คณะวิศวะ SIIT คืออะไร? เรียนอะไรบ้าง? อยากสอบติดต้องทำอย่างไร?

คณะวิศวะอินเตอร์ ธรรมศาสตร์ - SIIT คืออะไร - เรียนอะไรบ้าง - Thumbnail

         สวัสดีว่าที่น้องๆ วิศวะทุกคนนะครับ พี่แอดมินขอพามาทำความรู้จักกับคณะวิศวะอินเตอร์ “SIIT” หลักสูตรยอดฮิตที่เชื่อว่าน้องๆ ต้องเคยได้ยินชื่อมาแล้วแน่นอน เรียกว่าเป็นคณะที่เด็กมัธยมปลายหลายๆ คนใฝ่ฝันที่จะเข้าเรียนกันเลยทีเดียว แต่แค่เคยได้ยินชื่ออย่างเดียวคงไม่พอ วันนี้พี่แอดมินจะมาแนะนำข้อมูลเกี่ยวกับคณะวิศวะอินเตอร์ SIIT คืออะไร? เรียนอะไรบ้าง? อยากสอบติดต้องทำอย่างไร? ให้พวกเราไม่พลาดทุกประเด็นเกี่ยวกับคณะนี้เลยนะครับ

ถ้าพร้อมแล้วไปทำความรู้จักวิศวะ SIIT พร้อมกันเลยจ้า

วิศวะ SIIT คืออะไร? เรียนอะไร?

SIIT คืออะไร - เรียนอะไรบ้าง - คณะวิศวะอินเตอร์ ธรรมศาสตร์ - Bigcover2

         SIIT (Sirindhorn International Institute of Technology) หรือ สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คือ คณะวิศวะอินเตอร์ที่เปิดสอนหลักสูตรนานาชาติ โดยมีทั้งหมด 9 สาขาวิชา ซึ่งเป็นหลักสูตรด้านวิศวกรรมศาสตร์ 7 สาขาและหลักสูตรการจัดการ 2 สาขา ทั้งนี้ SIIT จะเน้นการเรียนการสอนกับอาจารย์ที่มีคุณภาพ ด้วยความรู้ที่สามารถนำไปใช้ได้จริงในห้องแล็บที่ได้มาตรฐาน อุปกรณ์ครบครัน ซึ่งการเรียนการสอนของ SIIT จะเป็นภาษาอังกฤษทั้งเนื้อหาการเรียน แบบฝึกหัด การพรีเซนต์ต่างๆ และยังได้เรียนร่วมกับนักเรียนแลกเปลี่ยนหลากหลายเชื้อชาติอีกด้วย
SIIT เป็นคณะที่มีทุนการศึกษาในแต่ละปีกว่า 200 ทุนโดยเป็นทั้งทุนแบบเต็มจำนวน ครึ่งจำนวนและทุนบางส่วน สำหรับใครที่กังวลเรื่องค่าใช้จ่าย พี่แอดมินขอนำข้อมูลการให้ทุนของ SIIT มาให้น้องๆ ได้ศึกษากันนะครับ

ทุนการศึกษาต่อเนื่องตลอดหลักสูตร 4 ปี แบ่งเป็น 5 ประเภท

  1. ทุนสร้างปัญญาวิทย์ ผลิตนักเทคโน (Young Scientist and Technologist Program: YSTP) นักศึกษาจะได้รับการยกเว้นค่าหน่วยกิตและค่าบำรุงการศึกษาทั้งหมดของสถาบันฯ ในแต่ละภาคการศึกษา โดยให้ค่าใช้จ่ายเดือนละ 5,000 บาท และสิทธิประโยชน์อื่นๆ ตามที่สถาบันฯกำหนด
  2. ทุนเต็มจำนวน (Full) นักศึกษาจะได้รับการยกเว้นค่าหน่วยกิต และค่าบำรุงการศึกษาทั้งหมดของสถาบันฯ ในแต่ละภาคการศึกษา
  3. ทุนครึ่งจำนวน (Half) นักศึกษาจะได้รับการยกเว้นค่าบำรุงการศึกษา และค่าหน่วยกิตประมาณครึ่งหนึ่งของอัตราที่สถาบันฯ กำหนดในแต่ละภาคการศึกษา
  4. ทุนบางส่วน (Quarter) นักศึกษาจะได้รับการยกเว้นค่าบำรุงการศึกษา และค่าหน่วยกิตประมาณหนึ่งในสี่ (25%) ของอัตราที่สถาบันฯ กำหนดในแต่ละภาคการศึกษา
  5. ทุนสอวน. (เฉพาะผู้ที่ผ่านการอบรมตลอดหลักสูตรในค่ายของศูนย์ สอวน. เท่านั้น) นักศึกษาจะได้รับการยกเว้นค่าหน่วยกิต และค่าบำรุงการศึกษาทั้งหมดของสถาบันฯ ในแต่ละภาคการศึกษา นอกจากนี้ยังได้รับทุนการศึกษาในส่วนของค่าเช่าหอพักนักศึกษาของสถาบันฯ และนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาด้วยทุนนี้ สถาบันฯ จะพิจารณาให้ทุนการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาต่อเนื่องจนจบปริญญาเอก
 

         นักศึกษาที่ได้รับทุนทุกประเภทไม่ต้องชดใช้ทุนเมื่อสำเร็จการศึกษา แต่ต้องรักษาเกรดเฉลี่ยสะสมให้ไม่ต่ำกว่า 3.00 (สำหรับทุน YSTP) และไม่ต่ำกว่า 2.75 (สำหรับทุน Full Half Quarter และทุนสอวน.) และช่วยงานสถาบันฯ ตามที่กำหนด โดยรายละเอียดและเงื่อนไขต่างๆ จะแจ้งในวันเซ็นสัญญารับทุน

หลักสูตรและสาขาของวิศวะ SIIT

หลักสูตรและสาขา SIIT - คณะวิศวะอินเตอร์ ธรรมศาสตร์ - Bigcover3

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต

  • 1. วิศวกรรมเคมี (ChE) เน้นการเรียนการสอนเกี่ยวกับการวิจัยและพัฒนาในด้านวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเคมีที่ทันสมัย

         สามารถทำงานอาชีพ: วิศวกรวิจัยและพัฒนา, วิศวกรออกแบบกระบวนการ, เจ้าหน้าที่ตรวจสอบคุณภาพ (QC,QA), เจ้าหน้าที่ตรวจวินิจฉัย, นักวิจัยด้าน Petroleum และ Petrochemical นักวิจัยด้าน Polymer เป็นต้น

  • 2. วิศวกรรมโยธา (CE) เน้นการเรียนการสอนเกี่ยวกับการออกแบบและก่อสร้างอาคาร โครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งครอบคลุมระบบขนส่ง ระบบสาธารณูปโภค รวมไปถึงการวิเคราะห์ทางธรณีและชลศาสตร์ การบริหารจัดการการก่อสร้าง

         สามารถทำงานอาชีพ: วิศวกรโยธา, เจ้าของกิจการ, นักวิจัย, อาจารย์และข้าราชการหรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ เป็นต้น

 

  • 3. วิศวกรรมเครื่องกล (ME) เน้นการเรียนการสอนเกี่ยวกับการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางด้านเครื่องกลในอุตสาหกรรมต่างๆ ได้เรียนทั้งการผลิต ออกแบบ ควบคุม และซ่อมบํารุง

         สามารถทำงานอาชีพ: วิศวกรรมเครื่องกล, นักวิจัย, นักวิชาการและที่ปรึกษาโครงการ เป็นต้น

 

  • 4. วิศวกรรมอุตสาหการและระบบโลจิสติกส์ (IE) เน้นการเรียนการสอนเกี่ยวกับการสร้างเทคโนโลยีที่มีประโยชน์ต่อการพัฒนาวงการวิศวกรรมอุตสาหการและระบบโลจิสติกส์

         สามารถทำงานอาชีพ: วิศวกรควบคุมคุณภาพในโรงงานอุตสาหกรรม, วิศวกรความปลอดภัย, วิศวกรควบคุมกระบวนการผลิต, วิศวกรออกแบบและนักบริหารธุรกิจอุตสาหกรรม เป็นต้น

 

  • 5. วิศวกรรมไฟฟ้า (EE) เน้นการเรียนการสอนเกี่ยวกับการสร้างเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่างๆ ทั้งด้านระบบและอุปกรณ์ทางด้านไฟฟ้า รวมทั้งการวิจัยเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมไฟฟ้า

         สามารถทำงานอาชีพ:  วิศวกรด้านไฟฟ้า, นักวิชาการด้านไฟฟ้า, นักวิเคราะห์และออกแบบระบบงาน, ผู้ดูแลระบบเครือข่ายและเครื่องแม่ข่าย, ผู้จัดการโครงการด้านไฟฟ้า, ผู้จัดการด้านไฟฟ้า เป็นต้น

  • 6. วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (CPE) เน้นการเรียนการสอนเกี่ยวกับการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์และการประยุกต์ใช้งานคอมพิวเตอร์ในอุตสาหการต่างๆ

         สามารถทำงานอาชีพ: Microcontroller Designer, Computer System Developer and Designer, Programmer & System Integrator, Consultant, Computer System Manager เป็นต้น

 

  • 7. วิศวกรรมดิจิทัล (DE) เน้นการเรียนการสอนเกี่ยวกับการประยุกต์และผสมผสานเทคโนโลยีดิจิทัลรวมถึงเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์, การเรียนรู้ของเครื่องในการเขียนโปรแกรมและพัฒนาซอฟท์แวร์เพื่อใช้วิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big data)

         สามารถทำงานอาชีพ: Programmer, Application Software Developer and Designer, Data Scientist, System Analyst เป็นต้น

 

หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต

  • 1. การจัดการวิศวกรรม (EM) เน้นการเรียนการสอนเกี่ยวกับการจัดการอุตสาหรกรรมด้านวิศวกรรมที่มีอัตราการเติบโตอย่างก้าวกระโดด จึงต้องใช้เทคโนโลยีและความรู้เชิงวิชาการเข้ามาจัดการมากขึ้น สามารถทำงานอาชีพ : วิศวกรด้านการบริหารจัดการ, ที่ปรึกษาด้านการจัดการวิศวกรรม, นักวิจัยและพัฒนา, ผู้บริหารหน่วยงานหรือนักวิชาการเฉพาะทาง เป็นต้น
 
  • 2. เทคโนโลยีการจัดการ (MT) เน้นการเรียนการสอนเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big data) และการจัดการห่วงโซ่อุปทานด้านธุรกิจ เพื่อความสมดุลในระบบการผลิต สามารถทำงานอาชีพ : นักวิเคราะห์และวางแผนตามสถานประกอบการด้านคลังสินค้า การขนส่ง การกระจายสินค้าและ นักวิทยาการข้อมูล, นักออกแบบระบบงาน หรือ นักการตลาด นักการเงิน เป็นต้น

ตัวอย่าง คะแนนและเกณฑ์การสอบเข้าวิศวะ SIIT

เกณฑ์การสอบเข้า SIIT - คณะวิศวะอินเตอร์ ธรรมศาสตร์ - Bigcover4

         สำหรับการยื่นสอบเข้า SIIT ทางคณะได้เปิดให้ใช้คะแนนสอบที่หลากหลายเพื่อพิจารณารับนักศึกษา โดยพี่แอดมินขอนำตัวอย่างเกณฑ์คะแนนของข้อสอบยอดฮิตที่น้องๆนิยมใช้ยื่นมาให้ชมกันนะครับ

คะแนน SAT

– Mathematics ≥ 620
– Evidence-Based Reading and Writing ≥ 400

คะแนน CU-TEST

– Engineering (5 programs) มีผลการสอบ CU-AAT (Math) ≥ 480 และ CU-ATS ≥ 800

– Engineering (CPE/DE) มีผลการสอบ CU-AAT (Math) ≥ 480 และ CU-ATS ≥ 800

– Management มีผลการสอบ CU-AAT (Math) ≥ 455 และ CU-ATS ≥ 760

คะแนน ACT

– มีผลคะแนนวิชา 1. Mathematics 2. Science 3. English 4. Reading โดย Composite Score 21.5 from 36 Science (Math ≥ 20 and Science ≥ 20)

สำหรับเกณฑ์คะแนน ข้อมูลหลักสูตรการเรียนการสอน สามารถเข้าไปศึกษาเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์คณะ SIIT >> https://www.siit.tu.ac.th/

E-Catalog - แผนเตรียมตัวสอบเข้า SIIT วิธีเตรียมสอบเข้าคณะวิศวะอินเตอร์ ต้องใช้คะแนนอะไร + เรียนคอร์สไหนบ้าง?

         สำหรับน้องๆ ที่อยากเรียนคณะวิศวะอินเตอร์ แต่ยังไม่มั่นใจว่าต้องใช้คะแนนอะไร สอบวิชาไหนบ้าง! พี่แอดมินรวบรวมวิธีการเตรียมตัวสำหรับการสอบเข้ามาให้แล้ว จัดมาให้ครบว่ามีคะแนนอะไรควรลงสมัครคอร์สใดของ ignite บ้าง? คลิกเลย >>> https://www.ignitebyondemand.com/สอบเข้า-วิศวะอินเตอร์/

น้องๆ ที่อยากสอบติดคณะ SIIT สามารถมาปรึกษาคุณครูและพี่ๆ ignite ให้วางแผนการเรียนและแนะนำการเตรียมตัวสอบเข้าได้เสมอ! ทักเข้ามาคุยกันได้ตลอดที่ Line: @ignitebyondemand และโทร 091-5761475,02-6580023

ส่วนใครยังอยากช้อป! คอร์สเรียนอื่นๆ สามารถเข้าไปที่ Shop Online ของ ignite ได้ที่นี่เลยครับ >> https://shop.ignitebyondemand.com/

Related Blog & News

ข่าวสารและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง

Comments

Comment Write a comment...