ตะลุยข้อสอบ BMAT Biology พร้อมเทคนิคพิชิตคะแนน by พี่ฮัลเลย์

ตะลุยข้อสอบ BMAT Biology พร้อมเทคนิคพิชิตคะแนน by พี่ฮัลเลย์
สวัสดีครับน้องๆ อีกไม่นานก็จะถึงช่วงเวลาของการสอบ BMAT รอบตุลาคมกันแล้วนะครับ การสอบ BMATต้องอาศัยทักษะความสามารถหลากหลายด้านมากๆ เพื่อให้ได้คะแนนออกมาตามที่คาดหวังไว้ และหนึ่งในวิชาที่ทำให้น้องๆ หลายคนตกม้าตาย ก็คือชีววิทยาหรือ BMAT Biology นั้นเองครับ
สำหรับ BMAT Biology จะอยู่ในข้อสอบ Section 2 โดยที่น้องๆ จะต้องสอบร่วมกับฟิสิกส์ เคมี และคณิตศาสตร์ เพราะว่านี่คือข้อสอบที่ประเมินความรู้และความสามารถในการประยุกต์ทางวิทยาศาสตร์นั่นเองครับ ซึ่งน้องมีเวลา 30 นาที ในการทำข้อสอบจำนวน 27 ข้อ เรียกได้ว่าหารเฉลี่ยออกมาแล้ว แต่ละข้อมีเวลาประมาณหนึ่งนาทีเท่านั้น นับว่าเป็นข้อสอบที่สร้างความกดดันไม่น้อยเลย แต่ก่อนอื่นเราต้องทำความรู้จักกับข้อสอบ BMAT Biology ให้ดีก่อนเริ่มเตรียมตัวฝึกทำโจทย์นะครับ วันนี้พี่ฮัลเลย์เลยพาน้องๆ มาตะลุยข้อสอบ BMAT Biology พร้อมแนะนำเทคนิคพิชิตคะแนนให้ได้ตามที่หวัง!! ไปเริ่มอ่านกันเลยดีกว่า
1. รูปแบบของข้อสอบ
- ข้อสอบชีวะแต่ละปีมีโควตาออก 6-8 ข้อ แต่ละข้อมีเวลาให้ราว 1 นาที
- ข้อสอบจะให้วิเคราะห์จากแผนภาพหรือข้อมูล และมักจะถามว่าจากแผนภาพและข้อความที่ให้มา 3-5 ประโยคนั้น ข้อใดถูกหรือข้อใดผิด
- การเจอตัวเลือก 6-8 ตัวเลือก ไม่ใช่เรื่องแปลกในข้อสอบ BMAT Biology เพราะผู้จัดสอบต้องการสร้างความเป็นไปได้ของการผสมตัวเลือกให้เราตัดตัวเลือกได้ยากนั่นเอง
2. เนื้อหาที่ออก (อ้างอิงจากเว็บไซต์ official ของ BMAT)
- เซลล์ น้องต้องทำความเข้าใจโครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์สัตว์ เซลล์พืชและเซลล์แบคทีเรีย รวมถึงรู้จักการจัดอันดับอย่างเป็นลำดับขั้นตั้งแต่เซลล์ เนื้อเยื่อ และอวัยวะนะครับ
- การเคลื่อนที่ของสารผ่านเยื่อหุ้ม รู้จักนิยามของคำว่าการแพร่ ออสโมซิส และการเคลื่อนที่ของสารแบบใช้พลังงาน (active transport) รวมถึงต้องสามารถยกตัวอย่างให้ได้
- การแบ่งเซลล์และการกำหนดเพศ ให้น้องอ่านเนื้อหาเรื่องไมโทซิส ไมโอซิส การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศและแบบไม่อาศัยเพศ การกำหนดเพศ
- การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม เรื่องที่ออกจะมีเรื่องโครโมโซม หรือยีนทั้งในเซลล์พืชและเซลล์สัตว์ การผสมที่พิจารณาลักษณะเดียว (monohybrid cross) และจำให้ได้ว่านิวเคลียสคือสถานที่เก็บสารพันธุกรรม
- ดีเอ็นเอ เข้าใจว่าโครโมโซมเก็บดีเอ็นเอเอาไว้และสามารถอธิบายโครงสร้างของดีเอ็นเอ การสังเคราะห์โปรตีน การกลายพันธุ์ระดับยีนให้ได้
- เทคโนโลยียีน เนื้อหาที่ออกสอบ BMAT Biology คือเรื่องพันธุวิศวกรรม เซลล์ต้นกำเนิด
- ความแปรผัน ต้องอ่านเรื่องการคัดเลือกตามธรรมชาติและวิวัฒนาการ แหล่งกำเนิดความแปรผันและการสูญพันธุ์
- เอนไซม์ น้องต้องเข้าใจตัวเร่งปฏิกิริยาทางชีวภาพ กลไกการทำงานของเอนไซม์และเข้าใจปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำงานของเอนไซม์ รวมถึงเอนไซม์ที่ใช้ย่อยอาหาร
- สรีรวิทยาของสัตว์ เนื้อหาที่ออกสอบ BMAT Biology คือการหายใจ ระบบอวัยวะ การรักษาดุลยภาพ ฮอร์โมน โรคภัยและการป้องกันโรคของร่างกาย
- สิ่งแวดล้อม เนื้อหาในส่วนนี้ แม้ผู้จัดสอบจะระบุว่าอยู่ในขอบข่ายที่จะนำมาออกข้อสอบได้ แต่เท่าที่ผ่าน เรื่องนี้แทบไม่ออกข้อสอบเลย พี่คิดว่าน้องสามารถตัดเรื่องนี้ออกไปจากการเตรียมตัวสอบ BMAT ได้เลยครับ
Topic BMAT Biology ที่เนื้อหาออกสอบเยอะ

จากสถิติที่ผ่านๆ มา หัวข้อที่ออกข้อสอบเยอะมากๆ คือ การแบ่งเซลล์ การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม เทคโนโลยียีน เอนไซม์ และสรีรวิทยาของสัตว์ครับ ถ้าเวลาเริ่มกระชั้นเข้ามาแล้ว ให้เน้นไปที่หัวข้อทั้งห้านี้ก่อนเลย เจอแน่ๆ 4-5 ข้อครับ
3. การเตรียมตัว
จากเนื้อหาที่ลิสต์ออกมา ดูเหมือนเยอะมากเลยใช่ไหมครับ แต่ถ้าลองพิจารณาดูดีๆ ขอบอกว่าไม่ยากเกินความสามารถเลยครับ โดยเฉพาะน้องๆ ที่เรียนหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ (ภาคภาษาไทย) มาแล้ว เนื้อหาส่วนใหญ่รับรองว่าเคยผ่านตามาบ้างตั้งแต่ชั้นมัธยมต้น

สิ่งที่น้องๆ ต้องฝึกเพิ่ม
- การอ่านจับใจความภาษาอังกฤษ สามารถฝึกฝนได้โดยทยอยทำข้อสอบเก่าๆ ซึ่งทางผู้จัดสอบได้อัปโหลดไว้ให้แล้ว
- เทคนิคการคิดวิเคราะห์ข้อสอบ บางครั้งข้อสอบอาจมีข้อมูลที่ไม่มีอยู่ในแบบเรียนโผล่มา น้องๆ จึงต้องใช้ความรู้เท่าที่มีมาประยุกต์ต่อยอดและวิเคราะห์ข้อสอบข้อนั้นให้ได้
4. เทคนิคพิชิตคะแนน BMAT Biology
ข้อสอบ BMAT Biology แม้จะมีตัวเลือกเยอะ เต็มไปด้วยแผนภาพ ตาราง และข้อความยาวยืด แต่ในความท้าทายนี้มีความง่ายซ่อนอยู่ เพราะหลายๆ ข้อเราไม่ต้องคิดทั้งหมด ก็สามารถตอบคำถามได้แล้ว ลองมาดูข้อสอบ Mock exam กันครับ

ถ้าเจอแบบนี้ ให้ดูก่อนว่าถามหาข้อถูกหรือข้อผิด ซึ่งข้อสอบระบุชัดว่าถามหาข้อความที่ถูกต้อง (Which of these are correct?) แล้วมาดูที่ตัวเลือกกันต่อ จะเห็นว่ามีตัวเลข 5 ซ้ำกันเยอะมาก นั่นแปลว่าถ้าเราบอกได้ว่าข้อความที่ 5 ถูกหรือผิด เราจะตัดตัวเลือกออกไปได้เยอะมาก
เมื่อเราพิจารณาข้อความที่ 5 จะพบว่ามันผิด เพราะการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิสไม่เกิดการจับคู่กันของโครโมโซมคู่เหมือนจนเป็นโครงสร้างที่เรียกว่า Bivalent ตอนนี้เราก็เหลือตัวเลือก A กับ B ซึ่งจะเห็นว่ามีตัวเลข 1 กับ 3 ซ้ำกัน แสดงว่าเราตัดสินใจได้เลยจากการพิจารณาข้อความที่ 2 หรือ 4 หมายความว่าถ้าเราไม่รู้ 2 เรามาดู 4 ก็ยังได้
ข้อความที่ 2 นั้นผิด ส่วนข้อความที่ 4 ถูกต้อง สุดท้ายเราจึงเลือกตอบตัวเลือก C
เห็นไหมครับว่าเราไม่ต้องพิจารณาทุกข้อความ ก็สามารถตอบได้แล้ว ในสนามสอบ ให้ไปทำข้ออื่นต่อทันที แล้วถ้าหากมีเวลาเหลือ ค่อยกลับมาเช็คคำตอบดูอีกรอบก่อนหมดเวลาครับ
เทคนิคนี้ใช้กับข้อสอบที่เป็นตารางได้เหมือนกัน มาดู Mock exam ข้อนี้กัน

ข้อนี้เราค่อยๆ พิจารณาพร้อมๆ กับการตัดตัวเลือกไปเลยครับ
หมายเลข 1 ควรจะเป็น Receptor เราก็จะเหลือตัวเลือกแค่ C D และ E
ส่วน a ควรจะเป็น Sensory neuron จะเห็นว่าเหลือเพียงคำตอบเดียว คือ E ดังนั้นเราตอบได้เลยทันทีโดยไม่ต้องพิจารณาให้ครบ
เนื้อหาที่ออกสอบ BMAT Biology ในบทพันธุศาสตร์มักมาพร้อมกับตัวบ่งปริมาณ สำหรับน้องที่เรียนตรรกศาสตร์มาแล้ว คงจะคุ้นเคยกันดีกับสัญลักษณ์ ∀ (for all) ที่จะต้องพิจารณาทุกความเป็นไปได้ ที่จะทำให้ประพจน์นั้นเป็นจริง และ ∃ (for some) ที่ขอแค่มีกรณีเดียวที่ทำให้ประพจน์นั้นเป็นจริงก็เพียงพอ
เรื่องนี้เกี่ยวข้องอย่างไรกับ BMAT ชีววิทยา?
คำตอบก็คือ การคิดถึงทุกความเป็นไปได้ หรือคิดเพียงแค่บางกรณี เป็นจุดสำคัญเลยล่ะครับ ลองมาดู Mock exam ต่อไปนี้กัน

ข้อนี้ให้พงศาวลีมาแล้วถามว่าใคร (A B C D หรือ E) ในที่นี้ “ต้องเป็น” (must be) พันทางแน่ๆ พี่จะข้ามขั้นตอนการวิเคราะห์พงศาวลีไปนะครับ สมมติว่าน้องๆ รู้แล้วว่าลักษณะขนตายาวเป็นอัลลีลเด่น ดังนั้น B และ D ซึ่งมีขนตาสั้น จะต้องมีลักษณะด้อยแน่ๆ ส่วน C กับ E ไม่จำเป็นต้องเป็นพันทางก็ได้ และ A ต้องเป็นพันทางแน่ๆ เพราะให้กำเนิดบุตรสาวและบุตรชายที่มีขนตาสั้นได้ ดังนั้นข้อนี้ตอบตัวเลือก A
ถ้าน้องๆ ไม่ระวังว่าข้อนี้ถาม “must be” แล้วเผลอคิดโดยมองหาความเป็นไปได้ทั้งหมดที่จะเป็นพันทางล่ะก็ ทั้ง A C และ E จะมีโอกาสเป็นพันทางได้หมด และจะพลาดตอบเป็นตัวเลือก C ไปเลย

สำหรับข้อนี้ โจทย์ถามว่าเหตุการณ์ในข้อใด (1 2 3 และ 4) ที่ “อาจจะ” (สังเกตคำว่า “could”) กระตุ้นกระบวนการรักษาดุลยภาพได้ เมื่อพิจารณาแล้วจะพบว่าทุกเหตุการณ์สามารถนำไปสู่การกระตุ้นกระบวนการรักษาดุลยภาพได้หมด จึงตอบตัวเลือก I
น้องบางคนอาจจะแย้งว่า เหตุการณ์ในแต่ละข้ออาจไม่นำไปสู่กระบวนการรักษาดุลยภาพก็ได้ ถ้าการเปลี่ยนแปลงนั้นไม่มากเกินไป โดยเฉพาะเหตุการณ์ที่ 1 ถ้าอุณหภูมิภายนอกร่างกายเพิ่มขึ้นไม่มาก เราก็ไม่จำเป็นต้องหลั่งเหงื่อเพื่อลดอุณหภูมิร่างกาย
แต่ข้อนี้โจทย์ถามด้วยคำว่า “could” ขอแค่มีเพียงกรณีเดียวที่เป็นไปได้ เหตุการณ์ในแต่ละข้อก็จะเป็นจริงขึ้นมาทันที เราจึงเลือกตัวเลือก I ครับ
สรุปเทคนิคพิชิต BMAT BIO

- ตั้งสติก่อนเจอข้อความ แผนภาพ และตัวเลือก อย่าเพิ่งลน
- มองหาว่าโจทย์ถามหาข้อถูกหรือข้อผิดจากคีย์เวิร์ด: correct, true, not correct, not true, untrue, false
- พยายามตัดตัวเลือกให้ได้มากที่สุด เพื่อการทำข้อสอบที่รวดเร็ว
- ระวังตัวบ่งปริมาณ
- must, must be, และ always หมายถึง For all ให้พิจารณาความเป็นไปได้ทั้งหมด ต้องเป็นจริง ข้อความหรือเหตุการณ์นั้นๆ จะเป็นจริง
- could และ would หมายถึง For some ขอเพียงกรณีเดียวที่เป็นจริง ข้อความหรือเหตุการณ์นั้นๆ จะเป็นจริง
เห็นไหมครับว่า เพียงเท่านี้ การจะได้คะแนน BMAT Section 2 ตามที่น้องๆ คาดหวัง ก็อยู่ไม่ไกลเกินเอื้อมแล้ว แต่ถ้าน้องๆ อยากได้ Perfect Score ทุกคนต้องเข้าไปอ่านบทความที่พี่ๆครูจาก ignitebyondemand มาบอกเทคนิควิธีอัพคะแนน BMAT กันทุกพาร์ท ทุกวิชา !!! รับรองว่าอ่านแล้วน้องจะมีความมั่นใจในการไปสอบ BMAT แน่นอนครับ >> https://www.ignitebyondemand.com/category/bmat/
ใหม่ล่าสุด! กับคอร์ส BMAT ในระบบ Learn Anywhere ที่พร้อมเสิร์ฟให้น้องๆ ทุกคนเข้าถึงบทเรียนได้ เพียงมี Mobile, iPad, iMac, Notebook หรือ PC ก็สามารถเข้าถึงบทเรียนได้ถ้ามี Internet เพื่อให้น้องๆ สามารถเรียน Online ที่ไหน เมื่อไหร่ก็เรียนได้ พร้อมตะลุยโจทย์กับทุกคอร์ส Versions ล่าสุด!
สามารถดูรายละเอียดคอร์สเรียน BMAT ได้ที่ >> https://www.ignitebyondemand.com/our-courses/bmat/
ดูรายละเอียดคอร์สเรียนในระบบ Learn Anywhere ทั้งหมดได้ที่ >> https://www.ignitebyondemand.com/platform-anywhere/
Related Blog & News
ข่าวสารและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง
-
Blog, BMAT
รีวิวการเตรียมตัวสอบเข้า แพทย์จุฬาฯ รอบ Portfolio แบบฉบับเด็กโรงเรียนไทย จากน้องกู๊ด สวนกุหลาบวิทยาลัย
สวัสดีน้องๆ ว่าที่หมอทุกคนครับ วันนี้พี่แอดมินพาพี่กู๊ด รุ่นพี่ ignite จากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ที่ตอนนี้เป็นรุ่นพี่คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย …มาแนะนำ การเตรียมตัวสอบเข้าคณะแพทย์ รอบ Portfolio แบบฉบับนักเรียนไทย ให้น้องๆ มั่นใจว่าจะสอบติดชัวร์ๆ นะครับ พร้อมแล้วไปอ่านกันได้เลย !! เรียนโรงเรียนไทย…ทำไมเลือกสอบเข้าคณะแพทย์ ด้วยข้อสอบอินเตอร์ใน TCAS รอบ 1 ? น้องๆ หลายคนคงสงสัยว่า พี่เป็นเด็กโรงเรียนไทย แต่ทำไมเลือกสอบเข้าคณะแพทย์ ด้วยข้อสอบอินเตอร์ เดี๋ยววันนี้พี่จะแนะนำข้อดีของการเตรียมตัวสอบเข้าหมอรอบ Portfolio ให้ฟังนะครับ TCAS รอบ 1 ช่วยเพิ่มโอกาสที่เราจะสอบติดหมอได้มากขึ้น เพราะถ้าเรามุ่งเน้นที่ รอบ กสพท. แต่เพียงอย่างเดียวก็เหมือนเป็นการตัดโอกาสของตัวเองทิ้งไปดื้อๆ พี่เลยเลือกเตรียมตัวรอบ 1 ให้เรามีเส้นทางสู่การเป็นหมอเพิ่มขึ้นครับ ซึ่งสำหรับพี่คิดว่า เราสามารถเตรียมสอบแพทย์ […]
Comments (0)
-
Blog, SAT Subject Tests
เจาะลึก 5 ภาคของ ISE คณะวิศวะอินเตอร์ จุฬาฯ กับน้องโพนี่ รุ่นพี่ ignite
สำหรับว่าที่ วิศวะอินเตอร์หลายๆคน ที่อยากเรียน ISE (INTERNATIONAL SCHOOL OF ENGINEERING) หรือ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลักสูตรนานาชาติ เคยรู้มาก่อนมั้ยว่า 5 ภาค ในคณะที่เราสนใจ ต้องเรียนอะไรบ้าง แล้วแต่ละภาคมีความน่าสนใจยังไง!? วันนี้พี่แอดมินมีรุ่นพี่ ignite ที่ตอนนี้เป็นนิสิตปีหนึ่ง จากคณะ ISE จะมาเล่า Insight ภายในคณะให้น้องฟังกันครับ ถ้าพร้อมแล้ว เราไปดูกันเลย สวัสดีน้องๆ และทุกคนที่กดเข้ามาอ่านนะคะ ก่อนอื่นเลยพี่ขอแนะนำตัวก่อน พี่ชื่อ โพนี่ จบจากโรงเรียนนานาชาติเอกมัย (EIS) ตอนนี้เรียนอยู่ ISE ปีหนึ่ง ภาค ICE ค่ะ บทความนี้พี่ตั้งใจมาแชร์ Insight ของแต่ละ Major ใน ISE […]
Comments (0)
-
Blog, GED
เผยวิธีเตรียมสอบ GED ยังไง ให้ได้ 660+ จากครูหมิง GED Guru
สวัสดีค่ะ พี่หมิง GED Guru จาก ignite นะคะ ช่วงนี้มีน้องๆ ถามกันมาเยอะมากว่า ทำยังไงให้ได้คะแนน GED สูงกว่า 660 คะแนน เพื่อให้มีสิทธิ์ยื่นเรียนต่อมหาวิทยาลัยชื่อดัง ไม่ว่าจะเป็นจุฬาฯ, มธ., MUIC และอีกหลายๆ ที่ เดี๋ยววันนี้พี่หมิงจะมาแชร์วิธีการที่พี่ใช้โค้ชน้องๆ คลาส GED ให้พวกเขาได้คะแนนตามเป้าหมาย ก่อนอื่นพี่ขอแบ่งทักษะออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ Skillset และ Mindset Skillset – ทักษะที่ใช้ในการเตรียมตัวสอบ GED 1. รู้กติกาการสอบ GED อย่างละเอียด ข้อนี้สำคัญมากนะคะ พี่หมิงเจอน้องๆ หลายคนมากที่ไม่รู้ว่ากติกาของ GED (บางคนไม่รู้ว่า GED สอบได้ครั้งเดียว!) ไปสอบจริงแล้วคะแนนไม่ตามเป้า กว่าจะ rescore […]
Comments (0)
-
Blog, CU-ATS/CU-AAT
เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างข้อสอบ CU-AAT Math VS ACT Math
สวัสดีครับว่าที่น้องๆ ทีมวิทยา วิศวะอินเตอร์ หรือน้องทีมคณะสายศิลป์ อินเตอร์ หลายๆ คน คงสงสัยว่า หน้าตาข้อสอบของ CU-AAT Math และ ACT Math เป็นอย่างไร เหมือนหรือแตกต่างกันตรงจุดไหนบ้าง และเราควรจะเลือกสอบตัวไหนดี วันนี้พี่ภัทร์มา เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างข้อสอบ CU-AAT MATH และ ACT Math จับทั้งสองข้อสอบมาเปรียบเทียบกันในทุกแง่มุม เพื่อเป็นอีกแนวทางในการช่วยน้องๆ ตัดสินใจครับ ทำความรู้จักข้อสอบ CU-AAT Math VS ACT Math เมื่อเรารู้จักข้อสอบ CU-AAT และ ข้อสอบ ACT TEST กันแล้ว.. ก็มาดูกันว่าเมื่อมีคะแนน CU-AAT Math และ ACT Math สามารถยื่นเข้าคณะไหน มหาลัยไหนได้บ้าง คะแนน […]
Comments (0)
Comments