SOP คือ? │ เขียน SOP อย่างไรให้ได้เป็นตัวจริงรอบพอร์ต

เวลาที่เดินเข้าร้านหนังสือ แล้วเจอหนังสือเล่มหนึ่งที่น่าสนใจ สิ่งแรกที่คนส่วนใหญ่มักทำก็คือ พลิกไปอ่านไฮท์ไลท์สำคัญที่ปกหลังก่อน ซึ่งจะตัดสินใจซื้อหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับข้อความเพียงไม่กี่บรรทัดบนปกหลังนั่นเอง
การเขียน SOP หรือคือ Statement of purpose ก็เช่นกัน ไม่สำคัญว่าเรามีเรื่องราวที่อยากบอกเล่ามากน้อยแค่ไหน สำคัญที่เราจะเล่ามันออกมาอย่างไรให้ให้ผู้อ่านสนใจและอยากติดตามอ่านเรื่องราวไปจนจบมากกว่า วันนี้พี่เลยนำเทคนิคดีๆ ในการเขียน SOP ให้โดนใจคณะกรรมการมาฝาก ไปดูกันฮะ
การเขียน SOP คืออะไร?

ถ้าเอาแบบเข้าใจง่ายๆ Statement of purpose หรือ SOP คือ จดหมายแนะนำตัวเองนั่นแหล่ะ จดหมายที่บอกว่าเราเป็นใคร มีจุดเด่นอะไรที่ทำให้คณะกรรมการต้องตัดสินใจเลือกเรา หรืออาจบอกเล่าถึงแรงบันดาลใจที่ทำให้เราตัดสินใจเขียน SOP ไปยังคณะ หรือมหาวิทยาลัยนั้นๆ ซึ่งสำคัญมากกกกก โดยเฉพาะกับน้องๆ ที่อยากเข้าเป็นตัวจริงรอบพอร์ต
NOTE !! วิธีเขียน SOP ที่ดีควรมีความยาวไม่เกิน 2 หน้ากระดาษ หรือไม่เกิน 1,000 คำ และควรบอกเล่าประเด็นสำคัญ 4 ประเด็นดังต่อไปนี้
4 Topics สำคัญในการเขียน SOP

#1 Who am I?
ย่อหน้าแรกของการเขียน statement of purpose นี้ก็เหมือนกับปกหลังหนังสือ ที่มีส่วนสำคัญต่อการตัดสินใจ “ซื้อ” หรือ “ไม่ซื้อ” ได้มากเลยทีเดียว ฉะนั้นจงบอกเล่าความเป็นเราออกมาให้โดดเด่นมากที่สุด แต่ขอให้เป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับคณะ สายอาชีพ ที่เราเลือกสมัครไป เพื่อความประชับ ตรงประเด็น

#2 What am I interested in?
ใส่ผลงานที่มีมาให้ครบใน SOP แต่ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงว่าต้องเป็นงานวิจัยสุดแสนภาคภูมิใจเท่านั้น แต่กิจกรรมต่างๆ อย่างกีฬาสี ชมรมในโรงเรียน กิจกรรมจิตอาสา ก็สามารถนำมาบอกเล่าเป็นความภาคภูมิใจได้ แต่อยากให้เพิ่มเติมการ พูดถึงปัญหาที่เจอ แล้วเราถึงแนวทางการแก้ปัญหากับสิ่งที่เกิดขึ้น เพิ่มเติมเข้าไปด้วย เพื่อให้คณะกรรมการเห็นถึงแนวทางการแก้ปัญหา ที่อาจนำไปต่อยอดกับการเรียนหรือใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยได้

#3 Why did I Choose this Faculty / University?
บอกเลยว่าไปทำการบ้านมาให้เยอะๆ ก่อนที่จะมาเขียนในส่วนนี้ เพื่อแสดงถึงความสนใจ ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้คณะกรรมการเห็นว่าเรามีความตั้งใจก่อนที่จะตัดสินใจเขียน SOP มายื่นเพื่อพิจารณา วิชาไหน หรือจุดเด่นอะไรที่ให้เราอยากเป็นตัวจริงของที่นี่ จัดมาให้เต็มเหนี่ยว

#4 What is my goal?
ปิดท้ายด้วยเป้าหมายในชีวิตในแบบที่สมเหตุสมผลและจับต้องได้จริง ทั้งในระยะสั้น คือหลังจบการศึกษา และในระยะยาวคือ 10-15 ปีหลังจบการศึกษา และการได้เรียนที่นี่จะช่วยต่อยอด หรือเติมเต็มเป้าหมายในชีวิตอย่างไร พื้นที่ปิดท้ายนี้คือสิ่งที่บ่งบอกถึงวิสัยทัศน์ของเรานั่นเอง
3 สิ่งที่ต้องจำก่อนทำ SOP!

จำเอาไว้เสมอว่า SOP รวมไปถึงพอร์ตที่ดี คือการบอกเล่าความเป็นเรา ดูตัวอย่างของคนอื่นเพื่อเป็นแนวทางได้ แต่ไม่ใช่ลอกจนกลบความเป็นตัวเองไปซะหมด เพราะสุดท้ายแม้จะเขียน SOP ออกมาได้อย่าง Perfect แต่ถ้าผลงานที่อยู่ในนั้น ไม่ใช่ผลงานของเรา และไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเราจริงๆ คณะกรรมการก็จะสามารถรู้จากการตอบคำถามตอนสัมภาษณ์ได้อยู่ดี
ควรเขียน SOP ด้วยภาษาที่มีความแอคทีฟและเขียนด้วยมุมมองเชิงบวก ที่สำคัญ! อย่านอกเรื่องเพราะคณะกรรมการจะเน้นการพิจารณาเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเรียนเท่านั้น
พี่ขอเป็นกำลังใจให้น้องๆ ทุกคนที่ตั้งใจคว้าตำแหน่งตัวจริงรอบพอร์ตกับคณะในฝัน ได้มีโอกาสเป็นตัวจริงสมความตั้งใจ และฝ่าฝันทุกอุปสรรคไปได้อย่างราบรื่นนะครับ สู้ๆ ครับน้องๆ ทุกคน
สำหรับน้องๆ คนไหนที่อยากสอบเข้ามหาวิทยาลัย TCAS รอบ 1 ( Portfolio ) ทาง ignite by OnDemand ก็มี คอร์สเรียนสด คอร์สออนไลน์ Anywhere ให้น้องๆ เรียนที่ไหนเมื่อไหร่ ก็ได้ตามต้องการ โดยอาจารย์ผู้สอนที่มีโปรไฟล์ระดับเทพ รวมถึงกิจกรรม Pathway to Success แบบจัดเต็มที่พร้อมจะพาน้องๆ ไปสู่คณะในฝัน
สนใจสอบถามวางแผนในการเตรียมตัวสอบเข้าสอบเข้ามหาวิทยาลัย รอบ Portfolio สามารถติดต่อได้ที่ ignite by Ondemand ชั้น 15 อาคาร MBK Tower หรือทาง Line @ignitebyondemand ด้านล่างได้เลยครับผม
สามารถดูคอร์สเรียนสอบเข้าคณะอินเตอณ์ของ ignite ทั้งหมดได้ทาง https://www.ignitebyondemand.com/our-courses/
Related Blog & News
ข่าวสารและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง
-
Blog, Medical TCAS 1 (Portfolio)
ไขความลับ BMAT Writing เขียนยังไงให้ปัง!
สวัสดีครับน้องๆ วันนี้พี่กั๊ก Ignite by OnDemand จะขอมาแชร์สิ่งที่เรียกได้ว่าเป็น Pain ของหลายคนมากๆ ที่กำลังเตรียมตัวสอบ BMAT ใน Part3 : Writing Task มีคนถามพี่มาว่า พี่! จะเอายังไงดี เพราะว่า BMAT Writing กับเวลาที่มีอยู่มันยากเหลือเกิน ขอคำแนะนำหน่อย น้องครับหลายๆ คนคงรู้ว่าปัญหาของ BMAT นอกจากการเขียนแล้ว ยังเป็นเรื่องของเวลาที่จำกัด เพราะเรามีเวลาแค่ 30 นาทีในการเขียน BMAT 1 คำถามของ Writing ให้เสร็จครับ ดังนั้น วันนี้พี่กั๊กขอมาแนะนำนะครับว่า เราจะจัดการกับ 30 นาทีนั้นยังไง ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับข้อสอบ BMAT Writing กันก่อนครับ ทำความเข้าใจกับข้อสอบ BMAT Writing Task (Part3) BMAT Writing เป็นหนึ่งใน 3 Part […]
Comments (0)
-
Blog, Medical TCAS 1 (Portfolio)
UCAT คืออะไร? ชวนรู้จักข้อสอบวัดความถนัด สู่คณะแพทย์-ทันตะใน UK
UCAT ข้อสอบวัดความถนัด คณะแพทย์-ทันตะใน UK วันนี้พี่แอดมินจะชวนน้องๆ มาทำความรู้จักกับอีกหนึ่งข้อสอบเฉพาะทางสัญชาติ UK ที่ปัจจุบันถูกใช้ในการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อคณะแพทย์และทันตแพทย์ในสหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ต้องบอกว่าข้อสอบ UCAT เป็น 1 ใน 2 การทดสอบหลักที่ได้รับการยอมรับจากสมาคมมหาวิทยาลัย UK แต่น่าเสียดายที่ BMAT กำลังจะถูกยกเลิกการสอบในช่วงปลายปี 2023 UCAT คืออะไร? UCAT ย่อมาจาก University Clinical Aptitude Test ซึ่งเป็นชื่อที่ถูกเปลี่ยนใหม่เมื่อปี 2019 จากเดิมนั้นใช้ชื่อว่า UKCAT หรือ UK Clinical Aptitude Test เป็นการทดสอบความถนัดทางคลินิก ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการศึกษาต่อในหลักสูตรที่เกี่ยวกับการแพทย์และทันตแพทย์ แม้จะมีการปรับชื่อการทดสอบใหม่ แต่เนื้อหาการสอบนั้นยังคงเดิม รูปแบบของข้อสอบ UCAT ข้อสอบ UCAT เป็นข้อสอบแบบปรนัยทั้งหมด แบ่งออกเป็น 4 parts (Update 2025) 1.Verbal Reasoning […]
Comments (0)
-
Blog, SAT Subject Tests
คู่มือสำหรับพ่อแม่ที่อยากให้ลูกสอบติดคณะวิศวะอินเตอร์
สวัสดีคุณพ่อคุณแม่ที่อยากให้ลูกเรียนวิศวะทุกท่านนะครับ…วันนี้ ignite จะขอมาแนะนำการ สอบเข้าคณะวิศวะอินเตอร์ ไม่ว่าจะ วิศวะอินเตอร์ จุฬาฯ , วิศวะอินเตอร์ ลาดกระบังฯ หรือ วิศวะอินเตอร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดย ignite จะมาแนะนำว่าน้องๆ ต้องใช้คะแนนอะไร เพื่อยื่นเข้าวิศวะใน TCAS รอบ 1…รู้ก่อน สอบติดก่อน มาวางแผนการเรียนให้ลูกสอบติดก่อนใครกับ ignite ได้เลยครับ คะแนนที่ต้องใช้ เพื่อยื่นเข้า วิศวะอินเตอร์ TCAS รอบ 1 1. Math หรือผลสอบความสามารถทางคณิตศาสตร์ ผลสอบวิชาคณิตศาสตร์ คือ คะแนนที่มหาวิทยาลัยที่เปิดรับคณะวิศวะอินเตอร์ ส่วนใหญ่กำหนดให้น้องๆ ใช้เป็นคะแนนในการยื่นเพื่อพิจารณานะครับ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วน้องๆ มักจะเลือกสอบอยู่ 2 ตัวด้วยกันคือ SAT Math และ CU-AAT Math ถ้าคุณพ่อคุณแม่ยังไม่แน่ใจว่าข้อสอบทั้ง 2 อย่างแตกต่างกันอย่างไร…ignite จะขอแนะนำให้ ณ ที่นี่เลยครับ […]
Comments (0)
-
Blog, CU-ATS/CU-AAT, SAT Subject Tests
บทสัมภาษณ์ “ISE อันดับ 1 ปี 64” น้องวิน กรุงเทพคริสเตียน
สวัสดีครับวันนี้พี่แอดมินพา ignite idol ดีกรี “อันดับ 1 ISE CU ปีล่าสุด” อย่างน้องวินจากโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน มาแนะนำเคล็ดลับการเตรียมตัวสอบเข้าคณะวิศวะอินเตอร์ยอดฮิต ให้น้องๆ ว่าที่วิศวะทุกคนได้มีแนวทางการเตรียมตัวในการสอบเข้านะครับ พี่วินพร้อมมาเจอน้องๆแล้ว…พร้อมแล้วไปกันเลย Timeline เตรียมตัวสอบเข้า ISE CU จากน้องวิน อันดับ 1 ปีล่าสุด พี่เริ่มเตรียมตัวสอบเข้า ISE CU ตอนม.5 ครับ ถือว่าเป็นการเตรียมตัวที่ไม่ช้าไป ไม่เร็วไป แต่ในกรณีของพี่จะต้องเจอกิจกรรมของโรงเรียนที่เราได้ไปมีบทบาทสำคัญอย่างตอนม.5 ที่เป็นฝ่ายเขียนโค้ด แปรอักษรงานจตุรมิตรสามัคคี และม.6 ที่จัดงานวันเกิดให้กับทางโรงเรียน…กิจกรรมเหล่านี้ค่อนข้างกินเวลาชีวิตเราพอสมควร ทำให้พี่ต้องวางแผนจัดการเวลาในการเตรียมตัวสอบเข้า ISE CU ให้รอบคลอบมากที่สุด เริ่มจากม.5 พี่ได้สมัครคอร์ส Engineer pack ของ ignite ครับ ซึ่งเป็นคอร์สแพ็คสำหรับคนที่อยากสอบเข้าคณะวิศวะโดยเฉพาะ ตอนนั้นพี่สมัครสอบครั้งแรกในรอบ Nov โดยได้คะแนนสอบ SAT Subject tests ดังนี้ครับ วิชา Chemistry […]
Comments (0)
Comments