3.50 (ตลอด 5 […]
Comments (0)
-
Blog, Medical TCAS 1 (Portfolio)
TBAT คืออะไร? ทำความรู้จักข้อสอบใหม่เข้าคณะแพทย์รอบพอร์ต
สิ้นสุดการรอคอย เพราะวันนี้ศูนย์ทดสอบทางวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CU-ATC) ได้มีการประกาศอย่างเป็นทางการแล้วว่าจะนำข้อสอบ TBAT หรือ Thai Biomedical Admissions Test เข้ามาใช้ทดแทนข้อสอบ BMAT ที่มีการประกาศยกเลิกการจัดสอบไปเมื่อปี 2566 โดยจะมีการใช้ TBAT ควบคู่กับข้อสอบ CU-AAT เพื่อให้สามารถวัดความรู้ได้ครอบคลุมคล้ายคลึงกับข้อสอบ BMAT มากที่สุด มาครับน้องๆ เพื่อรับมือกับการยื่นคณะแพทย์รอบพอร์ตตั้งแต่ TCAS68 เป็นต้นไป เรามาทำความรู้จักข้อสอบใหม่กริ๊บ TBAT คือ อะไร ไปดูกัน TBAT คือ อะไร? อ้างอิงจากข้อมูลของ Chulalongkorn University Academic Test Center หรือศูนย์ทดสอบทางวิชาการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย TBAT คือ ข้อสอบที่จะถูกนำมาใช้เพื่อคัดเลือกผู้ที่ต้องการเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีคณะแพทยศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ […]
Comments (0)
-
Blog, SAT Subject Tests
รีวิวสอบเข้าแพทย์รอบ Portfolio ด้วย SAT Subject Tests โดยน้องเกศ นานาชาติเปรม สอบติดแพทย์จุฬาภรณ์ UCL
สวัสดีน้องๆ ว่าที่หมอทุกคนนะครับ วันนี้พี่แอดมินขอพาพี่เกศ จากโรงเรียนนานาชาติเปรม ที่เพิ่งสอบติดแพทย์จุฬาภรณ์ (PCCMS) – UCL ปีล่าสุด มาแนะนำการสอบเข้าแพทย์รอบ 1 (Portfolio) ด้วยคะแนน SAT Subject ซึ่งเป็นอีกวิธีที่น้องๆ โรงเรียนนานาชาติให้ความนิยมมากๆ เลย เพราะสามารถใช้ SAT Subject Tests แทนเกรดโรงเรียนที่ออกช้า หรือใช้แทนคะแนน BMAT ที่สอบได้แค่ปีละ 1 ครั้ง พี่มีรายชื่อคณะแพทย์ ที่สามารถใช้คะแนน SAT Subject Tests และการใช้คะแนนเพื่อยื่นเข้ามาให้น้องๆ ด้วยครับ คณะแพทย์ TCAS รอบ 1 (Portfolio) ที่ใช้คะแนน SAT Subject Tests ยื่นเข้าได้ คณะที่ใช้ SAT Subject Tests เป็นคะแนนวิชาการ คณะแพทย์ศาสตร์จุฬาภรณ์ (PCCMS) ร่วมกับ UCL คณะที่ใช้ […]
Comments (0)
-
Blog
ไขข้อสงสัย เข้าหมอในไทย ต้องทำ IB full diploma หรือไม่ โดยน้องยูโร RIS ว่าที่ freshy ทันตะ จุฬาฯ
การทำ IB full diploma ในโรงเรียนหลักสูตร IB นั้นอาจจะเป็นใบเบิกทางที่เปิดโอกาสมากกว่าสำหรับน้องๆ ที่ยังไม่แน่ใจว่าตัวเองนั้นอยากเข้าคณะไหน เรียนต่อในประเทศหรือนอกประเทศ เพราะการที่หลักสูตร IB นั้นได้รับการยอมรับไปทั่วโลกด้วยความ Well-rounded ของเนื้อหาและการศึกษาทั้งด้านวิชาการและกิจกรรมอย่างเข้มข้น ดังนั้นการทำคะแนน IB full diploma ที่มีครบทั้ง TOK, CAS และ EE ได้ดีนั้นย่อมแปลว่าน้องๆ มีโอกาสที่จะเข้ามหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงในต่างประเทศได้ แต่น้องๆ ที่เรียนโรงเรียนนานาชาติที่มีหลักสูตร IB ให้เลือกหลายๆ คนอาจจะกำลังสับสนว่า ถ้าเราจะเข้าหมอในไทยนั้นเราจำเป็นที่จะต้องทำ IB full diploma หรือเปล่า หรือเราสามารถเรียนแค่บางวิชาก็พอ วันนี้พี่แอดมินเลยรวบรวมข้อมูลและบทสัมภาษณ์ จาก น้องยูโร โรงเรียนร่วมฤดี มาเพื่อไขความกระจ่างกันครับ โดยเรามาเริ่มกันกับวิชาส่วนมากที่ น้องๆ โรงเรียนนานาชาติต้องใช้เพื่อยื่นเข้าคณะแพทย์และทันตะ กันนะครับ รวมวิชาที่ต้องยื่นคะแนนเข้าคณะแพทย์ในไทย สำหรับเด็กอินเตอร์ […]
Comments (0)
Comments