Review ข้อสอบ SAT Math ปี 2018 ทุกรอบ!!

สวัสดีครับน้องๆ ทุกคน ในช่วงต้นปีแบบนี้ หลายๆ คนก็มักจะชอบทบทวนสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวเองในรอบปีที่ผ่านมา ทั้งเรื่องเรียน, ครอบครัว, ความรัก ^^ และอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นกับเราไม่ว่าจะเป็นเรื่องดีหรือร้าย แต่สุดท้ายแล้วทุกสิ่งทุกอย่างพี่เชื่อว่าถ้าเราถอยกลับมาวิเคราะห์และเรียนรู้จากมัน เราก็น่าจะได้บทเรียนที่ดีให้เราพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้นในปีถัดๆ ไปนะครับ
สำหรับหน้าที่ของครูสอน SAT Math อย่างพี่ภัทร์ คงจะไม่มีอะไรที่เหมาะมากไปกว่าการรีวิวข้อสอบ SAT Math ทุกรอบในปี 2018 ที่ผ่านมา! ปีที่ผ่านมามีการสอบ SAT ในไทยทั้งหมด 4 รอบ ได้แก่ Mar, May, Oct และ Dec และหลังจากพี่ได้ลองทำและวิเคราะห์โจทย์ SAT Math ทั้งหมด 5 ชุด โจทย์ทั้งหมด 290 ข้อ โอ้แม่เจ้าเยอะอะไรอย่างนี้ (พี่วิเคราะห์ข้อสอบ SAT US Edition ที่มีบางชุดแตกต่างจากชุด International Edition ด้วย) รีวิวฉบับนี้พี่คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์สำหรับน้องๆที่กำลังจะเตรียมตัวสอบ SAT ในปีหน้า จะได้รู้ว่าโจทย์แนวไหนกำลังมาแรง ประเด็นใดออกข้อสอบบ่อย ถ้าพร้อมแล้วเราก็ไปลุยกันเลย!!
1. ผิดกี่ข้อ ได้กี่คะแนนกันแน่?
ก่อนอื่นเลยน้องต้องเข้าใจก่อนว่าสำหรับการแปลงคะแนน SAT เช่น SAT Math จาก Raw Score (0 – 58) เป็น Scale Score (200-800) มันไม่ได้มีเกณฑ์ตายตัวเป๊ะๆ ว่าตอบผิด 1 ข้อ โดนหัก 10 คะแนน เพราะการแปลงคะแนนจะอิงเกณฑ์และอิงกลุ่ม แปลว่าคะแนนเราไม่ใช่แค่ขึ้นกับว่าเราทำได้กี่ข้อ แต่เราจะต้องกับคนอื่นๆ ทั่วโลกที่สอบ SAT ในรอบนั้นว่าเค้าทำได้กี่ข้อด้วย
ปกติแล้ว CollegeBoard ออกข้อสอบทุกรอบได้มาตรฐานเดียวกันเป๊ะมากๆ ทำให้การแปลงคะแนนทุกรอบแทบจะเหมือนกัน คือตอบผิด 1 ข้อ โดนหัก 10 คะแนน แต่จากรอบ Dec 2018 ที่ผ่านมาดันมามีเรื่องให้น้องๆ โวยวายเพราะข้อสอบมันดันง่ายกว่ารอบอื่นๆ พอข้อสอบง่ายกว่าปกติ เด็กส่วนใหญ่จะทำผิดน้อยลงมากๆ ทำให้ score conversion ค่อนข้างโหดร้าย กลายเป็นว่าตอบผิด 1 ข้อ โดนหัก 20 คะแนนทันที ในทางตรงข้ามการแปลงแบบนี้มันก็มีข้อดีเหมือนกันเพราะถ้าข้อสอบรอบนั้นดันยากกว่าปกติ น้องก็จะได้ประโยชน์เหมือนกันเช่น ตอบผิด 1-2 ข้อก็ยังได้เต็ม 800 ตารางด้านล่างเป็นการเปรียบเทียบสิ่งที่พี่เล่าให้ฟังด้านบนครับ

2. Algebra และ Word Problems ยังคงเป็น 2 บทที่ออกสอบเยอะสุด
สำหรับน้องๆ ที่ไม่ค่อยแน่ใจขอบเขตของเนื้อหา SAT Math พี่ขออธิบายก่อนว่าเนื้อหา SAT Math เทียบเท่ากับเนื้อหาเลข ม.ต้น + ม.ปลายนิดหน่อย ของประเทศไทย ซึ่งฟังดูแล้วอาจจะง่ายแต่น้องอย่าลืมว่าถ้าน้องอยากจะได้ SAT Math เต็ม 800 เพื่อไปยื่นคณะอินเตอร์ ท็อปฮิต จุฬาฯ และ มธ. ทั้ง BBA CU, BBA TU, ISE CU น้องต้องเป๊ะ ต้องทำถูกทุกข้อ!!

ตารางด้านบนเป็นสรุป % ของแต่ละบทที่ออกสอบ SAT Math ในรอบปีที่ผ่านมา ซึ่ง 2 บทหลักๆ ก็ยังคงเป็นคือ Algebra (สมการ) , Word Problems (โจทย์ปัญหา) โดยรวมกันแล้วคิดเป็นเกือบ 50% ของข้อสอบทุกรอบ ส่วนอีกบทที่เด็กไทยมักจะมีปัญหาคือ Data Analysis (สถิติ, การวิเคราะห์ข้อมูล) ซึ่งบทนี้พี่บอกเลยว่าน้องๆ หลายคนไม่ชอบอ่านตารางใหญ่ๆ, กราฟข้อมูลแน่นๆ แต่จริงๆ แล้วโจทย์แนวนี้ก็สามารถทำเสร็จได้ภายใน 1 นาที ถ้าน้องรู้เทคนิคการอ่านสแกนโจทย์นะครับ
3. แนวโจทย์มาแรง แซงโค้ง
3.1 Number of solutions of a linear equation

โจทย์แนวนี้ใช้คอนเซปต์ในเรื่องของ Number of Solutions of a System of Linear Equations ว่ากราฟเส้นตรง 2 เส้นอาจจะตัดกันได้ 1 จุด, ไม่ตัดกัน หรือ ทับกันสนิทได้ ซึ่งคอนเซปต์เรื่องนี้พี่ภัทร์ได้ย้ำในคอร์ส SAT Math ว่าออกสอบ SAT ทุกรอบ ถ้าไม่ออกมาเผาได้เลย!! (เผาอะรายย เก๊าล้อเล่นนะ เดี๋ยวจะไปกันหมด)
3.2 Graphs of polynomial function

โจทย์แนวสร้างกราฟ polynomial function เป็นโจทย์อีกแนวที่ออกสอบ SAT Math ทุกรอบตั้งแต่ปี 2017-2018 โจทย์มักจะให้สร้างฟังก์ชันจากจุดตัดแกน x (x-intercept) โดยหลักการง่ายๆ คือ ถ้าโจทย์กำหนดให้ ฟังก์ชัน f มี x-intercepts = a, b and c เราจะประมาณได้ว่า f(x) = k(x – a)(x – b)(x – c)
แต่อีกหนึ่งประเด็นที่สำคัญที่พี่ภัทร์ย้ำเสมอคือ ถ้าจุดตัดแกน x จุดนั้นเป็น จุดตัด (zero) จะได้วงเล็บ (x – a)1 จะเป็นเทอมดีกรี 1 แต่ถ้าจุดตัดแกน x นั้นเป็น จุดสัมผัส (double zero) จะได้วงเล็บ (x – a)2 จะเป็นเทอมดีกรี 2 สำหรับน้องที่นึกภาพไม่ออก พี่ฝากตัวอย่างโจทย์แนวนี้ให้น้องๆ ลองทำความเข้าใจดูนะครับ
3.3 Margin of error
โจทย์การเก็บข้อมูลแนวบรรยายปกติแล้วจะออกสอบ SAT ทุกรอบๆละ 2 ข้อ และใน SAT ปี 2018 ประเด็นที่ฮอตที่สุดก็คือ “Margin of Error” ซึ่งศัพท์คำนี้แปลง่ายๆว่า “ค่าความคลาดเคลื่อน” สิ่งที่น้องต้องรู้เกี่ยวกับ Margin of Error คือมันหมายถึงค่าบวก/ลบ ความคลาดเคลื่อนจากค่าเฉลี่ย (mean)
ตัวอย่างเช่นถ้าโจทย์กำหนดให้ The reported mean score of all students in the class is 70% with a margin of error of 3% แปลว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนที่เป็นไปได้คือ 70 ± 3 = 67 – 73% ซึ่งช้อยส์ส่วนใหญ่มักจะมาเป็นคำบรรยายยาวๆ เช่น Between 67% to 73% are all possible mean scores of all students in the class. ถ้าน้องแม่นในหลักการของโจทย์แนวนี้ น้องจะตอบได้ง่ายมากๆ ในเวลาไม่เกิน 30 วินาทีแน่นอน เพราะมันแทบไม่ต้องคำนวณอะไรเลย!!
3.4 Box and whisker plot
กราฟ Box and Whisker Plot ถือเป็นโจทย์ที่มาแรงแซงโค้งสุดๆ เพราะมันไม่เคยออกข้อสอบ SAT เลยในปี 2017 แต่กราฟนี้กลับมาแรงแซงโค้งออก 2 รอบติดกันตอนปลายปีรอบ Oct 2018 และ Dec 2018 สำหรับกราฟชนิดนี้มีจุดสำคัญที่น้องต้องรู้จักคือขีด, ขอบกล่อง จะแสดงค่า min, max, median, 1st quartile และ 3rd quartile ของชุดข้อมูลนั้นๆ เช่น a

จากกราฟด้านบน min = 15 , max = 60 , median = 35 , 1st quartile = 25 และ 3rd quartile = 40
โจทย์ Box and Whisker Plot ที่ออกข้อสอบมาจริงๆ แล้วถามค่อนข้างง่าย ถ้าน้องเข้าใจจุดสำคัญๆ ของกราฟชุดนี้น้องสามารถตอบคำถามได้อย่างแน่นอนครับ
น้องจะเห็นได้ชัดเลยนะครับ ว่าการสอบ SAT Math แต่ละรอบเราไม่สามารถคาดการณ์ได้เลยว่าจะเจอข้อสอบชุดที่ยากกว่าปกติ หรือ ง่ายกว่าปกติ ดังนั้นสิ่งที่น้องสามารถทำได้ คือการเตรียมตัวให้พร้อมรับมือกับทุกสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้น เพราะหากเราพร้อมแล้ว ไม่ว่าข้อสอบจะมาในรูปแบบไหน เราก็จะสามารถพิชิตมันได้ครับ
ดังนั้น พี่ขอแนะนำให้น้องๆ ม.5 ลงสอบในทุกรอบ เพื่อช่วยเพิ่มโอกาส เพิ่มรอบสอบในการพิชิต Perfect Score หากน้องคนไหนต้องการตัวช่วยเพื่อเสริมความมั่นใจในการทำโจทย์ หรืออยากได้เทคนิคในการทำข้อสอบเพื่อพิชิต 800 คะแนนของพี่ภัทร์ สามารถมาเจอกับพี่ภัทร์ได้ใน คอร์สสด Exclusive Class for SAT MATH เริ่มเรียน 9 มีนาคมนี้ เวลา 09:00-12:00 น. สถานที่เรียน อาคารสยามพิวรรธน์ ชั้น 12B

คอร์สเนื้อหาที่สอนอย่างเป็นระบบ ครบจบในคอร์สเดียว นอกจากพี่ภัทร์จะรวบรวมโจทย์ใหม่ล่าสุดตามแนวข้อสอบ Official SAT 2018 มาให้น้องๆ แล้วปีใหม่นี้พี่ภัทร์ก็ขอมอบของขวัญพิเศษ คือการดูแลน้องๆ แบบรายบุคคล (Student Success Program) เรียกได้ว่าพี่ภัทร์จะติดตามน้องๆ จนกว่าน้องจะสอบติดเลยครับ อีกทั้งน้องๆ ที่ลงเรียนคอร์สนี้จะได้รับสิทธิพิเศษเข้าร่วมกิจกรรม Boost up และ Sat Clinic ที่จะจัดก่อนการสอบ SAT ทุกรอบด้วยครับ
สามารถดูรายละเอียดได้ที่ https://www.ignitebyondemand.com/platform-live-class/
หรือหากน้องๆต้องการดูรายละเอียด คอร์ส SAT Math แบบ Self ก็สามารถเข้าดูได้ที่ https://www.ignitebyondemand.com/our-courses/sat-math-cu-aat/
Related Blog & News
ข่าวสารและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง
-
Blog, SAT Subject Tests
รีวิวสอบเข้า ISE จุฬาฯ ด้วย SAT Subject Tests จากน้องโน้ต กรุงเทพคริสเตียน
สวัสดีน้องๆ ที่อยากสอบเข้า ISE หรือ คณะวิศวะอินเตอร์ จุฬาฯ ทุกคนนะครับ!! วันนี้พี่แอดมินพาพี่โน้ต รุ่นพี่ ignite ที่สอบติด ISE จุฬาฯ ปีล่าสุด มารีวิวการสอบเข้าวิศวะอินเตอร์ ด้วยคะแนน SAT Subject Tests เพื่อให้น้องๆ ได้ทราบว่าข้อสอบแต่ละวิชามีความยากง่ายอย่างไร ควรเตรียมตัววิชาไหนก่อนและเคล็ดลับการสอบติดจากพี่โน้ต เพื่อให้น้องๆ ทุกคนใช้เป็นแนวทางการเตรียมตัวได้อย่างถูกต้องนะครับ เคล็ดลับเตรียมตัวให้สอบติด ISE จุฬาฯ สำหรับพี่คิดว่าการเริ่มเตรียมตัวสอบเข้า ISE ตอน ม.5 เทอม 1 เป็นการเริ่มต้นที่ดีนะครับ ไม่ช้าเกินไป ยังพอมีเวลาเหลือให้เราสามารถไปทำกิจกรรมอย่างอื่นได้อีกด้วย ถ้าเริ่มต้นเตรียมตัวตอน ม.6 อาจจะทำให้เราเหนื่อยจนไม่ค่อยมีเวลาไปทำอย่างอื่นและถ้ายังไม่ได้คะแนนที่ต้องการในรอบแรก ก็จะมีเวลาแก้ตัวน้อยลงอีกด้วยนะครับ ยิ่งถ้าน้องๆ รู้ตัวและตั้งป้าหมายว่าจะเข้า ISE ตั้งแต่ ม.4 ยิ่งจะทำให้เราเตรียมตัวได้ไว เผลอๆ […]
Comments (0)
-
Blog, SAT Subject Tests
สรุปทางเลือกเมื่อ SAT Subject Tests ยกเลิก วิชาไหนบ้างที่ยื่นแทนได้?
เป็นข่าวใหญ่ระดับประเทศเลยทีเดียวสำหรับน้องๆ มัธยมที่อยากเข้าคณะอินเตอร์ เมื่อ College board ประกาศว่าต่อไปจะไม่มี Sat Subject test อีกแล้ว น้องๆ หลายคนที่วางแผนไว้ว่าจะสอบในอนาคตตอนนี้คงมีคำถามในใจกันเต็มไปหมด ว่า อ้าว แล้วคณะที่เราอยากเข้าจะทำยังไงละ มันจะส่งผลอะไรยังไงกับเราแค่ไหน ignite ก็เลยเขียนบทความนี้ขึ้นมาเพื่อที่จะเสนอแนวทางในการหาวิชาสอบทดแทนสำหรับน้องๆ ที่ยังมุ่งมั่นว่าจะเข้าคณะอินเตอร์ หรือ หมอในไทย โดยต้องบอกว่าสถานการณ์ตอนนี้ น้องๆ อินเตอร์อาจจะได้เปรียบกว่านิดหน่อย เพราะหลายคณะยังคงรับการยื่นคะแนน IB, A-Level ที่น้องๆ โรงเรียนนานาชาติต้องสอบกันในโรงเรียนอยู่แล้ว แต่น้องๆ ภาคไทยอย่าเพิ่งน้อยใจกันไป เพราะบางคณะยังคงเปิดให้ยื่นวิชาอื่นแทนด้วย จะเป็นอะไรนั้นตามดูกันได้เลยครับ เมื่อ SAT Subject test ยกเลิก เราจะใช้วิชาไหนสอบแทนได้บ้าง มาดูกันเลย ! #ทีมเด็กไทย เริ่มกันก่อนกับคณะยอดฮิต […]
Comments (0)
-
Blog, BMAT
ถอดรหัสข้อสอบ BMAT ตาม Specification 2021
สวัสดีครับว่าที่น้องหมอทุกๆ คน สำหรับปีนี้ทาง Cambridge Assessment ได้ประกาศอัพเดท BMAT Specification ปี 2021 มาแล้ว ทางทีมครู ignite ไม่รอช้า ขอมาเล่าสรุปให้น้องๆ ฟังกันครับว่าเป็นอย่างไรบ้าง อย่างไรก็ตาม แอบบอกข่าวดีกับน้องๆ ก่อนครับว่าปีนี้โครงสร้างและหัวข้อที่ออกสอบใน BMAT โดยส่วนใหญ่จะคล้ายคลึงกับ BMAT Specification ปีที่แล้วเลยครับผม และไม่ต้องกังวลไปเลยครับ สำหรับในส่วนที่ต่าง ทางคุณครู ignite ก็จะอัพเดทในคอร์สเรียนของปีนี้ด้วยครับ ทำความรู้จักโครงสร้างข้อสอบ BMAT ก่อนอื่น เรามาทบทวนโครงสร้างข้อสอบ BMAT กันอีกครั้งครับ ข้อสอบ BMAT ยังคงมีทั้งหมด 3 ส่วนใหญ่ๆ ได้แก่ 1. Thinking Skills, 2. Scientific Knowledge […]
Comments (0)
-
Blog, EP ม.ต้น
คุณพ่อคุณแม่ห้ามพลาด! พี่โน้ตชวนดูเปิดหลักสูตร Math EP ม.ต้น เรียนเนื้อหาอะไรบ้าง?
สวัสดีคุณพ่อคุณแม่และน้องๆ ทุกคนนะครับ พี่โน๊ต จาก ignite เองนะครับ ในปัจจุบันยุคนี้ พี่เชื่อว่ามีผู้ปกครองหลายๆท่าน ได้เริ่มวางแผนการเรียนของลูกตั้งแต่ระดับประถม มัธยม เพื่อให้ลูกได้รับสิ่งที่ดีที่สุดและวางเส้นทางให้น้องๆ ไปถึงฝั่งฝัน และเชื่อว่า โครงการ EP หรือหลักสูตร English Program เป็นอีก 1 หลักสูตรที่ผู้ปกครองหลายท่านให้ความสนใจ แต่หลายๆ ท่านคงยังมีข้อสงสัยไม่น้อยว่าจริงๆ แล้ว หลักสูตรนี้มันคืออะไร? และในแต่ละวิชาต้องเรียนเนื้อหาอะไรบ้าง? วันนี้พี่โน๊ตจะมากาง syllabus วิชาคณิตศาสตร์ Math หลักสูตร EP ว่าในแต่ละระดับชั้น ม.1-ม.3 ต้องเรียนอะไรบ้าง? เพื่อช่วยตอบทุกข้อสงสัยก่อนที่ผู้ปกครองจะวางแผนการเรียนให้กับลูกๆ นะครับ ทำความรู้จักกับหลักสูตร English Program (EP) หลักสูตร EP หรือ English Program คือ หลักสูตรที่มุ่งเน้นที่จะเสริมสร้างทักษะด้านภาษาอังกฤษให้แก่นักเรียน โดยใช้หลักสูตรการเรียนการสอนและสาระการเรียนรู้ต่างๆ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานของกระทรวงศึกษาธิการ โดยนักเรียนในหลักสูตรนี้จะเรียนภาษาอังกฤษที่เข้มข้นกว่าภาคปกติ สำหรับหลักสูตร EP นอกจากจะเรียนวิชาภาษาอังกฤษมากกว่าหลักสูตรไทยปกติแล้ว ยังเรียนบางวิชาเป็นภาษาอังกฤษด้วย เช่น […]
Comments (0)
Comments